วันนี้(7 ต.ค.)ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๒/๒๕๕๙ เรื่อง การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ระบุว่า โดยที่รัฐบาลได้มีนโยบายและให้ความสําคัญในการปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการพัฒนาประเทศทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งกลไกในการพัฒนาประเทศ ได้มุ่งเน้นให้มีการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปวิทยา แขนงต่าง ๆ ให้เกิดความรู้และการพัฒนาเพ่ือเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อสนับสนุนให้การดําเนินการ ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จําเป็นต้องบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้ตรงตาม ความต้องการและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อลดความซ้ําซ้อน และสามารถผลักดันให้มีการนําไปใช้ ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ในการนี้ สมควรกําหนดให้มีสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อทําหน้าที่ในการกําหนดทิศทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมทั้งปรับปรุงระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนกํากับและติดตามการบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณ และประเมินผลการดําเนินการ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีเอกภาพ อันเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาการวิจัยของประเทศ และปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้มีสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
(๒) รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานคนที่หนึ่ง
(๓) รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานคนที่สอง
(๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(๑๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(๑๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(๑๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(๑๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(๑๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(๑๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(๑๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
(๑๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(๑๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๒๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(๒๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(๒๒) รัฐมนตรวี่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(๒๓) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(๒๔) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
(๒๕) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(๒๖) ประธานกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๒๗) ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
(๒๘) ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ
(๒๙) ประธานที่ประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
(๓๐) ประธานมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
(๓๑) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
(๓๒) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(๓๓) ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(๓๔) เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
(๓๕) เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
(๓๖) ผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนไม่เกินแปดคน
(๒) รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานคนที่หนึ่ง
(๓) รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานคนที่สอง
(๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(๑๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(๑๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(๑๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(๑๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(๑๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(๑๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(๑๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
(๑๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(๑๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๒๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(๒๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(๒๒) รัฐมนตรวี่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(๒๓) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(๒๔) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
(๒๕) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(๒๖) ประธานกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๒๗) ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
(๒๘) ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ
(๒๙) ประธานที่ประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
(๓๐) ประธานมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
(๓๑) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
(๓๒) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(๓๓) ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(๓๔) เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
(๓๕) เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
(๓๖) ผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนไม่เกินแปดคน
ให้เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นเลขานุการร่วม และให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จํานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ในกรณีที่รัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งผู้ใดไม่สามารถเข้าร่วมประชุมในครั้งใดได้ รัฐมนตรีผู้นั้นอาจมอบหมายข้าราชการในกระทรวงของตนคนหนึ่งเข้าร่วมประชุมแทนสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติต้องมีการประชุมอย่างน้อยปีละสี่ครั้ง
ข้อ ๒ ให้สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดทิศทางและนโยบายการดําเนินงานของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
(๒) กําหนดแผนที่นําทาง (Roadmap) เกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
รายสาขาใหสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ
รายสาขาใหสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ
(๓) กํากับ เร่งรัด และติดตามให้มีการปรับปรุงและแก้ไขโครงสร้าง ภารกิจ อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระบบวิจัยและ
นวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรองรับความต้องการในด้านการวิจัยและนวัตกรรม
นวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรองรับความต้องการในด้านการวิจัยและนวัตกรรม
(๔) กํากับ เร่งรัด และติดตามให้มีการปรับปรุงและแก้ไขระบบหรือกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีอยู่เดิม และที่เกิดขึ้นใหม่ไปใช้ในเชิงวิชาการ เชิงพาณิชย์ เชิงสังคม และเชิงนโยบาย ให้เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด
(๕) กํากับ เร่งรัด และติดตามให้มีการจัดทําแผนพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับ
บุคลากรด้านแรงงานในระดับต่าง ๆ
บุคลากรด้านแรงงานในระดับต่าง ๆ
(๖) กําหนดระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธ์ิในลักษณะเป็นก้อน (Block Grant) ตามโปรแกรมวิจัยและนวัตกรรม (Program-based) ให้สอดคล้องกับระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมรายสาขา รวมทั้งกําหนดระบบการติดตามและประเมินผลที่มีความต่อเนื่อง
(๗) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการกําหนดมาตรการและแรงจูงใจทางภาษีและสิทธิประโยชน์ สําหรับการระดมทุน การพัฒนากองทุน การจัดสรรเงินจากกองทุน และเงินทุนของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งความร่วมมือกับเอกชน ประชาสังคม และต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
(๘) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการเร่งรัด และติดตามให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระบวนการออกใบอนุญาต การกําหนดและรับรองมาตรฐานและการจดทะเบียนและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อรองรับการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งอํานวยความสะดวกในการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน
(๙) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจําเป็น
(๑๐) เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อมูลและข้อแนะนํา เพื่อประกอบการพิจารณาดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ได้ตามความจําเป็น
(๑๑) รายงานผลการดําเนินงานและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือเพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรืออนุมัติ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ ให้สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ รับผิดชอบงานธุรการและสนับสนุนการทํางานของสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานที่แต่งตั้งขึ้นตามคําสั่งนี้
การเบิกจ่ายเบี้ยประชุม ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จําเป็น ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่าย
จากงบประมาณของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติกำหนด
จากงบประมาณของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติกำหนด
ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการบูรณาการและลดความซ้ําซ้อนในการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้ยุบเลิกสภาและคณะกรรมการดังต่อไปนี้ และให้โอนอํานาจหน้าที่ไปเป็นของสภานโยบายวิจัยและ
นวัตกรรมแห่งชาติตามคําสั่งนี้
นวัตกรรมแห่งชาติตามคําสั่งนี้
(๑) สภาวิจัยแห่งชาติ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการสาขาวิชาการ ตามกฎหมายว่าด้วยสภาวิจัยแห่งชาติ
(๒) คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
(๓) คณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๕๘
(๒) คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
(๓) คณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๕ การโอนอํานาจหน้าที่ตามข้อ ๔ (๒) ไม่รวมถึงอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ตามความในมาตรา ๑๒ (๖) (๗) (๘) และ (๙)
มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยให้โอนไปเป็นของคณะกรรมการบริหารสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยให้โอนไปเป็นของคณะกรรมการบริหารสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
ข้อ ๖ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและคล่องตัวในการดําเนินการของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ให้สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติมีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสํานักงาน
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเพื่อทําหน้าที่กํากับการปฏิบัติงานของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเพื่อทําหน้าที่กํากับการปฏิบัติงานของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้
ตามความเหมาะสม โดยในระหว่างนี้มิให้นําความในมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕แห่งพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๓๑๕ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ และพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๗ มาใช้บังคับ
ฉบับที่ ๓๑๕ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ และพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๗ มาใช้บังคับ
ข้อ ๗ ให้สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติมีอํานาจมอบหมาย สั่งการ หรือกําหนดหลักเกณฑ์การดําเนินการในเรื่องใดเพื่อให้สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม
ข้อ ๘ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้
ข้อ ๙ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใด ที่อ้างถึงสภาวิจัยแห่งชาติ หรือคณะกรรมการบริหารตามกฎหมายว่าด้วยสภาวิจัยแห่งชาติ
หรือคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ให้ถือว่าอ้างถึงสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ตามคําสั่งนี้
หรือคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ให้ถือว่าอ้างถึงสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ตามคําสั่งนี้
ข้อ ๑๐ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาต
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น