PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

ราคาน้ำมันดิ่งต่ำกว่า 28 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังยกเลิกคว่ำบาตรอิหร่าน

ราคาน้ำมันดิ่งต่ำกว่า 28 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังยกเลิกคว่ำบาตรอิหร่าน
ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงต่ำกว่า 28 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (ราว 1,000 บาท) ในการซื้อขายวันนี้ (18 ม.ค.) จากความกังวลว่าการที่ชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านจะทำให้ปัญหาน้ำมันล้นตลาดที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือร่วงแตะระดับ 27.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในระหว่างการซื้อขายช่วงหนึ่ง ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับแต่ปี 2546 ก่อนที่ราคาจะขยับขึ้นเล็กน้อยไปอยู่ที่ 28.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ก็ร่วงจาก 29 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลไปอยู่ที่ 28.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
นักวิเคราะห์ระบุว่า การที่ชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน จะทำให้อิหร่านกลับมาส่งออกน้ำมันดิบได้อีกครั้ง และหมายความว่าอาจมีการผลิตน้ำมันป้อนตลาดโลกเพิ่มขึ้นวันละครึ่งล้านบาร์เรล ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาน้ำมันล้นตลาดโลก
การตัดสินใจยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านมีขึ้นเมื่อวานนี้ หลังจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ระบุว่า อิหร่านได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่มีเป้าหมายป้องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยสำนักงานข้อมูลพลังงานของสหรัฐฯ ระบุว่า อิหร่านมีปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า ปัจจุบันอิหร่านมีน้ำมันที่พร้อมส่งออกในปริมาณมหาศาล และหากตัดสินใจขายน้ำมันเหล่านี้ก็จะยิ่งทำให้อุปทานล้นตลาดมากขึ้นไปอีก
ทั้งนี้ ปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำในปัจจุบันมีสาเหตุหลักมาจากการที่น้ำมันจากสหรัฐฯ ทะลักเข้าสู่ตลาดโลก ประกอบกับการที่อุปสงค์ลดลงเพราะเศรษฐกิจชะลอตัวในจีนและยุโรป ที่ผ่านมากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) มักปรับลดปริมาณการผลิตเพื่อพยุงราคาน้ำมัน ทว่าปัจจุบัน ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มตัดสินใจไม่ลดปริมาณการผลิตลง นักวิเคราะห์ คาดว่าสถานการณ์นี้จะดำเนินต่อไปอีก 2 ปี ซึ่งจะกดให้ราคาน้ำมันตกลง
สจ๊วต กัลลิเวอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารเอชเอสบีซีคาดว่า ราคาน้ำมันจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 25 – 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (ราว 900 – 1,500 บาท) ใน 1 ปีข้างหน้า โดยชี้ว่าปัจจุบันประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกผลิตน้ำมันมากกว่าความต้องการของตลาดราววันละ 2-2.5 ล้านบาร์เรล ‪#‎CrudeOil‬ ‪#‎IranSanction‬ ‪#‎IAEA‬
ภาพประกอบ กราฟราคาน้ำมันระหว่างเดือนม.ค. 2557 – ม.ค. 2559

ไม่มีความคิดเห็น: