PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ระบอบ การเมือง หลัง รัฐประหาร 2557 กับ ชาว ภาคใต้

ระบอบ การเมือง หลัง รัฐประหาร 2557 กับ ชาว ภาคใต้


หากตัดเอาสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกไป อาจถือได้ว่าภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มี ความอ่อนไหวทางการเมืองน้อยที่สุด

หากเทียบกับ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เพราะว่าความสัมพันธ์ระหว่าง คสช.และรัฐบาลกับ 1 พรรคประชาธิปัตย์ และ 1 แกนนำ กปปส.เป็นไปอย่างมีสันถวมิตรอันสนิทสนม

ถึงกับเคยมี “คำชี้แนะ” ออกมา “ปราม”

การเคลื่อนไหวของเกษตรกรชาวสวนยางจำนวนหนึ่งที่เคยคิดจะเคลื่อนไหวตั้งแต่แรกที่ราคายางพาราทรุดเสื่อมตกต่ำในปี 2558

ว่าไม่ควรทำ เพราะนี่คือ “รัฐบาลของเรา”

ปรากฏการณ์อันเนื่องจากเสียงตวาดดังขึ้น ณ ตลาดปลา ปัตตานี เมื่อประสานเข้ากับการสลายการชุมนุมของชาวเทพา-ปัตตานี ที่สี่แยกสำโรง สงขลา

จึงถือว่าไม่น่าเกิดขึ้น ไม่น่าเป็นไปได้

กระนั้น เมื่อจับท่าทีของ คสช.และรัฐบาลหลังจากสถานการณ์ ณ ปัตตานี และสถานการณ์ ณ สงขลา บังเกิดขึ้นอย่างครึกโครม

ก็พอจะเข้าใจ

อาจเป็นเพราะ คสช.และรัฐบาลยังมีอารมณ์ “ค้าง” มาจากกรณีการเสียชีวิตของ “น้องเมย” และรวมถึงทิศทางและความสับสนจากการปรับ ครม. “ประยุทธ์ 5”

เมื่อมองเห็น “ผู้ชุนนุม” ที่สงขลา จึงเกิดความระแวง

เป็นความระแวงจากภาพและองค์ประกอบซึ่งมีจุดเริ่มจากเทพา และเมื่อประสานเข้ากับปัตตานีจึงต่อหัวต่อหางไปไกล

เพราะเทพา ปัตตานี ก็เป็นส่วนหนึ่งใต้กฎหมาย “ความมั่นคง”

จึงมิได้มองปรากฏการณ์ของชาวประมง และของชาวบ้านว่าดำเนินไปตามวิถีของคนรักบ้านเกิดคนรักชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น: