PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

โปรโมชั่น 6 เดือน

โปรโมชั่น 6 เดือน

เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการประกาศใช้ พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ ไม่ให้เกิดโกลาหลวุ่นวายบานปลายใหญ่โต

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงตัดสินใจใช้อำนาจ หน.คสช. ออกคำสั่ง ม.44 ให้ชะลอหรือเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว เฉพาะ 4 มาตราสำคัญไปอีก 180 วัน หรือ 6 เดือน

เพื่อเปิดโอกาสให้นายจ้างชาวไทย และลูกจ้างแรงงานต่างด้าว มีเวลาแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย ภายในช่วง โปรโมชั่น 180 วัน

และเพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่รัฐฉวยโอกาสใช้ พ.ร.ก.ฉบับนี้ไปไล่บี้รีดไถตบทรัพย์นายจ้าง และแรงงานต่างด้าวตามอำเภอใจ

“แม่ลูกจันทร์” สรุปย่อๆว่า คำสั่ง ม.44 ให้ชะลอหรือเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว เฉพาะมาตรา 101 มาตรา 102 มาตรา 119 และมาตรา 122 ออกไปอีก 180 วัน

เช่น กรณีนายจ้างรับแรงงานต่าง-ด้าวทำงานในอาชีพที่สงวนไว้สำหรับคนไทย ต้องโดนโทษปรับสี่แสนบาทถึง แปดแสนบาทต่อลูกจ้างต่างด้าว 1 คน

หรือกรณีนายจ้างรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน โดยไม่มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนรับทราบ ต้องโดนโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท ต่อลูกจ้างต่างด้าว 1 คน

หรือกรณีนายจ้างยินยอมรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทำงาน ให้เข้าทำงาน ต้องโดนโทษปรับเต็มพิกัด สี่แสนบาท ถึงแปดแสนบาทต่อลูกจ้างต่างด้าว 1 คน

โทษปรับแรงและแพงขนาดนี้ ...ไม่ช็อกก็ใจเย็น

“แม่ลูกจันทร์” ย้ำอีกครั้งว่าเห็นด้วยที่รัฐบาลใช้ พ.ร.ก.ฉบับนี้ เป็นเครื่อง มือจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้เข้ารูปเข้ารอย เพื่อแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาแรงงานเถื่อน ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมไม่เละตุ้มเป๊ะอย่างที่ผ่านมา

แต่ปัญหาเกิดจากรัฐบาลเองที่เร่งรีบประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉบับนี้ปุบปับเกิน ไปจนทำให้นายจ้างและลูกจ้าง ไม่มีเวลาเตรียมดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ อย่างพอเพียง

เพราะการทำแรงงานผิดกฎหมายให้เป็นแรงงานถูกกฎหมายต้องใช้เวลา และต้องใช้เงินลงทุน

เริ่มจากต้องปล่อยแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้ลงทะเบียนกว่า 1 ล้านคน กลับบ้านใครบ้านมันไปขอหนังสือเดินทาง หรือเอกสารรับรองจากประเทศต้นทาง ก่อนจะเดินทางกลับเข้ามาในเมืองไทย
ต้องผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ต้องได้รับใบอนุญาตทำงาน ต้องมีนายจ้างรับรอง ระบุสถานที่ทำงาน และประเภทงานรับจ้างอย่างชัดเจน ฯลฯ

การดำเนินการจดทะเบียนแรง-งานต่างด้าวให้ครบตามขั้นตอนจะต้องใช้เวลาอย่างตํ่าๆ 2 เดือน หรือ 3 เดือน

ต้องใช้ค่าเดินทาง ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอีก 2 หมื่นบาทต่อคน

เป็นภาระที่นายจ้างต้องควักกระเป๋าลงทุน

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ ร้านก๋วยเตี๋ยว 1 ร้าน มีลูกจ้างแรงงานต่างด้าวทำงาน 5 คน เจ้าของร้านต้องปล่อยให้ ลูกจ้างทยอยกลับคนละ 2 เดือน

ร้านก๋วยเตี๋ยว 1 ร้าน มีลูกจ้างแรง-งานต่างด้าว 5 คน ต้องควักกระเป๋าลงทุน 1 แสนบาทขาดตัว

ปัญหาคือ อุตส่าห์ลงทุนไปแล้ว แต่ลูกจ้างหายหัวไปเลย หรือกลับมาเมืองไทย แต่ดันย้ายไปทำงานที่อื่น...

จะทำอย่างไร??

จะต้องทำอย่างไร??...ก็เสียเงินฟรีน่ะซีโยม.

“แม่ลูกจันทร์”

ไม่มีความคิดเห็น: