PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การคำนวณส.ส.ตามรธน.60

จากการที่ รธน. 60 ได้ประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศอย่างเป็นทางการไปแล้วนั้น
ในมาตรา 91 ของ รธน. ได้ระบุการคำนวณสัดส่วนของ จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งแตกต่างจากของเดิม
ก่อนอื่นขอกล่าวว่า ส.ส. ตาม รธน. 60 มีทั้งหมด 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 350 คน และมาจากแบบบัญชีรายชื่อ 150 คน
โดย 150 คนนั้น มีวิธีการคำนวณ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. นำคะแนนของทุกพรรค ทุกเขต มารวมกัน สมมติว่าได้ 40 ล้านเสียง
2. นำคะแนนทั้งหมดของทุกพรรค หารด้วย 500 (คือจำนวน ส.ส.ทั้งหมด) ในทีนี้จะได้ 8 หมื่น
3. นำคะแนน ข้อ 2 มาหารกับคะแนนทั้งประเทศของ "แต่ละพรรค" สมมติ พรรค A ได้ 18 ล้านเสียง ในทีนี้ต้องเอา 18 ล้าน หาร 8 หมื่น จะได้ 225
ซึ่ง 225 คือ จำนวนส.ส.ที่พรรคนั้นพึงมี (ทั้งแบ่งเขต + บัญชีรายชื่อ)
4. นำเลขที่ได้จากข้อ 3 มา ลบ กับจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตที่แต่ละพรรคได้ สมมติ พรรค A ได้ ส.ส.แบ่งเขต 200 คนจาก 350 คน ในที่นี้จะได้ 225-200 =25 คน
สรุปแล้ว พรรค A จะได้ ส.ส. แบบแบ่งเขต 200 คน และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 25 คน

วิธีการเช่นนี้มีมาเผื่อป้องกันเผด็จการทางรัฐสภา หรือการที่พรรคใหญ่ๆ ยึดเสียงข้างมากในรัฐสภา และทำให้พรรคเล็กๆ มีพื้นที่ในสภามากขึ้น

เลยอยากถามทุกคนว่า วิธีการนี้จะช่วยแก้ปัญหาการล็อคผลได้หรือเปล่า อาทิ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ การเลือกนายกรัฐมนตรี บลาๆๆๆ
ป.ล. ไม่มีสีนะครับ คุยกับด้วยตรรกะและเหตุผล

อ้างอิง : https://www.ilaw.or.th/node/4079

ไม่มีความคิดเห็น: