PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปัญหา....ค่าเช่าที่ดินสำนักงานใหญ่ ปตท. บนถนนพหลโยธินของ รฟท.

แฉกันเละ ...... ค่าเช่าที่ดินสำนักงานใหญ่ ปตท. บนถนนพหลโยธินของ รฟท. ที่ยังตกลงกันไม่ได้ “ผู้ว่ารถไฟ” เสียงแข็ง สิ้นปีนี้ หาก ปตท.ไม่จ่ายค่าต่อสัญญาเช่า 1,792 ล้านบาท ก็ให้ย้ายออก ขีดเส้นตาย 31 ธ.ค.นี้ ให้ ปตท.ตัดสินใจเรื่องการต่อสัญญาเช่าใช้ที่ดินอีก 30 ปี ชี้ข้ออ้างของ ปตท.ที่ระบุว่าการทำสัญญาขอใช้ที่ดิน ในครั้งแรก นั้น เป็นข้อตกลงที่เสมือนเป็น การขายขาดที่ดิน ให้กับ ปตท.ว่า ไม่เป็นความจริง เพราะที่ดินของ รฟท.ไม่สามารถซื้อขายได้

นอกจากนี้ การทำสัญญาเช่าใช้ที่ดินเดิมของ รฟท. เมื่อปี 2526 ทางการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้รับผิดชอบ ในการก่อสร้างอาคารสำนักงานการแพทย์ 1 หลังและอาคารที่พักอาศัย 6 หลัง รวมทั้งปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค เพื่อชดเชยในการรื้อย้าย จากที่เดิมออกไป เป็นเงินรวม 54 ล้านบาท ขณะที่ราคาประเมินที่ดิน 23 ไร่ ที่ปรึกษาประเมินไว้ 80 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้าง ด้วย ทั้งยังพบว่า ปตท.ได้นำที่ดินบางส่วน แบ่งให้สำนักงานส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ก่อสร้างสำนักงาน และเก็บค่าใช้ที่ดินในอัตรา 70 ล้านบาท อีกด้วย

รฟท.ได้ทำ หนังสือเพื่อสงวนสิทธิ ในการเรียกเก็บค่าเช่าจาก ปตท. ที่ค้างจ่ายหลังจากสัญญาเดิมสิ้นสุด เมื่อวันที่ 31 มี.ค.56 ในอัตราเดือนละ 6 ล้านบาท “ค่าเช่าต่อสัญญาอีก 30 ปี รวม 1,792 ล้านบาท แต่ ปตท.ขอจ่ายแค่ 800 ล้านบาท ขณะที่ราคาที่คิดนั้นตกปีละ 59 ล้านบาท หรือเดือนละ 4.97 ล้านบาทเท่านั้น และ ที่สำคัญ ปัจจุบัน ปตท.ก็เป็นบริษัทมหาชนอีก แล้ว ไมใช่รัฐวิสาหกิจเหมือนก่อน

การที่ ปตท.อ้างเหตุผลในสัญญาเดิม ที่กำหนดว่าจะได้สิทธิในการต่อสัญญาอีก 30 ปี โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนนั้น ในความเป็นจริงสัญญาเดิม รฟท.ผูกพันกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่หลังจากนั้น ปตท.ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งฝ่ายกฎหมาย และตัวแทนอัยการสูงสุด ที่เป็นกรรมการ รฟท.ได้ยืนยันตรงกันว่า ผลผูกพันทางนิติกรรม ได้สิ้นสุดลงแล้ว เพราะถือว่าเป็นนิติบุคคลใหม่ ดังนั้น รฟท.มีสิทธิเรียกเก็บค่าเช่า ใช้ที่ดินได้ รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างเหนือ พื้นดินทั้งหมด จะต้องตกเป็นของ รฟท.หลังสัญญาสิ้นสุดด้วย

ในทางกลับกัน กรณีที่ ปตท.ลงทุนจัดซื้อหัวรถจักร เพื่อนำมาเดินรถขนสินค้า ได้คิดอัตราดอกเบี้ย 10% จาก รฟท.ด้วย โดยอ้างว่าเป็นบริษัทมหาชน แต่กรณีต่อสัญญาเช่าที่ดินกลับ อ้างว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ ขอเช่าที่ดินในราคาถูก ?????


ไม่มีความคิดเห็น: