PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ข่าว17/2/60

พระธัมมชโย

ผบ.ทบ. ขอยึดกฎหมายปมพระธัมมชโย ชี้ทราบหลบซ่อนในวัดหรือไม่ ภายใน 1 - 2 วันนี้

พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการดูแลความสงบเรียบร้อยรอบพื้นที่วัดพระธรรมกายของเจ้าหน้าที่ทหาร ว่า เบื้อง

ต้นกระทรวงยุติธรรม โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ 

หลังจาก คสช. ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ โดยทุกฝ่ายให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งกองกำลังรักษาความสงบ จำนวน 2 กองร้อย ดูแลพื้นที่ภายใน และ 4 กองร้อย ดูแลพื้นที่รอบนอก 

ซึ่งวันนี้ก็จะต้องดำเนินการตรวจค้นต่ออีก โดยตนเองในฐานะ เลขา คสช. มองว่า การดำเนินการมีความยืดหยุ่นมาพอสมควรแล้ว ซึ่งเวลานี้ จำนวนผู้ต่อต้านน้อยลง จึงอยากให้ทุกคนทำความเข้าใจ 

ขอให้กลุ่มที่สนับสนุน ถอยห่างออกมา แล้วมองย้อนกลับไปถึงสาเหตุของปัญหา ที่กระทบกับคนส่วนรวม ก็จะทำให้เข้าใจ และเห็นปัญหามากขึ้น ขออย่าใช้ความเชื่อส่วนตัว ให้ใช้เหตุผล เพราะ

กฎหมู่ต้องไม่อยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งทุกคนอยู่ในภายใต้กฎหมายเดียวกัน

ทั้งนี้ ยังไม่ขอตอบว่า พระธัมมชโย ยังอยู่ภายในวัดพระธรรมกายหรือไม่ โดยจะทราบชัดเจนภายใน 1 - 2 วันนี้ ซึ่งหากไม่พบ ก็ต้องเร่งตามหาตามกระบวนการต่อไปในพื้นที่ ที่คาดว่าจะมีการหลบ

หนี
-------------
"พล.อ.ประวิตร" แนะ "พระธัมมชโย" มาสู้คดีตามกระบวนการกฎหมาย - ไม่รู้ยังอยู่ในวัดพระธรรมกายหรือไม่

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีการเข้าตรวจค้นวัดพระธรรมกาย และจับกุมพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระ

ธรรมกาย ว่า เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามกฎหมาย จึงขออย่าถามเรื่องดังกล่าวให้เป็นประเด็น ส่วนที่ประชาชนมีความคาดหวังว่าจะต้องได้ตัวอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายนั้น ต้องใช้เวลา เพราะ

ไม่ใช่ว่าจะจับได้ทุกราย ซึ่งขณะนี้ก็มีความคืบหน้าตามลำดับ พร้อมขอให้ พระธัมมชโย ออกมาสู้คดีตามกระบวนการของกฎหมาย 

อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวว่า ไม่ทราบว่าขณะนี้พระธัมมชโย จะยังคงอยู่ในวัดพระธรรมกาย หรือยังอยู่ในประเทศหรือไม่
-----------------
นายกฯ ยัน ใช้ ม.44 วัดพระธรรมกาย ทำตามกฎหมาย ไม่รู้จะจับพระธัมมชโย ได้หรือไม่ ชี้ หากอยู่วัดก็จับ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีใช้อำนาจตามมาตรา 44 กำหนดวัดพระธรรมกายเป็นพื้นที่ควบคุม และการติดตามจับกุม

ตัวพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ว่า เป็นการดำเนินการทางกฎหมาย หากยังอยู่ในวัดก็เจอ แต่ถ้าไม่อยู่ก็ไม่เจอ ส่วนที่ยังมีพระเข้า - ออกภายในวัด และไม่ให้ความร่วมมือในการ
เข้าตรวจค้นนั้น ก็ต้องไปบอกพระ เพราะมาตรา 44 ใช้กับทุกที่และทุกคน ไม่ได้ยกเว้นพระ แต่ใช้เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำงานได้ เพราะหากเข้าไปโดยไม่มีการคุ้มครองก็จะเกิดปัญหา และเจ้า

หน้าที่ก็จะเดือดร้อน

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า รัฐบาลมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยทำตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ก็ต้องได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ทำโดยสุจริต 

ส่วนจะกุมพระธัมมชโยได้หรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากอยู่ก็จับ หากไม่อยู่จะจับได้อย่างไร ซึ่งการใช้อำนาจมาตรา 44 นั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปได้รวมถึงคุ้มครองเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่

การติดตามจับกุมเป็นเรื่องของกฎหมายปกติ 
///////
ม็อบถ่านหิน

รัฐบาล ยันยินดีรับฟังคนต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขออย่าผิดกฎหมาย - แสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่เครือข่ายต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินออกแถลงการณ์ขอให้รัฐบาลยุติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ อ.เทพา จ.สงขลา และที่ อ.

เหนือคลอง จ.กระบี่ โดยนัดรวมตัวคัดค้านที่ทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ ว่า รัฐบาลตระหนักถึงความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของพื้นที่ภาคใต้ไม่น้อยกว่าคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้น เป้าหมาย

ของการทำให้คนมีไฟฟ้าใช้จึงอยู่บนพื้นฐานของการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น

นอกจากนี้ พล.ท.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า หากผู้คัดค้านยอมรับว่าความต้องการใช้ไฟฟ้ามีมากขึ้น แต่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้า ก็ต้องเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในระยะยาวให้กับประเทศและ

คนส่วนใหญ่ในภาคใต้ด้วย เพราะที่ผ่านมารัฐบาลพยายามรับฟังความคิดเห็นมาโดยตลอด แต่ยังไม่เห็นข้อเสนอที่ชัดเจนว่า ควรจะดำเนินการอย่างไร มีแต่การออกมาคัดค้าน อย่างไรก็ตาม ในวันนี้

จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณาในเรื่องนี้ เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด

ทั้งนี้ รัฐบาลขอเรียกร้องให้กลุ่มผู้คัดค้านแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์ ไม่กระทำการที่ขัดต่อกฎหมาย หรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น โดยยืนยันว่าเมื่อรัฐบาลยินดีรับฟังความคิดเห็นแล้ว ก็

ควรรับฟังรัฐบาลและคนส่วนใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน 
---------------
รัฐบาลย้ำดูปมโรงไฟฟ้าถ่านหินรอบคอบ ไม่ละเลยประชาชน ยันไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่เครือข่ายต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินออกแถลงการณ์ขอให้
รัฐบาลยุติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ อ.เทพา จ.สงขลา และที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ โดยนัดรวมตัวคัดค้านที่ทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ ว่า 
ที่ผ่านมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้พิจารณาอย่างรอบด้านแล้ว  จนได้ข้อสรุปว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินมีความเหมาะสม
มากที่สุดในแง่ของการลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานอื่น ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ปาล์มน้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติเหลว 
พร้อมทั้งได้ดำเนินการตามหลักวิชาการทั้งการศึกษาคุณภาพอากาศในรัศมีมากกว่า 5 กิโลเมตร จากจุดสร้างโรงไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่กว้าง 
30 กิโลเมตร ยาว 30 กิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ 900 ตารางกิโลเมตร รวมถึงศึกษาข้อมูลด้านทะเลและชายฝั่ง การใช้น้ำและระบายน้ำ
อย่างละเอียดในรัศมีมากกว่า 5 กิโลเมตร และพื้นที่บางส่วนของ จ.ปัตตานีด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินจะไม่ส่งผลกระทบต่อ
ระบบนิเวศทางทะเล การประกอบอาชีพประมง เกษตรกรรม และวิถีชุมชนตามที่กล่าวอ้าง

นอกจากนี้ กฟผ.ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในหลายพื้นที่ และไม่เคยปิดกั้นพี่น้องประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงทั้ง 
จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งยังใช้สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น วิทยุชุมชน เว็บไซต์ และเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ปรึกษาลงพื้นที่พูดคุย
กับประชาชนเป็นรายกลุ่มและรายครัวเรือน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
-------------
นายกฯเตรียมเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หารือปมสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาลในช่วงเช้าวันนี้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 
จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) โดยการประชุมดังกล่าว จะมีการหารือเพื่อหา
ทางออกและความชัดเจน การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ เนื่องจากเครือข่ายต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ออกแถลงการณ์ขอให้รัฐบาลยุติ
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ อ.เทพา จ.สงขลา และที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ และมีการนัดรวมตัวคัดค้านที่ทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ ขณะที่ในช่วงบ่าย 
นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมเตรียมการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า 

ส่วนความเคลื่อนไหวอื่นๆ ภายในทำเนียบรัฐบาลของรองนายกรัฐมนตรีนั้น พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาสัย รองนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธาน
การประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ขณะที่ในช่วงบ่าย
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล (คตน.) 
ครั้งที่ 2/2560 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
---------
"กรณ์" โพสต์เฟซบุ๊ก ถ้าไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะไม่มีไฟฟ้าใช้จริง ๆ หรือ อัดฝ่ายราชการให้ข้อมูล ปชช. ไม่ครบ

นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "lorn Chatikswanij" ว่า 
ถ้าไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะไม่มีไฟฟ้าใช้จริงหรือ ว่า วันนี้ ครม. จะตัดสินใจเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ ฝ่ายราชการ
พยายามทุกวิถีทางที่จะผลักดันให้นายกฯ อนุมัติโครงการพยายามที่จะสร้างกระแสมาตลอดว่ารัฐบาลและประชาชนชาวใต้มี
ทางเลือกแค่สองทาง คือ ยอมให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือไม่ต้องมีโรงไฟฟ้าเลย ไม่ต้องมีความเจริญ ไฟอาจจะดับอีกนะ 
เพราะต้องซื้อไฟจากภาคกลาง ซึ่งต้องลงทุนสร้างสายส่งเพิ่มเติม จะต้องใช้เงินมากและใช้เวลานาน

โดย พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอทางเลือกให้เห็นแล้วว่าภาคใต้มีโรงไฟฟ้าได้ โดยไม่ต้องเป็นใช้ถ่านหิน ทางเลือกที่เป็นไปได้
จริงตอนนี้ คือ LNG ที่ปลอดภัยกว่าลงทุนน้อยกว่า และสร้างเสร็จได้เร็วกว่า ส่วนทางเลือกในอนาคตคือการเพิ่มประสิทธิภาพ
โครงข่าย grid ของ กฟผ. ให้รับซื้อพลังงานทดแทนจากประชาชนและเอกชนได้มากขึ้น

แต่ข้าราชการ ระบุ หากใช้ก๊าซเพิ่มอีกจะเสี่ยง แต่ไม่พูดให้ครบว่าก๊าซที่เราใช้อยู่ คือ จากอ่าวไทยและจากพม่า ส่วน LNG มีการ
ผลิตมากมายทั่วโลก ซื้อจากที่ไหนก็ได้ รวมถึงอ้างว่า LNG ตอนนี้ราคาถูกจริง แต่ราคาผันผวน แต่ไม่พูดว่าราคาถ่านหินก็
ผันผวนเหมือนกัน ขึ้นลงตามราคานํ้ามันเหมือนกัน ต้องนำเข้าถ่านหินเหมือนกัน และถ่านหินต้องซื้อจากแหล่งที่มีถ่านหินตรง
กับสเปกของโรงไฟฟ้าเราเท่านั้น ไม่ใช่ซื้อจากที่ไหนก็ได้เหมือน LNG ดังนั้น หากถามประชาชนว่าจะ 'เอาโรงไฟฟ้าแบบไหน' 
แล้วให้ข้อมูลให้ครบ ก็จะได้คำตอบอีกแบบหนึ่ง เพียงแต่อาจจะเป็นคำตอบที่ไม่ตรงกับความต้องการของฝ่ายราชการ
----------------
กลุ่มเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน รวมตัวเดินขบวนรอบทำเนียบ ค้านสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ภาคใต้

บรรยากาศที่ที่ทำเนียบรัฐบาลล่าสุดขณะนี้ กลุ่มเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จาก จ.สงขลาและกระบี่ และกลุ่มเครือข่าย
ประชาชนปกป้องประเทศ ได้เดินทางรวมมาตัวเดินขบวนวนรอบทำเนียบรัฐบาล เพื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่
ภาคใต้ เนื่องจากในวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 
และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เป็นประธานการประชุม จะมีการพิจารณาหาทางออกและความชัดเจนเกี่ยวกับการ
ในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ตึกสันติไมตรี ภายในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเครือข่ายปกป้องอันดามันยืนยันว่าจะปักหลักจนกว่าที่ประชุม 
กพช. จะมีบทสรุปเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ทั้งนี้ สำหรับการดูแลความเรียบร้อยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลควบคุมฝูงชนได้กระจายกำลังอยู่รอบทำเนียบรัฐบาล และ กพร. 
ติดตามสถานกาณ์อย่างใกล้ชิด
----------
นายกฯ ประชุม กพช. หาทางออกโรงไฟฟ้าถ่านหินภาคใต้ ย้ำยึดประชาชน ยันระมัดระวังด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) แล้ว โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่

เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะมีการหารือเพื่อหาทางออกและความชัดเจน การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวก่อนประชุมว่า 
จะมีการก่อสร้างหรือไม่ก่อสร้าง ก็จะต้องมีการพัฒนาแนวคิด แนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์พลังงานของโลก ซึ่งปัญหาพลังงานไทยมีมาตลอด ต้องแก้ไขให้ได้ โดยคำนึงถึงความมั่นคง

ทางพลังงานในประเทศทุก ๆภูมิภาค และจะต้องระมัดระวังด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมและดูผลประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งทุกอย่างต้องดำเนินตามแผนพัฒนากำลังการ
ผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ที่ได้กำหนดไว้ พร้อมขอให้กระทรวงพลังงานชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อคลายข้อสงสัยต่าง ๆ 

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน เตรียมเสนอที่ประชุม กพช. ถึงผลสำรวจของประชาชนที่อยู่บริเวณรอบโรงไฟฟ้า จ.กระบี่ โดยประชาชนส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน รวมถึง

ให้ที่ประชุมพิจารณาเลื่อนกรอบระยะเวลาการเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียม 2 แหล่ง ที่จะหมดอายุในปี 65 - 66 ออกไปอีก 1 - 2 เดือน จากเดิมที่กำหนดให้ประมูลเสร็จในเดือน ก.ย. 2560 

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังจะเสนอที่ประชุมให้พิจารณาแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนใหม่ เป็นรูปแบบผสมผสาน
การผลิตไฟฟ้าต่าง ๆ ตามสัญญาที่ได้รับจากภาครัฐ หรือเรียกว่าแบบไฮบริด 
---------------
ม็อบค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินภาคใต้กว่า 300 คน ปักหลักรอผลหารือ กพช. ยันไม่กลับภูมิลำเนา หากไม่ได้รับคำตอบที่พอใจ

บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาลล่าสุดขณะนี้ กลุ่มเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินจากจังหวัดสงขลาและกระบี่ จำนวนกว่า 300 คน ได้มานั่งพักปักหลักอยู่บนทางเท้าบริเวณด้านหน้าสำนักงาน

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพร.) รอติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เรื่อง การสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ 

โดย นายประสิทธิชัย หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่ายหิน กล่าวว่า หากวันนี้ที่ประชุมมีมติไม่ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก็จะกับภูมิลำเนาตามเดิม แต่หากที่

ประชุมมีมติดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อทางกลุ่มฯ จะปักหลักชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับคำตอบที่พอใจ นอกจากนี้ ยังยืนยันให้รัฐบาลสนับสนุนพลังงานทดแทนที่ผลิตจากปาล์มน้ำมัน 

เพราะมีประสิทธิภาพเพียงพอมากกว่าพลังงานถ่านหิน ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและยังเป็นการหมุนเวียนเศรษฐกิจในพื้นที่อีกด้วย
-----------------
ผบช.น. เข้าเจรจาแกนนำม็อบต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินภาคใต้ ให้เข้าปักหลักรอผลประชุมภายในสำนักงาน กพร.

บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินจากจังหวัดสงขลาและกระบี่ บริเวณหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพร.) ตรงข้ามประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล 

ล่าสุด พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ได้เดินทางเข้าเจรจากับ ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร และ นายประสิทธิชัย หนูนวล แกนนำเครือข่ายปกป้องอันดามัน เพื่อขอให้นำ

มวลชนเข้ามาปักหลักภายในสำนักงาน กพร. บริเวณศูนย์บริการประชาชน ซึ่งทางเครือข่ายได้ต่อรองขอปักหลักอยู่ที่เดิมจนถึง 12.00 น. และจะหารือกันว่าจะย้ายเข้ามาถายใน กพร. หรือไม่ 

อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่โดยรอบสำหรับงาน กพร. และทำเนียบรัฐบาล ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยตรึงกำลังดูแลความเรียบร้อยให้กับผู้ชุมนุมและประชาชนให้สามารถสัญจรผ่านไปมาได้โดย

สะดวก
---------------
ฉลุย! “กพช.” เคาะเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ 800 เมกฯแล้ว

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) วันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า กพช.มีมติให้มี

การเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ 800 เมกะวัตต์ เพราะเป็นโครงการสำคัญของประเทศ ส่งผลต่อความมั่นคงระบบไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ จากปัจจุบันที่แผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่

ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าประเทศ(พีดีพี 2015) ถูกเลื่อนมาแล้วถึง2ปี คือเดิมต้องเข้าระบบปี 2562 จนเสี่ยงต่อความมั่นคงไฟฟ้า นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่ยังสนับสนุน และเป็นโครงการที่

ปลอดภัย ซึ่งการที่กพช.อนุมัติให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าว ไฟฟ้าจะสามารถเข้าระบบได้ปี 2564-2565

“โรงไฟฟ้ากระบี่จำเป็นต่อประเทศ กพช.จึงมีมติเห็นชอบ โดยแนวทางโครงการจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และนำความเห็นของคณะกรรมการไตรภาคีมาประกอบ”พล.อ.อนันตพรกล่าว
----------
โฉมหน้า กพช.ที่ตัดสินอนาคตกระบี่
.....................................
1. นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
2. รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)รองประธานกรรมการ
3.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
4.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรรมการ
5.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
6.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
7.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหการณ์ กรรมการ
8.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
9.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กรรมการ
10.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ
11.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
12.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
13.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
14.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
15. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการ
16. ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
17.เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฏีกา กรรมการ
18.เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจฯ กรรมการ
19.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
20.ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
.............................................
---------------
นายกฯ เผย มติ กพช. เดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ยึดกฎหมาย ขออย่าสร้างความขัดแย้ง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ว่า ที่ประชุมมีมติให้

ดำเนินการในเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดที่ จ.กระบี่ ต่อไปตามขั้นตอนกฎหมาย เนื่องจากโครงการดังกล่าวได้มีการดำเนินการตั้งแต่ปี 2550 และเป็นไปตามแผนพัฒนากำลังการผลิต

ไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ซึ่งหลังจากมีการพิจารณาและศึกษามาแล้ว 2 ปี เห็นว่า มีความคุ้มค่าและปลอดภัย และรัฐบาลได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมในการสร้างความเข้าใจไปแล้วในช่วงเวลา

ดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องปลดล็อกเพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่จะสร้างเมื่อใดนั้น จะต้องรอการดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า ขออย่าสร้างความขัดแย้งอีก ซึ่งทราบว่าขณะนี้มีมวลชนมาเคลื่อนไหวคัดค้าน จึงต้องดูว่ามาคัดค้านในเรื่องใด ซึ่งส่วนตัวได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน

ไปชี้แจง ขณะเดียวกัน ยังพบว่าอัตราการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้สูงกว่าทุกภาค แต่กลับมีแหล่งพลังงานในพื้นที่น้อย ไม่เพียงพอจึงต้องมีการก่อสร้างเพิ่ม จึงขอให้ฟังหลักการและเหตุผล อย่าฟังเรื่องที่

ไม่มีข้อเท็จจริง ดังนั้น สิ่งที่เคยชะลอไว้ขอให้ดำเนินการต่อตามกฎหมายและลดความขัดแย้งให้ได้มากที่สุด เพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
---------
ม็อบต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ประกาศ ปักหลักชุมนุมคัดค้านหน้าทำเนียบ เรียกร้องจนกว่าจะยุติโครงการ 

บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จาก จ.สงขลาและกระบี่ ภายหลังนายกรัฐมนตรีแถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้เดิน

หน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เคยชะลอไว้ นายประสิทธิชัย หนูนวล ได้แถลงการณ์ในทันทีว่า ทางเครือข่ายจะปักหลักชุมนุมคัดค้านโครงการอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลต่อจนกว่ารัฐบาลจะยุติการสร้าง

โรงไฟฟ้าถ่านหิน และจะมีประชาชนในพื้นที่ขึ้นมาร่วมชุมนุมอีก พร้อมระบุว่าเหตุที่นายกรัฐตรีอ้างในการเดินหน้าโครงการ เป็นเหตุผลที่ไร้เดียงสา ฟังข้อมูเพียงด้านเดียว ทั้งนี้ หากรัฐบาลใช้กำลัง

เข้าสลายการชุมนุม ก็สามารถทำได้อย่างเต็มที่ จะได้รู้ว่ารัฐบาลชุดนี้ใช้กำลังกับประชาชนที่ออกมาเรียกร้องเรื่องสิ่งแวดล้อม 

ทั้งนี้ ภายหลังแถลงการณ์ นายประสิทธิชัย ได้นำมวลชนเดินเข้ามุ่งหวังเข้าภายในทำเนียบ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้กำแพงมนุษย์ปิดกั้นไว้ จนเกิดการกระทบกระทั่งกับผู้ชุมนุมเล็น้อย ก่อนเจ้า

หน้าที่ถอยกับมาตั้งกำแพงมนุษย์ และเข้าเจรจากับแกนนำว่าเป็นการกระทำที่ผิด พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ แต่แกนนำยืนยันจะปักหลักอยู่บริเวณหน้าทำเนียบเช่นเดิม
/////
น้องนายกฯสนช.

ผบ.ทบ. วอนขอความเป็นธรรม อย่านำสถิติลงมติ สนช. มาโจมตีการทำงาน บอกทุกคนทำตามกฎ กติกา 

พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงกรณี 7 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่เข้าร่วมประชุมน้อยกว่า 1 ใน 3 ตามข้อบังคับการประชุม ว่า อยากให้สังคมเข้าใจว่า สนช. 

แตกต่างจากสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่จะมีสมัยประชุม และ สนช. เอง ก็มีที่มาจากหลายภาคส่วน ส่วนหนึ่งเป็นข้าราชการประจำ ซึ่งอาจมีภารกิจอื่น จึงไม่ควรหยิบยกเรื่องสถิติการลงมติมาโจมตี 

เพราะว่าในบางคราวประชุมอาจมีการลงมติเพียง 2 ครั้ง และในการประชุมอาจมีการลงมติสูงถึง 50 ครั้ง ดังนั้น จึงขออย่ามองเพียงแง่มุมเดียว พร้อมยืนยันว่าทุกคนมีความตั้งใจทำหน้าที่ และ

ปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุม ซึ่งหากมีเรื่องร้องเรียนก็จะมีคณะกรรมการตรวจสอบจริยธรรมพิจารณาอยู่แล้ว จึงขอความเป็นธรรมและอย่าเอาเรื่องดังกล่าวมาเป็นตัวชี้วัดในการทำงาน

ขณะเดียวกัน พล.อ.เฉลิมชัย ยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อกรณีที่ โซเชียลมีเดีย นำสถิติดังกล่าวมาเผยแพร่เพื่อโจมตี พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา สมาชิก สนช. และอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็น

น้องชายของนายกรัฐมนตรีหรือไม่
---------------
"พล.อ.ประวิตร" ยัน 7 สนช. ลาถูกต้อง เชื่อไม่มีเจตนาหลบเลี่ยง - ตั้ง คกก. ตรวจสอบจริยธรรม

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณี 7 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมถึง พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวง

กลาโหม เข้าร่วมประชุมน้อยกว่า 1 ใน 3 ตามข้อบังคับการประชุม โดยยืนยันว่า ทั้ง 7 คน ได้ลาอย่างถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับการประชุม เนื่องจากติดภารกิจต่าง ๆ แต่ที่ขึ้นว่าขาดการประชุม

เป็นจำนวนมากนั้น อาจเป็นเพราะในวันที่ลาเป็นวันที่มีการลงมติในกฎหมายหลายฉบับ จึงทำให้ดูเหมือนว่าขาดเป็นจำนวนมากตามที่ปรากฎเป็นข่าว 

ทั้งนี้ ตนเองได้มีการหารือกับ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. แล้ว ว่าสามารถลาได้ และ สนช. ทั้ง 7 คน ก็ทำหน้าที่ได้ดี จึงได้ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจริยธรรมให้ถูกต้องและมีความ

ชัดเจนต่อไป อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทุกคนไม่มีเจตนาที่จะหลบเลี่ยง และยืนยันว่า ไม่ได้เข้าข้างใคร เพราะทุกคนต่างมีภารกิจหน้าที่ของตนเอง ซึ่งหากสถานการณ์บ้านเมืองปกติทหารก็ไม่ได้มีหน้าที่

อยู่ใน สนช. แต่ขณะนี้ทุกคนจำเป็นต้องเข้ามาทำหน้าที่ช่วยประเทศชาติ หากไม่อยากให้เข้ามาก็ขอให้อย่าขัดแย้งกัน
//////////
ปรองดอง

ปชป. เตรียมเข้าเสนอความเห็นปรองดองวันนี้ เชื่อหากประชาชนให้ความร่วมมือ จะทำได้สำเร็จ

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค จะนำสมาชิกเข้าร่วมพูดคุยและเสนอแนะ แนวทางการสร้าง

ความปรองดอง ทั้ง 10 ประเด็น ในวันนี้ โดยจะใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมา นำไปแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมนอกจากนี้ด้วย เพื่อให้ประเทศเกิดการปรองดองได้สำเร็จ 
และเชื่อว่าหากประชาชนให้ความร่วมมือ จะสามารถทำได้สำเร็จอย่างแน่นอน
----------
"พล.อ.ประวิตร" ย้ำ ปรองดองไม่นิรโทษกรรม ชี้ผู้ต้องหา 11 คน คดีปล้นปืน ค่าย ตชด.อุดรฯ ไม่โยงการเมือง

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง 2553 ที่ออกมาคัดค้านกระบวนการ

ปรองดองที่ไม่ควรมีทหารเป็นผู้ริเริ่ม เพราะถือเป็นตัวการ โดยยืนยันว่า ทหารไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการดังกล่าว และที่มายื่นหนังสือ ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการคัดค้านกระบวนการปรองดอง 

นอกจากนี้ ยังยืนยันว่า เรื่องกระบวนการปรองดอง จะไม่มีเรื่องกฎหมาย นิรโทษกรรม เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ส่วนที่พรรคเพื่อไทย ออกมาระบุว่า ยังไม่ได้รับหนังสือเชิญจากคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองพล.อ.ประวิตร กล่าวว่า พรรคเพื่อไทย จะได้รับหนังสือเชิญร่วมหารืออย่างแน่

นอน เพราะจะเชิญโดยเรียงตามตัวอักษร ทั้ง 70 พรรค

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงการจับกุมผู้ต้องหา 11 คน ในคดีปล้นปืนที่ค่าย ตชด. 24 จ.อุดรธานี 885 กระบอก เมื่อปี 2555 ว่า จากการตรวจสอบ พบว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองและเชื่อมกับขบวน

การขอนแก่นโมเดล แต่เป็นการปล้นเพื่อนำไปขายเท่านั้น
-------
ผบ.ทบ. แจง ทหารไม่ได้เสนอความเห็นปรองดอง ทำหน้าที่รับฟังความเห็นปรองดองเท่านั้น ขอกลุ่มค้านรับข้อเสนอจากทุกฝ่าย 

พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานอนุกรรมการสรุปความเห็นของคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความปรองดองใน ป.ย.ป. กล่าวถึงความคืบหน้าการรับฟังความคิด

เห็นจากพรรคการเมือง เพื่อหาแนวทางสร้างความปรองดอง ว่า ขณะนี้กระบวนการยังอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความเห็นจากพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง และภาคธุรกิจ ซึ่งส่วนกลางเป็น
ผู้รับผิดชอบ ส่วนพื้นที่ต่าง ๆ แม่ทัพภาค จะเป็นผู้รับผิดชอบรับฟังความคิดเห็นทั้งประชาชนทั่วไป และนักศึกษา โดยจะใช้แนวทางการรับฟังจากส่วนกลางไปรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำมาทำข้อ

สรุปด้วย

ทั้งนี้ พล.อ.เฉลิมชัย ยังขอให้กลุ่มที่คัดค้าน กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการชุดนี้ ยอมรับข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากฝ่ายต่าง ๆ เพราะเป็นความคิดเห็นที่เกิดขึ้นจากส่วนรวม และทหาร

เข้ามาทำหน้าที่รับฟังความคิดเห็นเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากทหาร ซึ่งกลุ่มเห็นต่างไม่จำเป็นต้องยอมรับตน แต่ขอให้ยอมรับข้อเสนอที่เกิดขึ้นทางทุกฝ่าย
---------------
สปท. ยัน คณะอนุฯ รับฟังความเห็นปรองดองเท่าเทียม - ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง มองหากอนคตยังขัดแย้ง ระบบรัฐสภา แก้ได้
 
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่ 1 (สปท.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึง การเชิญพรรคการเมืองเข้าร่วมพูดคุยและเสนอแนะ แนวทางการสร้าง

ความปรองดอง ว่า เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี 
โดยทางคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นก็เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมและไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความก้าวหน้าของการสร้างการปรองดอง เพื่อให้

ประเทศเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ กล่าวว่า หากภายในอนาคตยังเกิดการขัดแย้ง แตกแยกในสังคมอีกครั้ง ส่วนตัวเชื่อว่าการใช้ระบบรัฐสภา จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากเป็นข้อเสนอที่ทุก

ฝ่ายยอมรับ
-------------------
"ภูมิธรรม" ได้รับจดหมายเชิญเพื่อไทย เข้าร่วมพูดคุยปรองดองแล้ว เตรียมหารือคัดเลือกตัวแทน พร้อมกำหนดวัน

นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 12.15 น. ได้รับจดหมายเชิญเพื่อเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างความสามัคคีปรองดองจากกระทรวง

กลาโหมแล้ว โดยมี ร.ท.เดชา ดีเด่น สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำส่ง โดยสำนักเลขาธิการพรรคเพื่อไทย จะประสานงานให้คณะผู้บริหารและแกนนำของพรรคทราบและจะ

ดำเนินการมอบหมายและจัดนัดหมายคณะบุคคลจำนวน 10 คน เพื่อหารือแนวทางการคุยเรื่องการปรองดองและทางออกของประเทศ รวมถึงประสานงานกับสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อ

นัดหมายวันพบปะหารือร่วมกันต่อไป
-----------
โฆษก กห. แถลงผลพูดคุยปรองดอง ระบุชัด ทุกพรรคหนุนปฏิรูปการเมืองก่อน สร้างประชาธิปไตยควบคู่กับหลักนิติธรรม

พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการเชิญพรรคการเมือง เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาทิ พรรคไทยรวมพลัง พรรคมหารัฐพัฒนา พรรคประชากรไทย 

พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคประชาธิปัตย์ ว่า บรรยากาศการพูดคุยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทุกพรรคมีการเตรียมข้อมูลและให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ โดยพรรคการเมืองเห็น ว่า ปัญหา
ด้านการเมือง เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น และไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง มีการระดมทุนก่อให้เกิดนายทุนพรรค และเกิดการตอบแทนกัน จึงเห็นว่า ควรปฏิรูปการ

เมืองก่อน และประชาธิปไตยต้องทำควบคู่กับหลักนิติธรรม 

ทั้งนี้ รัฐบาลต้องมีอำนาจขอบเขตที่จำกัด ไม่ก้าวก่ายการทำงานขององค์กรอิสระ ขณะที่องค์กรอิสระต้องมีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ มีกลไกการบังคับกฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งนำ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับการเมือง โดยเฉพาะเรื่องความพอประมาณ

ส่วนเรื่องกฎหมายและกระบวนการยุทติธรรม หลายพรรคการเมืองยังเห็นว่า ยังมีลักษณะ 2 มาตรฐาน จึงควรจะต้องปฏิรูป ต้องสร้างการตรวจสอบ ถ่วงดุล อย่างแท้จริง โดยให้ประชาชนเข้ามามี

ส่วนร่วมในการตรวจสอบ
////////
รัฐธรรมนูญ

"สุรชัย" ปาฐกถารัฐสภาไทยภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ชี้ ฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องปรับตัว มุ่งเป้าหมายสู่ประชาธิปไตยและการปฏิรูป

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนา เพื่อรองรับการให้บริการวิชาการภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สำนักงานเลขาธิการ

สภาผู้แทนราษฎร จัดขึ้น พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง รัฐสภาไทยภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ : ความท้าทายและการปรับตัว ว่า เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลยังคับใช้ บุคลากรฝ่ายนิติบัญญัติต้อง
เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามข้อบังคับในรัฐธรรมนูญ ที่วางกลไกใหม่ โดยเฉพาะ ม.77 กำหนดให้การตรากฎหมายควรตราเท่าที่จำเป็น และต้องจัดรับฟังความคิดเห็น พร้อมทำรายงานศึกษา

ผลกระทบรายงานให้ประชาชนรับทราบ ซึ่งการพิจารณากฎหมายตั้งแต่วาระ 1 ถึง วาระ 3 ต้องพิจารณาประกอบกับรายงานดังกล่าวด้วย 

นอกจากนี้ ยังมีภารกิจพิจารณากฎหมายลูก รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปด้วย ทั้งนี้ เพื่อนำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง รวมถึงการปฏิรูปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ดังนั้น ต้อง

ร่วมกันเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้สำเร็จ
---------------
"พงษ์เทพ" ชี้ บุคลากรฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องพร้อมปรับงานตาม ม.77 ของรัฐธรรมนูญ ในการตรากฎหมาย เน้นประชาชนเข้าถึง

นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บรรยายเรื่องบทบาทและรูปแบบการสนับสนุนงานด้านนิติบัญญัติแห่งชาติ ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 

จัดขึ้นว่าถือเป็นภารกิจงานของทางสภา ที่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสภาผู้แทนราษฎร นอกจากสนับสนุนงานสภาเป็นหลักแล้ว ยังตั้งบริการให้ข้อมูลประชาชนด้วย ดังนั้น การทำ

งานต้องวางแผนเป็นระบบ จึงจะสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ทั้งนี้ ภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้บุคลากรฝ่ายนิติบัญญัติจำเป็นต้องอ่านรัฐธรรมนูญด้วย โดยใน ม.77 เป็นแนวทางในการตรากฎหมาย ซึ่งอยู่ในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งสภาต้องนำ 

ม.77 มาปรับใช้ในการทำงาน เพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งนี้ ที่ผ่านมา การเสนอกฎหมายส่วนใหญ่มาจากคณะรัฐมนตรี ยังไม่ค่อยเห็นการเสนอกฎหมายจากสมาชิก ส.ส. หรือฝ่ายค้าน 

หรือกรรมาธิการชุดต่าง ๆ และถึงแม้เสนอเข้ามา ก็นำไปสู่การพิจารณาน้อยมาก อย่างไรก็ตาม หลักสำคัญตาม ม.77 จะทำอย่างไรให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกฎหมายได้
//////
เศรษฐกิจ

"พิชัย" แนะ "สมคิด" เลิกขายฝัน ปี 60 ศก. จะดี จี้ตอบคำถาม 6 ข้อ ให้ได้ พร้อมนำแนวคิดเดิมมาศึกษาปรับการทำงาน

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ตามที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ พยายามขายฝันว่าปี 2560 เศรษฐกิจจะดี การลงทุนจะมาก

เป็นประวัติศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีปัจจัยอะไรเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้เศรษฐกิจดีได้ โดยเฉพาะปัจจัยทางการเมืองที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ดังนั้นที่จะโต 4 - 5% นั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ 

และที่ผ่านมา นายสมคิด ก็คาดการณ์เศรษฐกิจผิดมาโดยตลอด และส่งผลถึงการบริหาร จึงทำให้ประชาชนเดือดร้อนกันอย่างมาก ดังนั้น จึงอยากให้ตอบคำถาม 6 ข้อ ให้ได้ ประกอบด้วย

1. เศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว ดีตามที่ นายสมคิด ออกมาเถียงหรือไม่ เศรษฐกิจทั้งปีโตได้ 3.5% ตามที่ นายสมคิดเคยยืนยันหลายหนหรือไม่
2. จากยอดการส่งเสริมการลงทุนที่ 584,350 ล้านบาท นั้นได้ขอส่งเสริมไปแล้ว และมีการลงทุนจริงเท่าใด เพราะแบงก์ชาติระบุการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2559 ลดลง 63% จากปีก่อน 
3. การที่ นายสมคิด จะเดินทางไปสหรัฐอเมริกา โดยบอกว่าจะไปเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน นายสมคิด ทราบหรือไม่ว่าสหรัฐฯ ในยุคประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มีนโยบาย "สหรัฐฯ มา

ก่อน" ส่งเสริมให้คนลงทุนในสหรัฐฯ มากกว่าลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้น จะหวังความสำเร็จในการเยือนได้ขนาดไหน และ สหรัฐฯ ก็เร่งให้ไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยจากการฝึกคอบรา 

โกลด์ ที่ผ่านมา และอยากให้แถลงว่าที่ผ่านมาที่ได้ไปเยือนญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส และจีน แล้วมีผลสำเร็จในการเยือนเป็นอย่างไร เหตุใดการลงทุนจึงไม่เพิ่มขึ้น และเสียงบประมาณโดยเปล่า

ประโยชน์ใช่หรือไม่ 
4. นายสมคิด ทราบหรือไม่ว่า การจะปรับประเทศไทยเป็นไทยแลนด์ 4.0 ให้เทียบเท่าประเทศอื่น จะทำให้ต้องมีการนำเทคโนโลยี เช่น หุ่นยนต์ และ ปัญญาประดิษฐ์ มาทดแทนการจ้างงาน ซึ่งจะ

ทำให้คนตกงานเพิ่มขึ้น รัฐบาลได้เตรียมพร้อมในเรื่องดังกล่าวอย่างไร  
5. จริงอยู่ที่ฐานะการเงินการคลังของประเทศยังแข็งแกร่ง ในปัจจุบันที่มีเงินทุนสำรองสูงและหนี้สาธารณะต่อจีดีพีต่ำ แต่อนาคตจะเป็นอย่างไร ถ้าประเทศไทยยังมีการเจริญเติบโตที่ต่ำกว่าประเทศ

เพื่อนบ้านมาก มีการส่งออกที่ไม่เพิ่มขึ้น และการลงทุนหดหาย ซึ่งแปลว่าปัจจุบันเป็นการกินบุญเก่าใช่หรือไม่
6. การที่รัฐบาลจะพยายามที่จะเก็บภาษีเพิ่มหลายทางในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เป็นแนวทางที่ถูกหรือไม่ ทำให้ดูเหมือนว่ารัฐบาลกำลังถังแตกหรือไม่ ซึ่งโดยหลักแล้วควรต้องลดภาษี เพราะการลด

ภาษีจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นแล้วจะส่งผลให้รัฐบาลได้ภาษีกลับมามากกว่า ซึ่งมีตัวอย่างแล้ว หากจำกันได้รัฐบาลเพื่อไทย มีการลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงจาก 30% เหลือ 23% แต่กลับเก็บภาษีได้

มากขึ้น เพราะเศรษฐกิจดีมีการเจริญเติบโตสูงถึง 6.5% ในปี 2555 ก่อนที่จะมีการประท้วงและเกิดการปฏิวัติ

ดังนั้น จึงอยากให้ นายสมคิด ได้ศึกษาแนวคิดเดิมที่ นายสมคิด เคยสังกัด เพื่อนำไปศึกษาปรับปรุงแนวทางของตัวเอง มิเช่นนั้น ประชาชนจะไม่เชื่อว่า นายสมคิด จะเคยมีแนวคิดที่ดีในอดีตจริง 

เพียงแต่ทำตามแนวทางของพรรคเดิมเท่านั้น และหากนายสมคิด เห็นว่าไม่ถูกต้อง ตนก็ยินดีจะร่วมชี้แจงให้ประชาชนฟังพร้อมกันได้เสมอเพื่อให้ประชาชนทราบภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่แท้จริง 

และอนาคตที่ยังคงมืดมน

ไม่มีความคิดเห็น: