PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

การรุกทางยุทธศาสตร์

วันนี้อยากฝากขอคิดทางการเมือง ครั้งหนึ่งเคยมีหน้าบทความใน นสพ.ผู้จัดการรายวัน ชื่อคอลัมน์ว่า "ตารางรุกทหารรัฐศาสตร์" โดยใช้นามปากกาว่า ว.ร.ฤทธาคนี ที่กล้าเพราะได้มีโอกาสเรียนวิชา British Constitution ขั้น A Level ตอนเรียนมัธยมปลายที่ Copford Glebe School ในอังกฤษ มีเพื่อนชาวไนจีเรียน ถามว่าเรียนไปทำไม หรือเตรียมตัวไปทำรัฐประหารในประเทศไทยเหรอ ? ก็เลยตอบไปว่า "อยากรู้ว่าอังกฤษใช้หลักการอะไร จึงสามารถปกครองคนได้ทั่วโลก จนมีสมญานามว่า "ดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่ตกดิน" ตอบประชดซะอย่างนั้น อังกฤษก็พลาดท่าเสียที่เพราะอยุติธรรม จนปัจจุบันกรรมตามสนองอยู่
มีนักปราชญ์รัฐศาสตร์ชาวไอริช ชื่อ เอ็ดมุนด์ เบิร์ค-Edmund Burke 1729-1797 เป็นทั้งนักประพันธ์ นักพูด ปราชญรัฐศาสตร์ และเป็นส.ส.พรรควิก -Whig ย่อมาจาก Whiggamor หรือคนเลี้ยงวัวในภาษาสก๊อตตะวันตกในศตวรรษที่ 17 พรรควิก เลื่อมใสเสรีนิยมที่มีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญทรงเป็นประมุข พัฒนาเป็นพรรคเสรีนิยมในปัจจุบัน
เอ็ดมุนด์ เบิร์ก เป็น ส.ส.เสรีนิยมที่ต้องการให้อาณานิคมอเมริกาปกครองตนเองและผ่อนปรนการเก็บภาษีพวกบุกเบิกในอเมริกา รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษสนับสนุนงบประมาณการตั้งรกรากของคนอังกฤษในอเมริกา หากสภาอังกฤษยินยอม สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกาคงไม่เกิดและสหรัฐฯอาจเป็นแบบแคนาดาในปัจจุบันก็ได้
หลักการของเอ็ดมุนด์ เบิร์ค คือ รัฐบาลเป็นกลไกทางการเมือง การปกครองและการบริหารประเทศ ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นมาเพื่อขจัดความขัดแย้งในความต้องการของพลเมืองในประเทศที่แตกต่างกันไป ดังนั้น รัฐบาลจะต้องชั่งน้ำหนักอย่างยุติธรรมความแตกต่างนั้นอย่างถูกต้องชอบธรรมและตรากฏหมาย อันเป็นผลให้ทุกฝ่ายเข้าใจและยอมรับการตัดสินใจของรัฐบาลอย่างเต็มภาคภูมิ แต่ที่สำคัญยิ่งความปรารถนาของแต่ละคนแต่ละฝ่ายจะต้องอยู่ภายใต้กฏหมายที่ยุติธรรมสมบูรณ์แบบ
ผมกำลังสงสัยว่ารัฐบาล คสช.ได้ให้ความสนใจกับข้อคิดทางรัฐศาสตร์ของ เอ็ดมุนด์ เบิร์ค หรือไม่ ? เพราะว่า สังคมมีความขัดแย้งกับรัฐบาล ในเรื่องพลังงาน แหล่งทรัพยากร การรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรกับนายทุนนั้นยุติธรรมและมีความชอบธรรมสมบูรณ์แบบหรือไม่ เจ้าหน้าที่รัฐประพฤติในกรอบของอำนาจหน้าที่หรือไม่?ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น: