PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

หน้า3 กลยุทธ์ โหดเหี้ยม ทำลาย ‘ประชาธิปัตย์’ กลยุทธ์ จาก คสช. 2พ.ค.61

หน้า3 กลยุทธ์ โหดเหี้ยม ทำลาย ‘ประชาธิปัตย์’ กลยุทธ์ จาก คสช. 2พ.ค.61


สภาพที่พรรคประชาธิปัตย์กำลัง “โดน” ในขณะนี้ถือว่าหนักหนาสาหัสอย่างยิ่งในทางการเมือง ไม่ว่าจะมองผ่านจำนวน “สมาชิกพรรค” ไม่ว่าจะมองผ่านอาการกระเพื่อมของ “อดีต ส.ส.”
นอกจาก นายสกลธี ภัททิยกุล ยังมี นายชื่นชอบ คงอุดม
ความเจ็บปวดอย่างยิ่งยวดยังอยู่ที่การมายืนยันความเป็นสมาชิกภาพตลอดเดือนเมษายนที่ผ่านมาอยู่ระหว่าง 1 แสนคน
เป็น 1 แสนจากจำนวนทั้งสิ้น 2.5 ล้าน
นี่คือผลสะเทือนอย่างเป็นรูปธรรมอันเนื่องมาแต่คำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 53/2560 ที่ส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งต่อ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560
เท่ากับเป็นการ “เซตซีโร่” ในทางเป็นจริง
ไม่ว่าพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าพรรคชาติไทยพัฒนา ไม่ว่าพรรคภูมิใจไทย อันเป็นพรรคการเมืองเก่าล้วนโดนกันหมด
แต่ “พรรคประชาธิปัตย์” หนักหนา สาหัสที่สุด
นับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 เป็นต้นมา รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 พรรคประชาธิปัตย์เหน็ดเหนื่อยที่สุด
เมื่อปี 2549 ยังอยู่ใน “บันได 4 ขั้น”
แม้ในการเลือกตั้งเดือนธันวาคม 2550 อาจไม่สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ก็เรียบร้อย
และพรรคประชาธิปัตย์ก็เข้าเสวยประโยชน์ในอีก 1 เดือนต่อมา
การร่วมเป็นร่วมตายกับเหล่าทหารแห่ง “บูรพาพยัคฆ์” ในสถานการณ์เดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 อาจทำให้พรรคประชาธิปัตย์หลอมรวมเข้าไปได้อย่างแนบแน่นด้วยความเชื่อมั่นว่าจะสามารถกำชัยได้ในการเลือกตั้งจึงได้ประกาศยุบสภา
แม้การเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554 พรรคประชาธิปัตย์จะแพ้ แต่ก็แปรความแพ้ไปสู่การเคลื่อนไหวผ่าน “กปปส.” กระทั่งก่อให้เกิดรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2557

ตรงนั้นคือจุดตัดนำอันก่อปัญหาให้กับ “พรรคประชาธิปัตย์” ในวันนี้
รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 มองว่ารัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 เป็นรัฐประหารเสียของและปัจจัย 1 ซึ่งทำให้เสียของคือพรรคประชาธิปัตย์
แม้ก่อนรัฐประหารจะมีการร่วมมือกันในระดับที่แน่นอน
แต่ภายหลังรัฐประหาร คสช.ก็สามารถแยกสลายความเป็นเอกภาพของพรรคประชาธิปัตย์ลงได้ เมื่อแกนหลักของ กปปส. กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของ คสช.
เป็นองค์ประกอบในการสืบทอด “อำนาจ”
มิได้เป็นองค์ประกอบในสภาพอันเหมือนกับ “นั่งร้าน” ให้พรรคประชาธิปัตย์เหมือนกับ คมช.ในยุคหลังรัฐประหารเมื่อปี 2549
พรรคประชาธิปัตย์จึงกลายเป็นเป้าในการแยกสลาย
หากกลุ่มของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังดึงดันอย่างดื้อรั้นครรลองแห่ง “การดูด” จักดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง
ทุกอย่างเป็นไปตามกลยุทธ์ “ม้าไม้เมืองทรอย”
กลยุทธ์นี้ คสช.ประเมินว่าจะเป็นผลดีและอำนวยประโยชน์ให้กับการสืบทอดอำนาจ ที่สำคัญก็คือ เอาพลังจากพรรคประชาธิปัตย์มาสร้างความมั่นใจ
แต่ในอีกด้าน ก็เท่ากับทำลายพรรคประชาธิปัตย์
ไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะแยกทางเดินกับ คสช. ไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะถูกสลายกลายเป็นหางเครื่องของ คสช. ล้วนไม่ส่งผลดีต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น
ทั้งหมดนี้คือ “กรรมเก่า” ของพรรคประชาธิปัตย์

ไม่มีความคิดเห็น: