PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ยิ่งลักษณ์ ส่อพ้นคดีถอดถอน 5 ปี กลับลงเลือกตั้งได้/ปปช.จี้คดี

รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ วานนี้ (6 ส.ค.58) ที่ประชุมได้มีการพิจารณาหารือในรัฐธรรมนูญมาตรา 111 เกี่ยวกับบุคคลต้องห้าม มิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยเฉพาะบุคคลเคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือในการดำรงตำแหน่งอื่น

โดยที่ประชุมได้มีการยกตัวอย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกถอดถอนตัดสิทธิ์ทางการเมือง จากการไม่ยับยั้งโครงการจำนำข้าวจนเกิดความเสียหายต่อรัฐขึ้นมาพิจารณา ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า หากการตัดสิทธิ์ดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริต เป็นเพียงการปล่อยปะละเลย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็สามารถมาลงสมัคร ส.ส.ได้ หากพ้นโทษเป็นเวลา 5 ปี แต่ถ้าหากการถูกถอดถอนมีสาเหตุเพราะเป็น
คดีทุจริต น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็หมดสิทธิสมัคร ส.ส.ตลอดชีวิต

ดังนั้นการจะตัดสิทธิ์นักการเมืองถูกถอดถอน ห้ามลงสมัครเป็นส.ส. ก็ต้องไปเน้นย้ำดูสำนวนสาเหตุของการตัดสิทธิ์-ถอดถอนเป็นเรื่องสำคัญ หากจะมีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญกับบุคคลนั้น ๆ

MThai News

/////////////
ตีฆ้องร้องป่าวกันหน่อยเด้อ แชร์กดดัน คลังให้หนัก...... อายุความคดีจำนำข้าว แค่ 2 ปี หมด กพ. 2560 นับเวลา ตั้งแต่กระทรวงการคลังได้รับเรื่องจาก ปปช. ในเดือน ก.พ. 2558 ซึ่งจะครบ 2 ปี ในเดือน ก.พ. 2560 โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 17 กพ. 58

ปปช. ส่งหนังสือ ถึงกระทรวงการคลัง เพื่อให้ประเมินความเสียหาย ในโครงการรับจำนำข้าว ตามที่ได้ชี้มูลความผิด ในคดีอาญา ฐานละเว้นก่อให้เกิดความเสียหาย ในโครงการรับจำนำข้าว โดยตามกฎหมาย 73/1 วรรคท้าย ของ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ให้ ปปช. ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงการคลัง ที่เป็นหน่วยงาน รับค้ำประกันเงินงบประมาณ ในโครงการรับจำนำข้าว เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น กระทรวงการคลัง ต้องไปดำเนินการเรียกร้องความเสียหาย นั้นคืนกลับมา

ฐานของความเสียหาย ตามที่ ปปช. ได้ส่งสำนวนที่ชี้มูลความผิด มีการระบุ ถึงฐานความเสียหาย ของการปิดบัญชี โดยกระทรวงการคลัง ที่ระบุว่าสูงถึง 6 แสนล้านบาท นอกจากนี้ ยังต้องไปดูในส่วน การตรวจสอบคุณภาพข้าว ในโกดังที่มี ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ในฐานะประธานการตรวจสอบคุณภาพข้าวอีกด้วย
////////////////
ป.ป.ช. บี้รัฐฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายจำนำข้าว 600,000 ล้านบาท “วิชา” ชี้เป็นหน้าที่ ไม่ทำไม่ได้ ระบุคดีมีอายุความแค่ 2 ปี

นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินการมติของ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ให้กระทรวงการคลังฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งในโครงการรับจำนำข้าว เป็นเงิน 600,000 ล้านบาท แต่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมายออกมาระบุว่าเรื่องนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะรัฐต้องใช้เงินค่าธรรมเนียมวางศาลจำนวนมาก ว่า แม้ค่าเสียหายที่รัฐจะเรียกร้องในโครงการรับจำนำข้าวจะมีจำนวนมาก แต่ไม่ถึงกับที่รัฐจะไม่มีเงินไปจ่ายค่าธรรมเนียมวางศาล อีกทั้งสามารถเรียกคืนจากคู่ความกลับมาได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในการฟ้องร้องคดีทางแพ่ง เรื่องนี้รัฐบาลจะต้องดำเนินการอยู่แล้วเพราะเป็นหน้าที่ เพียงแต่ที่ต้องใช้เวลาก็เพื่อให้เกิดความรอบคอบ โดยอายุความในการฟ้องร้องคดีทางแพ่งจะอยู่ที่ 2 ปี นับแต่วันที่กระทรวงการคลังได้รับเรื่องจาก ป.ป.ช.

“เรื่องนี้ไม่ทำไม่ได้ เพราะทุกคดีที่เกิดความเสียหายขึ้น จะต้องมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง เป็นหน้าที่ของรัฐจะต้องดำเนินการ เพราะขนาดคดีทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของกรุงเทพ
มหานคร ขนาดจำเลยบางคนเสียชีวิตไปแล้ว ศาลยังไปเรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากเครือญาติแทน” นายวิชากล่าว

ด้าน น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะอดีตคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว กล่าวว่า เชื่อว่าขณะนี้รัฐกำลังรวบรวมข้อมูลค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งวงเงินขณะนี้น่าจะเกิน 600,000 ล้านบาทแล้ว เพราะมีข้าวเน่าเพิ่มเติม(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีโครงการรับจำนำข้าว เริ่มต้นจากพรรคประชาธิปัตย์ยื่นคำร้องขอให้ ป.ป.ช. เข้าไปตรวจสอบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อปลายปี 2555 โดยสามารถแยกได้เป็น 2
กรณี

– กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกกล่าวหาว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ไม่ระงับยับยั้งความเสียหายโครงการรับจำนำข้าว

ที่ประชุม ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดทางอาญา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2558 ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจาณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และชี้มูลความผิดในคดีถอดถอนไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 โดยที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ด้วยคะแนนเสียง 190:18 เสียง ไปเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558 ส่งผลให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีมติถอดถอน

– กรณีทุจริตระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ(G to G)

ที่ประชุม ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดทางอาญาและทางวินัยกับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับพวกรวม 21 คน ไปเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาฯ โดยคดีนี้มีโทษสูงสุดคือจำคุกตลอดชีวิต และมีการเรียกค่าปรับทางอาญาสูงถึง 35,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ประชุม สนช. ยังมีมติถอดถอน นายบุญทรง เตริยาภิรมย์, นายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 ซึ่งจะทำให้บุคคลทั้งสาม ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางกรเมืองหรือทางราชการใดเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีมติถอดถอน

ปัจจุบัน ป.ป.ช. อยู่ระหว่างไต่สวนคดีทุจริตระบายข้าว G to G คาดว่าจะสรุปสำนวนได้เร็วๆ นี้

http://thaipublica.org/2015/08/plegd-rice-87/

ไม่มีความคิดเห็น: