PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

จักรภพ เพ็ญแข:วามดื้อรั้นที่ไม่ยอมนั่งสนทนาอย่างเปิดใจเรื่องสำคัญเรื่องนี้กันอย่างสงบในครั้งนั้นไม่ใช่หรือ ที่นำมาสู่วิกฤติแห่งรัฐจนอาจต้องเผชิญหน้ากันอย่างแรงในวันนี้.

ขณะที่ฝ่ายอำมาตย์ศักดินาหลับหูหลับตาตะโกนว่า ๑. โกง ๒. ล้มเจ้า ๓. ประชาชนโง่เขลา และสมควรเป็นขี้ข้าอำมาตย์ศักดินาต่อไปนั้น นั้น อะไรคือข้อเสนอในการพัฒนารัฐและเศรษฐกิจของเขาเล่า?
เท่าที่ฝืนใจฟังมาตลอด เขาก็มีแนวทางเดียวคือ เอาอำนาจมาคืนอำมาตย์ศักดินาเสียก่อน ภายใต้คำว่าปฏิรูปการเมือง ไปจนกว่าฝ่ายเขาจะวินิจฉัยว่าประชาชนฉลาดพอแล้ว จึงจะคิดคืนอำนาจรัฐที่เป็นของประชาชนตั้งแต่ต้น ให้กับประชาชนอีกครั้ง
กปปส. วุฒิสภา ศาล และองค์กรอิสระต่างๆ ไม่เคยเปิดเผยว่าใครคือผู้นำสูงสุดในการชี้นำทิศทางของรัฐในระหว่างการปฏิรูปการเมืองตามแบบของเขา
เมื่อ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขึ้นเวที ประกาศเดินไปสู่ “ระบอบการปกครองที่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจอย่างสมบูรณ์” คงหมายถึงรูปแบบเช่นนี้ ปวงชนชาวไทยจึงควรรู้เท่าทันและกำหนดใจเสียตั้งแต่บัดนี้ว่า “การปฏิรูปการเมือง” ของระบอบอำมาตย์ศักดินาครั้งนี้ ก็มีความหมายที่ไม่แตกต่างจาก การรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่มาตรฐานของผู้นำเก่าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นั่นคือเท่ากับปลายรัชกาลที่ ๕ อำนาจของกษัตริย์ “อันสมบูรณ์” ก็หมายความถึงอำนาจทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจธุรกิจ วิวัฒนาการของสังคม วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ
ระบอบเดิมของไทยยังมีความต้องการเช่นนี้ ในขณะที่โลกทั้งโลก และอารยธรรมของมนุษยชาติทั้งมวล เขาเคลื่อนตัวไปอีกทิศทางหนึ่ง สู่ภาวะที่ปวงชนของรัฐและในระบบเศรษฐกิจมีอำนาจขึ้นเรื่อยๆ ในการกำหนดใจตนเอง และพาตัวให้พ้นจากลัทธิพึ่งพา หรือระบบอุปถัมภ์โดยเด็ดขาด ก็ด้วยเหตุนี้เองล่ะครับ ผมจึงได้ปักธงเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๐ จนกลายเป็นคดี “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ติดตามมา ก็ความดื้อรั้นที่ไม่ยอมนั่งสนทนาอย่างเปิดใจเรื่องสำคัญเรื่องนี้กันอย่างสงบในครั้งนั้นไม่ใช่หรือ ที่นำมาสู่วิกฤติแห่งรัฐจนอาจต้องเผชิญหน้ากันอย่างแรงในวันนี้.


ไม่มีความคิดเห็น: