PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติช่างกลปทุมวัน

ประวัติช่างกลปทุมวัน


ประวัติช่างกลปทุมวัน 

80 ปี ช่างกลปทุมวัน



จากปี พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2555 เป็นเวลา 80 ปี ถ้าเป็นข้าราชการก็เกษียณอายุไปนานแล้ว แต่ช่างกลปทุมวัน ซึ่งล้มลุกคลุกคลานมานาน มีลูกศิษย์ที่จบจากสถาบันนี้ออกไปรับใช้ชาติบ้านเมืองเป็นจำนวนมาก จากโรงเรียนที่สอนระดับ ปวช. เลื่อนระดับเป็นวิทยาลัยที่สอนระดับ ปวส. และกระทั่งได้ยกฐานะเป็นสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ที่สอนในระดับปริญญาตรี จะเห็นได้ว่าสถาบันของเรามิได้ชราไปตามตัวเลข มีแต่ความเจริญก้าวหน้าต่อไป และสิ่งที่น่าภูมิใจของพวกเราก็คือพระราชทานนามคำว่า ปทุมวัน ยังคงอยู่กับสถาบันของเรา
ฉะนั้นขอให้เราทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันจงช่วยกันเทิดทูลคำว่าปทุมวัน ไว้ในดวงใจ จงรักษาชื่อเสียงของสถาบัน ซึ่งเป็นที่หล่อหลอมให้พวกเราทุกคนมีความเป็นสุภาพบุรุษ มีความอดทน ซื่อสัตย์ และจงรักภักดี
เราศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (ช่างกลปทุมวัน) ขอกราบขอบพระคุณคณะนายทหารเรือที่ได้ตระหนักถึงการปลูกฝังวิชาชีพช่างกล ให้กับกุลบุตรของชาติ จึงได้มีโรงเรียนสอนวิชาชีพช่างกลขึ้นในสมัยนั้น จนกระทั่งได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 80 ปี กว่าจะถึงวันนี้ (อาจารย์สมศักดิ์ เบญจาทิกุล)

ผมเชื่อว่าพวกเราทุกคนมีความภาคภูมิใจที่ได้จบจากสถาบันแห่งนี้ และระลึกในบุญคุณของครูอาจารย์ ที่สั่งสอนจนเราจบออกมาทำมาหาเลี้ยงชีพ ดูแลพ่อแม่ลูกเมียได้ในทุกวันนี้  สมควรที่พวกเราชาวช่างกลปทุมวัน ทั้งศิษย์เก่า ตลอดจนน้องปัจจุบัน จะแสดงความกตเวทิตาคุณ กับโรงเรียนของเรา โดยประพฤติปฎิบัติตนแต่ในทางที่ถูกที่ควร เป็นนักศึกษาที่ดีของโรงเรียน เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ สมดังที่เป็นศิษย์เก่า หรือนักศึกษาเทคโนโลยีปทุมวัน (ช่างกลปทุมวัน)


ร่วมกันรักษาช่างกลปทุมวันเพื่อให้ลูกหลานได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน จบมาเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศเรา


80 ปี ช่างกลปทุมวัน ตำนานช่างกลเมืองไทย ความภาคภูมิใจของพวกเรา

ร่วมซึมซาบรากเหง้าความเป็นมาของโรงเรียนเรา



ประวัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (ช่างกลปทุมวัน) The First of Engineer ข้อมูล 27 สิงหาคม 2555

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาระดับปริญญาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่พัฒนามาเป็นลำดับดังนี้


โรงเรียนอาชีพช่างกล (โรงเรียนช่างกลเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย พ.ศ. 2475  2478)
ในปี พ.. 2467 ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกหลังสงครามโลก ครั้งที่ 1 ทำให้เงินงบประมาณในการบริหารประเทศไทยขาดแคลน จึงมีการดุลข้าราชการ คือลดรายจ่ายรัฐด้วยการลดจำนวนข้าราชการ และยุบหรือควบรวมหน่วยงานราชการให้ลดน้อยลง ทางกองทัพเรือก็งดรับนักเรียนนายเรือทั้งพรรคนาวินและพรรคกะลิน (สมัยนั้นการเรียนของโรงเรียนนายเรือมีการแบ่งหลักสูตรการเรียนการสอนออกเป็น 2 แผนก คือ แผนกพรรคนาวิน ซึ่งเรียนเกี่ยวกับการควบคุมการเดินเรือ และแผนกพรรคกะลิน ซึ่งเรียนเกี่ยวกับช่างกลเรือ) จนกระทั่งปี พ.๒๔๗๑ กองทัพเรือเปิดรับนักเรียนนายเรืออีกแต่รับเฉพาะพรรคนาวิน ถึงปี พ.ศ. 2473 ยังไม่มีนโยบายจากกองทัพที่จะเปิดรับนักเรียนนายเรือพรรคกะลินอีก (พ.ศ. 2479 ทางกองทัพเรือเปิดรับนักเรียนนายเรือพรรคกะลินอีกครั้งหนึ่ง หลังจากหยุดรับมา 12 ปี) นาวาเอกพระประกอบกลกิจ (เจ๋อ จันทรเวคิน) ขณะนั้นมียศเป็นนาวาตรีหลวงประกอบกลกิจ ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนนายเรือแผนกพรรคกะลิน และโรงเรียนนายทหารเรือชั้นสูงแผนกพรรคกะลิน มีความรู้สึกห่วงใยเรื่องวิชาช่างกลของคนไทยจะไม่เจริญก้าวหน้าต่อไปในกาลข้างหน้า และคนที่มีความรู้วิชาช่างกลของคนไทยย่อมร่อยหรอหมดสิ้นไปทีละน้อย ๆ เพราะการเรียนฝ่ายช่างกล ในเวลานั้นยังไม่มีโรงเรียนสอนวิชาช่างกลแบบนี้ที่อื่นเลย ที่มีก็สอนในระดับวิศวกรรม (นายช่าง) ของมหาวิทยาลัยคือวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านจึงคิดที่จะจัดตั้งโรงเรียนช่างกล ในระดับ Technical College ด้วยจุดประสงค์ ที่ต้องการสร้างช่างฝีมือมาทำงานรับช่วงจากวิศวกร (นายช่าง) และปลูกฝังและสนับสนุนอาชีพช่างกลให้กับเยาวชนไทยเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ และมิให้อาชีพช่างกลตกในมือของชาวต่างชาติ (ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนในขณะนั้น) ท่านจึงได้หารือกับ เรือเอกทิพย์ ประสานสุข ร.น. และพลเรือตรีสงบ จรูญพร ร.น. ซึ่งขณะนั้น ต่างก็มียศเป็นเรือโทในฐานะเป็นศิษย์ของท่าน ถึงความประสงค์แรงกล้าที่จะจัดตั้งโรงเรียนอาชีพช่างกล



นาวาเอกพระประกอบกลกิจ ร.น. (เจ๋อ จันทรเวคิน) บิดาผู้ให้กำเนิดโรงเรียนช่างกลปทุมวัน



พลเรือตรีสงบ จรูญพร ร.น. และเรือเอกทิพย์ ประสานสุข ร.น. ผู้ช่วยเหลือในการก่อกำเนิดโรงเรียนช่างกลปทุมวัน

โดยขอให้ เรือเอกทิพย์ ประสานสุข ร.น. และพลเรือตรีสงบ จรูญพร ร.น. ได้ช่วยกันชักชวนบรรดาเพื่อนทหารชั้นผู้น้อย และท่านเอง (นาวาเอกพระประกอบกลกิจ) จะได้ชักชวนบรรดาเพื่อนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และออกหนังสือเวียนขอความร่วมมือเรี่ยรายเงินจากบรรดาทหารเรือคนละ 100 บาท แต่เก็บเป็นรายเดือน ๆ ละ 5 บาท เก็บจนกว่าจะครบ 100 บาท เพื่อจัดตั้งโรงเรียนอาชีพช่างกล มีคณะทหารเรือผู้ร่วมอุดมการณ์ 111 ท่าน ดังนี้
คลิกดูรายละเอียดที่หัวข้อเลยครับ







จาริกานุสสรณ์ผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนอาชีพช่างกล

โรงเรียนอาชีพช่างกล

เมื่อได้ทุนในชั้นต้นแล้ว ก็ดำเนินการหาสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน โดยได้ เช่าอาคาร ชั้น ที่มีรั้วรอบของพระคลังข้างที่ (คือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน) อยู่ในตรอกกัปตันบุช (ปัจจุบันคือซอยเจริญกรุง 30 ซึ่งอยู่ระหว่างไปรษณีย์กลางกับท่าน้ำสี่พระยา) ถนนเจริญกรุง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กทม. (ปัจจุบันคือที่ดินว่างเปล่ารอการพัฒนา 2555) ชั้นบนใช้เป็นห้องทำงานของครูและห้องเรียนทฤษฎี ชั้นล่างเป็นโรงฝึกงาน เปิดทำการสอนครั้งแรกในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (ตรงกับวันจันทร์ แรม 15 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก จ.ศ.1294 หรือ ค.ศ. 1932) โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนอาชีพช่างกล เป็นโรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทย




ตราสัญลักษณ์โรงเรียนอาชีพช่างกล เป็นรูปสมอไขว้กับเฟืองจักร มีใบชัยพฤกษ์อยู่เบื้องล่าง ที่ห่วงสมอมีรัศมี ความหมาย รูปสมอแสดงให้รู้ว่าโรงเรียนนี้ก่อกำเนิดมาจากทหารเรือ เฟืองจักรแสดงว่าสอนวิชาช่างกล ใบชัยพฤกษ์ แสดงถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่าง  รัศมีความหมาย แสงสว่างแห่งความรู้ นำทางไปสู่ความสำเร็จ และ ความเจริญรุ่งเรือง

หมายเหตุ ที่เปิดสอนครั้งแรกในเดือนสิงหาคม เพราะในช่วงเดือนพฤษภาคม ที่โรงเรียนต่าง ๆ เปิดเทอมกัน คณะผู้ก่อตั้งโรงเรียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกคณะราษฎร์สายทหารเรือติดภารกิจหลักในเรื่องเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน 2475





ถนนเจริญกรุงบริเวณแถวสี่พระยาในยุค พ.ศ. 2470 ภาพจาก Internet


โดยมีนาวาเอกพระประกอบกลกิจ ร.น. เป็นผู้อำนวยการ ได้ติดต่อขอเชิญเรือเอกหลวงสุรภัฎพิศิษฐ์ ร.น. เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียน และสอนวิชาช่างทั่วไปและการฝึกหัดงานให้นักเรียน เรือเอกสงวน คงศิริ ร.น. เป็นอาจารย์ผู้ปกครอง และสอนวิชาคำนวณ เรือโทสมบุญ กายะสุต ร.น. สอนวิชาช่างทั่วไปและการฝึกหัดงานให้นักเรียน และยังได้คณะทหารเรือร่วมอุดมการณ์และอดีตทหารเรือที่เกษียณอายุราชการร่วมอาสาเป็นครูมาทำหน้าที่อบรมสั่งสอนให้ความรู้แก่นักเรียน สำหรับอาจารย์ที่สอนประจำ ก็มีส่วนในการบำรุงโรงเรียนนี้ด้วย เพราะได้เงินเดือนค่าสอนในอัตราต่ำมาก เรียกได้ว่ามาสอนให้โดยมิได้หวังผลตอบแทนอะไร มีครูช่วยสอน 3 ท่าน คือ นายไจ้จิ๋ว สุขชื่น ต่อมามี นายตึ๋ง อินทรสะอาด , นายเลื่อน กาญจนเสถียร การรับนักเรียนในรุ่นแรก กำหนดความรู้ชั้นประถมปีที่ 3 หรือเทียบเท่า หลักสูตร 2 ปี ยังไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียนเพื่อปลูกฝังความนิยมให้เกิดขึ้นเสียก่อน เมื่อเรียนจบทางโรงเรียนจะออกใบประกาศนียบัตรให้ มีนักเรียนรุ่นแรก 34 นาย เรียงตามเลขที่ดังนี้
1. นายอเนก อารียมิตร
2. นายประเสริฐ พุ่มชูศรี
3. นายชลอ สุกุมาลพันธุ์
4. นายอัมพร ทัพพะรังสี
5. นายเค้า เหลืองทองคำ
6. นายทองสุก กุยโกมุด
7. นายอุทัย ศรีจันทร์
8. นายไว สีห์อุไร
9. นายสง่า เขียนจำนงค์
10. นายช้อย ชัยะ
11. นายบุญหนุน มุกสิกโปดก (อาจารย์ช่างกลปทุมวัน)
12. นายเงิน แก้วแดง
13. ศรีธน ศักดิ์ศรี
14. นายทองหล่อ อุปถัมภานนท์
15. นายกมล เหมาคม
16. นายแสวง หงส์ทอง
17. นายเกษม บุญยกาญจน์
18. นายอรุณ ปรีดีขนิฐ
19. นายโมริส จุลละมณฑล
20. นายจรูญ กาญจนสภา
21. นายสนั่น ประสานสุข
22. นายวรเทพ อัญชัญญาติ
23. นายประทุม อาคุศิริ
24. นายมณฑล บังอร
25. นายจันทร์ เนื่องยินดี
26. นายสำรวย ชาคร
27. นายสุ่นเก็ง แซ่ตัน
28. นายเอี้ยว มลิวรณ
29. นายเศียร สิทธิรักษ์
30. นายบุญล้อม รอดอารีย์
31. นายนองช้อย หยันสกุล
32. นายเกษม เปรมศรี
33. นายบุญมี สุขสุเมฆ
34. นายกมล สาระมา
รายนามอาจารย์สมัยแรก




รูปหมู่ครูและนักเรียนโรงเรียนอาชีพช่างกล พ.ศ. 2475



หลักสูตรการสอนใช้หลักสูตรของโรงเรียนนายเรือแผนกพรรคกะสิน โดยมีการศึกษาวิชาทางตำรา (ทฤษฎี) ในภาคครึ่งวันเช้า ในภาคบ่ายให้นักเรียนฝึกภาคปฏิบัติ เพื่อให้นักเรียนได้มีความชำนาญ มีความอดทนและไม่กลัวต่อความสกปรกโสมม เป็นช่างกลที่ดีในอนาคต ตลอดจนปลูกฝังระเบียบวินัยความรักและสามัคคีระหว่างพี่เพื่อนและน้องตามระบบของทหารเรือ
สำหรับอุปกรณ์ในการเรียนการสอนก็สั่งซื้อเข้ามาทีละเล็กละน้อยสำหรับฝึกหัด เช่น เตาเผาเหล็ก ทั่ง ค้อน ปากกาจับงาน เครื่องกลึง ฯลฯ สำหรับเครื่องจักรบางชิ้นก็ได้รับมอบจากกรมอู่ทหารเรือ
วิชาช่างที่เรียนมี ดังนี้  ช่างตีเหล็ก , ช่างตะไบ , ช่างบัดกรีและประสาน , ช่างปรับ , ช่างยนต์ , ช่างไฟฟ้า , ช่างกลึง , ช่างหล่อ , ช่างเดินเครื่องจักร และช่างออกแบบ ทางกองทัพเรือยังได้ให้การอุปการะและสนับสนุน โดยการจัดครูไปช่วยสอนและอนุญาตให้นักเรียนไปฝึกงานภาคปฏิบัติที่กรมอู่ทหารเรือ และในโรงงานของโรงเรียนนายเรือฝ่ายพรรคกะลิน

โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล (โรงเรียนช่างกลรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย)

โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล (โรงเรียนช่างกลรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย) พ.ศ. 2478 - 2482

ข้อมูล 29 สิงหาคม 2555




รูปหมู่ครูและนักเรียนโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล พ.ศ. 2475



พ.ศ. 2477 แผนกการพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น ซึ่งอยู่ติดท่าเรือราชินีเหนือ ซอยท่าข้าม ถนนมหาราช ตำบลท่าเตียน (ปัจจุบันคือแขวงพระบรมมหาราชวัง) อำเภอชนะสงคราม (เขตพระนคร) จังหวัดพระนคร มลฑลกรุงเทพ ฯ ปํจจุบันคือบริเวณที่ตั้งอาคารเสาวภาผ่องศรีในโรงเรียนราชินีล่าง จึงได้ถือโอกาสย้ายโรงเรียนอาชีพช่างกลจากตรอกกัปตันบุชมาอยู่ที่อาคารนี้แทน เพราะสถานที่กว้าง ใกล้ท่าน้ำ สะดวกแก่การข้ามไปฝึกงานที่กรมอู่ทหารเรือ หรือยืมเรือกลไฟจากกองเรือกลทหารเรือมาให้นักเรียนฝึกหัดให้มีความรู้ความชำนาญได้รู้ได้ใช้ของจริง ทั้งสะดวกในการขอความอนุเคราะห์จากกนายทหารเรือให้มาช่วยสอนทฤษฎีช่างในบางโอกาส และสะดวกแก่การควบคุมของผู้อำนวยการโรงเรียน เพราะที่ตั้งโรงเรียนอยู่ใกล้ปากคลองตลาดชาวบ้านมักเรียกชื่อช่างกลปากคลองตลาด
ลักษณะโรงเรียนเป็นอาคาร ชั้น มีรั้วสังกะสีกั้นเขตกับโรงเรียนราชินีล่าง ชั้นบนใช้เป็นห้องทำงานของครูและห้องเรียนทฤษฎี 1 ห้อง ชั้นล่างเป็นโรงฝึกงาน ช่างกลึง ช่างตะไบ และช่างยนต์ ส่วนช่างเหล็กตั้งเป็นเพิงอยู่นอกตึกเรียน มีเครื่องกลึง เครื่องยนต์ และเครื่องจักรไอน้ำสำหรับฝึกอย่างละ เครื่อง จึงต้องผลัดกันใช้ห้องเรียนทฎษฎีระหว่างนักเรียนชั้น ปี และชั้น ปี การฝึกภาคปฎิบัติส่วนหนึ่งต้องไปอาศัยฝึกที่กรมอู่ทหารเรือหรือโรงฝึกงานของโรงเรียนนายเรือ โดยกรรเชียงเรือข้ามฝากไปเรียนครึ่งวัน จากการกรรเชียงเรือทุกวันทำให้โรงเรียนได้ถ้วยแข่งเรือมาหลายใบ





ตราสัญญลักษณ์โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล




โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล (โรงเรียนช่างกลรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย) พ.ศ. 2478 - 2481



แผนที่บริเวณที่ตั้งโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล เมื่อปี 247แผนที่จากห้องปฎิบัติการแผนที่ประวัติศาสตร์ คณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





เส้นทางการกรรเชียงเรือจากรร.มัธยมอาชีพช่างกลไปกรมอู่ทหารเรือ ระยะทางไม่ใกล้เลย ได้กำลังแขนอย่างดีเมื่อพายทวนน้ำ แผนที่จากห้องปฎิบัติการแผนที่ประวัติศาสตร์ คณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




แผนที่บริเวณที่ตั้งโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล ปัจจุบัน พ.ศ. 2555 แผนที่จากเวบไซต์รู้ทันน้ำ




ในปีนี้เอง กระทรวงธรรมการหรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน ใคร่จะขยายการศึกษาวิชาอาชีพต่าง ๆ ตามโครงการการศึกษาของชาติ วิชาช่างกล เป็นวิชาชีพแขนงหนึ่งที่กระทรวงธรรมการเห็นว่ามีความสำคัญ และมีนโยบายที่จะส่งเสริมอยู่แล้ว จึงได้ขอความร่วมมือให้กองทัพเรือโอนโรงเรียนอาชีพช่างกลที่อยู่ในความดูแล ของนาวาเอกพระประกอบกลกิจ ร.น. ให้มาอยู่ในสังกัดกระทรวงธรรมการ นาวาเอกพระประกอบกลกิจ ร.น. ผู้อำนวยการโรงเรียนมีความยินดีที่จะมอบให้กระทรวงธรรมการ แต่ทว่าในปีนั้นกระทรวงธรรมการยังไม่มีงบประมาณพอที่จะรับมอบ จึงขอให้ชะลอเรื่องไว้ก่อน





ที่ตั้งรร.มัธยมอาชีพช่างกล ในบริเวณ รร.ราชินี ภาพจากเวบโรงเรียนราชินี(http://www.rajini.ac.th/school/map.html)







ตรงบริเวณอาคารเสาวภาผ่องศรีคือบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล ภาพจากเวบโรงเรียนราชินี (http://www.rajini.ac.th/school/mapin.html)





รูปที่ตั้งโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกลที่อยู่ในบริเวณโรงเรียนราชินี ภาพจาก Internet




ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณปากคลองตลาด เมื่อ พ.ศ. 2489 (ภาพถ่ายทางอากาศของ วิลเลียมฮันด์ จากหอจดหมายเหตุ หอสมุดแห่งชาติ)  รูป Imag_0325





ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณปากคลองตลาด เมื่อ พ.ศ. 2489 (ภาพถ่ายทางอากาศของ วิลเลียมฮันด์ จากหอจดหมายเหตุ หอสมุดแห่งชาติ) รูป Imag_0328





ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณปากคลองตลาด เมื่อ พ.ศ. 2489 (ภาพถ่ายทางอากาศของ วิลเลียมฮันด์ จากหอจดหมายเหตุ หอสมุดแห่งชาติ)  รูป Imag_0335



กรมอู่ทหารเรือ
โรงเรียนอาชีพช่างกล
โรงเรียนราชินี
สถานีตำรวชพระราชวัง
สยามมิวเซียม หรือกระทรวงพาณิชย์เดิม
กองแยกธาตุ (กรมวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันคือโรงเรียนราชบพิธ)
กรมพลาธิการทหารบก (ปัจจุบันคือโรงเรียนราชบพิธ)
หอทะเบียนที่ดิน คือกรมที่ดินในปัจจุบัน
ถนนราชินี
ตลาดท่าเตียน
วัดโพธิ์
ถนนอัษฎางค์





จากวัดกัลยาณ์ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับโรเรียนราชินีมองไปยังกรมอู่ทหารเรือ






ภาพถ่ายโรงเรียนราชินีในปัจจุบัน 




ภาพถ่ายทางอากาศกรมอู่ทหารเรือ เมื่อ พ.ศ. 2489 (ภาพถ่ายทางอากาศของ วิลเลียมฮันด์ จากหอจดหมายเหตุ หอสมุดแห่งชาติ) รูป Imag_0332





ภาพถ่ายทางอากาศกรมอู่ทหารเรือปัจจุบัน (พ.ศ. 2555)



พ.ศ. 2478 พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย ร.น. เป็นออกทุนสนับสนุนโรงเรียนอาชีพช่างกลด้วยผู้หนึ่ง ตั้งแต่ครั้งเป็นเสนาธิการกองทัพเรือ และยังคงให้การสนับสนุนจนท่านได้เป็นแม่ทัพเรือ และในปีเดียวกันนี้ ท่านได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน)ท่านได้นำเรื่องของโรงเรียนอาชีพช่างกลเข้าปรึกษาจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยความเมตตากรุณาของท่านผู้ใหญ่ทั้งสองท่าน และด้วยสายตาที่มองกาลไกล ท่านได้เห็นความสำคัญในเรื่องวิชาชีพช่างกล ว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลควรจะต้องอุ้มชู เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในอนาคต และให้ประชาชนของชาติได้รับการศึกษาเล่าเรียนวิชาช่างกลไว้ เพื่อได้เป็นวิชาอาชีพที่จะได้นำไปประกอบการงานให้เป็นประโยชน์ต่อราชการ ส่วนตัวและครอบครัว ให้ได้มีอาชีพการทำงานที่เป็นปึกแผ่นอยู่ดีกินดี จึงได้รับโรงเรียนอาชีพช่างกลจากนาวาเอกพระประกอบกลกิจ ร.น. มาสังกัดอยู่ในกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ กรกฎาคม พ.ศ. 2478 พร้อมอนุมัติเงินงบประมาณให้โรงเรียนปรับปรุงโรงงานและเครื่องจักรกลต่าง ๆ และได้เปลี่ยนนามของโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล" ระเบียบในการรับสมัครนักเรียน ต้องสำเร็จวิชาสามัญชั้นมัธยมปีที่ เป็นอย่างต่ำ (เทียบปัจจุบันคือผู้ที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที 1) และอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ไม่เกิน 18 ปี วางหลักสูตรการเรียนไว้ ปี ไม่เก็บค่าเล่าเรียน วิชาที่สอน ช่างกลพื้นฐานเพื่อปูพื้นฐานการทำงานช่าง คือช่างตะไบ , ช่างตีเหล็ก , ช่างบัดกรีและช่างฟิตปรับ ให้มีความละเอียดประณีตในการปฏิบัติงานช่าง วิชาช่างกลหลักที่สอนคือ ช่างกลโรงงาน , ช่างเครื่องยนต์ , ช่างไฟฟ้า , เครื่องจักรไอน้ำ , และวิชาเขียนแบบช่างช่างกล ส่วนวิชาสามัญจะเรียน คณิตศาสตร์ , กลศาสตร์ , ภาษาไทย , ภาษาอังกฤษ และพลศึกษา ส่วนนาวาเอกพระประกอบกลกิจ ร.น. ยังคงรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนต่อมา และเรือเอก หลวงสุรภัฎพิศิษฐ์ ร.น. เป็นอาจารย์ใหญ่เช่นเดิม เลขประจำตัว 1 เริ่มนับใหม่จากรุ่นนี้ (ไม่ได้นับเลขประจำตัวต่อจากนักเรียนโรงเรียนอาชีพช่างกล ซึ่งมี 78 คน) นักเรียนรุ่นนี้ส่วนใหญ่โอนมาจากนักเรียนอาชีพช่างกลรุ่นปี 2477 เพราะเรียนจบแล้วได้วุฒิจากกระทรวงศึกษา การแต่งกายของครูต้องสวมเสื้อนอก กระดุม 5 เม็ด กางเกงขายาว นักเรียนแต่งกาย 3 แบบ คือ แต่งกายนายสิบยุวชนทหาร กางเกงขาสั้น สวมถุงเท้ายาวสีดำรองเท้าดำ หรือแต่งเครื่องแบบลูกเสือสมุทรเสนา เหมือนจ่าทหารเรือแต่ใส่กางเกงขาสั้น และสวมเสื้อขาวแขนสั้น กางเกงขายาวสีน้ำเงิน


มกราคม พ.ศ. 2479 เรือเอกหลวงสุรภัฎพิศิษฐ์ ร.น. ย้ายไปรับราชการกรมเจ้าท่า เรือโทสมบุญ กายสุต ร.น. ทำหน้าที่รักษาการแทนอาจารย์ใหญ่
กลางปีนี้นาวาเอกพระประกอบกลกิจ ร.น. ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องไปราชการประเทศญี่ปุ่น กองทัพเรือจึงมีคำสั่งที่ 42/79 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2479 แต่งตั้งให้ พล.ร.ท. พระวิจิตรนาวี (แดง ลางคุณแสน) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนแทน และแต่งตั้งให้นาวาตรีหลวงกลกิจกำจร ร.น. (ถมยา รังคะกะลิน) เป็นอาจารย์ใหญ่ ในปีการศึกษานี้เปลี่ยนการเปิดเทอมต้นจากจันทร์แรกของเดือนสิงหาคม เป็นกลางเดือนพฤษภาคมเหมือนโรงเรียนทั่วไป และปีนี้นักเรียนโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล ซึ่งเรียนหลักสูตร ปี เรียนจบหลักสูตรและออกไปเป็นรุ่นแรกจำนวน 67 คน
กองทัพเรือยังคงให้ความอุปการะให้นักเรียนไปฝึกงานที่กรมอู่ทหารเรือ และจัดอาจารย์จากโรงเรียนนายทหารเรือเข้าสอบภาคทฤษฎี และวิชาอื่น ๆ อีกด้วย



พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนระเบียบรับนักเรียนใหม่ รับนักเรียนที่สอบวิชาสามัญชั้นมัธยมปีที่ ได้ (เทียบปัจจุบันคือผู้ที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที 3) และเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาเป็น ปี และยังไม่เก็บเงินค่าเล่าเรียนตามเดิม ในเดือนพฤศจิกายน 2480 นาวาตรี หลวงกลกิจกำจร ร.น. (ถมยา รังคะกะลิน) ย้ายไปรักษาราชการในตำแหน่งนายช่างใหญ่ โรงน้ำตาล จังหวัดลำปาง นาวาตรี ขุนประพุธพิชากล ร.น. (พุฒ นิยมตรุษ) รักษาราชการแทน
เดือนกุมภาพันธ์ 2481 นาวาตรี หลวงดำเนินนาวากล ร.น. (จันทร์ รัชตชาติ) มารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ปีนี้เริ่มเก็บค่าเล่าเรียนปีละ 20 บาท แบ่งเก็บเป็น ภาค ภาคต้น บาท ภาคกลาง บาท ภาคปลาย บาท กระทรวงศึกษาธิการจัดงบประมาณเป็นค่าใช้สอยให้แก่โรงเรียนปีละ 3,500 บาท


รูปป้ายที่ระลึก มีข้อความว่า โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล นต.หลวงประพรรดิ์จักร์กิจ ให้เป็นสมบัติของโรงเรียน เมื่อพุทธศักราช 2479 
โดยมีเรือกรรเชียงแปะไว้ให้ระลึกถึงสมัยที่เรียนอยู่ปากคลองตลาด ซึ่งต้องกรรเชียงเรือไปฝึกภาคปฎิบัติที่กรมอู่ทหารเรือทุกวัน


เนื่องจากวันที่  1  สิงหาคม  เป็นวันคล้ายวันสถาปนา  ช่างกลปทุมวัน  เลยนำข้อมูลเล็กๆๆ  น้อยๆๆ   มาเเชร์กันครับ  ใครไม่พอใจ  ต้องขออภัยมา  ณ  ที่นี้ด้วยครับ

เนื้อหาโดย: โงกุล

ไม่มีความคิดเห็น: