PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

ศึกตำนานเลือด อุเทนฯ-ปทุมวัน

พลิกแฟ้มคดีดัง : สืบทอดศึกตำนานเลือด อุเทนฯ-ปทุมวัน

ผ่านร้อนผ่านหนาวมานานถึง 77 ปี ตำนานศึกสองสถาบัน ปทุมวัน-อุเทนถวาย ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้ แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเพียรพยายามหาทางออกอย่างไรก็ไร้ผล

ตรงกันข้ามกลับทวีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ 2 เหตุการณ์ล่าสุด ยกพวกตะลุมบอนที่หน้าสถาบันนิติเวชวิทยาและหน้าห้างมาบุญครอง

อะไรคือสาเหตุอันเป็นจุดก่อกำเนิดและการดำรงอยู่ของปัญหาของสองสถาบัน ?

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย เดิมทีชื่อ "โรงเรียนก่อสร้างอุเทนถวาย" เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2475 เมื่อเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี รมว.ศึกษาธิการ ดำริให้ก่อตั้งขึ้น

ในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบนเนื้อที่ 2 ไร่ ระยะแรกเปิดรับนักเรียน 3 แผนก คือ ประถมวิสามัญ มัธยมวิสามัญ และช่างฝีมืองานไม้

ตลอดเวลาการเรียนการสอนมีการเปลี่ยนหลักสูตรเรื่อยมา กระทั่งปี 2542 ได้เปิดการสอนในระดับปริญญาตรีต่อเนื่องจากระดับ ปวส.ในสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการจัดการงานก่อสร้าง

สาขาวิศวกรรมโยธา และยุบการสอนระดับชั้น ปวช.ออกไป เนื่องจากเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เชื่อกันว่าทำให้ปัญหาการยกพวกตะลุมบอนดำรงอยู่

"จากการสำรวจพบว่า ระดับ ปวช.เป็นระดับชั้นที่เกิดปัญหาทะเลาะวิวาทบ่อยที่สุด จึงยุบการสอนไปแล้วมาเปิดการสอนระดับปริญญาตรีแทน แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม" สาคร สิธิเดชากุล อายุ

44 ปี ศิษย์เก่าอุเทนถวาย รุ่น 51 เจ้าของบริษัทซีวิว โซลูชั่น จำกัด ผู้รับเหมาก่อสร้างใน จ.ภูเก็ต เท้าความ

ขณะที่สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เป็นโรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2475 ในนามโรงเรียนอาชีพช่างกล ณ ตึกพระคลังข้างที่ ตรอกกัปตันบุช ถนนสีลม

เขตบางรัก กรุงเทพฯ โดยคณะนายทหารเรือนำโดย น.อ.พระประกอบกลกิจ ด้วยต้องการให้ปลูกฝังอาชีพช่างให้เยาวชนไทย

หลังจากนั้นได้ย้ายไปตั้งแทนที่กรมแผนที่ทหารบก และต่อมาปี 2480 ได้เช่าที่ดินตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ แล้วย้ายโรงเรียนมาตั้งอยู่ที่นี่ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2482 ตั้งชื่อใหม่ว่าอาชีวศึกษาชั้นสูงแผนกช่างกลและเป็น ช่างกลปทุมวัน จนปี 2541 ได้ยก
ฐานะเป็นสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

สาคร เล่าว่า ตั้งแต่เข้ามาศึกษาที่อุเทนถวายก็พบเห็นความขัดแย้งและยกพวกตะลุมบอนระหว่างสองสถาบันแล้ว โดยไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร แต่ส่วนตัวเขาเชื่อว่าเป็นเรื่องของวุฒิภาวะและ
ความคึกคะนองของวัยรุ่น ประกอบกับปทุมวัน-อุเทนถวายมีที่ตั้งอยู่ใกล้กัน จึงมีเหตุขัดแย้งกันบ่อย ยิ่งห้างมาบุญครองและสยามสแควร์เปิดแรกๆ เป็นจุดศูนย์รวมของกลุ่มวัยรุ่น เลยเห็นว่าทั้งสองสถาบันมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันบ่อย อย่างไรก็ตามหลังๆ มานี้ สาครรู้สึกหดหู่ใจทุกครั้งเมื่อเห็นการทะเลาะวิวาทของทั้งสองสถาบัน มีความสูญเสียเกิดขึ้น ไม่ว่าฝ่ายใดก็ตามจะมีอีกหลายคนที่เสียใจ

ขณะที่อีกหลายคนก็จะสูญเสียโอกาสในชีวิตไป

 ศิษย์เก่าอุเทนฯ ยืนยันเสียงหนักแน่นว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา รุ่นพี่ไม่มีการสั่งสอนให้ทำร้ายห้ำหั่นสถาบันใด ไม่มีใครอยากให้เรื่องลักษณะนี้เกิดขึ้น แต่จะพยายามสอนให้รักเพื่อน รักพี่ รักน้อง มี
อะไรให้ช่วยเหลือกัน

"ไม่ว่าสถาบันไหนๆ ก็รักสถาบัน รักเพื่อน รักพี่ รักน้องไม่แตกต่างกัน ถ้าผมไม่ได้อยู่อุเทนฯ ถ้าเพื่อนโดนทำร้ายผมก็ต้องช่วย"

สาครยกตัวอย่างหนึ่งเมื่อครั้งจบออกมาแล้วสมัครงาน เขาได้งานทำทันทีทั้งที่เจ้าของบริษัทยังไม่เห็นหน้าด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลเพียงว่าจบจากอุเทนถวาย ซึ่งทำให้มีทุกวันนี้ได้ก็ด้วยความรักเพื่อน
พ้องและพี่น้องนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สาครเฝ้ามองรุ่นน้องอยู่ทุกวันนี้เห็นว่า การยกพวกตีกันของสองสถาบันไม่ได้มากไปกว่าเมื่อครั้งอดีต เพียงแต่ปัจจุบันรุนแรงมากขึ้น มีการใช้ระเบิด ใช้ปืน ต่างกับสมัยก่อนที่มีอย่างดีก็แค่มีด ไม้ และคัตเตอร์ ประกอบกับยุคนี้สื่อเข้าถึงและแพร่กระจายข่าวได้รวดเร็วกว่าเท่านั้น

มุมมองของปัญหาของสาครส่วนหนึ่งไม่ต่างอะไรกับ "ชนินทร์ นุ่มศิริ" ศิษย์เก่าช่างกลปทุมวัน รุ่น 43 อดีตอาจารย์สอนช่างกลปทุมวันมายาวนานถึง 22 ปี มองว่าปัญหาของปทุมวัน-อุเทนฯ ก็เหมือนกับสถาบันอื่นๆ เพียงแต่ทั้งสองสถาบันนี้อยู่ใกล้กัน อยู่ใจกลางเมือง ใจกลางชุมชน เมื่อเกิดอะไรขึ้นจึงเป็นที่จับตามองมากกว่า อย่างไรก็ดีปัญหาการต่อยตีของสองสถาบันสั่งสมมานาน

สำหรับเขามองว่าสมัยยังเรียนอยู่การทะเลาะเบาะแว้งเป็นเรื่องของลูกผู้ชาย ไม่มีการรุมทำร้ายหรือใช้อาวุธรุนแรงเหมือนสมัยนี้ตรงกันข้ามกับสมัยนี้ที่มีความเชื่อผิดๆ ต้องเก็บแต้ม ทำคะแนน ถึงจะเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อนฝูง !?!

"ผมไม่อยากเชื่อว่าเด็กเหล่านี้ทำไมถึงยอมรับความคิดและค่านิยมผิดๆ จากรุ่นพี่ที่สั่งสมมา ทั้งที่ตัวเองเรียนระดับปริญญาตรีแล้ว ผมเห็นกับตาว่าเด็กเชื่อรุ่นพี่มากกว่าครู เขายอมยกมือไหว้รุ่นพี่ แต่ไม่ไหว้ครู หนำซ้ำครูผู้หญิงเห็นตั้งวงเหล้าในสถาบันว่ากล่าวตักเตือน เขาไม่พอใจโยนระเบิดปิงปองใส่ก็มี"

สำหรับแนวทางแก้ไขนั้น อาจารย์ชนินทร์ เชื่อว่า ทุกคนต้องช่วยกัน โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว เนื่องจากครูจะดูแลได้ในช่วงหนึ่งเท่านั้น คนที่อยู่ใกล้เด็กมากที่สุดคือเพื่อนและรุ่นพี่ บางครั้งชวนกันไปทำสิ่งผิด เด็กก็คิดว่าเพื่อนและรุ่นพี่ของเขาคือคนที่เป็นห่วงเขาและเขาไว้ใจได้ที่สุด นอกจากนี้ การยกระดับการศึกษาด้วยการยุบ ปวช.แล้วมาสอนปริญญาตรีก็มีส่วนด้วย ปริญญาตรีสอนให้เรียนรู้การใช้ชีวิต แต่ระดับ ปวช.ต้องมีครูคอยจ้ำจี้จ้ำไช รวมถึงการบริหารการศึกษาโดยเน้นเรื่องธุรกิจเป็นหลัก

เมื่อไรจะเลิกตีกัน ?

"ไม่รู้ว่าความขัดแย้งจะจบลงตรงไหน ผมอยากให้มันยุติลงเร็วๆ เพราะสถาบันก็ยกระดับเป็นปริญาตรีแล้ว หมายถึงพวกเราอยู่ในระดับปัญญาชน" เก่ง นักศึกษาปี 1 อุเทนฯ

"ตอบยาก เพราะถ้าอุเทนฯ หยุดปทุมวันจะหยุดหรือเปล่า มันเป็นเรื่องความหวาดระแวง ที่ผ่านมาจับมือยุติความขัดแย้งแล้ว แต่ก็มีคนตายคนเจ็บตลอด" ต้น บัณฑิตใหม่หมาดจากรั้วอุเทนฯ

"อยากจะจบนะ แต่ใครจะรับรองความปลอดภัย ไปถามใครก็อยากให้จบความขัดแย้งทั้งนั้น ทุกวันนี้จะมาเรียนหรือไปไหนมาไหนก็ระแวง ไม่เป็นสุขเหมือนกับนักศึกษาที่อื่น" พจน์ นักศึกษาปทุมวัน

"มันมีมานานแล้วจะให้หยุดทันทีคงไม่ได้ ใครจะรับรองความปลอดภัยให้ ไม่นานมานี้ผมกับเพื่อนขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน ใส่ชุดยูนิฟอร์มของบริษัท แค่เห็นสวมแหวนรุ่นปทุมวันก็ตามมาเอามีดแทง

แล้ว" ติ๊ก บัณฑิตปทุมวันที่เตรียมเข้ารับปริญญาปลายปีนี้

ทางแก้-ทางออก

แอ๊ด คาราบาว ศิษย์เก่าอุเทนถวาย

สาเหตุที่ตีกันอย่างทุกวันนี้ เป็นค่านิยมและความเข้าใจผิดๆ ถูกปลูกฝังโดยพวกรุ่นพี่ตัวดี เข้าไปยุแหย่ให้น้องๆ คล้อยตาม อยากให้ครูคอยเข้มงวดดูแล อย่าให้รุ่นพี่เหล่านี้มาคอยเสี้ยมรุ่นน้อง สมัยผมเรียนก็มีรุ่นพี่พวกนี้มาชักจูงให้รักษาเกียรติสถาบัน เป็นรุ่นน้องก็ทำตามๆ กันไป พอจบออกมาก็คิดได้ว่าที่ทำมันไร้สาระ จึงอยากจะฝากบอกต่อกับรุ่นน้องๆ จงยึดถือสิ่งที่ถูกต้อง ออกไปทำงานให้สังคมจะดีกว่ามัวมานั่งทะเลาะเบาะแว้งกัน สถาบันเองก็ต้องเอาตัวหัวโจกออกไป รวมถึงรุ่นพี่ที่จบไปแล้วอย่าให้มามีส่วนเกี่ยวข้องอีก

สมบัติ เมทะนี ศิษย์เก่าอุเทนถวาย

สมัยที่ผมเรียนไม่มีเหตุการร์รุนแรงแบบนี้ สมัยก่อนมีการปลูกฝังทำกิจกรรมร่วมกันของทั้งสองสถาบันอยู่เป็นประจำ ทำให้นักเรียนรักกัน การชกต่อยมีบ้างในกลุ่มเด็กผู้ชาย แต่ไม่ได้ใช้มีดแทงกันหรือไล่ยิงกันเหมือนทุกวันนี้ ครูต้องเป็นคนโน้มน้าวจิตใจให้เด็กๆ ได้คิด ปัจจุบันทั้งสองสถาบันลืมเรื่องนี้ ลืมที่จะปลูกฝังเรื่องของความรัก ความสามัคคีกัน ถ้าครูสามารถดึงตรงนี้กลับมาได้ จะช่วยลดการทะเลาะวิวาทของเด็กลงได้

มนตรี สินทวิชัย หรือครูยุ่น เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก

ปัญหาความรุนแรงกระจายไปทั่วทุกที่ สะท้อนว่าวัยรุ่นนิยมใช้ความรุนแรงและใช้อาวุธมากขึ้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องควบคุมการจำหน่ายอาวุธ ไม่ว่าจะเป็นมีดสปาร์ตาไปจนถึงปืน ซึ่งหาซื้อได้

ง่ายมาก เมื่อควบคุมได้โอกาสในการใช้ความรุนแรงก็จะน้อยลง แล้วหากิจกรรมให้เด็กมารวมกลุ่มกัน ทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำๆ เลิกๆ ส่วนสื่อเองก็อย่ากระพือปมขัดแย้งโดยไม่จำเป็น
///////////////
วันพฤหัสบดี ที่ 29 มกราคม 2552
ศึก"อุเทนฯ-ปทุมวัน" ศักดิ์ศรีที่ค้ำคอ..!
Posted by ..ปาปารัสโซ่.. , ผู้อ่าน : 13240 , 15:13:35 น.  
หมวด : ตำรวจ-อาชญกรรม
 พิมพ์หน้านี้     โหวต 0 คน


  กับช่องว่างที่เหลือน้อยที่สุดระหว่าง 2สถาบัน

การเสียชีวิตของ"นศ.อุเทนฯ"ที่ถูกจ่อยิงหน้าเซเว่นฯอย่างอุกอาจ-โหมเหี้ยมคือภาพบาดตา- ของเหล่า"ชาวถิ่นสีน้ำเงิน"ทุกคนและหลายคน-รวมทั้งสังคมก็ด่วนสรุปร่วมกันว่า ..ต้องเป็นฝีมือคู่อริเก่าอย่าง"ปทุมวัน" มิมีผิด

และคล้อยหลังเพียง 4 วันจากนั้นได้เกินเหตุการณ์กับ "นศ.ปทุมวัน" และถูกยิงตายเช่นกัน..

ภาษานักเลงจะบอก "เลือดแลกเลือด"

เหล่าชาว"ฟันเฟืองทอง" ก็สรุปเป็นอย่างอื่นไม่ได้เช่นกันว่า นี่คือฝีมือริเก่าคู่แค้นเดิมอย่าง "อุเทนฯ"แน่นอน

 ความเขม็งเกลียวระหว่าง 2 สถาบันอีกครั้ง รอเพียงแต่ว่า..ใครจะเริ่มก่อน...(อีกครั้ง)

ยิ่งไปดูประวัติศาสตร์ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันสำหรับ 2 สถาบัน..เพราะก่อตั้งสถาปนาสถาบันในยุค 2475 โน่น

ชื่อเสียงเก่าๆคือ
-อุเทนถวาย หรือ ( โยธา-พญาไท)
-ปทุมวัน (นายร้อยเจริญผล)

ในสายตาเด็กช่าง 2 สถาบันนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ในสายตาคนภายนอก..จะมอง"อุเทนฯ"มุมบวกกว่า เพราะคนมีชื่อเสียง ดารา-นักร้อง จะประกาศตัวเสมอว่าข้าคือ "ศิษย์เก่า" ตัวจริง-เสียงจริง

ขณะที่"ปทุมวัน"จะโด่งดังในสายวิชาชีพมากกว่า

โปรดจับตา"วันบลูเดย์" หรือชาววันสีน้ำเงินจะรวมตัวในวันสถาปนา"อุเทนฯ" คือ 1 ก.พ.ของทุกปี ...
ข่าวแว่วๆว่า ร.ร.ปิดยาว 28-30 ม.ค. แต่วันที่ 1 ก.พ.ศิษย์เก่า-ปัจจุบันจะรวมตัว...
ต้องดูว่าของจะขึ้น -องค์จะลงหรือไม่...

ขณะที่" ปทุมวัน" 1 สิงหาฯ คือวันสถาปนาของทุกปี

ตำนานนักเลง-นักเรียน คือสิ่งที่เราพบในเมืองกรุงฯขณะที่นักเรียน-นักเลงในต่างจังหวัด..น้อยๆมาก
แทบจะนับคดีได้...

มีภาษานักเลงที่เขียนไว้บนรถเมลล์สายหนึ่งว่า

" ใครขอซื้อชีวิต ยอมปลิดให้
เอาชีวิตนั้นไซร้ เป็นมูลค่า
มรึงกล้าซื้อ กูขายตามราคา
หากเสียท่า นั้นอีกเรื่องไม่เคืองกัน.."

ยิ่งมองลึกลงไปในสายตาของชาวอาชีวะ
เรามีพ่อองค์เดียวกัน -สายวิชาชีพเหมือนกัน
แต่ทำไมแค่สีเสื้อที่ต่างกัน..
เราจะนั่งรถเมลล์คันเดียวกันไม่ได้
เราจะนั่งผ่านหน้าสถาบันอื่นๆไม่ได้
เราจะปรองดองกันไม่ได้

เพราะว่า "ศักดิ์ศรี" หรือขัวโขน ใช่หรือไม่
แต่หากเป็นอัตลักษณ์ที่ถ่ายทอดจากรุ่น-สู่รุ่นต่างหาก
ประวัติศาสตร์ที่...กดทับความถูกต้อง-ดีงาม
เหยียบศพเพื่อนต่างสถาบัน...เพื่อให้กรูโดดเด่น

แต่ลืมไปว่า ....
ชีวิตเด็กช่าง -ช่างบัดซบสิ้นดี
(ในสายตาที่คนอื่นมองเข้าไป)
/////////////////
"ปทุมวัน-อุเทน" มะเร็งร้ายดื้อยา

โดย ทีมข่าวอาชญากรรม
20 มกราคม 2553 11:27 น.

ในช่วงเปิดศักราช 2553 ต้องยอมรับเลยว่าปีขาล นั้นดุๆสมชื่อจริงๆ โดยเฉพาะกรณีนศ. ช่างกลปทุมวัน กับ ก่อสร้างอุเทนถวาย ตีกันข้ามภพข้ามชาติ มาจนถึงทุกวันนี้ ต่างพาเหรดกันขึ้นหน้าหนึ่งเป็นข่าวเด่นประเด็นดังต่อเนื่องกันหลายวัน และมีทีท่าว่าจะไม่หยุด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลพวงของลักษณะสังคมไทยที่รักพวกพ้อง รักสถาบัน เป็นลักษณะนิสัยแบบอิงหมู่ของคนไทย
     
       มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย เดิมทีชื่อ "โรงเรียนก่อสร้างอุเทนถวาย" เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2475 เมื่อเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี รมว.ศึกษาธิการ ดำริให้ก่อตั้งขึ้นในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบนเนื้อที่ 2 ไร่ ส่วนสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เป็นโรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2475 ในนามโรงเรียนอาชีพ
ช่างกล ณ ตึกพระคลังข้างที่ ตรอกกัปตันบุช ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ โดยคณะนายทหารเรือนำโดย น.อ.พระประกอบกลกิจ ด้วยต้องการให้ปลูกฝังอาชีพช่างให้เยาวชนไทย ก่อนย้ายมาตั้งอยู่ที่ตั้งในปัจจุบันเมื่อปี 2482 ตั้งชื่อใหม่ว่าอาชีวศึกษาชั้นสูงแผนกช่างกลและเป็น ช่างกลปทุมวัน จนปี 2541 ได้ยกฐานะเป็นสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
     
       มหากาพย์ของ 2 สถาบันแห่งนี้ถ้าจะให้สาวไส้ละก็ยาวเป็นหางว่าวแน่ๆ ว่ากันว่าสมัยก่อนความขัดแย้งของทั้งสองสถาบันไม่ทราบเกิดจากสาเหตุอันใด แต่น่าเชื่อเป็นเรื่องของวุฒิภาวะและความคึกคะนองของวัยรุ่น ประกอบกับทั้งสองสถาบันอยู่ใกล้กัน จึงมีเหตุขัดแย้งกันบ่อย แต่ ณ ตอนนี้ทุกฝ่ายคงต้องลงมาดูเป็นการด่วน เพราะนับวันเริ่มจะทวีความรุนแรงขึ้น แม้ครั้งหนึ่งการกระทบกระทั่งของทั้งสองสถาบันอาจเป็นแค่การขีดพ้นสีตามผนังกำแพง ประกาศศักดาว่า "กูพ่อใคร" "ใครใหญ่" จนเริ่มค่อยๆพัฒนาขึ้นเป็นการชกต่อย ยกพวกตะลุมบอน ตามประสาวิธีชีวิตของลูกผู้ชายในยุคนั้น
     
       แต่ปัจจุบันเหตุการณ์กลับตรงกันข้าม วันเวลาเวียนผ่านเทคโนโลยีทันสมัยขึ้น ทั้งสองเริ่มคิดกลวิธีต่างๆที่จะทำให้อีกฝ่ายต้องบาดเจ็บล้มตาย แม้หลายฝ่ายจะเพียรพยายามให้ทั้งสองสถาบันหย่าศึกลงก็ตาม สุดท้ายมันก็แค่เป็นการจัดฉากสร้างภาพให้ดูดีขึ้นในสายตาของสังคมเท่านั้น "ขอโทษนะครับไม่ได้กินหญ้าเป็นอาหารนะท่าน" มาตราการสั่งห้ามโน่นห้ามนี้ ทำอะไรทรชนเหล่านี้ไม่ได้หรอก ประเภทจับมือออกสื่อบอกให้คนทั้งโลกว่ารักกันแล้วนะ หรือออกมาแสดงเจตนารมย์ว่าจะยุติศึก "แล้วเห็นเปล่า..ทำได้ไหม" ตอนเค้าทำกันเหล่าทรชนพวกนี้อยู่หรือมาร่วมกะเค้าหรอ พวกมันจะมาร่วมทำแมวน้ำอะไร
     
       คดีความของทั้งสองในปีที่ผ่านมามากมายก่ายกองเต็มโรงพัก สน.ปทุมวัน เจ้าของท้องที่ไปหมด ว่ากันว่าคดีส่วนใหญ่ยังจับผู้กระทำผิดไม่ได้ มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายในเหตุนองเลือดของทั้งสองสถาบันอยู่โข แม้กระทั่งประชาชนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่กับเหตุการณ์ก็ผลอยโดนลูกหลงไปกับเค้าด้วย เพราะอะไร? ทำไมต้องตีกัน? ตีกันแล้วได้อะไร? สะใจหรอ? บาดเจ็บล้มตายใครละที่เสียใจ? เคยคิดได้ไหม? คำถามเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นประจำหลังเกิดเรื่องราวการทะเลาะวิวาทขึ้น
     
       มาที่เหตุการณ์ปมขัดแย้งล่าสุดที่ทำให้ศึก"ปทุมวัน-อุเทน"ระอุขึ้นอีก จนทำให้หน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวอยู่หลายสัปดาห์ติด จนทำให้ประเด็นเป็นที่สนใจของสังคมมากขึ้น เริ่มจากช่วงปีส่งท้าย เมื่อวันที่10 ธ.ค.52 เมื่อเวลา 05.00 น.นายณัตถพันธุ์ คลองรอด นศ.ชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาเทคโนจิสติกส์ นอนจมกองเลือด เสียชีวิตอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย หลังการสอบสวนทราบภายหลังว่าผู้ก่อเหตุในครั้งนี้เป็นฝีมือของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันที่ขี่ จยย.และใช้อาวุธปืนยิงเข้ามาภายในสถาบัน จนทำให้มีผู้เสียชีวิต แม้จะสามารถจับคนร้ายที่ร่วมกันลงมือได้แล้ว 1 ราย แต่ยังเหลืออีก 2 รายที่ยังหลบหนี
     
       มาวันที่ 12 ม.ค.53 เวลา 11.00 น. สองคนร้ายควบ จยย.กราดยิงนักศึกษาเทคโนฯ ปทุมวัน ขณะเดินบนฟุตปาธหน้าสถาบัน ทำให้มีนักศึกษาปทุมวันบาดเจ็บ 3 ราย โดยกล้องวงจรปิดสามารถจับภาพได้ขณะที่คนร้ายก่อเหตุ จนเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามสืบพบว่าจยย.ที่คนร้ายใช้เป็นของนักศึกษาอุเทนถวาย โดยคดีอยู่ระหว่างตามตัวคนร้ายมาดำเนินคดี ไม่ถึงสัปดาห์ตำรวจปทุมวันสามารถรวบ 17 นักศึกษาปทุมวัน รุมแทงช่างซ่อมมือถือห้างมาบุญครองได้รับบาดเจ็บ โดยอ้างเตรียมยกพวกตะลุมบอนกับนักศึกษาคู่อริ แต่นึกว่าช่างซ่อมมือถือเป็นนักศึกษาคู่อริจึงเข้าทำร้าย
     
       จนกระทั่งพล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น.มีมาตราการควบคุมสถานศึกษาทั้งสองสถาบันเตรียมนำกฎหมายอั้งยี่ซ่องโจรมาใช้ในการดำเนินคดีกับรุ่นพี่ทั้ง 2 สถาบันที่ให้การสนับสนุนในการก่อเหตุทะเลาะวิวาท พร้อมประกาศ"เคอร์ฟิว" ห้ามนักศึกษาอยู่ภายในสถาบันหลังเวลา 20.00 น.และเข้าตรวจค้นสถาบันทั้งสอง โดยเริ่มที่เทคโนฯ ปทุมวัน จากการตรวจค้นพบเพียงอุปกรณ์การนอนรถเข็นของห้างเทสโก้โลตัสจำนวน 2 คัน เหล้า เบียร์ น้ำแข็ง โซดา ภายในอาคารสโมสรนักศึกษา และประทัดยักษ์ ส่วนที่อุเทนถวายก็โดนตรวจค้นเช่นกันพบอาวุธมีด 13 เล่ม กระสุนปืนสำหรับซ้อมขนาด .38 1 นัด มีดคัตเตอร์ 1 เล่ม ประทัดยักษ์ 7 ดอก ไพ่ 2 สำรับ น้ำเต้าปูปลา 2 คู่ โซดา 1 ขวด กระป๋องเบียร์ที่ทุบจนแบน 1 กระสอบ และถุงนอน
     
       แม้มาตราการป้องกันเหตุทะเลาะวิวาทของทั้งสองสถาบันจะถูกนำมาใช้ หรือใช้กำลังตำรวจเข้าไปตั้งกองรักษาการณ์อยู่ภายในทั้งสองสถาบันก็ตาม อาจเป็นไปได้ที่ต้องการหยุดไฟที่กำลังร้อน ให้เบาลงแค่ชั่วคราว แต่สังคมมองปัญหาที่เกิดขึ้นมันซ้ำซากจำเจ จนเอือมระอาเต็มที่กับการกระทำของทั้งสองสถาบัน ใครต่อใครหลายคนต้องมาจบชีวิตกับแค่สีเสื้อไม่เหมือน ศักดิ์ศรีของสถาบัน ที่ถูกปลังฝังมาแบบผิดๆ
     
       สุดท้ายคนที่เสียใจที่สุดก็คือพ่อแม่ ที่ต้องร้องไห้มารับศพลูก แปลกชะมัดโตๆกันแล้วพูดคุยก็ภาษาเดียวกัน ชื่อนำหน้าก็เป็น"นาย"อยู่บนแผ่นดินเดียวกันที่ชื่อ"ไทย" รักเคารพ"พ่อหลวง"องค์เดียวกัน แต่ใยมาย่ำยีกันเองถึงเลือดตกยางออก ฤาจะให้ต้องงัดมาตราการเด็ด"ยุบ"ทิ้งทั้งสองสถาบันจะดีไหมจะได้หมดปัญหาจะได้ปิดตำนานศึก"ปทุมวัน-อุเทน"และเหลือไว้เป็นความทรงจำที่(ไม่)น่าจำอีกต่อไป.

       "หนุ่มน้อย"
       เขาเดินเข้าออกในซอยทุกวัน เพื่อนฝูงทุกคนต่างรักใคร่เขา
       ทุกๆ ตอนเช้าแต่งตัวไปเรียน ไม่เคยจะเกจะขาด
       พ่อแม่ภูมิใจ มีลูกผู้ชายเอาการเอางานเอาเรียน
       ก็ชีวิตนี้ดั่งไม้ใกล้ฝั่ง หวังพึ่งพาลูกชายคนเดียว
       โอ.โฮ๊ะ.โอ...เจ้าเด็กหนุ่มของพ่อ... โอ.โฮ๊ะ.โอ...เจ้าเด็กหนุ่มของแม่
       ตกเย็นเลิกเรียนกลับบ้านตามเคย ห้อยโหนรถเมล์อย่างเก่า
       คิดถึงกับข้าว บนจานใบเก่ามีแม่กับพ่อล้อมวง
       แต่แล้วทันใด โลกมืดดับไป มีสัตว์ร้ายมองดูคล้ายว่าเป็นคน
       ทำร้ายร่างกายรุมตีจนตาย แล้วสลายร่างหายในหมู่คน
       พ่อแม่รู้ข่าวร้ายร่ำร้องแทบวางวายกลิ้งเกลือกลงกับกองเลือดของลูก
       ลูกฉันทำอะไร เขายังไม่ควรตาย หนุ่มน้อยผู้มีอนาคตไกล
       แค่สีเสื้อไม่เหมือนคำสอนแต่ปางไหน นี่สีใครนั่นสีมึง นี่สีกู
       ความหวังพังทลายแต่นี้จะอยู่อย่างไร เพราะหัวใจเพียงดวงเดียวแหลกสลาย
       ตั้งแต่บัดนี้ ไม่มีอีกแล้ว เด็กหนุ่มคนดีประจำซอย
       พ่อแม่ก็หายครอบครัวสลาย ไม่สายทุกคนก็ลืม
     
       เนื้อร้องในบทเพลง "หนุ่มน้อย" ของ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ น่าจะสะท้อนภาพศึกช่างกลปทุมวันกับช่างก่อสร้างอุเทนถวายได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น: