PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว20/1/58

Jab20Jan15

//////////////
ถอดถอนยิ่งลักษณ์

"นิคม" ยันไปแถลงปิดคดีด้วยตนเอง เพื่อแจงเพิ่ม มองการซักถามถูกเบี่ยงประเด็นไปจากเดิม หวัง สนช. ลงมติเป็นธรรม

นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ในวันแถลงปิดคดีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันพรุ่งนี้ (21 ม.ค.) จะเดินทางไปด้วยตนเองอย่างแน่นอน เพื่อชี้
แจงและอธิบายถึงข้อเท็จจริง พร้อมหลักฐานประกอบ เพราะมองว่า ในขั้นตอนการซักถาม 5 ใน 7 คำถาม ได้มีการเบี่ยงประเด็นว่ามีความผิดในมาตราอื่นอีกหรือไม่ ไปในเรื่องประโยชน์ทับซ้อน
ซึ่งมั่นใจว่าหลังจากอธิบายแล้ว สนช. จะได้ข้อมูล รับรู้ข้อเท็จจริง เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม นายนิคม ยังยืนยันว่า พร้อมที่จะน้อบรับผลของการตัดสินใจของ สนช. แต่ก็หวังว่าจะเป็นผลการตัดสินที่เป็นธรรมเพราะจะถือเป็นบรรทัดฐานของกฎหมายต่อไป  
-------------------------
"วิษณุ" เผย ประชุมร่วม คสช. ยังไม่ถกถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง-ถอดถอนได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับรูปคดี กำหนดเป็นบรรทัดฐานไม่ได้

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันนี้ มีการพูดคุยใน 2 เรื่องหลักๆ คือ การรายงานสถานการณ์ด้านความมั่นคงทั่วไป และการรายงานการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งไม่มีการพูดคุยเรื่องการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่อย่างใด

ทั้งนี้ นายวิษณุ ยังกล่าวว่า การถอดถอนจะเป็นบรรทัดฐานในครั้งต่อไปหรือไม่นั้น เชื่อว่าถ้ามีความจำเป็นต้องทำ ก็สามารถทำได้แต่สุดท้ายจะถอดถอนได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับรูปคดีในแต่ละเรื่อง ซึ่งคงกำหนดเป็นบรรทัดฐานไม่ได้ ส่วนการทำงานล่าช้าของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นเพียงการตั้งคำถามของสื่อมวลชนเท่านั้น และไม่มีการรายงานในเรื่องนี้
---------------
มติ วิป สนช. โหวตถอดถอน นิคม, สมศักดิ์, ยิ่งลักษณ์ คาดเสร็จใน 3 ชั่วโมง ขณะพรุ่งนี้ถกปม 38 อดีต ส.ว.

น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ เลขานุการคณะกรรมาธิการกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. กล่าวว่า มติ วิป สนช. ที่จะมีการลงมติถอดถอนวันที่ 23 มกราคม นี้ จะลงมติที่เป็นไปตามข้อบังคับการประชุม โดยใช้วิธีการลงคะแนนลับ เข้าคูหากาบัตร และต้องมีคณะกรรมการนับคะแนน จำนวน 10 คน แต่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในกระบวนการ ไม่ซ้ำซ้อน จึงให้ลงมติถอดถอน อดีตประธานวุฒิสภา อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปในคราวเดียวกัน จากนั้น ลงมติถอดถอนอดีตนายกรัฐมนตรี คาดว่า จะใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 3 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ยืนยันว่า สมาชิก สนช. ปฏิบัติตามหน้าที่และไม่รู้สึกกังวลใดๆ ส่วนในวันพรุ่งนี้ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะพิจารณาวาระถอดถอน 38 อดีตสมาชิกวุฒิสภา เพื่อกำหนดวันแถลงเปิด
สำนวนคดี
----------------
น.พ.เจตน์ ยัน วิป สนช. ยังไม่กำหนดกรอบเวลาปิดสำนวนถอดถอน - ยืดหยุ่นได้

น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมวิป สนช. ยังไม่กำหนดกรอบเวลาในการแถลงปิดสำนวนคดีถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 21-22 มกราคม นี้ ซึ่งเบื้องต้นอาจอนุโลมและยืดหยุ่นในกรอบเวลา ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ผู้กล่าวหาจะเป็นผู้แถลงปิดคดีก่อน ก่อนที่จะเป็นการแถลงผู้ถูกกล่าวหา โดยทราบว่า นายนิคม จะเดินทางเข้าร่วมการแถลงด้วยตัวเอง แต่นายสมศักดิ์ จะไม่เดินทางมาแถลงปิดสำนวนคดี

นอกจากนี้ น.พ.เจตน์ ระบุว่า ยังไม่ได้ประสานกับฝ่ายความมั่นคง เรื่องการดูแลความเรียบร้อย บริเวณโดยรอบรัฐสภา ในวันลงมติสำนวนถอดถอนบุคคลทั้ง 3 วันที่ 23 มกราคม นี้

//////////
ปปช.

ป.ป.ช.นัดพิจารณาชี้มูลความผิด "บุญทรง" กับพวก กรณีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวจีทูจี 

บรรยากาศที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ล่าสุด ยังคงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวดเช่นทุกวัน ขณะที่ในวันนี้เวลาประมาณ 10.00 น. จะมีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ โดยมีวาระเพื่อพิจารณารายงานการไต่สวนคณะอนุกรรมการไต่สวนคดี นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับพวก ในกรณีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว และขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) เพื่อดูว่ามีแนวทางการไต่สวนในประเด็นใดต่อไป หรือหากมีข้อมูลส่วนใดที่สามารถสรุปและพิจารณาชี้มูลความผิดได้ก็อาจจะพิจารณาชี้มูลทันที

ทั้งนี้ สำหรับในคดีดังกล่าวมีผู้ถูกกล่าวหาในส่วนของนักการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 11 ราย เป็นระดับรัฐมนตรี 2 ราย คือ นายบุญทรง และ นายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีสื่อมวลชนมาปักหลักรอติดตามผลการประชุมอย่างใกล้ชิด
------------------------
วิชา แถลง ป.ป.ช. มีมติ บุญทรง ผิดจริง เตรียมส่งความคิดเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญา

นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการพิจารณาสำนวนไต่สวนคดี นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมพวก กรณีทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี ในโครงการรับจำข้าว ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นว่า นายบุญทรง พร้อมพวกรวม 21 ราย ร่วมกันกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ๆ รวมถึงมีความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่น ๆ โดยจากการตรวจสอบสัญญาซื้อขายข้าวระหว่างไทยกับบริษัทของจีน จำนวน  4 ฉบับ โดยในสัญญา 3 ฉบับแรก มีบริษัท กวางตุ้ง และบริษัท ไห่หนาน ของจีนซึ่งมิได้รับมอบหมายจากรัฐบาลจีนเป็นผู้รับซื้อ และมี นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ นายภูมิ สาระผล และ พ.ต.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ เป็นผู้เห็นชอบ ส่วนฉบับสุดท้ายเป็นการทำสัญญากับผู้ประกอบการในประเทศจำนวน 3 กลุ่ม เพื่อให้รับซื้อข้าวในราคาต่ำโดยไม่ต้องการประมูลราคา นอกจากนี้ ยังเป็นซื้อขายภายในประเทศผ่านทางบริษัทสยามอินดีก้า โดยไม่ได้ส่งออกนอกประเทศแต่อย่างใด ซึ่ง ป.ป.ช. เตรียมส่งความคิดเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีอาญา
-----------------
ยันทำตามขั้นตอน ป.ป.ช.ส่งหนังสือไป พณ. และคลัง ฟ้องค่าเสียกวางตุ้ง เเละไห่หนาน 6 แสนบ้าน 

นายวิชา มหาคุณ กรรมการก้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) กล่าวถึงที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดนายบุญทรง เตริยาภิรมณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ พร้อมพวกรวม 21 ราย กระทำการทุจริตต่อหน้าที่จากกรณีทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี ในโครงการรับจำข้าว ว่า ป.ป.ช.จะส่งหนังสือไปยังกระทรวงพานิชย์ และกระทรวงการคลัง ให้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียที่เกิดขึ้นในการระบายข้าวจากบริษัทกวางตุ้ง และบริษัท ไห่หนาน ของประเทศจีน ตามพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 โดยคาดว่าตัวเลขความเสียหายล่าสุดมากกว่า 6 แสนบ้านบาท นอกจากนี้ป.ป.ช.จะส่งข้อคิดเห็นในส่วนดังกล่าวไปให้คณะทำงานร่วมระหว่างอัยการสูงสุดและป.ป.ช. เพื่อประกอบการพิจารณาคดีอาญาของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามที่คณะทำงานร่วมฯเคยร้องขอ

อย่างไรก็ตาม นายวิชา ยืนยันว่า ป.ป.ช. ทำตามกระบวนการทุกขั้นตอน และการสรุปสำนวนคดีได้มีการกำหนดวันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเรื่องบังเอิญที่ช่วงเวลาตรงกับการพิจารณาถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-----------------
"บุญทรง" เชื่อ ป.ป.ช. ชี้มูลมีวาระแอบแฝง หวังโยงคดีถอดถอน ยิ่งลักษณ์ ชี้คดีเป็นคนละเรื่องกัน

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังรับทราบการชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า แม้คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะชี้มูลในวันนี้ แต่กระบวนการทางกฎหมาย ก็ยังไม่ถึงที่สุด ยังมีขั้นตอนที่ต้องส่งสำนวนคดีไปให้อัยการสูงสุดพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอัยการสูงสุดจะฟ้องหรือไม่นั้น ยังมีต้องขั้นตอน และท้ายที่สุด แม้ว่าอัยการจะมีความเห็นสั่งฟ้องในคดีต่อศาลแล้ว ก็เชื่อว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากศาล เพราะตนมั่นใจว่า ไม่ได้กระทำผิดตามที่กล่าวหา แต่เห็นว่า การชี้มูลคดีของ ป.ป.ช. ในวันนี้ น่าจะมีวาระซ่อนเร้น เพราะเป็นการชี้มูลคดีจีทูจี ก่อนที่จะมีการแถลงการณ์ปิดสำนวนคดี ในคดีถอดถอนอดีตนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพียง 2 วัน ซึ่งตนคิดว่ากำลังเป็นเหยื่อทางการเมือง ที่หวังจะเอาผลคดีวันนี้ ไปโยงกับคดีถอดถอนของ อดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ซึ่งความจริงแล้ว คดีเป็นคนละเรื่องกัน


//////////////
ยกร่างรธน.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ งดประชุม ขณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เตรียมพิจารณารายมาตราต่อเนื่อง

บรรยากาศที่รัฐสภา เช้านี้ การรักษาความปลอดภัยยังเป็นไปอย่างเข้มงวด ถึงแม้ไม่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แต่ตำรวจรัฐสภายืนประจำตามจุดประตูเข้าออกเพื่อตรวจตรารถต่าง ๆ ที่เข้ามา สำหรับบุคคลที่มาติดต่อราชการต้องติดบัตรแสดงตัวทุกครั้ง

ขณะเดียวกัน ในเวลา 09.00 น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดกรรมาธิการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาร่างเป็นรายมาตราต่อเนื่อง ในภาค 3 ว่าด้วยนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยวานนี้ พิจารณาบททั่วไปของศาลและกระบวนการยุติธรรม มีการบัญญัติหลักการพื้นฐานสำคัญของหลักนิติธรรม 5 ข้อ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญที่ได้มีการบัญญัติไว้
----------
สปช.ประชุมเชิงปฏิบัติการวิสัยทัศน์ประเทศไทย วันที่ 2 เตรียมนำเสนอผลงานตามโจทย์

สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร่วมโครงการสัมมนา "ประชุมเชิงปฏิบัติการวิสัยทัศน์ประเทศไทย" (Vision Workshop) ที่ โรงแรมเอเชีย ซึ่งในช่วงเช้าจะเป็นการสรุปสาระ กำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายการปฏิรูป พร้อมชี้แจงกระบวนการ โดย นางลีลาภรณ์ บัวสาย โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบประเทศไทย

ทั้งนี้ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ยุทธศาสตร์การปฏิรูปที่นำไปสู่เป้าหมายในแต่ละด้าน" ได้แยกออกเป็นกลุ่มตามโจทย์ 8 กลุ่ม

อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่าย ทั้ง 8 กลุ่ม นำเสนอผลงานตามโจทย์ที่ตั้งไว้ โดยมี นายพลเดช ปิ่นประทีบ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินรายการ
---------------
"ไพบูลย์" เผย กมธ.วางกรอบทั่วไป ศาล กระบวนการยุติธรรมเสร็จแล้ว วันนี้ พิจารณาขั้นตอน กรรมการสรรหา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN  ว่า การพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ในภาค 3 นิติธรรม ศาล และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ล่าสุด ได้มีการพิจารณาในหลักการทั่วไปของศาล และอัยการแล้ว โดยหลักที่สำคัญคือ การห้ามเอาผิดทางอาญาย้อนหลัง รวมถึงการกำหนดให้การกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ ถือว่าขัดหลักนิติธรรมด้วย ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินมีความโปร่งใสมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาไปถึงเรื่องโครงสร้าง และที่มาของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย คือ จะให้คงจำนวน 9 คน เหมือนเดิม แต่สัดส่วนนั้นจะเปลี่ยนไปต่างจาก รธน. ปี 2550 เล็กน้อย คือ จากศาลฎีกา 2 คน ศาลปกครอง 2 คน ส่วนที่เหลือจะมาจากผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ  ส่วนเรื่องขั้นตอนการสรรหาและกรรมการสรรหา จะมีการพิจารณาในวันนี้
-------------------
การประชุมวิสัยทัศน์ฯ สปช. เริ่มแล้ว "เขมทัต-มนูญ" สรุปสาระ "กำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายการปฏิรูป"

บรรยากาศความเคลื่อนไหวการสัมมนา "ประชุมเชิงปฏิบัติการวิสัยทัศน์ประเทศไทย" (Vision Workshop) ที่ โรงแรมเอเชีย ล่าสุด สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ส่วนใหญ่เดินทางมาถึงห้องประชุมเพื่อเตรียมประชุมแล้ว รวมถึง นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. โดยได้เริ่มกิจกรรมด้วยการแสดงบรรเลงดนตรีจาก นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิก สปช. เพื่อสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง

ทั้งนี้ นายเขมทัต สุคนธสิงห์ และ นายมนูญ ศิริวรรณ สมาชิก สปช. สรุปสาระ "กำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายการปฏิรูป " พร้อมชี้แจงกระบวนการจัดทำวิสัยทัศน์และอออกแบบประเทศไทย จากนั้นจะเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาตร์การปฏิรูปที่จะนำไปสู่เป้าหมายในแต่ละด้าน โดยแต่ละกลุ่มจะแบ่งสมาชิกออกเป็นกลุ่มละ 28-30 คน
---------------------
สปช.สรุปยุทธศาสตร์ยุคใหม่ต้องสร้างคนไทยให้กล้าคิด มีจิตสาธารณะ การเมืองต้องโปร่งใส มีกลไกตรวจสอบ ประชาชนต้องมีส่วนร่วม

บรรยากาศการประชุมเชิงปฏิบัติการวิสัยทัศน์ประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันที่ 2 ล่าสุด นายเขมทัต สุคนธสิงห์ และ นายมนูญ ศิริวรรณ สมาชิก สปช. กล่าวสรุปผลประชุมแบ่งกลุ่มย่อยของสมาชิก สปช. เมื่อวานที่ผ่านมาว่า ยุทธศาสตร์ยุคใหม่ต้องสร้างคนไทยให้กล้าคิด มีจิตสาธารณะ ส่วนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจต้องมีความเป็นธรรม เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่า ยุทธศาสตร์การเมืองต้องโปร่งใส มีกลไกตรวจสอบที่เข้มแข็ง การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นประชาชนต้องมีส่วนร่วม

หลังจากนี้ได้มีการแบ่งสมาชิกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 28 - 30 คน เพื่อประชุมหารือกำหนดวาระในการปฏิรูปต่อไป
---------------------
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พิจารณารายมาตราต่อเนื่อง ว่าด้วยเรื่องกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ล่าสุด พิจารณาร่างเป็นรายมาตราอย่างต่อเนื่องในภาค 3 นิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยเริ่มพิจารณาว่าด้วยเรื่องกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งในหลักการได้บัญญัติใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ศาลเข้ามามีบทบาทในกรรมการสรรหา และต้องการให้กรรมการสรรหามีความหลากหลายมากขึ้น

ทั้งนี้ กำหนดให้มีกรรมการสรรหา จำนวน 9 คน มาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ผู้ทรงคุณวุฒิ จากกลุ่มการเมือง หรือฝ่ายเดียวกับรัฐบาล ผู้ทรงคุณวุฒิจากฝ่ายค้าน ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ที่เป็นอธิการบดีจากคณะนิติศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิจากสมัชชาคุณธรรม ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ กำลังจะจัดตั้งขึ้นมา
------------------------
ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภาวันนี้ มีการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พิจารณาเป็นรายมาตราต่อเนื่อง โดยล่าสุด พิจารณาเรื่อง กก.สรรหาตุลาการศาล รธน.ซึ่งอยู่ในภาค 3 นิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

 การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ล่าสุด พิจารณาร่างเป็นรายมาตราอย่างต่อเนื่องในภาค 3 นิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยเริ่มพิจารณาว่าด้วยเรื่องการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งในหลักการได้บัญญัติใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ศาลเข้ามามีบทบาทในกรรมการสรรหาและต้องการให้กรรมการสรรหามีความหลากหลายมากขึ้น และได้กำหนดให้มีกรรมการสรรหาจำนวน 9 คน มาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ผู้ทรงคุณวุฒิจากกลุ่มการเมืองหรือฝ่ายเดียวกับรัฐบาล ผู้ทรงคุณวุฒิจากฝ่ายค้าน ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนที่เป็นอธิการบดีจากคณะนิติศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิจากสมัชชาคุณธรรม ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติกำลังจะจัดตั้งขึ้นมา

ทั้งนี้ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการตั้งสมัชชาคุณธรรม เพราะไม่มั่นใจว่าจะจัดตั้งได้สำเร็จหรือไม่ และจะทำงานซ้ำซ้อนกับองค์กรที่มีอยู่หรือไม่ ดังนั้นจึงเสนอให้พัฒนาองค์กรที่มีอยู่ให้เข้มแข็งกว่าเดิมมากกว่า ขณะที่บางส่วนเห็นว่า คณะกรรมการสรรหาที่มาจากมหาวิทยาลัยนั้นมีสัดส่วนจำนวนมาก จึงต้องการปรับสัดส่วนให้วิชาชีพอื่นด้วย ขณะเดียวกัน ยังต้องการให้เพิ่มจำนวนคณะกรรมการสรรหาให้มากกว่า 9 คนเพราะที่กำหนดไว้ยังน้อยเกินไป

นอกจากนี้ กรรมาธิการบางส่วน มองว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเลือกขึ้นมาเพื่อเข้ามาตัดสิน วินิจฉัย ชี้ขาด คุ้มครองสิทธิของประชาชน ซึ่งบุคคบที่จะเข้ามานั้น กรรมการสรรหาย่อมเป็นผู้ชี้วัดในการเลือกเข้ามา จึงไม่เห็นด้วยกับการมห้มีฝ่ายการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
----------------------
สปช. แบ่ง 8 กลุ่มหารือวิสัยทัศน์ กำหนดวาระปฏิรูป งดสื่อร่วมฟังการแสดงความเห็น

บรรยากาศการประชุมเชิงปฏิบัติการวิสัยทัศน์ประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ล่าสุด สมาชิกอยู่ในระหว่างการร่วมประชุมหารือกำหนดวาระในการปฏิรูป ที่ได้มีการแบ่งกลุ่มหารือ ออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 28-30 คน โดยแบ่งประเด็นการหารือดังนี้ระบบการเมือง การป้องกันการทุจริต ระบบธรรมาภิบาล การปกครองท้องถิ่นและการบริหารราชการแผ่นดิน ระบบกฎหมายระบบเศรษฐกิจ การศึกษา การพัฒนาคุณภาพคน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ปัญหาของประเทศ ระบบสาธารณสุข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงสร้างสังคม ชุมชน การดูแลสวัสดิการของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ การคุ้มครองผู้บริโภคและโครงสร้างการสื่อสารและศิลปวัฒนธรรม

อย่างไรก็ตาม การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อหารือในแต่ละประเด็นนั้น ไม่เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เข้าร่วมรับฟังแต่อย่างใด
-----------------------
กมธ.ยกร่างฯ พิจารณารายมาตรากำหนดสัดส่วน คกก.สรรหา ตุลาการศาล รธน. เรียบร้อยแล้ว

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวภายหลังการประชุมถึงผลการพิจารณาภาค 3 หลักนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใข้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญ สรุปว่า ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาคณะหนึ่ง ประกอบด้วยสัดส่วนต่าง ๆ ดังนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน ซึ่งเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คนและเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิเลือกโดยพรรคการเมือง ฝ่ายรัฐบาล 1 คนและฝ่ายค้าน 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่เลือกจากคณะรัฐมนตรี 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน เลือกโดยคณบดีคณะนิติศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เลือกโดยวุฒิสภา สมัชชาพลเมือง

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การพิจารณาและวิธีการเลือกเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการ
หรือคณบดี
-------------------
"บวรศักดิ์" ปัด รธน.ใหม่ เอาผิดย้อนหลัง นักการเมืองบ้านเลขที่ 111, 109 ยันไม่ยกร่าง ทำลายใคร

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงถึงกรณีที่เกิดความเข้าใจผิดว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีมติให้ตัดสิทธินักการเมืองย้อนหลังของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะนักการเมืองบ้านเลขที่ 111 และ 109 ไม่ให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกนั้น ยืนยันว่า คณะกรรมาธิการยกร่างไม่ได้มีมติเช่นนั้น ซึ่งกรรมาธิการมีเพียงมติในเรื่องหลักนิติธรรมที่บัญญัติหลักการสาระสำคัญเท่านั้น สำหรับเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะนำไปพิจารณาในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง ว่าด้วยหมวด 3 รัฐสภา ทั้งนี้ ยืนยันว่า ไม่ได้เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อมาทำลายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ยึดหลักความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ขณะที่เรื่องการใช้คำพูดยั่วยุให้เกิดความเกลียดชังและแตกแยกของสื่อมวลชน จะกำหนดเข้าไว้ในหมวดที่มีความเกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนด้วย
---------------
กมธ.ยกร่าง รธน. กำหนด ปธ.ศาลฎีกา, ศาลปกครองสูงสุด, ศาลอื่นๆ มีวาระ 4 ปี วาระเดียว พ้นจากราชการเมื่ออายุครบ 65 ปี

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงความคืบหน้าการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราในภาค 3 หลักนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ได้ผลสรุป หมวด 1 ศาลและกระบวนการยุติธรรม ส่วนที่ 1 บททั่วไป 12 มาตรา ได้บัญญัติเพิ่มในมาตรา 10 ระบุให้ "ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานศาลอื่นนอกจากศาลรัฐธรรมนูญและศาลทหาร มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว พร้อมกำหนดอายุพ้นจากราชการจากเดิม 70 ปี เป็น 65 ปี ส่วนผู้พิพากษา หรือ ตุลาการอาวุโส ยังคงดำรงตำแหน่งได้จนครบอายุ 70 ปี

ทั้งนี้ ในส่วนขององค์กรบริหารงานบุคคล ได้ตัดคำว่า พนักงาน ออก ใช้คำว่า ข้าราชการอัยการ โดยข้าราชการอัยการ ต้องไม่ดำรงตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ หรือห้างหุ้นส่วนบริษัท อีกทั้ง ไม่เป็นที่ปรึกษาของผู้ตำรงตำแหน่งทางการเมือง และไม่ประกอบอาชีพที่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียเกียรติของพนักงานอัยการ
-----------------
"เทียนฉาย" ยัน ปฏิรูปตำรวจ งานสำคัญ มีคณะทำงานอยู่แล้ว ย้ำ สปช. ไม่ได้มีหน้าที่ทำเอง ต้องรวบรวมความเห็นแนวทางให้รัฐบาล

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ระบุว่า ประเด็นเรื่องการปฏิรูปตำรวจเป็นเรื่องสำคัญ และ สปช. ได้มีคณะกรรมาธิการทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการปฏิรูปตำรวจอยู่แล้ว และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาในหลายภาคส่วน แต่เรื่องการปฏิรูปตำรวจ ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ

นอกจากนี้ นายเทียนฉาย ยังระบุถึงการจัดโครงการสัมมนาประชุมเชิงปฏิบัติการวิสัยทัศน์ประเทศไทย ว่า มีความพอใจในการจัดสัมมนาทั้ง 2 วัน เชื่อว่า ตั้งแต่ช่วงบ่ายวันนี้จะมีความชัดเจนในเรื่องการปฏิรูป และการจัดทำวิสัยทัศน์มากขึ้นเช่นเดียวกันกับการปรับการทำงานที่จะมีการหารือกัน ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ทั้งนี้ นายเทียนฉาย ยังระบุด้วยว่า สปช. ไม่มีหน้าที่ในการปฏิรูป แต่มีหน้าที่ในการรวบรวมความคิดเห็นของแนวทางการปฏิรูปเพื่อส่งต่อไปยังรัฐบาล และหลังจากส่งความคิดเห็นแล้ว สปช. จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลเพื่อดำเนินการปฏิรูปต่อไป
--------------
เครือข่าย ปชช.เพื่อการปฏิรูปตำรวจยื่นหนังสือ "เทียนฉาย" ขอให้ สปช. ปฏิรูปตำรวจ เพื่อประโยชน์ใน 3 ด้าน

น.พ.ประทีป ตลับทอง รักษาการประธานเครือข่ายประชาชนเพื่อการปฏิรูปตำรวจ ยื่นหนังสือต่อ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ขอให้ สปช. ปฏิรูปตำรวจเพื่อประโยชน์ใน 3 หัวข้อหลัก คือ เพื่ออำนาจยุติธรรมให้กับประชาชน ให้ความเป็นธรรมกับตำรวจที่ถูกแทรกแซงโดยนักการเมือง และเพื่อจัดองค์กรตำรวจใหม่ เนื่องจากที่ผ่านมา ตำรวจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความเสียหายกับวงการตำรวจ และกระทบมาถึงประชาชน ซึ่งการยื่นหนังสือครั้งนี้ เป็นการรวบรวมรายชื่อจากประชาชนทุกภาคส่วน รวมถึง ตำรวจ ทหาร ทั้งในและนอกราชการ
---------------------
สปช. เสนอออก พ.ร.บ. ครอบคลุมป้องกันการทุจริต เพิ่มสภาพลเมือง คัดกรองนักการเมือง สร้างความเข้มเเข็งภาคประชาชน 

บรรยากาศการประชุมเชิงปฏิบัติการวิสัยทัศน์ประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันที่ 2 สมาชิก สปช. ได้เสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุมภายหลังจากได้แบ่งกลุ่มระดมความคิดกำหนดวาระเดินหน้าปฏิรูปประเทศ โดยในส่วนการปฏิรูประบบการเมือง การป้องกันการทุจริต การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ต้องบูรณาการกระบวนการยุติธรรม มีลงโทษบุคคลที่ทุจริตอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยให้ออกเป็นพระราชบัญญัติเพื่อให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการและผู้มอบหมายให้ใช้อำนาจ

นอกจากนี้ ต้องมีสภาพลเมืองเพิ่มเติมจากระบบสองสภาที่มีอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ต้องคัดกรองนักการเมืองรุ่นใหม่ ให้ได้คนดีเข้าสู่สภา สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชน อีกทั้ง ต้องคัดกรองพรรคที่ไม่ได้ทำเพื่อประชาชน ไม่ให้มีโอกาสเข้ารับการเลือกตั้ง พร้อมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ขณะที่ ในด้านการปฏิรูปสื่อมวลชน ต้องผลักดันให้องค์กรที่กำกับดูแลสื่อเป็นองค์กรอิสระ ไม่สังกัดภายใต้กระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง เนื่องจากจะมีผลต่อเสรีภาพกับความโปร่งใสของสื่อมวลชน นอกจากนี้ ประชาชนยังต้องมีส่วนในการกำกับดูแลการทำงานของสื่อมวลชนด้วยเช่นกัน
------------------------
ภายหลังจากการประชุม กมธ.ยกร่าง พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างแถลงผลการพิจารณาภาค 3 หลักนิติธรรม ศาลและองค์กรตรวจสอบการใข้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญ 

สรุปว่า ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาคณะหนึ่ง ประกอบด้วยสัดส่วนต่างๆ ดังนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน ซึ่งเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2คนและเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด2คน ผู้ทรงคุณวุฒิเลือกโดยพรรคการเมือง ฝ่ายรัฐบาล 1คนและฝ่ายค้าน1คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่เลือกจากคณะรัฐมนตรี 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน เลือกโดยคณบดีคณะนิติศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน เลือกโดยคณบดีคณะรัฐศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ 3คน เลือกโดยวุฒิสภา สมัชชาพลเมือง

 ด้านนายบวรศักดิ์ อวรรณโนชี้แจงกรณีที่เกิดความเข้าใจผิดว่า มีมติให้ตัดสิทธินักการเมืองย้อนหลังของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะนักการเมืองบ้านเลขที่ 111และ 109 ไม่ให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ยืนยันว่า ไม่ได้มีมติเช่นนั้น มีเพียงมติในเรื่องหลักนิติธรรมที่บัญญัติหลักการสาระสำคัญ สำหรับเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะนำไปพิจารณาในภาค2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง ว่าด้วยหมวด3 รัฐสภา

เลขานุการวิป สนช. กล่าวว่า การลงมติถอดถอนวันที่ 23 นี้ จะใช้วิธีการลงคะแนนลับ เข้าคูหากาบัตร มีคณะกรรมการนับคะแนนจำนวน 10 คน แต่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในกระบวนการ ไม่ซ้ำซ้อน จึงให้ลงมติถอดถอน อดีตประธานวุฒิสภา อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปในคราวเดียวกัน จากนั้น ลงมติถอดถอนอดีตนายกรัฐมนตรี ใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 3 ชั่วโมง ส่วนในวันพรุ่งนี้ ที่ประชุมสนช. จะพิจารณาวาระถอดถอน 38 อดีตสมาชิกวุฒิสภา เพื่อกำหนดวันแถลงเปิดสำนวนคดี

-----------------------
บวรศักดิ์เผยไม่สามารถบัญญัติทุกอย่างในรัฐธรรมนูญได้ รอหมวดการปฎิรูป ย้ำ สปช.ทำตารางงานที่ชัดเจนเพราะมีเวลาเพียง 6 เดือน

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโน ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวในงานประชุมเชิงปฏิบัติการวิสัยทัศน์ประเทศไทย ว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญในทุกหมวดมีเนื้อหาที่แตกต่างกันที่และไม่สามารถบัญญัติทุกอย่างลงไปรัฐธรรมนูญได้  ส่วนหมวดที่ตนเองกำลังรออยู่นั้นคือหมวดเรื่องการปฎิรูปจึงขอให้ สปช.จัดทำตารางเวลางานที่ชัดเจนเพื่อความรวดเร็วเพราะ สปช.มีเวลาในการเดินหน้าปฏิรูปเพียง 6 เดือนเท่านั้น เพราะคาดว่าเมื่อมีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และหากมีการทำประชามติ สปช.จะต้องลงพื้นที่ทุกจังหวัดเพื่อรับฟังความเห็นประชาชน นอกจากนี้สปช.ยังมีในส่วนของการเดินหน้าทำกฎหมายลูกเพื่อใช้ประกอบรัฐธรรมนูญ รวมถึงการเดินหน้าปฎิรูปประเทศก็ยังจะต้องดำเนินการควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการกำหนดกรอบระยะเวลาในการทำวานที่ชัดเจนจึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก
-------------

//////////////
นายกฯเคลื่อนไหว

พล.อ.ประยุทธ์ มีกำหนดนั่งหัวโต๊ะประชุมร่วม ครม.-คสช. เป็นครั้งแรก ประจำปี 2558 

ความเคลื่อนไหวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. วันนี้ ในเวลาประมาณ 09.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งถือเป็นการประชุมร่วมกันครั้งแรกในปี 2558

ขณะที่ในช่วงเย็น เวลาประมาณ 18.30 น. นายกรัฐมนตรี จะร่วมงานเลี้ยงรับรองเนื่องในวันกองทัพบกปี 2558 ที่ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี-รังสิต
---------------------
"พ.อ.วินธัย" เผย คสช. รายงานสถานการณ์ความมั่นคง รายงานที่ประชุมร่วม ไม่พบกลุ่มเคลื่อนไหวหนุน "ยิ่งลักษณ์" วันลงมติถอดถอน

พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมร่วมระหว่าง คสช. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เป็นประธานการประชุมว่า การประชุมวันนี้ ถือเป็นการประชุมครั้งแรกในปี 2558 โดยมีวาระที่ คสช. จะต้องรายงานสถานการณ์ความมั่นคงในภาพรวม รวมถึงความคืบหน้า การดำเนินการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแผนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 9 ข้อ ของ คสช. ทั้งในรอบ 3 เดือน และ 6 เดือน เพื่อรายงานต่อ ครม. ให้ได้รับทราบ ทั้งเรื่องการสร้างความเป็นธรรมในสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจให้ยั่งยืน ในการนี้ คสช. รายงานสถานการณ์ความมั่นคงในภาพรวมในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับ ครม. ได้รับทราบ โดยขณะนี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะยังไม่มีสิ่งบอกเหตุและยังไม่มีความเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดความวุ่นวาย ส่วนใหญ่กลุ่มที่เคลื่อนไหวจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชน ส่วนกรณีที่มีกลุ่มที่มาสนับสนุน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะรวมตัวมาให้กำลังใจในวันที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาสำนวนคดีถอดถอน ในวันที่ 23 ม.ค. 2558 นั้น ยังไม่มีการรายงาน แต่จะต้องติดตามดูสถานการณ์ต่อไป
-----------------
เกษตรสวนปาล์ม ยื่น หนังสือถึงนายกฯ ระงับการนำเข้าปาล์มน้ำมันเป็นการชั่วคราว หวั่นทำให้ราคาปาล์มในประเทศตกต่ำ

สมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย นำโดย นายมนัส พุทธรัตน์ ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้รัฐบาลระงับการนำเข้าปาล์มน้ำมันเป็นการชั่วคราว จำนวน 5 หมื่นตัน เพราะจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร โดยขอให้รัฐบาลทำการศึกษาข้อมูลว่า น้ำมันปาล์มขาดแคลนหรือไม่ และให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสต๊อกน้ำมันปาล์ม และพบว่า ปาล์มน้ำมันขาดแคลนจริงนั้น ทางสมาพันธ์ฯ ก็พร้อมสนับสนุน

ขณะเดียวกัน เห็นว่า หากรัฐบาลนำเข้าปาล์มน้ำมันจะสวนทางกับนโยบายที่สนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง หันมาปลูกปาล์มน้ำมัน แต่รัฐบาลกลับทุบราคาปาล์มน้ำมันให้ต่ำลง เพราะขณะนี้ ราคาปาล์มน้ำมัน อยู่ที่กิโลกรัมละ 5-6 บาท แต่ภายหลังการประกาศนำเข้าปาล์มน้ำมันจากต่างประเทศ ทำให้ราคาลดลง 40 สตางค์ต่อกิโลกรัม และหากรัฐบาลอนุมัติการนำเข้าปาล์มน้ำมัน คาดว่า ราคาปาล์มน้ำมันจะเหลือ 3 บาท ต่อกิโลกรัม

อย่างไรก็ตาม มองว่า ปาล์มน้ำมันที่รัฐจะนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย เป็นปาล์มเกรดบี ซึ่งมีคุณภาพต่ำกว่าปาล์มน้ำมันของไทย ซึ่งหากรัฐบาลระงับการนำเข้า เพื่อรอผลผลิตจากเกษตรกรในปลายกุมภาพันธ์ นี้ จะช่วยลดปัญหาปาล์มน้ำมันล้นตลาดได้
--------------------
รมช.เกษตรและสหกรณ์ เผย นำเข้าปาล์มน้ำมัน 5 หมื่นตัน ประกันราคาไม่ต่ำกว่า 5 บาท/กก. เริ่ม ก.พ.นี้

นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุม มีมติอนุมัติให้มีการนำเข้าปาล์มน้ำมัน จำนวน 5 หมื่นตัน ซึ่งจะมีการดำเนินการโดยองค์การคลังสินค้าตามที่เคยดำเนินการอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายได้คำนึงถึงผลกระทบต่อเกษตรกร จึงมีความเห็นร่วมกันว่าจะประกันไม่ให้ราคาปาล์มน้ำมัน ต่ำกว่า 5 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งทุกฝ่ายได้ให้ความเห็นชอบและจะเริ่มดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ นี้ ทั้งนี้การนำเข้าครั้งนี้จะทำให้สต๊อกปาล์มน้ำมันอยู่ประมาณ 2 แสนตัน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม
-------------------
นายกฯ หารือ สปช. สัมปทานรอบ 21 หาทางออกให้ที่ดีสุดว่าจะใช้เปิดสัมปทานหรือแบบแบ่งปันผลประโยชน์

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงกรณีสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ว่า พร้อมรับฟังความคิดเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. และทุกภาคส่วน ซึ่งในเรื่องนี้ต้องหาทางออกให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม จะมีการเสนอบริษัทที่จะเข้าร่วมว่าต้องการแบบเปิดสัมปทาน หรือแบบแบ่งปันผลประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนและยังพอมีเวลาทำความเข้าใจ ทั้งนี้ ความมั่นคงทางพลังงานเป็นเรื่องสำคัญ และขออย่าทะเลาะกันในเรื่องนี้

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจวงเล็ก เพื่อหาทางสร้างรายได้ ดูแลเกษตรกรในฤดูแล้ง การบริหารจัดการข้าวในสต๊อกของรัฐบาล ไม่ให้ส่งผลเสียต่อราคาตลาด ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้นำยางพาราในสต๊อกไปทำถนนจำนวนหนึ่ง อีกทั้งยังนำไปทำยางรถยนต์ สนามกีฬา ประมาณ 5,000 ตัน ส่วนเรื่องรถไฟทางคู่จะมีการหารือตั้งคณะกรรมการร่วมกับจีนภายในเดือนนี้ ซึ่งหากเห็นพ้องร่วมกันในเรื่องต่าง ๆ ก็คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในเดือนกันยายนนี้ ทั้งนี้ ได้เตรียมการพูดคุยเรื่องดังกล่าวกับทางญี่ปุ่นด้วย
---------------------
นายกฯ กำชับทุกฝ่ายทำงาน เน้นหลักยุติธรรมจริยธรรมในการแก้ไข้ปัญหาประเทศ พร้อมจัดประชุมแม่น้ำ 5 สายครั้งแรกกุมภาพันธ์นี้

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีการเข้าร่วมการประชุมในส่วนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ที่มีการประชุมร่วมกันในวันนี้ โดย คสช. ได้มีการรายงานภาพรวมความสงบยังคงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ขณะที่เรื่องปัญหาการถอดถอนนักการเมืองนั้น ขอให้มีการชี้แจงให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่าเป็นการแก้ไขปัญหาเพื่อยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยยึดหลักของกฎหมาย และหลักคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ได้มีการดำเนินการ และขอให้ทุกฝ่ายรับฟังเหตุผลที่เกิดขึ้น และให้ยึดหลักตามกฎหมายที่ชัดเจนเพื่อความยุติธรรม นอกจากนี้ ยังได้มีการกำชับในการทำงานของทาง 5 คณะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ รวมไปถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะมีการเชิญทั้ง 5 หน่วยงาน ประชุมร่วมกันนัดแรกในเดือนกุมภาพันธ์นี้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทำงานร่วมกัน

/////////////
เศรษฐกิจ

"ปานเทพ-บุญยืน" นำเครือข่าย ปชช. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ขอให้ชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ตามมติ สปช.

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายพลังงานและทรัพยากรมหาวิทยาลัยรังสิต นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค พร้อมเครือข่ายประชาชน เข้ายื่นหนังสือและรายชื่อประชาชน ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านศูนย์บริการประชาชน เพื่อขอให้ชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และพิจารณาเปลี่ยนระบบสัมปทานเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต ภายหลังที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา มีมติไม่เห็นด้วย ให้รัฐบาลดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม โดยขอเรียกร้องให้รัฐบาลมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการสำรวจปริมาณปิโตรเลียมเบื้องต้น ก่อนให้สิทธิกับบริษัทเอกชน พร้อมขอให้ปฏิรูปสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างเป็นอิสระ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเพื่อออกกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมฉบับใหม่ ที่กำหนดการให้สิทธิและสำรวจปิโตรเลียมที่ไม่ใช่ระบบสัมปทาน

โดย ม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลไม่มีการสำรวจทรัพยากรก่อนให้สัมปทาน รวมถึงเนื้อหาบางส่วนในข้อสรุปการศึกษาของกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. ที่ส่งให้นายกรัฐมนตรี ไม่ปรากฏข้อเสียในเนื้อหาของสัมปทานเรื่องพลังงาน จึงอาจทำให้ นายกรัฐมนตรีได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงอยากนำเสนอข้อดี-ข้อเสีย เพื่อประกอบการตัดสินใจบนข้อมูลที่ถูกต้อง
-------------
ครม. มีมติเห็นชอบการปรับปรุงรายการสินค้าควบคุมเหลือ 41 รายการ จาก 43 รายการ ล่าสุดมีหลักเกณฑ์ควบคุมราคาสินค้าในปีนี้จะยังคงเดิมที่ 40 รายการ

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลประชุมร่วมของคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่ง

ชาตินัดแรกของปี 58 ว่า วันนี้ทาง ครม. มีมติเห็นชอบการปรับปรุงราคาสินค้ารอบใหม่ หลังจากที่จะหมดอายุลงในวันที่ 26 ม.ค. 58 จากเดิมกำหนดรายการสินค้าควบคุม 43 รายการ แบ่งเป็น 40

สินค้า และ 3 บริการ โดยล่าสุดมีหลักเกณฑ์ควบคุมราคาสินค้าในปีนี้จะยังคงเดิมที่ 40 รายการ ยกเลิก 3 รายการและเพิ่มเติม 1 รายการ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพ
------------------
กระทรวงพาณิชย์ เตรียมเรียกห้างประชุมลดราคาอาหารฟู้ดคอร์ท หลังต้นทุนทรงตัว พร้อมดูสินค้ากลุ่มอื่นปรับลดราคาอีก

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวภายหลังนำคณะตรวจสอบสถานการณ์ราคาสินค้า ที่ตลาดสดยิ่งเจริญ พบว่า ในการสำรวจราคาอาหารสด เช่น เนื้อหมู ไก่สด ราคายัง

ทรงตัว ไม่ได้ปรับสูงขึ้น โดยหมูเนื้อแดง กิโลกรัมละ 125-130 บาท ส่วนไก่สดทั้งตัว ราคาอยู่ที่ 60-65 บาท ราคา ขณะที่ราคาไข่ไก่เบอร์ 3 ราคาเฉลี่ย ฟองละ 3 - 3.20 บาท แต่ที่ตลาดสดยิ่งเจริญ

ราคาจำหน่ายสูง ถึง 3.50 บาท จึงได้สั่งให้ปรับลดราคาลดลงให้เท่ากับราคาเฉลี่ยเพราะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค และในเร็วๆ นี้จะเรียกห้างสรรพสินค้า มาร่วมหารือถึงข้อเรียกร้องของประชาชน

ที่ต้องการให้ราคาอาหารในฟู้ดคอร์ท ปรับลดราคาลงตามต้นทุน

ส่วนราคาสินค้าที่ปรับลดลงแล้ว เช่น เม็ดพลาสติก ที่ราคาลดลงมาร้อยละ 3.85-7.7 นั้น กรมฯ จะติดตามราคาสินค้าที่ใช้เม็ดพลาสติกเป็นวัตถุดิบเพื่อให้มีการปรับราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนด้วย
-----------------
หอการค้าไทย แนะผู้ประกอบการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสินค้า ยกระดับคุณภาพ รับปัจจัยเสี่ยง

นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการและโฆษกหอการค้าไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการและภาคเอกชน ควรเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัจจัยเสี่ยงด้านการส่งออก โดยเฉพาะการพัฒนา

มาตรฐานการผลิตสินค้า และกระบวนการผลิตให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล เพื่อป้องกันการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTB) พร้อมให้ความสำคัญมาตรฐานสิ่งแวดล้อม แรงงาน

และสิทธิมนุษยชน พร้อมพัฒนาผลิตภาพการผลิต โดยเฉพาะภาคการเกษตร พัฒนาประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง
สร้างความยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งพัฒนาสร้างตราสินค้าของไทย เพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ โดยผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญปรับปรุงพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

ร่วมกับสถานบันการศึกษาทำกหารวิจัยพัฒนา สร้างนวัตกรรมให้เกิดการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
----------------------
กระทรวงพาณิชย์ วอนประชาชนอย่าตระหนกน้ำมันปาล์มขาดตลาด ระบุ แม้ตึงตัวแต่เพียงพอต่อการบริโภค

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ขอความร่วมมือผู้บริโภคอย่ากังวล หรือ ตื่นตระหนก กักตุนน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค เพราะแม้ปริมาณสำรองน้ำมันปาล์มลดลง

แต่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ได้อนุมัติให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ เพื่อการบริโภคในปริมาณ 50,000 ตันแล้ว และจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ ซึ่งจะทำให้

สถานการณ์น้ำมันปาล์มคลายความตึงตัวลงและเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศอย่างแน่นอน

รวมทั้งผลผลิตจากเกษตรกรกำลังจะออกมาสู่ตลาดในปลายเดือนหน้าด้วย จึงยืนยันว่ามีจำหน่ายอย่างเพียงพอ และผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้ในราคาไม่แพงเกินไป เนื่องจากน้ำมันปาล์มเป็นสินค้า

ควบคุมที่กำหนดราคาเพดานในการจำหน่ายไว้ ขวดละไม่เกิน 42 บาท และเชื่อว่าจากการนำเข้าน้ำมันปาล์มจะทำให้ราคาปรับลดลงได้ แต่หากมีการจำหน่ายเกินเพดานราคา หรือกักตุนสินค้า จะมี

โทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-----------------------
ประชาชน กังวล ผู้ค้ากักตุนน้ำมันปาล์มรอขึ้นราคา ขณะตลาดย่านบางเขน ขายชนเพดาน ควบคุมขวดละ 42 บาท

จากการสำรวจการจำหน่ายน้ำมันปาล์มบรรจุขวด ภายในตลาดสดย่านบางเขน พบว่า สต๊อกน้ำมันปาล์ม เพื่อจำหน่ายปลีกลดลง โดยแม่ค้าบอกว่า ร้านค้าส่งจัดส่งให้ในปริมานน้อยลง และราคา

แพงขึ้น ทำให้ต้องจำหน่ายในราคา ชนเพดานควบคุม ที่ขวดละ 42 บาท โดยมีบางส่วนหันไปซื้อน้ำมันปาล์มบรรจุถุงแทน เพราะจะมีราคาถูกกว่า อยู่ที่ถุงละ 40 บาท

ในขณะที่ประชาชนทั่วไปตั้งข้อสังเกตถึงการขาดแคลนน้ำมันปาล์ม ในระยะนี้ว่า เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นไปตามกลไกตลาดที่ผู้ค้าต้องการปรับขึ้นราคาน้ำมันปาล์ม จึงทำให้ปริมานลดลง

---------------------------
ประธานกรรมการหอการค้าไทย คาด เศรษฐกิจ และส่งออกไทยปี 58 โตได้ 3-4% จับตาค่าเงินบาท น้ำมัน การถูกตัดสิทธิ์ GSP

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจและทิศทางการส่งออกในปี 2558 จะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3-4 เป็นผลจากมาตรการและการลงทุนของภาครัฐ ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและการลงทุนของภาคเอกชนที่จะขยายตัวจากปีก่อน รวมถึงการท่องเที่ยวที่จะช่วยให้เม็ดเงินหมุนเวียนเข้าระบบเศรษฐกิจ ขณะที่เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณฟื้นตัวส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยที่จะปรับตัวดีขึ้น แต่ทั้งนี้ ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจกระทบต่อการส่งออกอย่างใกล้ชิด ใน 3 ปัจจัย ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน, การถูกตัดสิทธิพิเศษ
ทางภาษีศุลกากร GSP ในตลาดยุโรป แคนาดา และ ตุรกี ที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อด้านภาษีสำหรับการส่งออกประมาณ 86 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะสินค้ากุ้งปรุงแต่ง ยานยนต์ขนส่ง และปัจจัยจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง แม้ส่งผลดีต่อต้นทุนการขนส่ง ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ แต่ในส่วนของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน จะมีกำลังซื้อที่ลดต่ำลง จากรายได้ขายน้ำมันลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมองหาตลาดใหม่ ทดแทนตลาดปัจจุบัน โดยเน้นไปที่กลุ่มประเทศที่นำเข้าน้ำมันแทน
///////////

ไม่มีความคิดเห็น: