PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อดีตทูตทหารสหรัฐฯเตือน'โอบามา'เร่งฟื้นสัมพันธ์'ไทย' ชี้กระทบยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชีย

อดีตทูตทหารสหรัฐฯเตือน'โอบามา'เร่งฟื้นสัมพันธ์'ไทย' ชี้กระทบยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชีย
Cr:ผู้จัดการ
วอลล์สตรีท เจอนัลด์ - อดีตผู้ช่วยทูตทหารสหรัฐฯเขียนบทความเตือนรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ว่าความสัมพันธ์ที่เสื่อมทรามลงระหว่างอเมริกากับไทย กำลังคุกคามนโยบายปักหมุดเอเชียของผู้นำรายนี้ แนะวอชิงตันปรับท่าทีเล่นบทบาทเชิงสร้างสรรค์กับพันธมิตรเก่าแก่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งทางยุทธศาสตร์
บทความของพ.อ.เดสมอนด์ วอลตัน อดีตผู้ช่วยทูตทหารสหรัฐฯ ประจำกรุงเทพฯ และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาทางทหารสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย บนเว็บไซต์วอลล์สตรีท เจอนัลด์ ระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับไทย เสื่อมทรามลงอย่างมากนับตั้งแต่เหตุรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 และไม่เป็นที่แปลกใจที่วอชิงตันจะแสดงท่าทีหมางเมินใส่รัฐบาลรักษาการของไทยและเน้นย้ำให้คืนสู่ประชาธิปไตยในทันที ที่ก่อความเสียหายในแง่มุมอื่นๆของความสัมพันธ์ด้วย
พ.อ.วอลตัน ระบุว่าแนวทางนี้ไม่ได้แค่สั่นสะเทือนความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงที่เพิ่งได้รับการปรับปรุงเมื่อเร็วๆนี้ แต่มันยังคุกคามหนึ่งในความคิดริเริ่มทางนโยบายต่างประเทศที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของประธานาธิบดีโอบามา ในการคืนความสมดุลแก่เอเชีย-แปซิฟิก
ด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงกับไทยที่อ่อนแอลง ส่วนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าก็หยุดนิ่ง พ.อ.วอลตัน จึงแนะนำว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลสหรัฐฯจะทบทวนพิจารณาแนวทางใหม่
อดีตผู้ช่วยทูตทหารสหรัฐฯบอกต่อไปว่าเขาไม่ได้พูดว่าให้สหรัฐฯ ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นการเข้าแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพไทย แต่วอชิงตันสามารถเล่นบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในการสนับสนุนธรรมาภิบาล ในนั้นรวมถึงเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพลเรือน โดยไม่จำเป็นต้องโต้เถียงอย่างเปิดเผยกับเหล่านายพล ในแนวทางที่รังแต่สร้างความบาดหมางกับคนไทยต้องการเห็นการสิ้นสุดของการปกครองของทหารเช่นกัน ทั้งนี้รูปแบบทางการทูตที่ดีที่สุดคือต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและมีชั้นเชิง ไม่ประณามอย่างโต้งๆ
บทความของพ.อ.วอลตัน ระบุว่าปฏิกริยาตอบสนองของไทยเป็นไปตามความคาดหมาย เมื่อเหล่าผู้นำจำเป็นต้องบ่ายหน้าหนีสหรัฐฯอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ความร่วมมือทวิภาคีได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะในด้านการทหาร ผลกระทบจากมาตรการต่างๆของสหรัฐฯ กัดเซาะความเชื่อมั่นของไทยต่อคำสัญญาจะเป็นพันธมิตรระยะยาวของอเมริกา และไทยก็ตอบโต้ด้วยการกันไปกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับคู่หูอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คำถามที่ว่าทำไมเรื่องนี้ถึงเป็นความผิดพลาด บางคนในสหรัฐฯอาจบอกว่าไม่มีความจำเป็นต้องแสดงความนับถือต่อกัน ในเรื่องนี้ พ.อ.วอลตัน บอกว่าก็จริงที่ไทยเป็นประเทศขนาดกลาง มีประชากรราวๆ 70 ล้านคนและเป็นชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 22 ของโลก ขณะที่มูลค่าการค้าทวิภาคีแค่ 38,000 ล้านดอลลาร์ คงไม่ส่งผลกระทบเป็นหรือตายแก่เศรษฐกิจอเมริกา
แต่ พ.อ.วอลตัน ชี้ว่าอย่าลืมความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของไทย และในฐานะพันธมิตรที่ยาวนานของสหรัฐฯ อเมริกันชนควรคิดทบทวนเป็น 2 เท่าต่อการปล่อยให้ความสัมพันธ์นี้เสื่อมทรามลงไปมากกว่าเดิม โดยไทยไม่ใช่แค่จุดเข้าถึงเอเชียของกองกำลังอเมริกัน แต่ไทยยังมีแสนยานุภาพทางทหารอันสำคัญ ที่สามารถใช้เป็นตัวช่วยให้ภูมิภาคแห่งนี้ลดการพึ่งพาสหรัฐฯ ในการตอบโต้ความท้าทายด้านความมั่นคงต่างๆ
บทความของพ.อ.วอลตัน ระบุต่อว่ายิ่งไปกว่านั้นอุตสาหกรรมกลาโหมของสหรัฐฯเองก็จะได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายด้านกลาโหมอันกำยำของไทย ซึ่งคาดหมายน่าจะอยู่ราวๆ 7,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2015 โดยในช่วง 5 ปีหลังสุดเหล่าบริษัทต่างๆของสหรัฐฯ ขายอาวุธยุทโธปกรณ์และการบริการด้านกลาโหมแก่ไทยเกือบๆ 2,000 ล้านดอลลาร์
พ.อ.วอลตัน บอกต่อไปว่าท่ามกลางยุทธศาสตร์คืนความสมดุลแก่เอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งขึ้นอยู่กับเครือข่ายความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แข็งแกร่ง สหรัฐฯจะได้ประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ด้วยการคงและกระชับความเป็นพันธมิตรกับไทย และจากคำถามที่ว่าความเป็นพันธมิตรระหว่างสองฝ่ายจะเข้มแข็งได้อย่างไรในแนวทางไม่ประนีประนอมของสหรัฐฯ ที่ยึดถือและเชื่อมั่นในการส่งเสริมประชาธิปไตย ในเรื่องนี้ พ.อ.วอลตัน ตอบว่าหากดูจากปฏิกิริยาอย่างกว้างๆของเหล่าผู้นำกองทัพของไทย นักวิชาการและพลเมืองคนดัง เขาเชื่อว่าคำตอบของคำถามนี้คือ "ได้แน่"
อดีตผู้ช่วยทูตทหารสหรัฐฯระบุต่อไปว่า คนไทยคาดหมายอยู่แล้วว่าสหัฐฯคงพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพลเมือง อย่างไรก็ตามมีอยู่ 2 อย่างที่จะสามารถโน้มน้าวไทยให้มีพัฒนาการในประเด็นสำคัญต่างๆเหล่านี้ อย่างแรกคืออเมริกาต้่องมีส่วนร่วมโดยตรงกับเหล่าผู้นำระดับสูงของไทย บังคับตัวเองละเว้นจากการพูดคุยที่ไม่สร้างสรรค์ อย่างที่สองคือสหรัฐฯ ควรใช้ช่องทางที่หลากหลายมากขึ้นในการอำนวยความสะดวกแลกเปลี่ยนมุมมองอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งท่าทีถมึงทึงรังแต่จะนำมาซึ่งความเป็นปรปักษ์และความหมางเมินกับพันธมิตรเก่าแก่แห่งนี้


ไม่มีความคิดเห็น: