PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ปมลึก การเมือง ว่าด้วย “ความเชื่อมั่น” ต่อ “การเลือกตั้ง”

ปมลึก การเมือง ว่าด้วย “ความเชื่อมั่น” ต่อ “การเลือกตั้ง”


ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งในปลายปี 2561 ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งในต้นปี 2562 แต่ความรู้สึกโดยพื้นฐานต่อการเลือกตั้งแปลกและแปร่ง

ด้านหลัก ก็คือ รู้สึกเฉยๆ

ด้านหลักของความเฉยๆ มีรากมาจากความไม่เชื่อมั่น ความไม่แน่ใจ เป็นความไม่แน่ใจตั้งแต่ที่รู้สึกว่าจะเป็นปลายปี 2561

แล้วเลเพลาดพาดไปถึงต้นปี 2562 ด้วย

หากมองว่าการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เลือกไปประกาศอันเกี่ยวกับ “การเลือกตั้ง” ที่กรุงวอชิงตัน ในบรรยากาศแห่งการพบปะกับประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เท่ากับเป็นการชิงโอกาสและสร้างเงื่อนไขในการรุกทางการเมือง

ก็ไม่แน่ใจ

ไม่แน่ใจว่ามาตรการ “การเลือกตั้ง” จะเป็นการรุกในทางการเมือง หรือว่าเป็นการตั้งรับในทางการเมืองกันแน่

เหตุใดจึงมองกระบวนการของ “การเลือกตั้ง” เป็นส่วนหนึ่งของรุกและรับในทางการเมือง

คำตอบ 1 เพราะเป็นเช่นนั้นจริงๆ
คำตอบ 1 เพราะเห็นว่าภายในองค์ประกอบของ คสช.ด้านหลักคือทหาร จึงย่อมจะมองแต่ละกรณีอย่างสัมพันธ์กับการทหาร

เป็นความเคยชินอย่างปกติของ “อาชีพ”

หากสิ่งที่เรียกว่า “ปฏิญญา ทำเนียบขาว” จะดำเนินไปอย่างสะท้อนลักษณะ “รุก” แล้วจะตอบคำถามต่อ “ปฏิญญา” อื่นๆ ก่อนหน้านี้อย่างไร

ไม่ว่าจะเป็น “ปฏิญญา โตเกียว” ไม่ว่าจะเป็น “ปฏิญญา นิวยอร์ก”

นั่นแสดงให้เห็นว่า นับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้น การ “ยื้อ” เวลาแห่งการเลือกตั้งให้ยืดออกไปต่างหากที่เป็นลักษณะ “รุก”

การที่ไม่สามารถ “ยื้อ” จึงกลายเป็นลักษณะ “รับ”

ความจริง หากมองผ่านประสบการณ์ทางการเมืองพลันที่รัฐธรรมนูญประกาศและบังคับใช้นั่นหมายถึงการนับถอยหลังในทางการเมือง

ไม่ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 ในยุค “ถนอม”

ไม่ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 ในยุค “เกรียงศักดิ์” ไม่ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 ในยุค “รสช.” แสดงออกอย่างเด่นชัด

เด่นชัดยิ่งในการนับถอยหลังออกจาก “อำนาจ”

กล่าวสำหรับสถานการณ์ของ คสช. พลันที่รัฐธรรมนูญประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ในอีกด้านจึงเท่ากับเป็นการส่งสัญญาณในเรื่องการเลือกตั้ง

ไม่ว่าจะ “ยื้อ” และ “ยืด” อย่างไรก็เป็นไปได้ยาก

เพียงแต่เมื่อไม่สามารถจัดทำร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญให้สามารถเลือกตั้งได้ภายในปี 2561 ก็จะต้องเลื่อนไปยังต้นปี 2562

นี่ย่อมเป็น “เดดล็อก” เป็นเหมือน “ไฟต์บังคับ” ไม่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะประกาศหรือไม่ประกาศในระหว่างการเยือนสหรัฐอเมริกา การเลือกตั้งก็ได้กลายเป็น “เป้าหมาย” ไปแล้ว

นี่จึงมิใช่ “การรุก” นี่จึงเด่นชัดว่าเป็น “การตั้งรับ”

บรรยากาศที่ไม่คึกคักตามความหมายหลังคำประกาศว่าด้วย “ปฏิญญา ทำเนียบขาว” มีมูลเชื้อมาจากความเชื่อมั่นต่อ คสช. และต่อรัฐบาลโดยตรง

เป็นบทเรียนจาก “เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน”

ประจักษ์พยานสำคัญก็คือ แม้จะมีคำประกาศ “ปฏิญญา โตเกียว” แม้จะมีคำประกาศ “ปริญญา นิวยอร์ก” ก็มีการเลื่อน

แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรต่อ “ปฏิญญา ทำเนียบขาว”

ไม่มีความคิดเห็น: