PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

ศปมผ.เตรียมลงนามMOUกับผู้ประกอบการ34ราย

ศปมผ. เครียมลงนาม MOU กับหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการ 34หน่วย ในการไม่ซื้อ นำเข้า ส่งออก นำผ่าน จำหน่าย ซึ่งสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมงผิดกฎหมาย การใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์ มาผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และจัดจำหน่ายเป็นสินค้าอาหารทะเล/ขณะที่ ศปมผ.ตรวจโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ เผย ไล่ตรวจ115 โรงงาน แจงรายละเอียดการตรวจ

ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) จะลงนามระหว่างหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการ จำนวน 34 หน่วยงาน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการไม่ซื้อ นำเข้า ส่งออก นำผ่าน จำหน่าย ซึ่งสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมงผิดกฎหมาย การใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์ มาผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และจัดจำหน่ายเป็นสินค้าอาหารทะเล

โดยจัดขึ้น ในวันศุกร์ที่15 มกราคม 2559เวลา 13.30 น. ที่ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 กองบัญชาการกองทัพเรือ วังนันทอุทยาน 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหากระบวนการด้านประมงตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางให้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการประมงทั้งหมดมีมาตรฐานสากล อันจะเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเห็นชอบร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอย่างถึงที่สุด

สำหรับหน่วยงานที่ร่วมลงนาม MOU จำนวน 34 หน่วยงาน ประกอบด้วย 
 1. หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 12 หน่วยงาน
- ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
- ศูนย์ประสานการปฎิบัติในการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล(ศรชล.)
-กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 
- กระทรวงแรงงาน 
- กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ 
-สำนักงานอัยการสูงสุด
-  กรมสอบสวนคดีพิเศษ - กรมประมง
- กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-กรมเจ้าท่า
-กรมศลากากร
-กองบังคับการตำรวจน้ำ
2. องค์กรภาคเอกชน19 หน่วยงาน
- สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย 
- สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย
-  สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย 
- สมาคมการประมงทะเลไทย
- สมาคมอุตสาหกรรรมทูน่าไทย 
- บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)
-บริษัทยูเนี่ยนโฟรเซน โปรดักส์ จำกัด
-บริษัทสยาม ทูน่า ซัพพลาย จำกัด
-บริษัท ห้องเย็นกู้ดฟอร์จูน จำกัด
-บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด
-บริษัท เซียนหนิง ซีฟู้ด จำกัด
-บริษัท องกรณ์ห้องเย็น จำกัด
-บริษัท ห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ด จำกัด(มหาชน)
-บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด(มหาชน)
-บริษัท ชัยวารีมารีนโปรดักส์ จำกัด
-บริษัท แพ็คฟู้ด จำกัด(มหาชน)
-บริษัท ไทยรอแยลฟรอเซนฟู้ด จำกัด
-บริษัท เมย์โอฟู้ดส์ จำกัด
3. องค์กรที่เป็นกลาง 3 หน่วยงาน (ลงนามในฐานะพยาน)
- กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
- องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
- มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน 

และ ศปมผ.จัดการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของ ศปมผ. ครั้งที่ 1/2559 
 พลเรือเอก ณะ  อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) จะเป็นประธานการประชุม ศปมผ. ครั้งที่ 1/2559  เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารกองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน  เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และติดตามเรื่องจากการประชุมที่ผ่านมา ดังนี้
 1. ให้กรมประมงชี้แจง ดังนี้ 
 1.1 ความก้าวหน้าการรายงานให้ DG MARE ได้ทราบถึงการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายของประเทศไทย
 1.2 ความก้าวหน้าการออก กฎหมายเพื่อให้สมุดคู่มือประจำเรือ/อาชญาบัตร มีผลบังคับใช้ 
 1.3 ความก้าวหน้า ความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย/การค้ามนุษย์
 1.4 การจัดอบรมเจ้าหน้าที่ตามคู่มือของศูนย์เฝ้าระวังการทำการประมงผิดกฎหมาย
 1.5 ความก้าวหน้าการเตรียมการจัด Observer on Board ปฏิบัติงานใน เรือประมง
 1.6 ความก้าวหน้าการจัดทำระบบสารสนเทศเชื่อมโยงข้อมูลของระบบตรวจสอบย้อนกลับ
 1.7 ความก้าวหน้าการออกคำสั่ง ให้โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่ทำผิดกฎหมายหยุดประกอบการ ตามที่ คณะตรวจสหวิชาชีพนำเสนอ
 1.8 ความก้าวหน้าการปรับปรุงโครงสร้างรองรับภารกิจการป้องกันการทำประมง IUU
 2. คณะทำงานพัฒนาระบบทะเบียนและบันทึกข้อมูลเรือประมงชี้ความก้าวหน้า
 3. คณะทำงานด้านกฎหมาย ศปมผ.ชี้แจงความก้าวหน้าการติดตามการออกอนุบัญญัติรองรับ พ.ร.ก.
การประมง พ.ศ.2558 ของกรมประมง
 4. คณะทำงานปรับปรุงระบบตรวจสอบย้อนกลับ รายงานความก้าวหน้า
 5. คณะทำงานจัดทำระบบติดตามเรือ (VMS) รายงานผลการสาธิตระบบให้ EJF รับทราบ
6. คณะทำงานปราบปรามการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ในภาคประมง รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินคดี และการเสนอข้อมูลเพื่อให้หยุด/ปิดสถานประกอบการ
 7. กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงความก้าวหน้าการสั่งปิดโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่ทำผิดกฎหมาย ตามที่ชุดตรวจเฉพาะกิจสหวิชาชีพ และกรมประมง เสนอ
 8. สำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือชี้แจงผลการติดตามคดีการทำการประมงผิดกฎหมาย/บังคับใช้แรงงาน/การค้ามนุษย์ของ ศรชล.ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2558 
 9. สำนักงานอัยการสูงสุด ชี้แจงความก้าวหน้าการจัดทำข้อมูลเพื่อเตรียมนำเสนอให้ EU ได้ทราบ
 10. กระทรวงแรงงานชี้แจงความก้าวหน้าการนำเสนอข้อมูลการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานให้ EU ได้รับทราบ
 11. กระทรวงการต่างประเทศ และ กระทรวงแรงงาน รายงานความก้าวหน้า ทำข้อตกลงนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ
 12. ฝ่ายปลัดบัญชี สำนักงานเลขาศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ชี้แจงความก้าวหน้าการดำเนินการ
 13. รองเสนาธิการทหารเรือ (ด้าน กบ.) ชี้แจงเตรียมการและแนวทางการซื้อเรือประมงคืนจากผู้ประกอบการ
 14. ฝ่ายคณะทำงาน ประชาสัมพันธ์ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ชี้แจงความก้าวหน้าการดำเนินการ
 15. สำนักงานเลขาศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ชี้แจงแผนงานรับตรวจจาก EU และรายงานความก้าวหน้า การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายของทุกหน่วยงาน

หลังการประชุมจะมีการแถลงข่าวความคืบหน้าในการทำงานของ ศปมผ. โดยมีพลเรือโทจุมพล ลุมพิกานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือ/โฆษก ศปมผ.เป็นผู้แถลงข่าว

ศปมผ.บุกตรวจโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ เผย ไล่ตรวจ115 โรงงาน แจงรายละเอียดการตรวจ
 

ในการเข้าตรวจเยี่ยมโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำของ ศปมผ. ในครั้งนี้ 
มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบระบบการตรวจสอบย้อนกลับและการดูแลแรงงานของโรงอุตสาหกรรม 

โดยในหลักการของระบบ "ตรวจสอบย้อนกลับ" คือ ผู้บริโภคจะต้องทราบว่าปลาที่จะบริโภคนั้นได้มาจากที่ใด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่มาตรฐานสากลได้กำหนดไว้ โดยระบบตรวจสอบย้อนกลับของภาคประมงจะต้องมีส่วนสัมพันธ์กันทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่นโยบายการจัดการประมง (Fisheries Policy) ระบบติดตามควบคุม เฝ้าระวังการทำประมงในทะเล (Monitoring Control and Surveillance : MCS) การบริหารจัดการบริเวณท่าเรือ (Dockside Management) ไปจนถึงโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำและตลาดปลายทาง ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าสู่ผู้บริโภคในแต่ละจุดจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือและวิธีการจัดการที่เหมาะสมรัดกุม เพื่อให้ระบบตรวจสอบย้อนกลับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

ดังนั้น เรือประมงไทยก่อนออกทำการประมงทั้งในและนอกน่านน้ำ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ตรวจทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ ใบประกาศนายท้ายเรือ ช่างเครื่อง VMS Logbook 

โดยศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมง (PIPO) โดยเรือประมงไทยที่ได้เสร็จสิ้นการทำประมงฯ และเข้าเทียบท่าจะต้องผ่านการตรวจวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ VMS และ Logbook เกี่ยวกับชนิดของสัตว์น้ำ ตำบลที่จับสัตว์น้ำก่อนการนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเรือส่งมอบให้กับผู้ซื้อ ซึ่งท่าเรือ/แพปลาเป็นผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (MCPD) ซึ่งท่าเรือ/แพปลา จะต้องมีเครื่องชั่งน้ำหนักมาตรฐาน และควบคุมตรวจสอบการออกใบ MCPD ให้เป็นไปอย่างถูกต้องใกล้เคียงกับความจริง ทั้งนี้ เรือประมงต่างชาตินำเข้าสัตว์น้ำ โดยผู้ประกอบการต้องดำเนินการแจ้งการนำเข้า เอกสารรับรองการจับสัตว์น้ำจากต้นทาง 

นอกจากนี้ จะมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนระบบตรวจสอบย้อนกลับ โดยกรมประมงกำลังวางระบบฐานข้อมูลให้สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับหน่วยที่เกี่ยวข้องได้ โดยในลักษณะ Real Time ซึ่งจะสร้างให้งานของระบบตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
สำหรับในเรื่องแรงงาน ศปมผ. ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 
1.การบังคับใช้กฎหมายกับอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และการปราบปรามการค้าในอุตสาหกรรม 
 1. ตรวจโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำที่ขึ้นบัญชีกับกรมประมงและอยู่ในกลุ่มเสี่ยง 100 % 
 2. ตรวจโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำที่ไม่ได้ขึ้นบัญชีกับกรมประมง จำนวน 50 แห่ง
 3. ตรวจโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำแล้ว จำนวน 115 โรงงาน จากจำนวนที่กำหนดในแผน 81 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 142 พบการกระทำความผิด 52 โรงงาน 
ในจำนวนนี้ได้สั่งหยุดกิจการชั่วคราว จำนวน 5 โรงงาน และสั่งปิดกิจการ จำนวน 1 โรงงาน ที่เหลือยู่ระหว่างการตรวจสอบ 
 3. ตรวจโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำแล้ว จำนวน 115 โรงงาน จากจำนวนที่กำหนดในแผน 81 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 142 พบการกระทำความผิด 52 โรงงาน 
ในจำนวนนี้ได้สั่งหยุดกิจการชั่วคราว จำนวน 5 โรงงาน และสั่งปิดกิจการ จำนวน 1 โรงงาน ที่เหลือยู่ระหว่างการตรวจสอบ 
 4. การกำหนดบทลงโทษการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงนามเรียบร้อยเมื่อ 11 ธันวาคม 2558  
2. การปรับสถานะแรงงานต่างด้าวในเรือประมงและอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำให้ถูกกฎหมาย
 1. ออกประกาศและจดทะเบียนให้แรงงานต่างด้าวทำงานประมงได้เป็นเวลา 1 ปี 
โดยให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวมารายงานตัว 
 1.1 ให้ถูกส่งกลับเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยให้จดทะเบียนให้ถูกต้องระหว่าง 2 พฤศจิกายน 2558 – 30 มกราคม 2559 ปัจจุบันมีแรงงานจดทะเบียนแล้ว 12,606 คน ส่วนแรงงานในโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำให้จดทะเบียนระหว่าง 25 พฤศจิกายน 2558 – 22 กุมภาพันธ์ 2559 ปัจจุบันมีแรงงานจะทะเบียนแล้ว 22,443 คน (แรงงาน 22,133 คน และผู้ติดตาม 310 คน)
 1.2 การพิจารณาเพิ่มอายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวเป็น 4 ปี และต่ออายุใบอนุญาตทำงานโดยอัตโนมัติอีก 4 ปี อยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญประชุมสรุป เพื่อเสนอสหภาพยุโรปต่อไป 
 2. ต้องให้แรงงานภาคการประมงสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ โดยไม่จำกัดจำนวนนายจ้างและจังหวัดที่ทำงานได้ โดยให้นายทะเบียนอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเปลี่ยนนายจ้าง หรือท้องที่ทำงานตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มาตรา 26 ดำเนินการตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน 2558
3. ใช้มาตรการการลงโทษอย่างเคร่งครัด 
 1. บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกฎหมายแรงงาน กฎหมายคนเข้าเมือง และ พ.ร.บ.ค้ามนุษย์ ในอัตราขั้นสูงสุด โดยเฉพาะการเปรียบเทียบปรับ
 2. สำนักงานอัยการสูงสุด ได้รายงานผลการติดตามคดีที่ส่งฟ้องศาลความก้าวหน้าในการดำเนินการสำนวนคดีการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 – 29 ธันวาคม 2558 จำนวน 41 คดี ในจำนวนนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการทำความผิดการบังคับใช้แรงงานประมง 8 คดี 
4. ความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
 1. ความร่วมมือกับต่างประเทศ ทำ MOU ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการประมง และแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในภาคประมงกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน และประเทศแถบหมู่เกาะ แปซิฟิก อาทิ ฟิจิ ฟิลิปินส์ สหภาพเมียนมา อินโดนีเซีย เวียดนาม และประเทศแถบหมู่เกาะ แปซิฟิก 
 

และในวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 13.30 น. ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ 
วังนันทอุทยาน จะมีการลงนามระหว่างหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการไม่ซื้อ นำเข้า ส่งออก นำผ่าน จำหน่าย ซึ่งสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมงผิดกฎหมาย การใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์ มาผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และจัดจำหน่ายเป็นสินค้าอาหารทะเล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหากระบวนการด้านประมงตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางให้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการประมงทั้งหมดมีมาตรฐานสากล อันจะเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเห็นชอบร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอย่างถึงที่สุด โดยมีข้อกำหนด ดังนี้
 1. ให้หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการ ร่วมมือกันในการรักษามาตรฐานการประกอบการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน และให้มีการประมงอย่างยั่งยืน โดยผู้ประกอบการจะไม่ซื้อ นำเข้า ส่งออก นำผ่าน จำหน่าย ซึ่งสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ที่ได้จากการทำประมงผิดกฎหมาย การใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์ มาผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ 
และจัดจำหน่ายเป็นสินค้าอาหารทะเล รวมทั้งจะปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการประมง แรงงาน และการค้ามนุษย์อย่างเคร่งครัด และส่งมอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แก่หน่วยงานภาครัฐ
 2.ให้ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนความรู้ จัดกิจกรรม จัดให้มีการบรรยายทางวิชาการ การฝึกอบรม และการศึกษาวิจัยในหัวข้อและโครงการที่เหมาะสม
สำหรับหน่วยงานที่ร่วมลงนาม MOU จำนวน 25 หน่วยงาน ประกอบด้วย 
 1. หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 12 หน่วยงาน
- ศปมผ. - ศรชล.
- กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ - กระทรวงแรงงาน 
- กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ - สำนักงานอัยการสูงสุด
-  กรมสอบสวนคดีพิเศษ - กรมประมง
- กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง - กรมเจ้าท่า
- กองบังคับการตำรวจน้ำ - กรมศุลกากร 
 2. องค์กรภาคเอกชน
- สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย - สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย
-  สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย - สมาคมการประมงทะเลไทย
- สมาคมอุตสาหกรรรมทูน่าไทย - บริษัทไทยยูเนี่ยน
- บริษัท ฯลฯ 
 3. องค์กรที่เป็นกลาง (ลงนามในฐานะพยาน)
- กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
- มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน 

ซึ่งในการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายเป็นความร่วมมือของทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้การทำการประมงไทยมีมาตรฐานสากล และมีความยั่งยืนตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น: