PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ข้อมูลใหม่!คดีทุจริตกรุงไทย แฉ‘เยาวเรศ ชินวัตร’ขอให้ลดหนี้ บ.พวก 1.7 พันล.

วันอังคาร ที่ 13 ตุลาคม 2558 เวลา 11:30 น สำนักข่าวอิศรา

ช็อตเด็ด!คำวินิจฉัย 1 ในองค์คณะศาลฎีกาฯคดีทุจริตหมื่นล.แบงก์กรุงไทย ข้อมูลใหม่ พยาน แฉ‘เยาวเรศ ชินวัตร’ ขอให้ลดหนี้ บ.คนรู้จัก ‘บลูริเวอร์ ไดมอนด์' 1,713 ล. อ้างลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สิน ทั้งที่ตรวจพบมีเพียบ ฟันธง‘ซุปเปอร์บอส’ คือ ‘ทักษิณ’ ไม่ใช่ ‘คุณหญิงอ้อ’
ptteefeeff
ภายหลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางเมืองได้มีพิพากษาในคดีทุจริตปล่อยกู้เงินธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) คดี หมายเลขแดงที่ อม.55/2558 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ อดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย นายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย กรรมการบริหาร คณะกรรมการสินเชื่อ เจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทในเครือกฤษดามหานคร และ 3 บริษัทในเครือกฤษดามหานคร เป็นจำเลยที่ 1-27 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับ โดยมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 ส.ค.58 (อ่านประกอบ:พิพากษาจำคุก “ร.ท.สุชาย-วิโรจน์” 18 ปี ทุจริตปล่อยกู้กรุงไทย ชดใช้หมื่นล.)
เมื่อ 9 ต.ค.58 ที่ผ่านมา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้เผยแพร่ความเห็นในการวินิจฉัย คดีหมายเลขแดงที่ อม.55/2558 ระหว่าง อัยการสูงสุด(โจทก์) พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่ 1 กับพวกรวม 27 คน(จำเลย) (คดีกรุงไทย) ของนายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา (เจ้าของสำนวน) 1 ในองค์คณะผู้พิพากษา
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org สรุปสาระสำคัญส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยส่วนหนึ่ง ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 2 -จำเลยที่ 5 (ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ นายวิโรจน์ นวลแข นายมัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา นายพงศธร สิริโยธิน) และ จำเลยที่ 8-27 ได้ร่วมกันกระทำความผิดหรือสนับสนุน จำเลยที่ 1 (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยศในขณะนั้น) ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการดูแลกิจการธนาคารผู้เสียหาย ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและโดยมิชอบเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 และ มาตรา 157 หรือไม่
คำวินิจฉัยระบุว่า โจทก์ (อัยการสูงสุด) มีนายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ กรรมการบริหารธนาคารผู้เสียหาย เป็นพยานเบิกความว่า เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.46 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการบริหารนัดประชุมพิจารณาสินเชื่อรายของจำเลยที่ 19 (บริษัท โกลเด้น เทคโนโลยี่ อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด) จำเลยที่ 2 (ร.ท.สุชาย เชาว์ศิษฐวิ) โทรศัพท์มาหาพยานพูดว่า เรื่องของจำเลยที่ 19 ‘นายบุญคลี’ ได้ดูดีแล้วและ ‘ซุปเปอร์บอส’ ได้ตกลงแล้ว อย่าสอบถามข้อมูลมากนัก และขอให้พิจารณาไปโดยเร็ว
พยานโต้แย้งว่า พยานเคยเกี่ยวข้องกับที่ดินบริเวณนั้น มันไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าดีจริงธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คงไม่ปล่อยมา แต่จำเลยที่ 2 (ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ) ตอบกลับว่าเรื่องดังกล่าวไม่มีปัญหา สามารถจัดการได้
และพยานยังเบิกความว่า คำว่า ซุปเปอร์บอส หมายถึง จำเลยที่ 1 (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ถ้าเป็นคุณหญิงพจมาน จะต้องมีนางสว่าง เจริญมั่นคง เข้ามาเกี่ยวข้อง จำเลยที่ 1 และคุณหญิงพจมานหรือบุคคลใกล้ชิดมีการแทรกแซงการบริหารงานของธนาคารผู้เสียหายปรากฎชัดจากการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็น ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ ได้มีการผลักดันให้นางสว่าง เจริญมั่นคง เป็นกรรมการธนาคารผู้เสียหาย แต่เนื่องจากนางสว่าง ขาดคุณสมบัติจึงไม่สามารถแต่งตั้งได้ นางเยาวเรศ ชินวัตร น้องของจำเลยที่ 1 (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ก็เคยขอให้ธนาคารผู้เสียหายลดหนี้ให้บริษัท บลูริเวอร์ ไดมอนด์ จำกัด จำนวน 1,713,000,000 บาท โดยจำเลยที่ 3 (นายวิโรจน์ นวลแข) แจ้งคณะกรรมการบริหารว่าได้คุยกับนางเยาวเรศซึ่งรู้จักลูกหนี้ นางเยาวเรศบอกว่าลูกหนี้แจ้งว่าไม่มีทรัพย์สินอื่น ทั้งๆที่ ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ธนาคารผู้เสียหายสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้พบว่าลูกหนี้เป็นนายกสมาคมและยังมีทรัพย์สินจำนวนมาก ในที่สุดธนาคารผู้เสียหายก็ยินยอมลดหนี้จำนวนดังกล่าวให้”
พยานยังเบิกความว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร เป็นเพื่อนกับบุตรของจำเลยที่ 25 (นายวิชัย กฤษดาธานนท์) ครอบครัวมีความสนิทสนมกัน เพราะจำเลยที่ 25 จะต้องขอรับการช่วยเหลือสนับสนุนด้านธุรกิจจากจำเลยที่ 1พยานเข้าใจว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งการให้อนุมัติสินเชื่อรายของจำเลยที่ 19 โดยโจทก์มีนายอุตตม สาวนายน กรรมการบริหารของธนาคารผู้เสียหายเป็นพยานเบิกความสนับสนุนว่า ก่อนเข้า ประชุมคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาสินเชื่อรายของจำเลยที่ 19 นายชัยณรงค์ ได้บอกพยานว่าจำเลยที่ 2 (ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ) ได้ติดต่อนายชัยณรงค์เพื่อขอให้พิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว พยานคิดว่าเป็นสัญญาณที่ต้องการให้มีการอนุมัติสินเชื่อให้จำเลยที่ 19 อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ คดีนี้ศาลฎีกาฯ พิพากษาให้จำคุก ร.ท.สุชาย นายวิโรจน์ นายมัฌชิมา และ นายไพโรจน์ รัตนะโสภา จำเลยที่ 2-4 และ 12 คนละ 18 ปี ส่วนจำเลยที่ 5,8-11,13-17 ซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารกรุงไทย จำคุกจำเลยทั้ง 10 คน คนละ 12 ปี
นายวิชัย กฤษดาธานนท์ เจ้าของโครงการหมู่บ้านกฤษดามหานคร จำเลยที่ 25 และจำเลยที่ 18-27ซึ่งนิติบุคคล และผู้บริหารบริษัทในเครือกฤษดานคร มีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4โดยให้ปรับจำเลยที่ 18-22ซึ่งเป็นนิติบุคคล รายละ 26,000 บาท และให้จำเลยที่ 23-27 จำคุกคนละ 12 ปี และให้จำเลยที่ 20,25 และ 26 รวมกันคืนเงิน 10,004,467,480 บาท แก่ธนาคารกรุงไทย ผู้เสียหาย
นอกจากนี้ให้นายวิโรจน์ จำเลยที่ 3, 22 และจำเลยที่ 27ร่วมรับผิด 9,554,467,480 บาท และให้จำเลยที่ 12-17, 21, 23 และ 24ร่วมรับผิดจำนวน 8,818,732,100 บาท ส่วนจำเลยที่ 18 ร่วมรับผิด 450ล้านบาท และจำเลยที่ 2, 4, 5 และ 8-11และ 19 ร่วมรับผิดจำนวน 8,368,732,100 บาท หากจำเลยที่ 18-22ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29 และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 6-7 (นายนรินทร์ ดรุนัยธร นางนงนุช เทียนไพฑูรย์)
จากการตรวจสอบพบว่า นางเยาวเรศ ชินวัตร เป็นกรรมการธุรกิจทั้งสิ้น 12 บริษัท 10 บริษัทเลิกกิจการและบางแห่งเป็นกิจการร้าง มีเพียง 2 แห่งที่ยังเปิดดำเนินการ คือ บริษัท ชินวัตร (ภูเก็ต) จำกัด และ บริษัท ชินวัตร โฮม มาร์ท จำกัด 
มีธุรกิจที่เพิ่งเปิดกิจการล่าสุดคือ บริษัท ไลฟ์เวลล์เนส คอร์ป จำกัด จดทะเบียนวันที่ 27 มีนาคม 2550 ทุน 1 ล้านบาท ทำธุรกิจ Licenses Fee (ลิขสิทธิ์) เสื้อผ้ากีฬา,สินค้า Premium ที่ตั้งเลขที่ 159/19 ชั้น 8 ถนนราชดำริห์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร นางเยาวเรศ และบุตร ได้แก่ น.ส.ชนิกา วงศ์นภาจันทร์ นายรัตนะ วงศ์นภาจันทร์ นาย ธนวัต วงศ์นภาจันทร์ ร่วมกันถือหุ้น ต่อมาได้เลิกกิจการวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 (อ่านประกอบ: เปิดขุมข่ายธุรกิจ 100 ล้าน“เยาวเรศ ชินวัตร”)
ขณะที่ บริษัท บลูริเวอร์ ไดมอนด์ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2525 ทุนปัจจุบัน 50 ล้านบาท ประกอบธุรกิจ จำหน่ายเครื่องประดับและอัญมณี ที่ตั้งเลขที่ 1737/7-8 ถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ นางวิภาดา ภารดีวิสุทธิ์ เป็นกรรมการ ณ 30 เมษายน 2558 นางสาว พัชรา ธรรมาวรานุคุปต์ ถือหุ้นใหญ่ 4,000 หุ้น (80%) นาง อุไรวรรณ ภารดีวิสุทธิ์ 600 หุ้น (12%) และ นางสาว ปัทมา ธรรมาวรานุคุปต์ 400 หุ้น (8%) แจ้งผลประกอบการ ปี 2557 รายได้ 29,702,568 บาท ขาดทุนสุทธิ 1,682,079 บาท สินทรัพย์ 63,698,490 บาท หนี้สิน 2,655,498 บาท กำไรสะสม 11,042,991 บาท
นางวิภาดา ภารดีวิสุทธิ์ (วปอ.49) มีชื่อเป็นกรรมการบริษัท พรีม่า ไทมส์ จำกัด บริษัท จีเวล เดคอร์ จำกัด และ บริษัท รอยัล พารากอน วอทช์ จำกัด (ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกา ปาเต็ก ฟิลิปป์)
จนถึงขณะนี้ไม่รู้ว่า นางเยาวเรศ ชินวัตร รู้หรือไม่ว่าโดนหางเลขในคดีนี้ด้วย
อ่านเรื่องประกอบ

ไม่มีความคิดเห็น: