PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แผนปฏิรูปกองทัพ-



แผนปฏิรูปกองทัพ---ออกแผนปรับลดอัตรากำลังพล ผู้ทรงคุณวุฒิและนายทหารปฏิบัติการ ร้อยละ 2.5 ต่อปีจนถึงปี 2571
พลตรี คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกลาโหม กล่าวว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรมว.กลาโหม สั่งการในที่ประชุม ผบ.เหล่าทัพ ให้ จัดทำแผนความต้องการอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนากองทัพ โดยเฉพาะ ยุทโธปกรณ์ของสหรัฐอเมริกา ว่า ตัองการอะไร เพื่อที่ นายกฯ ไปเป็นข้อมูล ในการเดินทางไปพบ หารือ กับ ประธานาธิบดี Donald Trump ที่สหรัฐฯ ปลาย กค.นี้ ตามคำเชิญ.
เผื่อว่ามีการหารือเริ่องความร่วมมือเรื่องความร่วมมือทางการทหาร และความช่วยเหลือ ทางการทหาร
พลตรีคงชีพ กล่าวถึงความคืบหน้า ในการปฏิรูปกองทัพให้มีขีดความสามารถที่เหมาะสม ว่า พลเอกประวิตร รมว.กลาโหม. สั่งการให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ เร่งดำเนินการ สรุปจำนวน/ชนิดอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพที่มีอยู่ในปัจจุบัน และความต้องการที่จำเป็น ในการเสริมสร้างขีดความสามารถกองทัพ
โดยคำนึงถึงศักยภาพและขีดความสามารถของประเทศรอบบ้าน รวมทั้งภัยคุกคามในห้วงเวลา ประกอบการพิจารณาให้มีขีดความสามารถในการทำสงครามจำกัด ควบคู่กับการปฏิรูปการจัดหน่วยให้เหมาะสม ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมาย
โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ประสานกองบัญชาการกองทัพไทยและเหล่าทัพ ในการจัดเตรียมข้อมูลร่วมกัน
ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้ นายกฯ ในการเดินทางไปพบ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา. พบ Donald Trump ที่อเมริกา ปลาย กค.นี้
ส่วนการปฏิรูปกองทัพมีพัฒนาการและความคืบหน้าตามลำดับ นั้น ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมได้ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปกองทัพมาตลอด ด้วยการปรับให้กองทัพมีขนาดที่เหมาะสม มีขีดความสามารถด้านกำลังพลและยุทโธปกรณ์ ที่เพียงพอต่อการตอบสนองความเสี่ยงของภัยคุกคามด้านความมั่นคงของภูมิภาค โดยคำนึงถึงความเป็นประชาคมอาเซียน
​​
พล.อ.ประวิตร ได้กำหนดเป็นนโยบายของกระทรวงกลาโหม ให้กองทัพต้องปฏิรูปทั้งโครงสร้างการจัดหน่วย ระบบบริหารจัดการ และพัฒนากำลังพลและยุทโธปกรณ์ให้มีความคล่องตัวและเหมาะสมกับปฏิบัติภารกิจที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
 ได้ทบทวนสภาพแวดล้อมความมั่นคงและจัดทำ ยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2560-2579 เสร็จสิ้นแล้ว
โดยกำหนดวิสัยทัศน์คือ “การมีกองทัพชั้นนำ มีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงของรัฐและมีบทบาทในการส่งเสริมความมั่นคงของภูมิภาค”
 กำหนดแนวความคิดสำคัญในการพัฒนาเสริมสร้างกำลังกองทัพ ในด้าน การเตรียมกำลังและการใช้กำลัง
 แนวความคิดด้านการจัดเตรียมกำลัง ได้จัดทำแผนหลักรองรับ 2 แผน คือ แผนแม่บทการปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2560-2569 และแผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2560-2569 เสร็จสิ้นแล้ว
 แนวความคิดด้านการใช้กำลัง ตามยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศกระทรวงกลาโหมจะครอบคลุมแนวทางใช้กำลังและขีดความสามารถของกองทัพที่ต้องการพัฒนากำลังตามห้วงระยะเวลา เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมเผชิญกับภัยคุกคามทางทหารและภัยคุกคามอื่นๆ
​ที่ผ่านมามีการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการและการปฏิรูประบบงาน ทั้ง 18 ระบบงาน โดยขอสรุปการดำเนินการที่สำคัญ พอสังเขปดังนี้
 ด้านโครงสร้างการจัดหน่วย ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ไซเบอร์กระทรวงกลาโหม การจัดตั้งศูนย์ฝึกบรรเทาสาธารณภัยกองทัพไทย การจัดตั้งศูนย์การลาดตระเวนทางอากาศและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ จัดตั้งกรมทหารพรานนาวิกโยธิน ซึ่งเป็นกำลังประจำถิ่นในการดูแลแก้ปัญหา จชต
. การปรับปรุงโครงสร้างศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล การปรับปรุง แปรสภาพโครงสร้างหน่วยกำลังรบทั้ง ทบ. ทร. และ ทอ. รวมทั้งศึกษาภาระงานเพื่อยุบรวมปรับลดอัตรากำลังพลในส่วนที่ไม่จำเป็น
 ด้านกำลังพล ตราพระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ.2558 พร้อมกับจัดทำแผนแม่บทการพัฒนากิจการกำลังสำรองระยะ 5 ปี นำระบบข้าราชการพลเรือนกลาโหมมาใช้ ปรับปรุงหลักสูตรและระบบการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกัน ปรับลดอัตรากำลังพลในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิและนายทหารปฏิบัติการ ร้อยละ 2.5 ต่อปีจนถึงปี 2571
 ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ จัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พ.ศ. 2558 -2563 เสนอร่าง พ.ร.บ. สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อการวิจัยพัฒนา มุ่งสู่การใช้งานและการพึ่งพาตนเอง
 ด้านการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับต่างประเทศ การจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน และการลงนามความร่วมมือทางทหารกับ กห. ประเทศต่างๆ เป็นต้น
 ด้านธรรมาภิบาลและความโปร่งใส จัดทำแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ กห. ปี 58 - 60 และทบทวนเพื่อจัดทำแผนปี 60 – 64 เพื่อกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น: