PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ณรงค์ชัยชี้ทางรอดศก.ไทย

- สวัสดีวันอังคารที่ 21 ก.ค. 2558 ครับ
- วันนี้มีประชุมครม. เวลาที่ใช้มากที่สุด คือการหารือเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ทั้งงานที่ทำไปแล้ว เป็นโครงการจัดการแหล่งน้ำที่รับน้ำ แต่ฝนไม่มา และจัดการน้ำเท่าที่มี โดยมีปัญหาที่ประสบโดยเกษตรกร ทั้งที่เชื่อรัฐบาล ไม่ปลูกข้าว คอยจนคงไม่ได้ปลูก และที่ไม่เชื่อ ปลูกข้าวไปแล้ว ข้าวออกรวงแล้ว ต้องมีน้ำเลี้ยงไม่ให้ตาย แล้วรัฐบาลจะช่วยใคร คนเชื่อหรือคนไม่เชื่อ แต่สรุปแล้ว ก็ต้องช่วยทั้งสองกลุ่ม
- ที่อยากเล่าวันนี้ คือผมมางานของม.เคมบริดจ์ เป็นงานปาฐกถา เป็นเกียรติแก่ Prof. Amartya Sen นักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย/เบงกาลี ศิษย์เก่า Trinity College ของม.เคมบริดจ์ ที่มีผลงานเพียบ จนได้รางวัลโนเบล วันนี้สมาคมเคมบริดจ์ โดยคุณอานันท์ ปันยารชุน ศิษย์เก่า เป็นประธาน เป็นผู้เชิญ ผู้จัด โดยให้ Dr. Haruhiko Kuroda ผู้ว่าธ.กลางญี่ปุ่น อดีต President ของ ADB เป็นองค์ปาฐก
- ขอสดุดี Prof. Amartya Sen ก่อน ท่านเก่งมาก งานเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนา แก้ไขความยากจน และความเหลื่อมล้ำ (Welfare Economics) ด้วยนโยบายราคาที่เหมาะสม และมี Social Safety Net สำหรับกลุ่มคนที่จำเป็น โดยทั้งนี้ต้องมีการเมืองที่มีธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance) จากระบอบประชาธิปไตย แต่ที่ผมติดใจ Prof. Sen คือท่านมีหนังสือ Best Seller ชื่อ The Argumentative Indian ที่อธิบายความช่างพูดของคนแขกอินเดียได้ดีที่สุด ว่าที่จริงเป็นจิตวิญญาณของคนอินเดียที่ชอบโต้เถียงกัน ด้วยเหตุผลหลักคือ ต้องการอ้างแสดงเหตุผลของตนว่า มีดีกว่าอีกฝ่าย แต่ถ้าโต้เถียงแล้ว แพ้ก็ไม่เป็นไร เราจึงเห็นคนแขกพูดมาก แต่ไม่ค่อยสู้รบตบตีกัน ความช่างพูดกลายเป็นสมบัติที่มีค่า (Asset) คือตอนมีระบบ Call Center อินเดียกลายเป็นศูนย์กลาง Call Center ของโลก เพราะคนอินเดียพูดไม่รู้จักเหนื่อย
- สำหรับ องค์ปาฐกคือ Dr. Haruhiko Kuroda ท่านพูดเรื่องทำอย่างไรจะให้เอเซียมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่อเนื่อง คือเติบโตอย่างยั่งยืน ประเด็นคือ ใน 30-40 ปีมานี้ เศรษฐกิจเอเซีย เติบโตมาก แต่ปีสองปีมานี้ ทำท่าจะช้าลง เริ่มจากญี่ปุ่น ตามมาด้วยประเทศในเอเซียตะวันออกอื่นๆ และ ASEAN และตอนนี้จีนก็เริ่มช้าลงเหมือนกัน ซึ่งคำอธิบายคือ ประสิทธิภาพการผลิต (Productivity) ของระบบเศรษฐกิจไม่ได้เพิ่มเร็วพอ ที่เอเซียโตได้ดีที่ผ่านมา ส่วนสำคัญเป็นเพราะใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ทั้งคนและที่ดิน มาผลิตของขายมากขึ้น พอเริ่มใช้เต็ม ก็โตช้าลง จะต้องให้ Productivity เพิ่ม ถึงจะโตต่อได้
- แล้วเราจะเพิ่ม Productivity ได้อย่างไร…
- คำตอบอยู่ที่การบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ คือจะต้องให้ระบบราคา ในตลาดทำงานได้อย่างเต็มที่ ตามหลักของ Adam Smith จะต้องมีนวัตกรรม (Innovation) ต่อเนื่อง คืออาศัยเทคโนโลยีมาผลิตสินค้าและบริการได้ดีขึ้น มากขึ้น ด้วยทรัพยากรเท่าเดิม หรือน้อยกว่า (Joseph Schumpeter) และจะต้องบูรณาการทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจให้ทำงานได้ดีที่สุด โดยไม่ต้องลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้น (Robert Solow) ถ้าได้ครบ ก็จะโตต่อเนื่อง
- ผมย้อนมาดูเศรษฐกิจไทย ทำทั้งหมดนี้ก็คือ ปฏิรูป ที่เรากำลังพูดกันอยู่นี่เอง คือให้มีโครงสร้างของตลาด เพื่อการค้า โครงสร้าง ของระบบการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต และระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้สะดวก และโครงสร้างของกฎ/ระเบียบ ตลอดจนการใช้กฎ/ระเบียบที่เปิดเผย โปร่งใส และเป็นธรรม
- และนี่คือ วาระของชาติคือ Agenda of the Nation ที่พวกเราทุกคนต้องทำต่อเนื่องอย่างไม่จบสิ้น
- ท่านประชาชนไหวไหมครับ?
- สวัสดีครับ...

ไม่มีความคิดเห็น: