PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เรื่องจริง แสนเศร้าของเผ่าพันธุ์ที่ถูกทรยศ “โรฮิงญา”

เรื่องจริง แสนเศร้าของเผ่าพันธุ์ที่ถูกทรยศ “โรฮิงญา”

  



   

Rohingya-Muslims

โรฮิงญา เป็นเผ่าพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ มีเมืองหลวงชื่อ สตวย (Sittwe)

รัฐยะไข่หรืออาระกัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพม่า มีชายแดนติดกับบังกลาเทศและอ่าวเบงกอล 
มีประชากรประมาณ 2,000,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ส่วนน้อยเป็นชาวมุสลิมมีประมาณ 500,000 คน
รัฐยะไข่

ชาวมุสลิมนี้เองที่เรียกตัวเองว่าโรฮิงญา การเรียกเผ่าพันธุ์ ตนเองว่าโรฮิงญา จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ชื่อนี้ทำ
ให้ชนกลุ่มนี้ มีความแปลกแยกไปจากชาวพม่าเผ่าพันธุ์อื่นๆ
เนื่องจากภูมิประเทศของรัฐยะไข่ ประกอบไปด้วยเทือกเขาสูง แต่ไหนแต่ไรมาประชากรมีความเป็นอยู่อย่างสงบ
งาม คลื่นลมการเมืองใดๆ สมัยเก่าก่อนนั้นไม่ค่อยได้แผ้วผ่านเข้าไปถึง รัฐยะไข่แม้จะเป็นที่ฝังรกรากชาวโรฮิงญา
มาแต่บรรพกาล แต่เมื่อนักล่าอาณานิคมจากแดนไกลอย่างอังกฤษเข้ามา อำนาจการปกครองของผู้มา
เยือนก็ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างยากปฏิเสธ และกลายเป็นอีก 1 ชนเผ่าที่ร่วมต่อสู้เพื่อปลด
ปล่อยตัวเองจากอังกฤษสืบมาแม้พม่าจะได้เอกราช แต่โศกนาฏกรรมเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ที่อองซาน 
ซึ่งเป็นบิดาของอองซาน ซูจี ถูก ฆ่าตาย สัญญาที่ทำไว้กับชนเผ่าต่างๆ ที่เรียกว่า “เวียงปางหลวง” หรือ
 “เวียงปางโหลง” ก็มีอันต้องอันตรธานไป
การฉีกสัญญานี้ ด้วยการยึดอำนาจของทหาร ทำให้ประเทศพม่า กลายเป็นมิคสัญญีอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง 
เพราะเนื้อหาสำคัญของสัญญาฉบับนี้คือ เมื่อพม่าได้รับเอกราชแล้ว ชนเผ่าต่างๆ ที่ร่วมรบเคียง
บ่าเคียงไหล่ ไม่ว่าจะเป็นมอญ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ หรือเผ่าพันธุ์อื่นๆ จะได้สัมผัสกับแสงทอง
แห่งเสรีภาพ นั่นคือมีเอกราช มีสิทธิในการปกครองตนเอง แน่นอน รวมทั้งโรฮิงญาด้วย

แต่เมื่อเหตุการณ์กลับเป็นตรงกันข้าม ไม่เป็นไปตามสัญญารบเพื่อเอกราช ความสงบสุขของพม่าก็สิ้นไปด้วย 
เพราะเผ่าพันธุ์ต่างๆ ล้วนแข็งกร้าวต่อพม่าและประท้วงทวงสัญญา แต่สิ่งที่ได้คือ การปราบปรามอย่างหนัก
หน่วงจากรัฐบาล

ชนเผ่าโรฮิงญาก็เป็นชนเผ่าพันธุ์หนึ่งที่หาญต่อสู้กับรัฐบาล และถูกปรามด้วยเช่นกัน แถมมีบำเหน็จที่
ได้เหนือกว่าเผ่าพันธุ์อื่นๆ คือ การไม่ยอมรับว่าชาวโรฮิงญาเป็นคนของประเทศพม่า เท่ากับเสริม
แรงให้ชาวโรฮิงญาหาทางพึ่งพาตนเองขึ้นอีกเป็นเท่าตัว

นอกจากการต่อสู้กับอำนาจรัฐแล้ว ชาวโรฮิงญายังแสวงหาทาง ออกให้ตัวเองอีกด้วย คือแสวงหางาน
ในประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ มาเลเซีย ไทย และประเทศอื่นๆ ปัญหาชาวโรฮิงญา
หลบหนีเข้าประเทศข้างเคียง อย่างประเทศบังกลาเทศ ภูดล แดนไทย บอกไว้ในหนังสือสถาน
การณ์ภาคใต้เมื่อนาวาไทยหลงทิศว่า เมื่อปี พ.ศ. 2521 ชาวโรฮิงญาได้หลบหนีเข้าประเทศ โดย 
ผู้อพยพอ้างว่า ถูกเผด็จการทางทหารพม่าปราบอย่างโหดร้ายทารุณและ “ใช้อาวุธข่มขู่ขับไล่พวก
โรฮิงญาออกจากที่อยู่อาศัย เผาทำลายบ้านเรือน ฆ่า ข่มขืนสตรี”
Rohingya-Muslims
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ชาวโรฮิงญานอกจากหลบหนีเข้าบังกลาเทศแล้ว ยังได้ตั้งค่ายเรียงรายอยู่ตาม
ชายแดนบังกลาเทศ-พม่าถึง 70,000-100,000 คน ทำให้เกิดปัญหาสังคมและเศรษฐกิจตามมา 
บังกลาเทศต้องประท้วงพม่าอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสอง และใน
ปี 2521 นั้นเอง ชาวโรฮิงญาทะลักเข้าบังกลาเทศถึง 200,000 คน เป็นเหตุให้ทางการพม่าและ
บังกลาเทศต้องจับเข่าคุยกัน เพื่อหามาตรการเอาผู้อพยพคืนบ้านเกิดเมืองนอน

แต่ปัญหาของพม่ากับบังกลาเทศยังไม่จบลง และเกลียวปัญหามาบิดตัวอย่างหนักใน พ.ศ. 2535 
ถึงขนาด “ต่างฝ่ายต่างก็ได้เพิ่มกำลังเฝ้าระวังชายฝั่งแดนฝ่ายละพันกว่าคน จากสาเหตุที่กอง
ทัพพม่าข้ามชายแดนเข้าไปก่อกวนมุสลิม โรฮิงญาในบังกลาเทศ และมุสลิมโรฮิงญากลุ่มต่อต้าน
รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ข้ามแดนจากบังกลาเทศเข้าไปปล้นในฝั่งพม่า” เหตุการณ์ร้อนร้ายนี้ 
สาดไฟถึงนายบูทรอส กาห์ลี เลขาธิการ สหประชาชาติสมัยนั้น ถึงกับต้องส่งผู้แทนจากสหประ
ชาชาติลงพื้นที่เพื่อไกล่เกลี่ยปัญหา มีการเจรจากันอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 
ผลก็คือ ผู้อพยพส่วนหนึ่งยอมกลับบ้าน แต่ส่วนที่เหลือตกค้างอยู่ก็มีอีกไม่น้อย รอการแก้ปัญหา
เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน
201411122950867734_20
สำหรับการหลั่งไหลเข้าประเทศไทย เมื่อย้อนไปดูข้อมูลเก่าจากป้องกันจังหวัดระนองพบว่า 
การฝ่าคลื่นลมทะเลของชาวโรฮิงญามาเข้าชายฝั่งไทยนั้น มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 สืบมาใน พ.ศ. 2549
 เจ้าหน้าที่จับกุมได้ 1,225 คน พ.ศ. 2550 จับกุมได้ 2,763 คน และเมื่อปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2551 จับกุม
ถึง 4,886 คน นับเป็นการทวีจำนวนตัวเลขที่น่าตกใจ

เหตุการณ์การผลักดันชาวโรฮิงญาของทหารไทย เหตุให้องค์กรด้านมนุษยชนออกมาเต้นจน 
พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกมาโต้ เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมานั้น ถือ
ว่าเป็นแรงสั่นสะเทือนของปัญหาระลอกใหญ่ระลอกแรกๆ ของไทย
Is-Wirathu-Behind-This
“ขอยืนยันว่า กองทัพไทยไม่เคยปฏิบัติการอันไร้มนุษยธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับในเวทีนานาชาติ” 
เสียงอันแข็งกร้าวของฝ่ายทหารสำหรับชาวไทยแล้ว ปัญหาเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาไม่ใช่เรื่องใหม่ 
นอกจากเรื่องผู้อพยพแล้วยังมีเรื่องทางการไทยเคยจับตัวแกนนำของชาวโรฮิงญาได้เมื่อ พ.ศ. 2548 
คือจับนายเอ็ม เอ ฮุสเซน หรือโมฮัมหมัด อาลี ฮุลเซ็น อายุ 44 ปี ชาวบังกลาเทศ ในคดีตามหมาย
จับเลขที่ 4210/2547 ข้อหาปลอมและใช้เอกสารทางการปลอมและยังเป็นแกนนำคนสำคัญของกลุ่ม
นายทุน ข้ามชาติ แต่นั่นก็เป็นเรื่องเครือข่ายของคนกระทำผิดกฎหมาย อันอาจจะเชื่อมโยงกับการ
อพยพของชาวโรฮิงญาหรือไม่ก็ได้
อย่างไรก็ตาม การรับหรือผลักดันชาวโรฮิงญาออกนอกประเทศ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอยู่ไม่น้อย 
เพราะเกาะเกี่ยวทั้งทางด้านศาสนา การเมืองและทางด้านสังคม ที่อาจเกิดกระทบกระทั่งกับประ
เทศเพื่อนบ้านได้ในอนาคต หากมองในแง่ความเป็นคนเหมือนกัน ชาวโรฮิงญาย่อมอยู่ในสภาพ
ที่น่าเศร้าสงสาร แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งโดยเฉพาะมุมของเจ้าหน้าที่ บ้านเมืองแล้ว ก็อาจจะเป็น
คนละเรื่องเดียวกัน.
ขอบคุณ ไทยรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น: