PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สหรัฐอยากให้ทักษิณกลับมา


สหรัฐยังอยากให้ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ามามีอำนาจในไทย เพื่อสานต่อนโยบายการกลับเข้าสู่เอเชีย (Pivot to Asia)ของสหรัฐ ให้ประสบผลสำเร็จโดย...ประพันธ์ สานแสงทอง

ความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐฯ
สหรัฐยังอยากให้ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ามามีอำนาจในไทย เพื่อสานต่อนโยบายการกลับเข้าสู่เอเชีย (Pivot to Asia)ของสหรัฐ ให้ประสบผลสำเร็จโดย...ประพันธ์ สานแสงทอง 
สหรัฐยังอยากให้ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ามามีอำนาจในไทย เพื่อสานต่อนโยบายการกลับเข้าสู่เอเชีย (Pivot to Asia)ของสหรัฐ ให้ประสบผลสำเร็จโดย...ประพันธ์ สานแสงทอง
นายกลิน ที.เดวีส์(ซ้าย)เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยเข้าพบนายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2016 ที่กระทรวงการต่างประเทศ
Last updated: 21 June 2016 | 20:31
หากติดตามนโยบายต่างประเทศสหรัฐนับตั้งแต่นายแอช คาร์เตอร์ เข้ามาเป็นรัฐมนตรีกลาโหมจะพบว่าสหรัฐมีเข็มมุ่งหันมายังเอเชีย (Pivot to Asia) หลังจากไปถล่มตะวันออกกลางให้เห็นซากตึกในประเทศต่างๆมาแบบย่อยยับแล้ว 

เป้าหมายสำคัญของสหรัฐก็คือการกำจัดไม่ให้อิทธิพลของจีนทั้งด้านการทหาร,ภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ ขยายมายังประเทศเพื่อนบ้านทั้งเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

เราจะเห็นได้หนักในการก่อกวนจีนก็คือการพยายามขยายความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ด้วยการอ้างว่าจีนฮุบหมู่เกาะสแปรทลี การสร้างกองทัพขึ้นในปะการังเทียม ฯลฯ จนกระทั่งจีนขู่เอาจริงใครล้ำน่านน้ำเข้ามาเป็นเจอดี 

จากงานเขียนชื่อ สหรัฐเข้าแทรกแซงประเทศไทยช่วยทำให้กรุงเทพฯ-มอสโคว กระชับสัมพันธ์กันแน่นขึ้น(US Meddling in Thailand Boosts Bangkok-Moscow Ties) โดยโทนี คาร์ตาลุซซี นักวิเคราะห์ชาวอเมริกันที่ประจำอยู่กรุงเทพฯ โทนีเขียนบทความนี้ไว้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2016 แต่ เมื่อกลับไปอ่านแล้วยังทันสมัยอยู่ เพราะมีพฤติกรรมหลายประการที่เกิดขึ้นตามมาในเดือนมิถุนายน 2016

ข้อเขียนของโทนี เขาเริ่มไว้ว่า  อิทธิพลของสหรัฐในภูมิภาคเอเชียมีดังนี้

1.ผู้ปกครองที่เป็นรัฐบาลหุ่นของสหรัฐในฟิลิปปินส์และญี่ปุ่นครองอำนาจมายาวนาน ขณะที่เมียนมาร์ ก็เริ่มที่จะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐและยุโรป โดยเธอผู้นั้นคือออง ซาน ซูจี  ที่มีอิทธิพลทางการเมืองเหนือเมียนมาร์ในปัจจุบัน 

2.มาเลเซียและอินโดนีเซียเลือกที่จะเข้าสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมากกว่าสหรัฐ เพื่อว่า 2 ประเทศนี้จะได้ผลประโยชน์แลกเปลี่ยนด้านการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน,การเข้ามาค้ำยันกับเขตการค้าเสรี (หมายเหตุผู้เขียน-อาทิเช่นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแปซิฟิก PTT  เป็นต้น) รวมทั้งข้ออ้างว่าเป็น หุ้นส่วนทางทหาร ทั้งๆที่เรื่องทหารเป็นไปในด้านเดียวของสหรัฐมากกว่าอื่นใด

3.ประเทศไทยพบว่าตัวเองกลายเป็นจุดศูนย์กลางของการมุ่งสู่เอเชียของสหรัฐ มองทั้งจากแง่ของภูมิศาสตร์,ประวัติศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์  นโยบายของไทยคือการหลีกเลี่ยงที่จะเป็นเมืองขึ้นของทั้งสหรัฐและยุโรป เพราะมีความพยายามที่จะสร้างความสมดุลย์ให้เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะด้านกองกำลัง   

ยิ่งไปกว่านั้นในห้วงเวลา 10 ปีที่การเมืองไทยไร้เสถียรภาพนั้น เกิดขึ้นจากทักษิณ ชินวัตร หุ่นของสหรัฐโดยตรงที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2001-2006 จากนั้นน้องเขยและน้องสาวเข้ามารับหน้าที่จนถึงปี 2014 ตัวเขาและพรรคการเมืองของเขาก็ถูกถอดออกจากอำนาจด้วยการทำรัฐประหารแบบสันติของทหาร

4.ในระหว่างที่ทักษิณ ชินวัตร อยู่ในอำนาจนั้นเขารับใช้ผลประโยชน์ของตะวันตกอย่างดีด้วยการส่งทหารไทยไปร่วมรบในสงครามที่ผิดกฎหมายที่สหรัฐส่งกองกำลังบุกเข้ายึดครองอิรักในปี 2003 , อนุญาตให้ CIA เข้ามาทำโครงการอันเลวร้ายในแผ่นดินของไทย (ไม่ทราบว่าโครงการทรมานนักโทษเหมือนกัวเตนาโมหรือไม่) รวมทั้งความพยายามที่จะเปิดให้มีเขตการค้าเสรีระหว่างไทย-สหรัฐโดยปราศจากความเห็นชอบของรัฐสภา

สหรัฐต้องการให้ตระกูลชินวัตรกลับมามีอำนาจ

5.นับตั้งแต่ทักษิณ ชินวัตร ถูกถอดพ้นอำนาจในปี 2006 เขากลับได้รับการสนับสนุนจากบริษัทล้อบบี้ขนาดใหญ่ของวอชิงตัน รวมทั้งกลุ่มคาร์ลีล (Carlyle Group)ที่นายเจมส์ เบเกอร์อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐมีส่วนร่วม, Barbour Griffith & Rogers, Robert Amsterdam และกลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่เคนเนธ เอเดลแมน (Neo-Conservative Kenneth Adelman)

ประการนี้เป็นที่ชัดเจนว่าสหรัฐต้องการที่จะผลักดันให้ตระกูลชินวัตรกลับเข้าสู่อำนาจไทยอีกหรืออย่างน้อยก็ใช้แนวร่วมของทักษิณทำให้ประเทศไทยอ่อนแอและแบ่งแยกเท่าที่จะเป็นไปได้ สหรัฐจะได้กลับเข้ามายืนในภูมิภาคนี้ได้มากขึ้น  

ประเด็นนี้ให้มองดูการเคลื่อนไหวของ แนวร่วมทักษิณที่ กำลังแยกกันเดินรวมกันตี ดังนี้

1.อดีตผู้บริหารพรรคเพื่อไทยกว่า 10 คนดาหน้ากันออกมาชูป้ายไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังจะนำออกทำประชามติ วันที่ 7 สิงหาคม 2016

2.กลุ่มนปช.หรือคนเสื้อแดงดาหน้ากันออกมาเพื่อจัดตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติ เพื่อสร้างกระแสการเมืองให้เกิดขึ้น  เมื่อจัดตั้งไม่ได้ก็เข้าร้องเรียนองค์การสหประชาชาติกล่าวหาว่าคสช.และรัฐบาลละเมิดสิทธิมนุษยชนพวกเขา

3.สหรัฐเข้าแทรกแซงประเทศไทยโดยตรงในเรื่องกฎหมายอาญามาตรา 112 (เป็นกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงของประเทศ) เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2015 ที่นายกลิน ที. เดวีส์ เอกอัครราชทูตเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้จนถูกกลุ่มคนไทยไปรวมตัวกันประท้วงถึงหน้าสถานทูต 

เท่านั้นยังไม่พอเมื่อนายกลิน เดวีส์ เข้าพบนายดอน ปรมัตถ์วินัย  รัฐมนตรีต่างประเทศเมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 12 พฤษภาคม 2016 ที่กระทรวงการต่าง ประเทศ ทั้งสองมีการหารือกันนานประมาณ 1.30 ชั่วโมง  ต่อมานายดอนเปิดโอกาสให้นายเดวีส์ให้สัมภาษณ์และตอบคำถามของสื่อมวลชนก่อน 

ในช่วงต้นนายเดวีส์พูดถึงประเด็นที่มีการหารือกับนายดอนคือเรื่องทะเลจีนใต้และเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย พร้อมกับขอบคุณนายดอนที่ได้มีการพูดคุยหารือกันอย่างตรงไปตรงมา

สหรัฐเข้ามาจุ้นจ้านกิจการของไทย

ผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่องที่สำนักข่าวเอเอฟพีเสนอข่าวว่าสหรัฐได้ประณามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ นายเดวีส์ตอบว่าสหรัฐห่วงกังวลอย่างยิ่งกับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมกับย้ำจุดยืนที่ได้พูดไปโดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแล้วว่าสหรัฐห่วงกังวลกับการจับกุมนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและเห็นว่าควรต้องมีการเปิดพื้นที่ทางการเมือง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นขัดต่อพันธกรณีของไทยตามหลักสากล 

หลังนายเดวีส์ให้สัมภาษณ์เช่นนั้น นายดอนเรียกเอกสารจากเจ้าหน้าที่มาดูก่อนที่จะสอบถามนายเดวีส์อีกครั้งซึ่งนายเดวีส์ยืนยันว่า แคทรีนา อดัมส์ คือโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ซึ่งขัดกับการชี้แจงของกระทรวงการต่างประเทศไทยก่อนหน้านี้ 

จากนั้นนายเดวีส์หยิบเอกสารขึ้นมาอ่านต่อหน้าสื่อมวลชนและให้เจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐแปลให้สื่อมวลชนฟังเป็นภาษาไทยว่า สหรัฐรู้สึกไม่สบายใจกับเหตุการณ์จับกุมเมื่อเร็วๆ นี้ เกี่ยวข้องกับการโพสต์ข้อความออนไลน์ รวมถึงการจับกุมมารดาของนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งขัดแย้งกับพันธกิจของไทยต่อนานาชาติ ไม่เป็นการเคารพเสรีภาพในการแสดงออกและสร้างบรรยากาศของการข่มขู่ และทำให้เกิดการเซนเซอร์ตัวเอง

นายเดวีส์กล่าวต่อว่า การข่มขู่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและครอบครัว ทำให้เกิดความวิตกกังวลและห่วงใยอย่างยิ่งต่อพันธกรณีของไทยที่ต้องเคารพเสรีภาพในการแสดงความเห็น สหรัฐยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น การจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การจำกัดสิทธิในการแสดงความเห็น สิทธิในการชุมนุม รวมถึงการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร

สหรัฐเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยินยอมให้มีพูดคุยกันอย่างเปิดเผย และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในอนาคตทางการเมืองของประเทศ ซึ่งรวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติในเดือนสิงหาคม เราขอเรียกร้องและกระตุ้นให้ไทยยกเลิกข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้นายเดวีส์กล่าว และว่า นี่คือจุดยืนและท่าทีของสหรัฐในขณะนี้ พร้อมกับขอบคุณรัฐบาลไทยอีกครั้งที่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนควาเห็นในเรื่องต่างๆ ซึ่งรวมถึงสิทธิมนุษยชนในไทย ทั้งยังขอบคุณสื่อมวลชนที่ทำงานเพื่อประชาชนและย้ำว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการสื่อความจริงให้ประชาชนได้รับทราบ สหรัฐให้ความเคารพกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน

นายดอนบอกนายเดวีส์ไม่ได้หยิบยกตอนพูดคุยกัน

หลังนายเดวีส์อ่านเอกสารที่เตรียมมาจบ นายดอนย้ำว่า นายเดวีส์ไม่ได้หยิบยกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพูดคุยกับตนระหว่างการหารือกันแต่อย่างใด นายเดวีส์จึงพูดอีกครั้งว่า ยืนยันว่าตนไม่ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นพูดกับนายดอน แต่พูดกับสื่อเพื่อแสดงจุดยืนของรัฐบาลสหรัฐ ขณะที่ในการหารือกับนายดอนก็ได้พูดคุยกันในหลายเรื่องรวมถึงเรื่องสิทธิพลเมืองและรับว่าสหรัฐไม่ได้ใช้คำว่าประณามไทย

สหรัฐไม่สนใจเรื่องเสียมารยาททางการทูต

กรณีของนายกลิน ที.เดวีส์จะเห็นได้ว่าเขาไม่ได้สนใจเรื่องมารยาททางการทูต เพราะเขาต้องรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐเช่นการเข้าไปคุยกันเรื่อง 1.ทะเลจีนใต้ฃ 2.เรื่องสิทธิพลเมืองต้องการเปิดทางให้กลุ่มที่นิยมชมชอบทักษิณ ชินวัตร มีพื้นที่แสดงออก ด้วยการอ้างพันธกรณีตามหลักสากล

ทางออกของประเทศไทยจะรับมืออย่างไร

เมื่อเห็นชัดเจนแล้วว่าสหรัฐไม่ได้มีความหวังดีแท้จริงกับมิตรประเทศอย่างไทย แต่ ทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง  ประเทศไทยก็สามารถใช้ศักยภาพที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียนดำเนินการตามที่ตนเห็นสมควร ดังนี้

1.การหันไปคบค้ากับประเทศจีนและรัสเซีย เป็นการเปิดกว้างหามิตรเพิ่มเติม ทั้ง 2 ประเทศก็เป็นชาติมหาอำนาจไม่น้อยกว่าสหรัฐ  ตัวอย่างเช่นกรณีประเทศซีเรีย เมื่อรัสเซียได้รับเชิญเข้าไปจัดการกับกลุ่มไอซิส  ประเทศสหรัฐก็ได้แต่ยืนมองตาปริบๆ

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2016 พลเอกมาร์ค มิลลีย์ เสนาธิการทหารบกสหรัฐยอมรับว่ามี 4 ประเทศที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงสหรัฐประกอบด้วยรัสเซีย,จีน,อิหร่านและเกาหลีเหนือ  แม้ว่าจะไม่ได้มีการจัดอันดับ แต่เสนาธิการทหารบกสหรัฐยอมรับว่ารัสเซียหมายเลข 1 ในบรรดา 4 ประเทศ 

พล.อ. Mark A. Milley เสนาธิการทหารบกสหรัฐ  (US Army/Monica King)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------- 

2.ในกรณีจีนนั้นประเทศไทยลงนามในสัญญาการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง  ส่วนรัสเซียที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ เดินทางไปตอนต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีการติดต่อเรื่องสินค้าเกษตรและอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่รัสเซียต้องการ หลังจากรัสเซียถูกสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประกาศแซงชั่นรัสเซียหลังจากรัสเซียบุกเข้าไปประเทศยูเครน

3.ประเทศไทยมีระบบกฎหมาย เมื่อใครทำผิดกฎหมายก็ต้องถูกดำเนินคดีอาทิเช่นทำผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 หากเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินคดีก็จะผิดมาตรา 157 ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่  ดังนั้นหากไม่ต้องหากไม่ต้องการถูกดำเนินคดีก็อย่าทำผิดกฎหมาย

จะต้องตั้งคำถามไปยังสหรัฐด้วยว่า ประเทศสหรัฐมีการใช้ปืนสังหารกันมากมายที่สุดในโลก  ล่าสุดก็คือที่เกิดที่เมืองออร์แลนโด้ รัฐฟลอริด้า ถามกลับไปว่าสหรัฐสามารถที่จะแก้ไข The Second Amendment ในรัฐธรรมนูญของตัวเองได้หรือไม่เพื่อที่จะไม่ให้คนอเมริกันครอบครองอาวุธปืน,พกพาอาวุธปืน และให้ทูตกลิน เดวีส์ ตอบคำถามนี้ เพราะอยากมาวิจารณ์มาตรา 112 ดีนัก

3.คสช.และรัฐบาลจะต้องจัดหน่วยชี้แจง-ตอบโต้เหมือนหน่วยประชาสัมพันธ์ ด้วยการรวมเอามือฉมังในกระทรวงการต่างประเทศมาร่วมกับมือฉมังของคสช.ด้วย มือฉมังในที่นี้หมายถึงข้าราชการที่รักชาติพร้อมที่จะทำงานให้ประเทศชาติจริงๆ ไม่ใช่ทำงานแบบราชการให้พ้นไปวันๆ

ไม่ใช่เมื่อกลุ่มนปช. เดินทางไปร้องเรียนสหประชาชาติในประเทศไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องยกหูโทรศัพท์ไปหานายบัน คิ มูน เลขาธิการสหประชาชาติ  วิธีการนี้นายกรัฐมนตรีต้องรับงานไปหมด ในห้วงเวลานี้และปัญหานี้ก็ถูกต้อง แต่ปัญหาอื่นๆนายกรัฐมนตรีต้องจัดเจ้าหน้าที่เข้ารับมือ การบริหารประเทศจึงจะถูกต้อง

4.ประชาชนคนไทยจะต้องใช้โซเชียล มีเดียให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อรายงานข่าวที่ไม่ชอบมาพากลรวมทั้งแนะนำทางออกให้ด้วย เพื่อประเทศชาติจะได้เดินไปถูกต้อง ไม่ให้ใครเข้ามาวอแว”แบบไร้เหตุผลกับรัฐบาลหรือประเภท ชักใบให้เรือเสีย

First posted: 21 June 2016 | 20:28

ที่มา:ไทยทริบูน

ไม่มีความคิดเห็น: