PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ลาลับวัย100ปี

#คนวงการหนังสือลาลับไปอีก

ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
(21 มีนาคม 2462 - 7 พฤษภาคม 2562)
ประธานคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ปรมาจารย์ในด้านไทยศึกษา คณิตศาสตร์ สถิติ ประวัติศาสตร์ไทย ปฏิทินไทย ภาษาไทย จารึก ศิลปวรรณคดี วัฒนธรรม ผู้สูงอายุแห่งชาติ ฯลฯ
- นักเขียน รางวัลนราธิป
- นักแปลดีเด่น รางวัลสุรินทราชา ฯลฯ
ข่าวจากคุณ Anuthep ์์Norboonyong ในกลุ่ม‎เวียงวังและคลังประวัติศาสตร์ ซึ่งบอกเพิ่มเติมว่า "ก่อนหน้านี้ อ.ประเสริฐ ได้เข้ารับรักษาตัวที่ รพ.วิภาวดี ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต จนอาการดีขึ้น ก็กลับบ้าน เมื่อเช้านี้ (ราว ๙.๐๐ น.) สิ้นไปด้วยอาการสงบ หลับไปไม่ตื่นครับ"

------------------------------------
#พิธีศพ ที่ศาลา 14 วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
- รดน้ำ วันที่ 11 พ.ค. 62
- สวด วันที่ 11-17 พ.ค. 62 (ราว 18.00 น.)
- เก็บศพไว้ 100 วัน

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2680138555335639&set=gm.2601030653301240&type=3&theater
////////////////////////
ปีติ วิริยะ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2354666557919202&set=a.102929669759580&type=3&theater
//////////////////////////////////
Chaiyachak Thawayutthanonรู้สึกเศร้า
7 ชม.
บันทึกไว้ว่าวันนี้ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เวลาประมาณ ๙ นาฬิกา ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร อายุ ๑๐๐ ปี ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา

ผมได้รับความเมตตาจากท่านหลายครั้ง ตั้งแต่ยังเป็นนักวิจัยในโครงการวิจัยกฎหมายตราสามดวง ของ สกว. เมื่อเกือบ ๒๐ ปีก่อน ท่านและอาจารย์ผู้ใหญ่อีกหลายท่านล้วนให้ความรู้แก่พวกเราโดยไม่หวงวิชา

ความทรงจำของ ศ.ดร.ประเสริฐ ดีมาก ใครสอบถามสิ่งใด ถ้าท่านตอบได้ตอนนั้น ท่านก็จะตอบทันที หากไม่มั่นใจหรือยังต้องค้นเพิ่ม ท่านจะบอก แล้วในคราวต่อมาที่พบกัน ท่านก็จะเตือนเราว่าที่ถามเมื่อคราวก่อน ท่านไปค้นมาแล้ว ได้ความว่าอย่างไร บางครั้งเรื่องนั้นเราลืมไปแล้ว แต่ท่านจำได้แม่นยำ ทั้งเรื่องราวและผู้ถาม

ตลอดเวลาที่เราทำวิจัย เราประจักษ์ว่าท่านมีความรู้ทางภาษาโบราณ การอ่านจารึก วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ตลอดจนการใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติมาช่วยในการศึกษาประวัติศาสตร์ เหลือคณานับโดยเฉพาะการเสนอผลการคำนวณวันทำยุทธหัตถีและวันสวรรคตในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นอกจากนี้ท่านยังถ่ายทอดวิชาการคำนวณศักราช วันเถลิงศก และการเทียบวันทางจันทรคติเป็นวันทางสุริยคติให้พวกเราผู้ขอฝากตัวเป็นศิษย์รุ่นหลังด้วยความเมตตา

แม้ในชั้นหลังเมื่อปี ๒๕๖๐ ผมมีโอกาสขอความกรุณาจากท่านเพื่อนำกองบรรณาธิการ นิตยสาร "บรรดาเรา" ของสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ ไปสัมภาษณ์ท่านที่บ้านพัก เกี่ยวกับเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๙ ท่านเมตตาให้สัมภาษณ์ด้วยความยินดี สีหน้า แววตา น้ำเสียงของท่านในวันนั้น ผมยังจดจำได้ดี หลังการสัมภาษณ์เราถามท่านเกี่ยวกับการเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบในอดีต ท่านตอบเราเหมือนเหตุการณ์เหล่านั้นเพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน ทั้งยังเล่าเรื่องเกร็ดอีกหลายอย่างที่เด็กรุ่นหลังอย่างเราไม่เคยรู้มาก่อน

ครั้งหนึ่งท่านจะมอบหนังสือสารนิพนธ์ ประเสริฐ ณ นคร ฉบับที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พิมพ์เมื่อปี ๒๕๔๑ ให้ผม แต่ท่านบอกว่าขอเวลาสักหน่อย จะแก้ไข เพิ่มเติม ข้อความในหนังสือเล่มนั้น เนื่องจากเมื่อตอนตีพิมพ์มีจุดที่คลาดเคลื่อนอยู่หลายแห่ง ท่านนั่งเงียบ ๆ เขียนด้วยลายมือทีละหน้า ๆ ท่านจำได้หมดว่าจุดที่ต้องแก้ให้ถูกต้องอยู่ที่ใดบ้าง และต้องแก้ไขเป็นอย่างไร ผมยังเก็บหนังสือเล่มนั้นไว้จนบัดนี้

ครูเจริญก้าวหน้าในราชการจนก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการสูงสุด ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ให้เกียรติแก่วงศ์ตระกูลและลูกศิษย์ทุกคน

วันนี้ครูได้พักผ่อนแล้ว ศิษย์ปลายแถวผู้นี้ได้แต่รำลึกถึงพระคุณครู แม้จะได้รับความกรุณาเป็นเวลาไม่นานนัก แต่ผมรับปากว่าจะนำความรู้ที่ได้รับทำประโยชน์ตามโอกาสต่อไป

กราบครูด้วยความอาลัย
๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒

ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
////////////////////
Sarakadee Magazine
5 ชม. ·
ขอรำลึกและแสดงความอาลัยมา ณ โอกาสนี้
.
ชีวิตคนเราที่จะอยู่ยืนถึง ๑๐๐ ปี ถือว่าหาได้ยาก และที่ยากยิ่งกว่าคือคนวัย ๑๐๐ ปี ที่ยังทำงานอยู่ทุกวัน
.
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นหนึ่งในนั้น อาจเป็นหนึ่งในล้านคนที่ยังออกจากบ้านมาทำงานทุกวันราชการเช่นที่เคยเป็นมาหลายสิบปี ท่านกล่าวว่าเป็นการทำงานให้ประเทศชาติ
.
เป็นคนอายุ ๑๐๐ ปีที่ยังทำงานและใช้ชีวิตตามปรกติ ตอนโทรฯ ไปที่บ้านเพื่อขอสัมภาษณ์ รวมทั้งเมื่อยืนยันนัดหมาย อาจารย์ประเสริฐรับโทรศัพท์เองทุกครั้ง
.
ท่านนัดเจอที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ตอน ๗ โมงเช้า มีเวลาคุยกันก่อนท่านเข้าประชุมตอน ๙ โมง
.
ชายชราร่างสมส่วน ไม่อ้วน และหลังไม่ค่อม ก้าวลงจากประตูรถเก๋งด้านข้างคนขับ สวมสูทสีเข้ม เน็กไทสีเหลืองลาย ผมดกขาวหวีเรียบร้อย ก้าวตามขั้นทางเดินขึ้นอาคาร ๓-๔ ขั้น พนักงานรักษาความปลอดภัยในป้อมยามวิ่งมาช่วยจับแขนประคอง เขาคงช่วยด้วยใจอยากช่วยแม้รู้ว่าอาจารย์เดินเองได้
.
อาจารย์เดินไปที่ห้องสมุด หยิบหนังสือพิมพ์รายวันในไม้คีบที่พาดเรียงหลั่นกันอยู่มานั่งที่โต๊ะ พอเข้าไปแนะนำตัวว่าเรามาตามนัดสัมภาษณ์ อาจารย์ก็ลุกจะเอาหนังสือพิมพ์ไปเก็บโดยยังไม่ได้เปิดอ่าน ชายหนุ่มคนหนึ่งที่นั่งอ่านหนังสืออยู่ก่อนเดินมาช่วยรับหนังสือพิมพ์ไปเก็บ อาจารย์เดินนำเราไปอีกห้อง เปิดสวิตซ์ไฟสว่าง แล้วบอกให้เราช่วยเปิดแอร์ฯ
.
เพียงการเคลื่อนไหวที่เนิบช้ากว่าคนหนุ่ม กับการได้ยินที่คู่สนทนาต้องพูดดังกว่าธรรมดาสักหน่อย นอกนั้นไม่ว่าสายตา ความคิด ความจำ น้ำเสียง ล้วนยังแจ่มใส และคำพูดจาของท่านมักมี “ครับ” ต่อท้ายเสมอ
.
“เนื่องจากคุณแม่ผมเป็นนักร้องส่งประจำวงข้าราชการที่จังหวัดแพร่ ฉะนั้นเมื่อผมอยู่ประถมฯ ๑ ก็รู้จักเพลงไทยเดิมสองชั้นสามชั้น ร้อยสองร้อยเพลงแล้วครับ”
.
ราชบัณฑิตวัย ๑๐๐ ปี เล่าชีวิตช่วงปฐมวัยในบ้านเกิด

บทสัมภาษณ์ส่วนหนึ่งจาก Small Talk
ชีวิตเพื่อหน้าที่ ๑๐๐ ปี นักปราชญ์ ประเสริฐ ณ นคร
นิตยสารสารคดี ฉบับที่ ๔๐๓ กันยายน ๒๕๖๑

เรื่อง : วีระศักร จันทร์ส่งแสง
ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์

ไม่มีความคิดเห็น: