PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561

เป้าหมาย การเมือง ของ อภิสิทธิ์ ประชาธิปัตย์ คือ ต้องเป็น รัฐบาล

เป้าหมาย การเมือง ของ อภิสิทธิ์ ประชาธิปัตย์ คือ ต้องเป็น รัฐบาล


ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์แม้จะประกาศท่าทีต้านนายกรัฐมนตรี “คนนอก” เหมือนกัน แต่ด้วยพื้นฐานในทาง “ความคิด”ที่ต่างกัน
พรรคเพื่อไทยนั้น “สุกงอม” เป็นอย่างสูง
สุกงอมในการดำรงสถานะแห่งความเป็น “ฝ่ายค้าน” ไม่มีโอกาสเหลืออยู่แม้แต่น้อยที่จะเบียดแทรกเข้าไปอยู่ในฐานะ “รัฐบาล”
แม้จะมั่นใจว่าได้รับเลือกเข้ามาเป็นอันดับ 1
นั่นก็เพราะเข้าใจในเจตนารมณ์ของรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 อันสำแดงผ่าน “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560”
และการดำรงอยู่ของอำนาจรัฐ “เหนือรัฐ” ของระบบราชการ
กระนั้น กล่าวสำหรับพรรคประชาธิปัตย์การต่อต้านนายกรัฐมนตรี “คนนอก” เสมอเป็นเพียงยุทธวิธี 1 เหมือนกับคำประกาศการต่อต้านต่อสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ”
นั่นก็คือ ต่อต้านเพื่อ “เบียดแทรก” เข้าไป
หากติดตาม “กระบวนท่า” ของพรรคประชาธิปัตย์อย่างจำแนกแยกแยะก็จะประจักษ์ในขั้นตอนและจังหวะก้าวได้เป็นอย่างดี
ในเบื้องต้น ยังแบ่งรับ แบ่งสู้
นั่นก็คือ ยังไม่ยอมยืนหยัดในวาทกรรมที่ว่าจะต้านนายกรัฐมนตรี “คนนอก” นั่นก็คือ แบะท่าออกมาว่ายังตอบไม่ได้ในตอนนี้
ต้องรอผลการเลือกตั้งออกมาก่อน
นี่ย่อมเป็นท่าทีอย่างเดียวกันกับเมื่อพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล หรือแม้กระทั่งกลุ่มมัชฌิมาธิปไตย และแม้กระทั่งพรรคชาติไทยพัฒนาสำแดงออก
เหมือนกับจะเป็นท่าทีในแบบ “มังกร“ทางการเมือง

แต่จากประสบการณ์ทางการเมืองในยุค “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” นี่คือท่าทีในแบบเหยียบเรือ 2 แคม พร้อมจะแปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
พรรคประชาธิปัตย์เพิ่งจะมาชัดในเดือนเมษายน 2561 นี้เอง
ความแจ่มชัดของพรรคประชาธิปัตย์ในการไม่ยอมรับต่อนายกรัฐมนตรี “คนนอก” นั้นดำเนินไปในแบบขายพ่วง นั่นก็คือ
มีติ่งต่อต้านสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” อยู่ด้วย
เท่ากับพรรคประชาธิปัตย์ชูธง 2 ผืนในทางการเมือง ผืน 1 ต่อต้านนายกรัฐมนตรี “คนนอก” อีกผืน 1 ต่อต้านสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ”
ประการหลังย่อมหมายถึง “พรรคเพื่อไทย”
จึงไม่เพียงแต่พรรคประชาธิปัตย์จะพยายามรักษาฐานทางการเมืองเดิมอันต่อเนื่องจากสถานการณ์ก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 กับ สถานการณ์ก่อนรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557
นั่นก็คือ “พันธมิตร” และ “กปปส.”
หากแต่ยังอาศัยพลังมวลมหาประชาชนจาก 2 สถานการณ์ใหญ่เป็นเครื่องต่อรองในฐานะเหมือนกับเป็นตัวเลือกใหม่
นอกเหนือไปจากที่ “คสช.” เคยยึดครองอยู่
ยุทธศาสตร์ของพรรคประชาธิปัตย์จึงมิได้เป็นเรื่องใหม่ หากแต่เท่ากับย้อนกลับไปยังสถานการณ์ก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549
ย้อนกลับไปยัง “บันได 4 ขั้น” ของคมช.
เพียงแต่ยุทธวิธีใหม่ก็คือ การปัดปฏิเสธบทบาทและความหมายของคสช.และโดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เท่านั้นเอง
พรรคประชาธิปัตย์ไม่คิดเป็น “ฝ่ายค้าน” หากคิดเป็น “รัฐบาล”

ไม่มีความคิดเห็น: