PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560

"บิ๊กป้อม" เชื่อมั่นร่าง“สัญญาประชาคม”จะเป็นทางออกร่วมกัน

"บิ๊กป้อม" เชื่อมั่นร่าง“สัญญาประชาคม”จะเป็นทางออกร่วมกัน จากความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง /เห็นชอบร่างฯ แต่ให้แก้ไข ถ้อยคำบางส่วน ก่อนเปิดเวทีฟังความเห็น ในต้นกค.ให้เสร็จภายใน7กค./แม้เป็นแค่กระดาษ แต่สำคัญที่เจตน์จำนงประชาชน/ชี้ทุกอย่างจะดีขึ้น เพราะอารมณ์สังคมสงบลง เผย "ความเห็นร่วม" จะเอาไป ใส่ใน ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี
หลังการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ครั้งที่ 4/60 เมื่อ 19 มิถุนายน 60 ที่ ศาลาว่าการกลาโหม โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกฯและ รมว.กห. เป็นประธาน
พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกลาโหม/ ประธานอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์ เปิดเผย ว่า คณะกรรมการเตรียมการสร้างสามัคคีปรองดอง ชุด"บิ๊กป้อม"เห็นชอบ "ร่างสัญญาประชาคม" แต่ให้ปรับแก้บางถ้อยคำ บางส่วน เผย ร่างฯยาว3แผ่น มี10ข้อ เป็นบทนำครึ่งหน้า และบทสรุป อีกครึ่งหน้า แต่ยังจะไม่เปิดเผย จนกว่าจะมีการเปิดเวทีสาธารณะ
พลตรี คงชีพ กล่าวว่า ในร่างสัญญาประชาคม มี ประเด็นที่ตัองเร่งสร้างความเข้าใจ และไม่ให้ความขัดแย้งขยาย เช่น การยึดถือและปฏิบัติตามกม.กม และการใช้ถ้อยคำ ที่ไม่ปลุกระดม หรือสร้างความขัดแย้ง Hate speech
"แม้เป็นเพียงแค่กระดาษ แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ประชาชน และเจตน์จำนง จิตวิญญาณของปชช. ในการดำหนดกรอบ การอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข"
"เชื่อมั่นว่าครั้งนี้จะประสบความสำเร็จมากกว่าทุกครั้ง เพราะเราได้ศึกษาจากบทเรียนในอดีต"
พลตรีคงชีพ กล่าวว่า ตอนนี้ อารมณ์ของสังคม เริ่มสงบลง และเต็มไปด้วยเหตุผล สร้างสรรค์ เชื่อไม่มีการใช้ความรุนแรง หาก มีบางกลุ่มออกมาต่อต้านการเลือกตั้ง ยันตัองยึดกม. ทั้ง พรบ.การชุมนุมฯ
ส่วนการประกาศ ร่างสัญญาประชาคม นั้น ต้องรอการรับฟังความเห็นจากประชาชน
ในต้นกค.ให้เสร็จภายใน7กค. แล้วกลับมา ทำร่างฯ ที่สมบุรณ์ แล้วส่งให้คณะ ปยป. จากนั้น จะมีการแถลงให้ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน. แต่นายกฯหรือใครจะแถลงนั้น ให้รอบทสรุป
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบถึงกระบวนการสร้างความสามัคคีปรองดองที่ผ่านมา และร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นอย่างรอบด้านต่อ "เอกสารความเห็นร่วม" ที่จัดทำขึ้นและการใช้ประโยชน์
รวมทั้ง "ร่างสัญญาประชาคม" เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน
พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวย้ำว่า รัฐบาลมีความจริงใจและมีเจตจำนงที่แน่วแน่ ในการสร้างความสามัคคีปรองดองในครั้งนี้ และเน้นถึงเป้าหมาย คือ การรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่ การกำหนดกรอบแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันติสุขในอนาคต
โดยประชาชนทั้งประเทศ ต้องได้รับประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง
พร้อมย้ำให้ร่วมกันสร้างการรับรู้กับประชาชนและสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ ให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอย่างแท้จริง
พล.ต.คงชีพ กล่าวว่า ร่างสัญญาประชาคมที่ปรับแก้แล้ว จากข้อคิดเห็นของคณะกรรมการ จะสามารถเผยแพร่สู่สาธารณะ ในรูปแบบของการจัดเวทีสาธารณะทั่วทุกภาคได้ภายใน ปลาย มิ.ย.60 โดยจะจัด 4 ครั้งในพื้นที่จังหวัด พิษณุโลก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช และ กทม.
พล.ต.คงชีพ กล่าวว่า ในภาพรวม ความขัดแย้งในสังคมไทยตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา นำมาสู่การต่อต้านคัดค้านรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศในแต่ละช่วงเวลา ทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันจนลุกลามไปสู่การเผชิญหน้าที่รุนแรง ทั้งระหว่างรัฐกับประชาชน ประชาชนกับประชาชน และขยายวงกว้างไปสู่การใช้ความรุนแรง จนเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างประมาณค่ามิได้ ซึ่งบั่นทอนศักยภาพและกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่ความก้าวหน้าและมั่นคงอย่างมาก

หลังจากวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้ามายุติความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงในสังคมทันที โดยใช้กฎหมายพิเศษและกำหนดมาตรการป้องกันการใช้ความรุนแรงทางสังคมที่เข้มข้น โดยเฉพาะการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและยึดอาวุธสงครามทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร่วมกับการเสริมสร้างให้เกิดสภาวะที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองสมานฉันท์ในหมู่ประชาชน
กว่า2ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจำเป็นต้องแก้ปัญหาวิกฤตชาติและปัญหาฐานรากประเทศที่ถูกละเลย ควบคู่กับการวางรากฐานและอนาคตของประเทศ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม
ขณะเดียวกันต้องบริหารขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า โดยมุ่งเน้นการผดุงหลักนิติธรรมอย่างจริงจัง ด้วยกลไกตามกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันและกฎหมายพิเศษตามความจำเป็น ร่วมกับการขอความร่วมมือจากสังคม โดยยังให้ความสำคัญหลักกับปัญหาพื้นฐานทางสังคม ที่มีรากเหง้าความขัดแย้งมานาน เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การครอบครองทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกัน การกระจายอำนาจและรายได้ที่ไม่ทั่วถึงเป็นธรรม และปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น เป็นต้น ตามผลการปฏิบัติ ที่มีเป็นข่าวปรากฏอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา
ในขณะที่ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องกันถึงความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ เพื่อยกระดับและวางรากฐานประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม
นายกรัฐมนตรี จึงได้ตั้งคณะกรรมการจำนวน 4 คณะ ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ 2) คณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ 3) คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ 4) คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง เพื่อร่วมกันทำงานตอบสนองความต้องการของประชาชน ในการปฏิรูปขับเคลื่อนประเทศ. ตามแนวทางและเป้าหมายที่ร่วมกันกำหนด โดยไม่นำความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงกลับมาสู่สังคมอีกในอนาคต
ในส่วนของ คณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง มีความมั่นใจว่า โอกาสความสำเร็จของการร่วมสร้างความสามัคคีปรองดองครั้งนี้ มีมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาล มีเจตจำนงที่ชัดเจน
พร้อมทั้งได้ศึกษาบทเรียนและทะยอยแก้ปัญหารากเหง้าความขัดแย้งที่มีมาอย่างต่อเนื่องตลอด 2 ปีที่ผ่านมา และเมื่อพิจารณาแล้วว่า สังคมเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นและไว้ใจกันมากขึ้น ประกอบกับอารมณ์ทางสังคมมีความสงบลง การเปิดโอกาสให้ประชาชนจากทุกภาคส่วนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อทางออกและแนวทางป้องกันมิให้ความขัดแย้งกลับกลายเป็นความรุนแรงในอนาคตจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า แนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองที่รัฐบาลทำมา สามารถตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งกระบวนการรับฟังและตรวจทานความคิดเห็นที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วนอย่างดียิ่ง โดยข้อมูลที่ได้รับเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีคุณค่ายิ่ง
“เอกสารความเห็นร่วม” ได้จัดทำขึ้น ด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามหลักวิชาการ จากข้อมูล 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลการรวบรวมความเห็นร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น ผ่านเวทีการรับฟังในการสร้างความสามัคคีปรองดองทั่วประเทศ ที่ผ่านการสอบทานแล้วที่ผ่านมา
2) ข้อมูลผลการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างความสามัคคีปรองดองที่มีมา โดยจัดทำเป็นประเด็นความเห็นร่วมและความเห็นอื่นๆทั้ง 10 ด้าน
และจำแนกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ประเด็นที่คสช.และรัฐบาลได้ดำเนินการแล้วหรือกำลังดำเนินการ 2) ประเด็นที่สามารถดำเนินการได้และเกิดผลทันที 3) ประเด็นที่สามารถดำเนินการได้แต่ผลที่เกิดขึ้นอาจต้องใช้เวลา 4) ประเด็นที่ควรเร่งดำเนินการและสร้างความรับรู้ เพื่อมิให้ขยายไปสู่ความขัดแย้ง และ 5) ประเด็นที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำไปสู่การดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป
ข้อมูลจาก “เอกสารความเห็นร่วม” จะถูกเสนอไปยังคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตาม กรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูปประเทศ และการบริหารราชการแผ่นดิน
พร้อมทั้ง เสนอให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปการขับเคลื่อนประเทศ ใช้ประโยชน์ควบคู่กันไป
สำหรับประเด็นที่ 4 ซึ่งเป็นประเด็นที่ควรเร่งดำเนินการและสร้างความรับรู้ เพื่อมิให้ขยายไปสู่ความขัดแย้ง และประเด็นอื่นๆที่อ่อนไหวหรือถูกใช้เป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งที่ผ่านมา จะถูกแยกไปจัดทำเป็น “สัญญาประชาคม” ต่อไป
สำหรับ “ร่างสัญญาประชาคม” ที่จัดทำขึ้นจากการสะท้อนความเห็นร่วมกันของประชาชน เป็นการกำหนดกำหนดความตกลงของการอยู่ร่วมกัน เพื่อมิให้เกิดเงื่อนไขที่สุ่มเสี่ยงต่อความขัดแย้งที่ขยายไปสู่ความรุนแรงในอนาคต ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดี ที่ประชาชนทุกคนจะได้เข้าใจและร่วมกันปฏิบัติ ด้วยสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีต่อประเทศชาติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติสุขต่อไป
ทั้งนี้ แนวทางดำเนินการสร้างความสามัคคีปรองดองให้บรรลุความสำเร็จเป็นรูปธรรม จากสัญญาประชาคมที่จะเกิดขึ้นนี้ จะเกิดผลเป็นรูปธรรมได้ จากความเชื่อมั่นและไว้วางใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ในทุกมิติ ไม่เน้นเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต่อการมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน คือ “ผลประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงและมีส่วนร่วมของประชาชน การมีจิตสำนึกในการยอมรับกฎกติกา และเคารพกฎหมายต่างๆ รวมไปถึงการสร้างความเท่าเทียมกันในทุกด้าน ทั้งกฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและการเข้าถึงบริการภาครัฐ
ตลอดจนบรรยากาศของความสมานฉันท์ ความเป็นพี่เป็นน้อง การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน รวมทั้งความโปร่งใสในทุกกระบวนการ ซึ่งจัดเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะทำให้ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น: