PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ผ่าสถานการณ์รอบข้างผู้นำ “สอบตก” จริยธรรม


ผ่าสถานการณ์รอบข้างผู้นำ “สอบตก” จริยธรรม : “ประยุทธ์” สะดุดศรัทธา จุดเสี่ยงขาลง
ที่มา: ไทยรัฐ น.3

ทั่วทุกภาคของประเทศไทยยังชุ่มฉ่ำไปด้วยสายฝน
โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ต้องเจอภาวะน้ำท่วมขังถนน รถติดวินาศสันตะโร ถึงขั้นต้องสั่งอาหารฟาสต์ฟู้ดบริการส่งให้กินถึงที่รถติดแบบไม่ขยับ ใช้เวลาเดินทางกลับบ้านหลายชั่วโมง
คนเมืองกรุงบ่นกันโขมงโฉงเฉง

ในสถานการณ์ที่เดือดร้อนหนักไม่น้อยไปกว่ากัน สำหรับชาวบ้านในเขตพื้นที่ลุ่มภาคกลางที่ต้องรับน้ำจากการระบายของเขื่อนหลากเข้าท่วมบ้านเรือน เรือกสวน นา ไร่ข้าว ผลไม้ พืชผลทางการ

เกษตรเสียหายไปตามๆกัน

บรรยากาศเร้าเหตุฉุกเฉินจากน้ำท่วม ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช.ต้องนำคณะขึ้นเฮลิคอปเตอร์ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์อุทกภัย พร้อมทั้งมอบสิ่งของ

อุปโภคบริโภคให้ประชาชนผู้ประสบภัยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดชัยนาท

รีบไปให้ชาวบ้านร้านตลาดได้เห็นหน้า ไม่มัวแต่นั่งดูอยู่บนหอคอยงาช้าง

แสดงถึงความตั้งอกตั้งใจของผู้นำรัฐบาลในการวิ่งเข้าชนปัญหา

เรื่องของเรื่อง โดยภาพมันก็ช่วยฉุดอารมณ์ กระตุกกระแสสังคมที่กำลังเต็มไปด้วยเครื่องหมายคำถาม ความคาดหวังและความไว้วางใจที่มีให้ นายกฯลุงตู่และทีมงาน

ตามฉากอีกด้านหนึ่งที่ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม และนายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้

อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย

ร่วมกันตั้งโต๊ะแถลงข่าวใหญ่ที่ทำเนียบรัฐบาล

ชี้แจงการเช่าเหมาลำเครื่องบินของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจร่วมประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนที่ฮาวาย สหรัฐอเมริกา

ที่กลายเป็นปมร้อน ย้อนเข้าพันคอรัฐบาล คสช.

อย่างที่ พล.ท.สรรเสริญ ออกตัวแบบตรงๆเลยว่า รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องความโปร่งใส ปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ แต่เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดจากความเป็นจริง

เกรงว่าประชาชนจะรู้สึกผิดหวังที่ตั้งความหวังกับรัฐบาลชุดนี้

ตามท้องเรื่องที่ไล่เรียงมาจากประเด็นที่ถูกแฉประจานตัวเลขค่าใช้จ่ายจำนวนเกือบ 21 ล้านบาท ไปกันแค่ 40 กว่าคน โดยเฉพาะในส่วนของค่าอาหาร 600,000 บาท มีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน

กินอะไรถึงได้แพงระยับขนาดนั้น

และก็ต่อเนื่องกัน ช็อตต่อมาก็เป็นประเด็นรายชื่อผู้ร่วมคณะเดินทางที่ถูกปล่อยออกมาในโซเชียลมีเดีย มีทั้งบิ๊กทหาร ตำรวจ ข้าราชการ นักธุรกิจ สื่อมวลชน ฯลฯ

ซึ่งก็มีบางคนถูกตั้งแง่สงสัยในเรื่องของความเกี่ยวข้องกับภารกิจ

ถึงแม้จะมีการปฏิเสธ โดยการยืนยันจากการบินไทยว่า ตัวเลข 20.9 ล้านดังกล่าวยังเป็นแค่ราคากลาง แต่ตอนคิดราคาจริงจะต่ำลงไปกว่านี้

ที่สำคัญเป็นลักษณะของการโยกเงินหลวงจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา

ขณะที่รายชื่อของผู้โดยสารบางคนที่ตกเป็นเป้าวิพากษ์ วิจารณ์ไม่ได้เดินทางไปด้วยแต่อย่างใด

พร้อมทั้งมีการแจ้งความกับเพจดังในโซเชียลฯฐานนำข้อมูลเท็จ บัญชีชื่อผู้โดยสารปลอมออกมานำเสนอทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการบินไทยเกิดความเสียหาย

เบรกกระแสกันด้วยมาตรการทางกฎหมาย

แต่ก็อย่างที่เห็นกระแสไหลลามจากประเด็นทริปฮาวาย เป้าโฟกัสไปที่ผู้โดยสารคนสำคัญที่เป็นพิธีกรสาวคนดัง มีการสาวลึกไปถึงการตั้งบริษัทรับงานจากหน่วยราชการ

โดยการใช้ความใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ในรัฐบาลโกยงบประมาณหลวงไปหลายสิบล้านบาท

ตามรูปการณ์เข้าเงื่อน ผลประโยชน์ทับซ้อน

กระแสร้อนแรงจน พล.อ.ประยุทธ์ ร้อนใจสั่งให้รีบเคลียร์กับสังคม

นั่นก็เพราะมันโยงกับความขลังในการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ไล่ฟันไล่เชือดพวกขี้ฉ้อ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตมากมายหลายกรณี

ไล่บี้คนอื่นได้ ก็จำเป็นต้องทำภาพตัวเองให้โปร่งใส

แต่เรื่องของเรื่อง ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก

ในสถานการณ์เคลียร์เผือกร้อนกันแทบไม่ทัน ก่อนหน้าที่พี่ใหญ่อย่าง พล.อ.ประวิตรจะเจอมรสุมปมเหมาเครื่องบิน ก็เป็นคิวของน้องชายคือ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ก็

ยังกรุ่นๆกับปมผลประโยชน์ทับซ้อนของภรรยาและลูกชาย

พฤติการณ์ล่อแหลมกับงบประมาณหลวง

พี่ๆน้องๆล้วนแต่เกี่ยวข้องในระดับบุคคลใกล้ชิด

ทั้งนี้ทั้งนั้นจะผิดหรือถูกยังตัดสินไปเลยไม่ได้ ต้องว่ากันไปตามกฎระเบียบและกฎหมาย

แบบที่นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ระบุถึงเรื่องทริปฮาวายในชั้นต้น ดูจากวัตถุประสงค์และจำนวนคนที่ไปก็มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นบุคลากรทางความมั่น

คงของไทย อีกทั้งมีบุคลากรทางฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐฯร่วมเดินทางไปด้วย

ถือว่าช่วยประคองแง่มุมในเชิงกฎหมายได้ระดับหนึ่ง

แต่ในเชิงของกระแสก็อย่างที่สัมผัสได้ โดยพฤติการณ์ที่ขัดความรู้สึกสังคม ในมุมของความเหมาะสม

มันนำมาซึ่งปมคนรอบข้างผู้นำ สอบตกจริยธรรม

จับอารมณ์ของสังคมก็อย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์ยังอดร้อนใจไม่ได้

และถึงแม้จะไม่ได้เป็นการกระทำที่เกิดจากตัวผู้นำเองหรือลูกเมีย แต่โดยสถานะกัปตันทีม รัฏฐาธิปัตย์ที่ขันอาสาใช้อำนาจพิเศษแทนประชาชน

พล.อ.ประยุทธ์ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้

เป็นอะไรที่ ชิ่งหนีไม่ออก

ตามอาการแบบที่เห็นผู้นำออกอาการหงุดหงิด ฟาดหัวฟาดหาง ตาขวางใส่สื่อมวลชนและพวกที่สงสัย

ท้าทายเลยว่า ถ้าอยากตรวจสอบก็ให้ไปฟ้องร้องเอา

โดยอารมณ์ที่เดาไม่ออกว่า พล.อ.ประยุทธ์โกรธฝ่ายที่จ้องไล่บี้ตรวจสอบ หรือโมโหคนใกล้ชิดตัวเองกันแน่ ที่เปิดช่อง เปิดคาง ให้โดนทิ่มเอง

จากพฤติกรรมที่ทำให้ชาวบ้านเห็นตำตา

ซึ่งมันทำให้ต้นทุนหน้าตักส่วนตัวหนาๆของ นายกฯลุงตู่ ที่สะสมมาตลอด 2 ปีกว่า และทำท่าจะต่อเวลาคุมเกมรัฐบาลช่วงเปลี่ยนผ่านออกไปได้สบาย

โอกาสเปิดให้ลากยาวอำนาจพิเศษออกไปอีก 5 ปี ถึง 8 ปี

แต่กระแสพลิกทันที จากจังหวะสะดุดศรัทธา จากคนรอบตัวสอบตกจริยธรรม ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนจากขาขึ้น กำลังติดปิดลอยลมบน

กลายเป็นเสี่ยงกับภาวะขาลงวูบวาบเลย

แน่นอนว่าส่วนหนึ่งต้องยอมรับในกระแสการตรวจสอบของสังคมที่พัฒนามาอยู่ในระดับรุนแรง

และนั่นก็มาจาก พล.อ.ประยุทธ์ที่เป็นคนถือธงนำกระแสการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน ผ่านวาทกรรมและรณรงค์อย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็น ส่องไฟไล่โกงหรือกรรมสนองโกง

ขึ้นเวทีชูมือกากบาทต่อต้านคนโกง

ท่ามกลางอารมณ์ร่วมของคนไทยส่วนใหญ่ถูกปลุกให้อยู่ในอาการหวาดระแวงคนถืออำนาจ มีพฤติกรรมแอบแฝงแสวงหาผลประโยชน์

ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ประเทศชาติตกอยู่ในวิกฤติจนเกือบรัฐล่มสลาย

และทุกอย่างก็ตกไปอยู่บนบ่าของ พล.อ.ประยุทธ์ที่แบกความคาดหวังของประชาชน

ความไว้เนื้อเชื่อใจของคนไทยส่วนใหญ่ ถึงขนาดมอบ “เช็คเปล่า” ให้ “นายกฯลุงตู่ใช้อำนาจพิเศษแทนเพื่อให้นำพาประเทศไทยไปสู่เป้าหมายปลายทางการปฏิรูปใหญ่

ยอมอยู่ภายใต้การปกครองโดยอำนาจนอกระบบของรัฐบาลทหาร

กล้ำกลืนให้ต่างชาติเย้ยหยันเมืองไทยถอยหลังกลับไปอยู่ในโลกประชาธิปไตยเสี้ยวใบ

ทั้งหมดทั้งปวงก็หวังให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์เดิมๆ ทุจริต คอร์รัปชันอำนาจและผลประโยชน์ ฉุดบ้านเมืองไม่เจริญมาหลายสิบปี จนโลกพัฒนาการไปไหนต่อไหน

ความหวังอันสดใสสวยงามฝากไว้ที่ นายกฯลุงตู่ คนเดียว

แต่แล้วกองเชียร์ก็ต้องเสียววาบ เกิดอาการช็อกกับพฤติกรรมตำตา คนรอบข้างผู้นำที่สอบตกจริยธรรม

เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนวนกลับมาหลอน

แถมยังต่างจากยุครัฐบาลเลือกตั้งที่พอโดนสังคมเอะอะโวยวายก็จะหลบกันวูบวาบ กลัวการตรวจสอบแบบลนลาน

แต่นี่กลับเจอกับอาการปิดประตูใส่หน้าประชาชน ผู้นำท้าอยากตรวจสอบให้ไปไล่ฟ้องเอา

ขอดูเอกสารก็อ้างความมั่นคง เปิดเผยไม่ได้

สตง.ก็ออกตัวช่วยเคลียร์ ป.ป.ช.ก็ปัดสอบ องค์กรตรวจสอบพากันหลบเผือกร้อน

ออกลูกดุ ลูกขู่ กลบเกลื่อน โยกโย้ไปโยกโย้มา สุดท้ายมันก็คืออาการ ลูบหน้าปะจมูก

ฟันกันไม่ลงเพราะล้วนเป็นญาติ พี่ น้อง และเพื่อน

มาตรฐานการตรวจสอบพวกเดียวกันอ่อนยวบยาบเมื่อเทียบกับการไล่บี้ไล่เชือดฝั่งตรงข้าม

แล้วถามว่ามันจะแตกต่างกันอย่างไรกับการที่ไปก่นด่า ทำเป็นตั้งแง่รังเกียจนักการเมืองที่ทำให้ประเทศชาติเสียหายย่อยยับจากพฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชัน ผลประโยชน์ทับซ้อน

บริหารล้มเหลวจนทหารต้องยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง

แต่ผ่านมา 2 ปี สถานการณ์ยิ่งนานวันเข้า มันก็ยิ่งฟ้องพฤติกรรมเสมือนปากว่าตาขยิบ

ชักจะแยกไม่ออกระหว่างรัฐบาลทหารกับรัฐบาลนัก การเมือง

มันแตกต่างกันตรงไหน.

ทีมการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น: