PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สื่อนอกจวกสอบคดีบึ้มล้มเหลว "ตอกย้ำ"ชื่อเสียงแย่ตร.ไทย ชี้"อาจรู้จริง แต่บอกไม่ได้"!

สื่อนอกจวกสอบคดีบึ้มล้มเหลว "ตอกย้ำ"ชื่อเสียงแย่ตร.ไทย ชี้"อาจรู้จริง แต่บอกไม่ได้"!

วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เวลา 12:30:18 น มติชน

สำนักข่าวเอพีรายงานว่า กรณีการสอบสวนคดีลอบวางระเบิดพระพรหมเอราวัณ บริเวณย่านราชประสงค์ของตำรวจไทย ซึ่งแทบไม่มีหลักฐานด้านนิติเวชวิทยา ไม่มีการสรุปแรงจูงใจอย่างชัดเจน และไม่มีการอ้างความรับผิดชอบใด ๆ ยิ่งส่งผลทำให้ภาพพจน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไทยย่ำแย่ขึ้นอีก จากเดิมที่เคยอื้อฉาวจากเรื่องคอร์รัปชั่น การทารุณผู้ต้องหา และการรับใช้ทางการเมือง

รายงานระบุว่า ในคดีนี้ ปรากฏว่าหน่วยงานตำรวจแห่งชาติไม่สามารถระบุชื่อของผู้ต้องหา หรือแม้แต่สัญชาติได้เลย ซึ่งยิ่งทำให้เกิดกระแสสังคมโจมตีมากขึ้น โดยตำรวจไทยถูกกล่าวหาว่า ล้มเหลวในการเก็บหลักฐานนิติเวช รวมทั้งยังแถลงการณ์ข้อมูลผิด ๆ ต่อสาธารณชน

ขณะที่บางรายตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของตำรวจไทย รวมทั้งตั้งข้อสังเกตว่า คดีนี้อาจเป็นเพราะรัฐบาลปัจจุบันที่มาจากการยึดอำนาจไม่ต้องการเปิดเผยคนร้ายที่แท้จริง ขณะที่ความศรัทธาของคนไทยต่อตำรวจไทย ที่ผ่านมาก็ถือว่าไม่ค่อยมีอยู่แล้ว จากกรณีตำรวจบนท้องถนนและเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงที่เชื่อว่าเกี่ยวพันกับการแสวงอำนาจและการรับใช้ทางการเมือง

โดยผลสำรวจเมื่อปี2013จากหน่วยงานความโปร่งใสสากลพบว่า71 เปอร์เซ็นต์มองว่า ตำรวจไทยคอร์รัปชั่นจริง หรือมีการคอร์รัปชั่นระดับอย่างสูงที่สุด มากกว่าพรรคการเมืองซึ่งอยู่ระดับ 61 เปอร์เซ็นต์ ในบรรดาสถาบันทั้งหลายของไทย ขณะที่การสำรวจของรายงานด้านการแข่งขันทั่วโลก ได้จัดอันดับให้เมืองไทย อยู่ในอันดับที่ 113 จากทั้งหมด 144 ประเทศ ในด้านความเชื่อถือได้ในการทำงานของตำรวจไทย

ขณะที่นิตยสาร"ดิ อีโคโนมิสต์"เคยระบุไว้เมื่อปี 2008 ว่า ในคดีอาชญากรรมล่อแหลมที่สุดในเมืองไทย ผู้ต้องหาหลักมักจะเป็นตำรวจ

รายงานระบุวด้วยว่า ภาพลักษณ์ของตำรวจไทยยิ่งย่ำแย่ในปี 2013 เมื่อรัฐบาลได้ประกาศสงครามต่อต้านยาเสพติด เพื่อจัดการกับปัญหายาบ้ามหาศาลที่หลั่งทะลักเข้าประเทศ ปรากฏว่า จำนวนคดีฆ่าคนตายได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วงดังกล่าว โดยปรากฏว่า ในเหตุการณ์จับกุมใหญ่ มีผู้บริสุทธิ์ถูกสังหาร โดยมีประจักษ์พยานเห็นอย่างชัดเจนว่า ตำรวจใช้นโยบายวิสามัญฆาตกรรมเป็นหลัก นอกจากนี้ ภาพลักษณ์ตำรวจก็ยังมีเรื่องของการรีดไถผู้ใช้ยานพาหนะอย่างบ่อยครั้ง ซึ่งนี่ถือเป็นรูปแบบการคอร์รัปชั่นของพวกตำรวจชั้นผู้น้อยที่มีรายได้ต่ำ

เอพีรายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้ รัฐบาลคสช.ได้สัญญาว่าจะล้างพฤติกรรมอื้อฉาวของตำรวจไทย แต่เมื่อเกิดคดีวางระเบิดพระพรหมฯ เหตุการณ์นี้อาจกระต้นให้ผู้ตรวจสอบคดีถอยห่างจากทฤษฎีที่อาจสร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ต่อทางการไทยที่อาจเกิดขึ้นได้เพราะก่อนหน้านี้มีรายงานรั่วระบุว่าตำรวจไทยได้ชี้ว่ากลุ่มมุสลิมอุยกูร์เป็นผู้ต้องสงสัยเพราะต้องการแก้แค้นเหตุการณ์ที่ทางการไทยส่งตัวคนกลุ่มนี้กลับประเทศจีน เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าทางการไทยได้พยายามลดกระแสคาดการณ์ว่าคดีนี้อาจเป็นฝีมือของกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ แม้ว่าจะมีการออกหมายจับผู้ต้องสงสัยหลักที่ยังไม่ทราบสัญชาติที่มีการระบุว่าเป็น"คนต่างชาติ"และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็บอกว่ายังไม่มีการตัดประเด็นใดๆทิ้งทั้งสิ้น

นอกจากนี้รายงานระบุว่า สถานสักการะท้าวมหาพรหมซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักที่เป็นที่นิยมของชาวจีนถูกวางระเบิด หากเหตุการณ์นี้เป็นการแก้แค้นทางการไทยต่อวิธีการปฏิบัติต่อกลุ่มอุยกูร์จริง สิ่งนี้ก็จะส่งผลให้เกิดการตำหนิต่อรัฐบาลคสช.ที่ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น และยังส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีนเกิดความกลัว และย่อมจะกระทบต่อกลุ่มนักท่องเที่ยวชาติจีนที่ถือเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยด้วย

ขณะที่ร้อยตำรวจเอกจอมเดช ตรีเมฆ อาจารย์ประจำหลักสูตรอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรมมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า หากแรงจูงใจที่แท้จริงของการก่อการร้ายเกี่ยวกับกรณีชาวอุยกูร์ เขาเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่มีการเปิดเผยเรื่องนี้ และว่า การเร่งรีบทำความสะอาดสถานที่เกิดเหตุ เป็นความพยายามทำเพื่อฟื้นความมั่นใจต่อผู้คน ทั้งที่มันจะกำจัดการเก็บหลักฐานได้เพิ่มขึ้น โดยบริเวณดังกล่าวได้ถูกล้างทำความสะอาดเพียงไม่ถึง 24 ชม.หลังเกิดเหตุ ขณะที่รูระเบิดก็ยังถูกซ่อมแซมอุดรูทั้งที่ยังไม่ถึง 48 ชม.

เอพียังได้อ้างศาสตราจารย์ ดร.ณัฎฐพงศ์ ทองภักดี แห่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ซึ่งได้เขียนบทความเมื่อสัปดาห์ก่อน เปรียบเทียบคดีบึ้มท้าวมหาพรหมกับคดีวางระเบิดบอสตันของสหรัฐ เมื่อปี 2013 ว่า คดีบอสตันถูกมองว่าเป็นคดีของสาธารณชน และมีการระดมกำลังทุกอย่างเพื่อหาตัวคนร้ายและแรงจูงใจให้ได้ เพื่อรับประกันว่าเหตุการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้นซ้ำรอย หรืออย่างน้อยก็จะต้องรู้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นอีกหรือไม่ โดยทางการสหรัฐได้ตามหาหลักฐานโดยไม่มีการคาดเดาอย่างไม่มีมูล

อย่างไรก็ตาม เอพีระบุด้วยว่า ก่อนหน้านี้ มีตำรวจไทยที่รับราชการยาวนานกว่า 10 ปี บางรายที่ขอสงวนนาม เผยกับสื่อว่า ทีมกำจัดวัตถุระเบิด และหน่วยงานนิติเวชวิทยาศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ถูกส่งไปยังพื้นที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วและเก็บหลักฐานได้เยอะมาก จากหน่วยสืบสวนที่ดีที่สุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยตำรวจไทยได้ประโยชน์จากการที่เคยร่วมมือรับการฝึกจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ รวมทั้งหลักสูตร "การสอบสวนหลังเกิดเหตุระเบิดด้วย"

ไม่มีความคิดเห็น: