มติครม.แก้มติเดิมให้”พงศ์พร”กลับนั่ง ผอ.พศ.ตามเดิม
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติแต่งตั้ง พ.ต.ท.พงศ์พร
พราหมณ์เสน่ห์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) อีกครั้ง
วันนี้ (26 ก.ย.2560) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)
ใหม่ เป็นคนเดิมคือ พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ และให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
กำกับ พศ.แทนนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
//
(ลองไปไล่ข่าวเก่าดูกัน)
รัฐบาลแจงกรณีโยกย้าย ผอ.สำนักพุทธ
เพื่อความเหมาะสมและตอบสนองงานสำคัญของชาติให้สำเร็จ
ย้ำทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนทางราชการ
เชื่อมั่นยุติเรื่องได้เรียบร้อยในเร็ววันนี้
(8 ก.ย.2560) พล.ท. สรรเสริญ แก้วกำเนิด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่ พ.ต.ท. พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ทำหนังสือแย้งความเห็นของนายออมสิน
ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายก ที่อนุญาตให้ไปช่วยราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(สปน.) เป็นการชั่วคราว ตามที่ สปน.ร้องขอยืมตัวไปช่วยราชการ ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค.60 เป็นต้นไป
จนกว่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่ง ผอ.พศ.
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่ายังไม่มีคำสั่งที่เป็นทางการจากผู้บังคับบัญชา
นั้น
“ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ 220/2560 ลงวันที่ 8 ก.ย.60 ให้ พ.ต.ท.พงศ์พร
ไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปแล้ว
จึงนับว่าทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินอย่างถูกต้องแล้วทุกประการ”
ทั้งนี้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำว่า
การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปเพื่อความเหมาะสม เพราะระหว่างนี้ พศ. มีภารกิจสำคัญ 4 เรื่องที่ต้องทำให้สำเร็จ
ซึ่งต้องมีผู้นำหน่วยที่ได้รับการยอมรับและไว้วางใจจากคณะสงฆ์ หน่วยงานภายนอก
และเจ้าหน้าที่ใน พศ.เอง
รวมทั้งทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนได้อย่างใกล้ชิดและเป็นไปด้วยความราบรื่น
โดยภารกิจสำคัญประกอบด้วย 1) เป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคม (มส.) 2) ปราบปรามการทุจริต
ที่ต้องตรวจสอบทั้งคนใน พศ.ไปจนถึงระดับวัดและชาวบ้าน 3) จัดศาสนพิธีในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
รัชกาลที่ 9 ร่วมกับกรมการศาสนา
4) แก้ไขปัญหาที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ ที่ พศ. มส. ตำรวจ และกรมที่ดิน
ต้องทำงานร่วมกัน โดยช่วงนี้จะให้นาย กนก แสนประเสริฐ รอง
ผอ.พศ.รักษาการแทนไปพลางก่อน
ส่วนกรณีที่
สปน.มอบหมายให้ พ.ต.ท.พงศ์พร รับผิดชอบดูแลเขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี 5 จังหวัด ได้แก่ จ.สงขลา สตูล
ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส นั้น เป็นการแบ่งงานภายใน สปน.
โดยได้แบ่งงานจากของผู้ตรวจคนหนึ่งที่ต้องดูแลรับผิดชอบถึง 2 เขตตรวจราชการ
ซึ่งการปฏิบัติงานจริงนั้นจะอยู่ที่ กทม. เป็นหลัก
เพราะต้องประสานงานกับผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานในส่วนกลางที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานและปัญหาในแต่ละเรื่อง
ส่วนการลงพื้นที่ตรวจราชการนั้นเป็นไปตามความเหมาะสมและจำเป็น
“ท่านนายกฯ ระบุว่า พ.ต.ท.พงศ์พร
เป็นข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ดี และมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน
จึงเชื่อว่าจะมีความเข้าใจเหตุผลและขั้นตอนทุกอย่างเป็นอย่างดี ทั้งนี้ นายกฯ
ได้รับรายงานจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ว่า
เรื่องดังกล่าวจะยุติลงด้วยดีในเร็ววันนี้ และไม่กระทบต่อภารกิจสำคัญของ พศ.
ที่ต้องดำเนินการให้ลุล่วงต่อไป”
///
เปิดข้อโต้แย้ง คำสั่งย้าย
"พ.ต.ท.พงศ์พร" พ้น ผอ.พศ.
ถ้าจำกันได้ในยุค คสช.มีข้าราชการไม่กี่คนที่ถูกโยกย้าย
แล้วจะมีปฏิกิริยาตอบกลับหรือโต้แย้งข้อกฎหมายแบบนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พ.ต.ท.พงศ์พร มานั่ง ผอ.พศ.ด้วยอำนาจ มาตรา 44 มาแบบข้ามห้วยจาก ดีเอสไอ
และเมื่อถูกย้ายกลับมีท่าทีที่ตีความได้ว่า ไม่เห็นด้วย
หากลำดับความเห็นกรณีการโยกยย้าย
พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)
ไปเป็นผู้ตรวจราชการเขต 8 คือจังหวัด สงขลา สตูล ยะลา
นราธิวาส และปัตตานี โดยเริ่มจากวันที่ 29 สิงหาคม ครม.มีมติย้าย
พ.ต.ท.พงศ์พร ไปเป็นผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
โดนในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาแทบไม่มีความเคลื่อนไหวจาก ผอ.พงศ์พร
ทำให้หลายฝ่ายคิดว่าเรื่องดังกล่าวจบไปแล้ว
รวมถึง
ครม.ได้แต่งตั้ง ผอ.พศ.คนใหม่มาดำรงตำแหน่งแทน แต่เมื่อวานนี้
มีหนังสือราชการหลุดออกมา 2 ฉบับ
ฉบับหนึ่งเป็นหนังสือของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุให้ พ.ต.ท.พงศ์พร
ไปเป็นผู้ตรวจราชการเขต 8 คือจังหวัด สงขลา สตูล ยะลา นราธิวาส
และปัตตานี หนังสือฉบับนี้คาดการณ์ว่าอาจจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้
พ.ต.ท.พงศ์พรเปิดหน้าชน และทำหนังสือโต้แย้ง นายออมสิน ชีวะพฤกษ์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
หนังสือฉบับดังกล่าว
สรุปได้ 7 ข้อ คือ
ข้อ 1. พ.ต.ท.พงศ์พร ไม่สมัครใจ ข้อ 2 คือ พ.ต.ท.พงศ์พร
ยังอยู่ในตำแหน่ง ผอ.สำนักพุทธศาสนา เนื่องจากมติ ครม.ที่ให้ไปช่วยราชการ
จะมีผลเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฐ ข้อ 3 คำสั่งย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการทั้งที่ยังไม่โปรดเกล้าฯ
อาจจะขัด มติ ครม. และอาจจะกระทบพระราชอำนาจ ข้อ 4 สำนักพุทธฯอาจเสียหายเนื่องจากขณะนี้เหลือรอง
ผอ.คนเดียวซึ่งจะเกษียณอายุราชการในเดือน ต.ค.นี้ด้วย ข้อ 5. พ.ต.ท.พงศ์พร ตีความว่า
คำสั่งไม่มีผลทางกฎหมายจึงยังไม่พ้นจากตำแหน่ง นำมาสู่ข้อ 6 ว่า ถ้าคำสั่งไม่มีอำนาจตามกฎหมายทำไปจะเกิดความเสียหายกับราชการ
และข้อสุดท้าย นายออมสิน ในฐานะผู้บังคับบัญชา ยังไม่ได้สั่งเขาโดยตรง
นอกจากนี้
หนังสือที่ถูกมองว่าอาจจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายลงนามโดยนายจิระชัย มูลทองโร่ย
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ย้าย พ.ต.ท.พงศ์พร ไปเป็นผู้ตรวจราชการเขต 8 อาจจะมีคำถามว่า
เป็นการกลั่นแกล้งหรือเปล่า และเหตุใดต้องเจาะจงที่ ผอ.สำนักพุทธฯ
โครงสร้างของสำนักพุทธ
ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
แต่ที่ผ่านอีดตนายกฯหลายคนมักที่จะมอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายก
ดูแลสำนักพุทธศาสนาเช่นเดียวกับยุคปัจจุบัน ที่รัฐมนตรีออมสิน ยืนยันว่า
มีอำนาจย้าย ผอ.สำนักพุทธศาสนา
นอกจากนี้ยังมีความเห็นของนายวิษณุ
เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ยืนยันว่า พ.ต.ท.พงศ์พร
มีสิทธิ์ในการอุทธรณ์คำสั่งโยกย้ายครั้งนี้ และจะจัดการปัญหานี้ให้เสร็จใน 24 ชม.
///
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ชี้แจงสาเหตุเลือกนายมานัส
ทารัตน์ใจ เป็นผู้อำนวยการ พศ. คนใหม่ เพราะเชื่อว่าเป็นคนดี คนเก่ง
และสามารถทำงานร่วมกับคณะสงฆ์ได้ดี
วันนี้ (5 ก.ย.2560) พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ
ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
มีมติอนุมัติตามที่นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เสนอ
ซึ่งผ่านความเห็นชอบของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี มาก่อนหน้านี้
เพื่อรับโอนนายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
ให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.คนใหม่
สำหรับนายมานัส
ปัจจุบันอายุ 59 ปี จะเกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม 2561 ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม
จบการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยปูนา
สาธารณรัฐอินเดีย
ขณะที่นายออมสิน
ชี้แจงสาเหตุที่เสนอชื่อนายมานัส ว่า นายมานัสเป็นคนดี คนเก่ง
และมีความประนีประนอม คาดว่าจะทำงานกับคณะสงฆ์ได้ดี ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี เคยระบุว่าผู้ที่จะมาเป็นผู้อำนวยการ พศ.คนใหม่
นอกจากเป็นคนดีเป็นคนเก่งแล้ว ยังต้องทำงานเป็นด้วย
เบื้องต้นทราบว่ามีเสียงตอบรับที่ดีจากมหาเถรสมาคม
ทั้งนี้
ตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ. ก่อนที่ พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมเสน่ห์
จะถูกโยกย้ายไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบปัญหาการทุจริตเงินอุดหนุนวัด
จนเกิดกระแสกดดันให้ปลดออกจากตำแหน่ง
ก่อนจะมีการส่งเรื่องต่อให้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.)
ดูแลในภาพรวม ซึ่งพบความผิดปกติกว่า 300 เรื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น