PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

แจ้งเพิ่มอีก 32คน จาก 39คน คดีชุมนุมสกายวอล์ก ผิดพรบ.ชุมนุม ‘หนูหริ่ง-วีระ ‘ โดนด้วย!

แจ้งเพิ่มอีก 32คน จาก 39คน คดีชุมนุมสกายวอล์ก ผิดพรบ.ชุมนุม ‘หนูหริ่ง-วีระ ‘ โดนด้วย!


ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.)ว่า จากกรณีวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมาพ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารปฏิบัติการประจำกองบัญชาการกองทัพบก ปฎิบัติหน้าที่หัวหน้าส่วนปฏิบัติการคณะทำงานด้านกฎหมายส่วนงานการรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา เข้าพบพ.ต.ท.สมัคร ปัญญาวงศ์ รอง ผกก.(สอบสวน) สน.ปทุมวัน เข้าแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับ 1.นายรังสิมันต์ โรม 2.นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ 3.น.ส.ณัฎฐา มหัทธนา 4.นายอานนท์ นำภา 5.นายเอกชัย หงส์กังวาน 6.นายสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ 7.นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล
ในข้อหา ฝ่าฝืนคำสั่งคสช.ที่ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ที่ทางกลุ่มออกมาเคลื่อนไหววันที่ 25 ม.ค. เวลา 21.00 น. และวันที่ 27 ม.ค.เวลา 19.00 น. ที่บริเวณสกายวอล์ค แยกปทุมวัน ลงสมุดคดีอาญาที่ 121/61 ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและการรักษาความมั่นคงของชาติ และการกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชน ด้วยวาจาหนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช้เป็นการกระทำ ภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ มิใช้เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้เกิดความปั่นป่าวหรือกระด้าง กระเดื่อง ในหมู่ประชาชน ถึงขนาดจะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 นั้น
ต่อมาวันที่ 30 ม.ค. นางนวพร กลิ่นบัวแก้ว ผอ.สำนักงานเขตปทุมวัน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยืนยันว่าจุดที่จัดให้มีการชุมนุมเป็นพื้นที่สาธารณะพ.ต.ท.สมัคร จึงได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมเพิ่มเติม 39 ราย อาทิ
1. นายรังสิมันต์ โรม 2. นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ 3. นางสาวณัฏฐา มหัทนา 4. นายอานนท์ นำภา 5. นายเอกชัย หงส์กังวาน 6. นายสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ 7. นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล 8. นายวีระ สมความคิด 9. นายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนำการชุมนุม 10. นายโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ 11. นางมัทนา อัจจิมา แนวร่วมคนเสื้อแดง 12. น.ส.พัฒน์นรี ชาญกิจ มารดาของ นายสิรวิชญ์ 13. นายเอกศักดิ์ สุพรรณขันธ์ 14. นางรักษิณี แก้ววัชระสังสี 15. นางจุฑามาศ ทรงเสี่ยงไชย 16. นางพรนิภา งามบาง แนวร่วมคนเสื้อแดง 17. นายกิตติธัช สุมาลย์นพ แนวร่วมกลุ่มนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 18. นางสุดสงวน สุธีสร นักวิชาการกลุ่มคนเสื้อแดง 19. นายกันต์ แสงทอง นักวิชาการ 20. นายนพพร นามเชียงใต้ แนวร่วมกลุ่มวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ 21. นายสุวัฒน์ ลิ้มสุวรรณ นักวิชาการอิสระ 22. นางกมลวรรณ หาสาลี คนเสื้อแดงพระราม9 23. นางนัตยา ภานุทัต แนวร่วมคนเสื้อแดง 24. นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ ฉายา “ฟอร์ด เส้นทางสีแดง” 25. นางประนอม พูลทวี คนเสื้อแดงจังหวัดสมุทรปราการ 26. นายสงวน คุ้มรุ่งโรจน์ 27. นายสุรศักดิ์ อัศวะเสนา 28. นางพรวลัย ทวีธนวาณิชย์ 29. นางสุวรรณา ตาลเหล็ก 30. นางนภัสสร บุญรีย์ แนวร่วมคนเสื้อแดง 31. น.ส.อรัญญิกา จังหวะ นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 32. นายพรชัย ประทีปเทียนทอง 33. นายวรัญชัย โชคชนะ แนวร่วมคนเสื้อแดง 34. นายนพเกล้า คงสุวรรณ แนวร่วมกลุ่มประชาธิปไตยศึกษา 35. นายคุณภัทร คะชะนา 36. นายสามารถ เตชะธีรรัตน์ 37. น.ส.อ้อมทิพย์ เกิดผลานนท์ 38. นายวราวุธ ฐานังกรณ์ แนวร่วมกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย และ 39. นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด นักวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในความผิดฐาน “ร่วมกันชุมนุมในที่สาธารณะในรัศมี 150 เมตร จากวังของพระรัชทายาทหรือของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป” อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 7 วรรคแรก ซึ่งพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์ไว้แล้ว จะดำเนินการสืบสวน สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ยังมีผู้ร่วมกระทำความผิด ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบอีก 66 คน
ตร.ขอให้กลุ่มมวลชนและประชาชนได้รับทราบถึงข้อกฎหมายในเรื่องการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย อาจมีความผิดตามพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ และนอกจากนี้การยุยง ปลุกปั่นให้เกิดความแตกแตก จะเป็นความผิดทางกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษสูง

จังหวะ แนวโน้ม Start Up People กับ We Walk

จังหวะ แนวโน้ม Start Up People กับ We Walk


ทําไมต้องเป็น We Walk เดินเพื่อมิตรภาพและทำไมต้องเป็น Start Up People ทั้งๆ ที่เป็นกิจกรรมและการเคลื่อนไหวในประเทศ
อาจเป็นเพราะมาจาก People Go Network
อาจเป็นเพราะ 1 มาจากความริเริ่มของ “กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย” และอาจเป็นเพราะประสานเข้ากับ 1 กลุ่มประชาธิปไตยใหม่
แล้วทำไมต้องใช้ชื่อเป็น “ภาษาอังกฤษ”
หากดูจากองคาพยพซึ่งประกอบส่วนขึ้นเป็นกลุ่ม เป็นขบวนการ ก็ต้องยอมรับว่าด้านหลักมาจากคนรุ่นใหม่
สัมพันธ์อยู่กับสถานการณ์ในห้วง 1 ทศวรรษ
นั่นก็คือ ก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 และก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 อย่างแนบแน่น
สถานการณ์นี้มีลักษณะ “โลกาภิวัตน์”
ถามว่า 2 การเคลื่อนไหวนี้มีสายสัมพันธ์ต่อกันและกันหรือไม่ ยกเว้นคำว่า People ที่ดำรงอยู่ทั้งที่ถนนมิตรภาพ และที่สี่แยกปทุมวัน
กระนั้น เมื่อดูข้อเรียกร้องก็แทบไม่แยกห่างออกจากกัน
ภายในข้อเรียกร้อง 4 ข้อที่อ่านกันบริเวณสกายวอล์ก สี่แยกปทุมวัน มีอยู่ในข้อ 3 ผู้จัดกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ และ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ต้องหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาและการดำเนินคดีทั้งปวง
ขณะเดียวกัน คำสั่งของศาลปกครองที่ให้การคุ้มครองชั่วคราวซึ่งกลุ่ม People Go Network เป็นเจ้าของเรื่อง
ก็ส่งผลสะเทือนให้กับกิจกรรม Start Up People
และส่งผลสะเทือนให้กิจกรรม “เดินเพื่อมิตรภาพ ส่งใจสู่เพื่อน” ของเครือข่ายภาคประชาชน 19 องค์กร จากลานจัตุรัสนครหาดใหญ่ ดำเนินไปด้วยความคึกคัก อบอุ่น

เป็นผลสะเทือนในด้าน “ความคิด” เป็นผลสะเทือนในด้าน “กิจกรรม”
แม้ว่าท่าทีในเบื้องต้นจากทางด้าน คสช.ต่อ “We Walk เดินมิตรภาพ” บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 21 มกราคม
จะรุนแรง แข็งกร้าว และมีลักษณะคุกคาม
กระนั้น นับแต่เวลา 02.00 น.ของวันเสาร์ที่ 27 มกราคม ท่าทีก็เริ่มเปลี่ยนจากคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ.2558
เป็นอานิสงส์ถึงการชุมนุมบริเวณ สกายวอล์ก แยกปทุมวัน
เป็นอานิสงส์ถึงการชุมนุมบริเวณลานจัตุรัสนครหาดใหญ่ และรวมถึงการค่อยๆ เคลื่อนไหวจากนครราชสีมามุ่งไปยังขอนแก่นบนถนนมิตรภาพ
และรวมถึง “เดินเพื่อมิตรภาพ ส่งใจสู่เพื่อน” ที่สวนลุมพินีในวันที่ 28 มกราคม
การออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจากศาลปกครองจึงเป็นจุดตัดและหัวเลี้ยวใหม่ในทางการเมืองซึ่งจะทำให้ คสช.และรัฐบาลต้องนำไปขบคิดพิจารณา
ท่าทีแบบที่เคยเห็นหน้าวัดพระธรรมกายจะยังคงอยู่หรือไม่
ท่าทีแบบที่เคยเห็นในบรรยากาศแห่งการลงประชามติเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 จะยังคงอยู่หรือไม่ จึงควรให้ความสนใจ
สถานการณ์อย่างที่เห็นและเป็นอยู่ในขณะนี้เป็นสถานการณ์อันเนื่องแต่ 2 ผลสะเทือน 1 ผลสะเทือนจากนาฬิกาหรู และ 1 ผลสะเทือนจากการยื้อการเลือกตั้ง 2 เรื่องนี้กระทบความรู้สึกของประชาชน
จึงนำไปสู่ความพยายาม “We Walk เดินมิตรภาพ” จึงนำไปสู่ Start Up People เกิดขึ้นทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด
ยังไม่มีใครตอบได้ว่าจะ “จบ” หรือ “คลี่คลาย” ไปอย่างไร

ยิ่งยุ่งก็ยิ่งยาว

ยิ่งยุ่งก็ยิ่งยาว


สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยุค คสช.ถูกตั้งฉายาเป็นสภา ฝักถั่ว สภาตรายาง สภาใบสั่ง และอีกมากมาย
ข้อสำคัญ “สนช.ลากตั้งชุดนี้” ยังขยันสร้างเรื่องเลอะเทอะให้ต้องเก็บกวาดเช็ดถูตามหลังอีกบานตะไท
เลอะเทอะอย่างไร “แม่ลูกจันทร์” ขอยกมาเป็นแซมเปิ้ลซัก 3 ประเด็น
เรื่องเลอะเทอะอันดับ 1, คือกรณี สนช.ลากตั้งใช้เสียงข้างมากลากไปแก้ไข พ.ร.บ.ป.ป.ช.ให้ประธาน ป.ป.ช. และกรรมการ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน ที่ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ ให้สามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้อย่างสบายอุรา
แค่นี้ยังไม่พอ ยังใช้เสียงข้างมากต่อวีซ่าให้ประธาน ป.ป.ช.และกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งมี “ลักษณะต้องห้าม” ตามรัฐธรรมนูญ ให้ลากยาวยั่งยืนต่อไปอีก 9 ปี
เหลือเชื่อจริงๆ พ่อเจ้าประคุณ
ทีนี้มาถึง เรื่องเลอะเทอะอันดับ 2,กรณี สนช.ลากตั้งกระเด้งรับใบสั่งแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. เพื่อเลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีก 90 วัน
ยิ่งกว่านั้นยังใช้เสียงข้างมาก ยกเลิกกติกาที่ห้ามจัดมหรสพต่างๆในการหา เสียงเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งใช้บังคับมานานกว่า 43 ปี
การเปิดช่องให้พรรคการเมืองจ้างมหรสพมาแสดงจูงใจประชาชนให้มาฟังการปราศรัยหาเสียง จึงเป็นการแก้ไขกฎหมายเอื้อประโยชน์พรรคใหญ่ๆทุนหนาได้เปรียบพรรคเล็กๆทุนน้อยกว่าอย่างชัดเจน
เท่ากับไปแก้กติกาที่ดีอยู่แล้วให้แย่ยิ่งกว่าเดิม
“แม่ลูกจันทร์” เชื่อว่าประเด็นนี้จะสร้างความยุ่งหยอยเป็นฝอยขัดหม้อในการเลือกตั้ง ส.ส.อย่างแน่นอน!!
ทีนี้มาถึง “เรื่องเลอะเทอะอันดับ 3” คือ กรณี สนช.ลากตั้งใช้เสียงข้างมากลากไปแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. แหกออกนอกกรอบจากร่างของ กรธ.จนไม่เหลือเค้าเดิม
เช่น ล้มกติกาที่ห้ามผู้สมัคร ส.ว. แต่ละกลุ่มลงคะแนนเลือกกันเอง
โดยกำหนดกติกาใหม่ ให้ผู้สมัคร ส.ว.กลุ่มเดียวกันเลือกกันเองโดยรง
เท่ากับเปิดช่องให้ “บล็อกโหวต” กันได้อย่างสะดวกโยธิน
แย่ยิ่งกว่านั้น ยังไปเพิ่มกติกาให้แยกผู้สมัคร ส.ว.ออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทสมัครแบบอิสระ 100 คน และองค์กรต่างๆส่งสมัครเป็นตัวแทนอีก 100 คน
“แม่ลูกจันทร์” ชี้ว่าผลจากการแก้ไขให้ที่มา ส.ว.เป็น 2 ประเภท จึงไปขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 107 อย่างจังเบอร์
เนื่องจากมาตรา 107 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้สมัคร ส.ว.ประเภทเดียว และสมัครช่องทางเดียว
ดังนั้น การที่ สนช.ลากตั้งแก้ไข ก.ม.ลูกไปขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็น ก.ม.แม่ จึงยุ่งเป็นฝอยขัดหม้อด้วยประการฉะนี้แล
“แม่ลูกจันทร์” สรุปว่าการแก้ไข ก.ม.ลูกไปขัดแย้ง ก.ม.แม่ ทำให้การประกาศใช้กฎหมายลูก 3 ฉบับ ต้องชักตะพานแหงนเถ่อต่อไป
ทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนแล้วเลื่อนอีกไม่จบสิ้นซะที
หรือว่า...การที่ สนช.ลากตั้งขยันแก้ไข ก.ม.ลูกให้ขัดแย้ง ก.ม.แม่ตะบี้ตะบัน...
เพื่อต้องการสร้างเงื่อนไขให้การเลือกตั้งต้องยืดออกไปอีกยาวๆ?
เพราะถ้าเรื่องไม่จบก็ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
ต้องบวกเวลาเพิ่มไปอีกหลายเดือน
อืมม์...มันก็ชวนให้สงสัยได้เหมือนกันนะโยม.
“แม่ลูกจันทร์”

“นิด้า” ชื่อช้ำมากพอแล้ว

“นิด้า” ชื่อช้ำมากพอแล้ว


“เลือกเอาแล้วกันว่าจะเอาแบบผม หรือจะให้กลับมาที่เดิม”
จับอาการอึดอัดของ “นายกฯลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. ที่ถูกไล่บี้ไล่ต้อนทวงถามสัญญาเลือกตั้ง
ปล่อยมุกวัดใจกันเลยว่า ระหว่างการทำตามความพยายามของคนที่จะทำให้ทุกอย่างกลับมาเป็นแบบเก่า กับการเดินตาม “ลุงตู่” ไปสู่ปลายทางปฏิรูป โดยที่บ้านเมืองยังสงบ ไม่มีม็อบป่วนเมือง
ถามใจประชาชนส่วนใหญ่จะเอาแบบไหน
เรื่องของเรื่อง ในห้วงที่ทหารทำอะไรก็ผิด บรรยากาศสลับข้างให้นักวิชาการ นักศึกษา พลิกกลับมาเป็นฝ่ายขี่กระแส นักการเมืองได้จังหวะตามแห่ คอยแหย่ไฟ
ปรากฏการณ์แบบที่เครือข่ายคนหน้าเก่าหน้าเดิมของฝ่ายความมั่นคง อย่าง “จ่านิว” นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ และนายรังสิมันต์ โรม นักศึกษาที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับ “ลุงตู่” รวมพลในนามขบวนการใหม่ “Start Up People” แสดงพลังคนอยากเลือกตั้ง ต้านการสืบทอดอำนาจ คสช.
ก็มีคนตามแห่ ชิงพื้นข่าวในสื่อได้
ในห้วงสถานการณ์ที่เครือข่ายนักวิชาการกล้าล่ารายชื่อกดดัน คสช.ให้ทบทวนการดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่ม “วีวอล์ค” ที่จัดกิจกรรมเดินเรียกร้องเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
เดินแต้มกดดันอำนาจพิเศษ ท้าทายกันแบบออกหน้าออกตา
ฉากปัญญาชนที่เป็น “ของแสลง” กับทหารเริ่มถูกเซตขึ้นมา ชัดเจนเป็นลำดับ
โยงกับสถานการณ์ “จุดไฟ” ในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่ทำให้ชื่อของนายอานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ผู้อำนวยการ “นิด้าโพล” กลายเป็นฮีโร่ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร คสช.
กับคำพูดหล่อๆ “ไม่เลียท็อปบูต”
สูตรสำเร็จของการปั่นกระแสปัญญาชนประจันหน้าทหารกำลังถูกรื้อฟื้น ย้อนอดีตคนเดือนตุลา
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรื่องของกระแสก็ว่ากันไปตามห้วงสถานการณ์ แต่ประเด็นของหลักการความถูกต้องที่ต้องยึดเป็นบรรทัดฐาน นั่นก็ต้องว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง
โดยเฉพาะการใช้ชื่อสถาบันการศึกษามาแฝงเหลี่ยมเกมการเมือง
จากปมร้อน “นิด้าโพล” ถ้าฟังความอีกด้านหนึ่งจากมุมของนายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีนิด้า ที่ชี้แจงว่า การที่โพลมุ่งเป้าที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดถือเป็นการไม่ยุติธรรม โดยเฉพาะในห้วงที่ยังอยู่ในกระบวนการสอบสวน ไม่มีการชี้ถูกชี้ผิด
เรื่องของเรื่องถ้าเป็น “อานนท์โพล” ก็คงไม่มีปัญหา ไม่มีใครไปเบรกอะไร
และแน่นอนก็คงไม่มี “น้ำหนัก” หรือราคาค่างวดสักเท่าไหร่
แต่มันเป็นโพลในนามของ “นิด้า” ประทับตราสถาบัน มันก็มีเหตุผลที่จะต้อง “เซ็นเซอร์” กันก่อน เพราะถ้ามีข้อผิดพลาด
หรือวาระแฝงในการใช้โพลเพื่อผลประโยชน์ของบางฝ่าย คนที่รับผิดชอบเต็มๆหนีไม่พ้นคนนั่งเป็นฝ่ายบริหารสูงสุดคืออธิการบดี
ตรงนี้เข้าใจได้ในคำอธิบายของนายประดิษฐ์
ไม่นับปมเบื้องหน้าเบื้องหลัง นายอานนท์เพิ่งเข้ามาทำหน้าที่ผู้อำนวยการ “นิด้าโพล” แค่ 2 สัปดาห์ ก่อนหน้านั้นก็เห็นชื่อเป็นคอลัมนิสต์ประจำอยู่ในสื่อค่ายพันธมิตรฯ
มีลูกติดพันกับ “บิ๊กป้อม” ในคดีลอบสังหารหัวขบวนม็อบเสื้อเหลือง
ถ้าจะบอกว่าเป็นงานเชิงวิชาการเพียวๆไม่เกี่ยวกับขบวนการลงดาบซ้ำ พล.อ.ประวิตร
คนที่ติดตามข่าวการเมืองคงมีเครื่องหมายคำถามอยู่ในใจ
เหนือสิ่งอื่นใด จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ชื่อ “นิด้า” แทบไม่เหลือความขลัง ชั่วห้วงเวลาไม่กี่ปีหลัง คนไม่กี่คนเอาชื่อสถาบันอันเป็นที่รักของศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบันไปเป็นใบเบิกทาง สร้างโอกาสให้ตัวเองเข้าสู่เกมอำนาจและผลประโยชน์
ก่อโทษให้สถาบัน “นิด้า” โดนลากเข้าไปในสงครามชิงกระแสการเมือง
ถูกพวกที่เสียประโยชน์โจมตี ด่าเสียๆหายๆ เหมารวมทั้งสถาบัน
ตรงนี้ถึงจุดที่ต้องทบทวน ดึง “นิด้า” กลับมาเป็นองค์กรวิชาการเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง
อย่าให้ “นักวิชาเกิน–นักวิชากิน” เอาชื่อไปสร้างความเสื่อมอีกเลย.
ทีมข่าวการเมือง

ถ้าปชช.ไม่ต้องการพร้อมจะไป

"อยากจะพูดกับผู้สื่อข่าวสายทหาร กับทุกคน ผมไม่ได้มาขอร้องให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่อยากจะบอกว่าผมรับราชการมาตั้งแต่ปี 2511 ถึงวันนี้ก็ 50 ปีได้ รับราชการมาโดยตลอด ก็ไม่เคยมีเรื่องอะไรต่างๆ ก็ดูเอาแล้วกัน ว่าผมได้ทำอะไรที่เสียหายต่อประเทศชาติบ้านเมืองบ้าง ผมเข้ามาเพื่อต้องการทำงานให้บ้านเมือง ถ้าประชาชนไม่ต้องการผมก็พร้อมที่จะไปจากตำแหน่งนี้" 

 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, 31 ม.ค.61
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 
ที่มา : 'ประวิตร' บอกถ้าประชาชนไม่ต้องการ ตนก็พร้อมที่จะไปจากตำแหน่งนี้ https://prachatai.org/journal/2018/01/75204


กองหนุนลดรบ.ขาลง


(30/1/61)

กองหนุน ลด
รัฐบาล ขาลง

"บิ๊กตู่" ยอมรับ รัฐบาล "ขาลง" ชี้ ทุกคนอยากจะมีการเปลี่ยนแปลง เพราะผ่านมา 3 ปีแล้ว ...ยัน ไม่ได้ทำเพื่อสืบทอดอำนาจ. ไม่เห็นได้ประโยชน์อะไรจากการเลื่อนเลือกตั้ง

พลเอกประยุทธ์  กล่าวตอบคำถาม ถึงความรู้สึกที่ถูกมองว่ารัฐบาลอยู่ในช่วงขาลง ว่า ผมเข้าใจประเด็น แต่อย่างที่บอกระยะเวลาการทำงานของเรา อาจจะมีความขัดแย้งสูง อาจจะมีคนได้ประโยชน์เสียประโยชน์ อะไรก็แล้วแต่ 

"ทุกคนอยากจะมีการเปลี่ยนแปลงเพราะผ่านมา 3 ปีแล้ว"

ก็ต้องไปดูกลุ่มไหนที่เดือดร้อน และเป็นตัวตั้งตัวดีในเรื่องเหล่านี้ สื่อคงหาเจออยู่แล้ว ผมคงไม่ไปขัดแย้งด้วย

“เรามุ่งมั่นที่จะทำงานดูแลประชาชนทั้งหมด นโยบายต่างๆในช่วงปีนี้  อย่ามองว่ารัฐบาลนี้ทำเพื่อสืบทอดอำนาจ มันเป็นการทำงานต่อเนื่อง จากปีที่1-2-3ตามโรดแมพของผม 

เพราะฉะนั้นในขั้นตอนนี้ปีนี้ ก็เป็นปีสุดท้ายตามโรดแม็พ คือทำงานที่มีโครงการไทยนิยมยั่งยืนลงไป 

คำว่าไทยนิยมคือ นิยมความดี ความงาม นั่นคือ ความหมายไทยนิยมของผม ในทุกๆ เรื่อง เพราะความดีความงาม เป็นเรื่องของคนไทยทุกคนที่จะมุ่งมั่นในการทำความดีเพื่อประเทศชาติ ให้บุตรหลานตัวเองในอนาคต 

รัฐบาลนี้มุ่งหวังเพียงวางพื้นฐาน รากฐานของประเทศไว้ให้ สุดแล้วแต่รัฐบาลต่อไป จะดำเนินการอย่างไรต่อ

แต่ผมยังไม่เห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการเลื่อน ไม่เลื่อนตรงนี้เลย และผมก็ยืนยันโรดแม็พเดิมที่กำหนดไว้ หากไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นในเรื่องของกระบวนการทางกฎหมายมันก็เป็นไปตามนั้น ผมไม่ก้าวล่วงใครทั้งสิ้น ขอให้พิจารณา 

บางเรื่องถ้าไม่ตรงความต้องการของคนบางกลุ่มบางฝ่ายก็ไม่ค่อยพอใจ อยากให้ใช้มาตรา 44 อันไหนที่ตัวเองไม่ได้ประโยชน์ก็หาว่าไปละเมิดคนนู้นคนนี่ สรุปไม่มีความพอใจเท่าที่ควรจะเป็น” นายกฯ กล่าว

ถนนไทยนิยมยั่งยืน

ถนน "ไทยนิยม ยั่งยืน”

(30/1/61)ทหารพัฒนา สนองนโยบาย"บิ๊กตู่" ใช้ ยางพารา สร้างถนน สระน้ำ  ช่วยราคายาง พร้อม เชื่อมเส้นทาง ท่องเที่ยว ดอยหล่อ -ผาช่อ  เชียงใหม่

"บิ๊กอ๋อย" พล.อ.ธงชัย สาระสุข ผบ.นทพ. เดินทางขึ้นเหนือ ส่งมอบโครงการให้ ชาวดอยหล่อ จ. เชียงใหม่ โดยมี พล.ต.อภิสิทธิ์ นุชบุษบา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 3 และ  นายอรุณ ศรีใส นายอำเภอดอยหล่อ ต้อนรับ

พล.อ.ธงชัย ส่งมอบโครงการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม ผิวจราจรลาดยาง ที่มีส่วนผสมของยางพารา และโครงการขุดสระเก็บน้ำพร้อมปูสระ ด้วยยางพาราและโครงการก่อสร้างทางผิวจราจรลูกรัง รวมทั้งสิ้น จำนวน 12 โครงการ 

ซึ่งจะมีชุมชนได้รับประโยชน์ จำนวน 37 หมู่บ้าน 6,985 ครัวเรือน รวมราษฏรได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น 13,946 คน 
     
ทั้งนี้โครงการนี้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ในการพัฒนาประเทศ ตามโครงการ”ไทยนิยม ยั่งยืน” และยังสามารถช่วยแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ 
    
เพื่อให้ราษฏรในพื้นที่ อ.ดอยหล่อ มีเส้นทางใช้สำหรับการสัญจรได้สะดวก ปลอดภัย และสามารถใช้ขนส่งผลผลิตทางการเกษตร และเชื่อมไปยัง “ผาช่อ” ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 

สำหรับโครงการขุดสระเก็บน้ำ ก็จะทำให้สามารถกักเก็บน้ำเพื่อใช้อุปโภค บริโภค และการเกษตร ได้ตลอดทั้งปี

เข้ม/แรงเสียดทาน

แรงเสียดทาน

"บิ๊กป้อม" ชี้ อยู่มากว่า 3 ปี แรงเสียดทานเยอะ  ยันสร้างสงบ ลดแตกแยก แบ่งสี ประคับประคองชาติ ย้ำซื้อสัตย์สุจริต ยัน กองทัพ สนับสนุนรัฐบาล ยัน บิ๊กตู่ ลงพื้นที่  ไม่ได้ไปหาเสียง  แต่ไปสร้างการรับรู้

พลเอกประวิตร  วงษ์สุวรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง. และ รมว.กลาโหม. กล่าวว่า กลาโหม เราดูแลแก้ปัญหาความมั่นคง และ ทำให้รัฐบาล มั่นคง ประเทศ ชาติ มั่นคง  เราทำทุกเริ่อง

สำคัญที่สุด  คือ ทำบ้านเมืองให้ สงบ จะเห็นได้ว่า ไม่มีอะไรเลย ที่ทำให้เกิดบั่นทอน แตกแยกขึ้น

รวมทั้งการทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และทำให้ปชช.รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน อยู่ร่วมกันอย่างสันติ  ไม่มีแบ่งสี จะเห็นว่า เราทำงานด้วยความยากลำบาก

เราพยายามร่วมกันมา ประคับประคอง และคลี่คลาย ความขัดแย้งของบ้านเมือง รักษาเสถียรภาพ ความมั่นคงของประเทศ ให้ได้

แต่ยอมรับว่า. มีความยากลำบสก และมีแรงเสียดทาน เพราะมีคนจำพวกหนึ่งที่พยายาม จะกล่าวหารัฐบาล ว่า ทำงานไม่ได้ผล  ไม่สมความมุ่งหมายของ ปชช ทำเพื้อปชช.โดยแท้

ในช่วง3ปีกว่า เราสนับสนุน รัฐบาล 3ปี 8เดือน เราทุ่มเท กว่า3 ปี ที่ ผ่านมา แรงเสียดทาน ที่มีอยู่ตอนนี้ เราพยายามต่อสู้ต่อไป ให้เป็นไปตามกม.ระเบียบทุกอย่าง ไม่มีนอกรูปนอกรอย

กองทัพ มีจุตยืน ในการเป็นกลไกรัฐบาล แะเป็นแกนหลักความม้่นคง เคียงข้าง ปชช ส่วนรวม กองทัพ อยู่ ข้าง ปชช.ตลอด

เราต้องรักษาประเทศชาติ เอาไว้ให้ได้ และทำให้เกิดความสงบ

"เราเข้ามา  คสช.ตั้งใจมา  ทำงานให้ประเทศ เดินหน้าต่อให้สงบ

พร้อมกล่าวถึง การที่ พลเอกประยุทธ์  นายกฯ ลงพื้นที่  ก็ไม่ได้ไปหาเสียง  แต่ไปสร้างการรับรู้ ว่าอะไรไม่ถึงรากหญ้า  เพราะนายกฯไม่ได้ลงรับสมัครเลือกตั้ง ขออย่าไปเล่นด้านการเมือง

ศาล ปค.สูงสุดสั่ง สตช.ชดใช้ 254 พันธมิตรฯรายละ 7 พัน - 4 ล้าน ชี้สลายชุมนุมมิชอบ

ศาล ปค.สูงสุดสั่ง สตช.ชดใช้ 254 พันธมิตรฯรายละ 7 พัน - 4 ล้าน ชี้สลายชุมนุมมิชอบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ศาล ปค.สูงสุดสั่ง สตช.ชดใช้ 254 พันธมิตรฯรายละ 7 พัน - 4 ล้าน ชี้สลายชุมนุมมิชอบ
ศาล ปค. สูงสุดสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหาย 254 ผู้ชุมนุม พธม. ตั้งแต่รายละ 7 พันบาท ถึงรายละ 4 ล้านบาท รวม 26.2 ล้านบาทจากเหตุสลายการชุมนุมหน้ารัฐสภา 7 ต.ค. 51 ชี้ ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ใช้แก๊สน้ำตาไม่มีคุณภาพ ยิงแนวตรงขนานพื้นไม่ถูกต้องตามหลักสากล ทนายชี้ สตช. ต้องจ่ายภายใน 60 วัน และเป็นคำสั่งถึงที่สุด ด้าน “ตี๋ - ชิงชัย” ดีใจศาลให้ความยุติธรรม เผยพร้อมออกมาต่อสู้อีกหากพบการบริหารบ้านเมืองไม่ถูกต้อง 
       
       วันนี้ (31 ม.ค.) ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ นายชิงชัย อุดมเจริญกิจจและ นายกร เอี่ยมอิทธิพล กับพวกรวม 254 คน กรณีได้รับบาดเจ็บเสียหาย จากเหตุ สตช. เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณรอบรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 โดยให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแต่ละรายจำนวนตั้งแต่ 7,120 บาท ถึง 4,152,771.84 บาท พร้อมดอกเบี้ย โดยศาลปกครองสูงสุด เห็นว่า ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงปรากฏว่า การกระทำของผู้ชุมนุมเป็นการกระทำเพื่อขัดขวางไม่ให้นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเข้าแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ไม่ใช่การก่ออาชญากรรมโดยแท้ จึงไม่อาจปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมทั้งหมดด้วยวิธีการเดียวกับการจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ แต่หากการชุมนุมเป็นไปโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทำให้ผู้อื่นเกิดความเกรงกลัว สตช. และสำนักนายกรัฐมนตรี ย่อมมีอำนาจหน้าที่ระงับยับยั้งได้ โดยต้องปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมตามกฎหมายระเบียบ และขั้นตอนวิธีการที่เหมาะสม ไม่ว่าการชุมนุมจะเป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
       

       
       อีกทั้งหลังเกิดเหตุ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงซึ่งรับฟังได้เป็นที่ยุติตามที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายไม่โต้เถียงกันว่า ก่อนการใช้แก๊สน้ำตาเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ใช้รถดับเพลิงฉีดน้ำตามขั้นตอนที่กำหนดไว้แต่อย่างใด โดยพยานให้ถ้อยคำว่าได้ประสานขอรถดับเพลิงไปยังกรุงเทพมหานครแล้ว แต่ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องใช้แก๊สน้ำตา โดยปรากฏว่า ได้มีการขอรถไฟฟ้าส่องแสงสว่างและรถดับเพลิงไปยังกรุงเทพมหานครตามหนังสือวันที่ 19 ก.ย. 51 แต่ไม่มีการเร่งรัดใดๆ และมีหนังสืออีกครั้งหนึ่งตามหนังสือลงวันที่ 7 ต.ค. 51 ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุ ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทราบก่อนหน้านั้นแล้วว่าจะมีการชุมนุมที่บริเวณหน้ารัฐสภาและเป็นการขอรถดับเพลิงหลังจากผู้ชุมนุมได้เคลื่อนมวลชนมาที่บริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 6 ต.ค. แล้ว ถึงแม้ สตช. และสำนักนายกฯ ทั้งสองจะอ้างว่ามีการกระทำความผิดต่อกฎหมายและมีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บจำนวนมากและอ้างส่งสำนวนการสอบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้นในวันดังกล่าวจำนวนหลายคดี แต่ก็ปรากฏตามสำนวนการสอบสวนดังกล่าวว่าเป็นการกระทำหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมเป็นครั้งแรกเวลา 06.00 น. ทั้งสิ้น อีกทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีและผู้ร้องสอดแต่ละรายเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าว และข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีผู้ชุมนุมได้รับอันตรายแก่ชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ในระยะเวลาแตกต่างกันหลายครั้งหลายสถานที่ตั้งแต่เริ่มมีการสลายการชุมนุมเมื่อเวลาประมาณ 06.00 น. เศษ ไม่ใช่ได้รับบาดเจ็บในช่วงเวลาเดียวกัน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ากรณีดังกล่าวเกิดจากวัตถุระเบิดที่ตนพกพามา
       
       ดังนั้น เมื่อไม่มีปัญหาโต้แย้งและพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าพยานบุคคลและพยานหลักฐานที่ปรากฏเป็นพยานหลักฐานเท็จหรือเกิดจากการปรุงแต่งหรือดำเนินการไปโดยกลั่นแกล้งผู้หนึ่งผู้ใด ศาลจึงสามารถรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ ส่วนการดำเนินการขององค์กรอื่นๆ และสำนวนการสอบสวนคดีอาญานั้น ศาลมีอำนาจพิจารณาเปรียบเทียบกับพยานหลักฐานอื่นๆ และสามารถใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานว่าพยานหลักฐานใดรับฟังได้พยานหลักฐานใดรับฟังไม่ได้เพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัยคดี ซึ่งถึงแม้การให้ถ้อยคำของฝ่ายผู้ชุมนุมที่ได้รับความเสียหาย และพยานบางรายที่ยืนยันการกระทำที่ไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งศาลต้องระมัดระวังในการรับฟัง แต่มีกลุ่มสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย หรือเป็นปฏิปักษ์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ให้ถ้อยคำที่สอดคล้องกับผู้ชุมนุม ซึ่งพยานทั้งหมดได้ให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการของกสม.ในช่วงเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งเป็นเวลาใกล้ชิดกับวันเกิดเหตุที่ยังจดจำเหตุการณ์ได้ จึงฟังได้ว่าเป็นการให้ถ้อยคำตามความเป็นจริงไม่มีการเสริมแต่งข้อเท็จจริงใดๆ
       
       

       
       นอกจากนี้ ยังมีการให้ถ้อยคำของกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมายืนยันในความไม่เหมาะสมในวิธีการสลายการชุมนุมและการใช้แก๊สน้ำตาอีกด้วย พยานหลักฐานดังกล่าวจึงมีน้ำหนักมั่นคงให้รับฟังได้ว่า การปฏิบัติหน้าที่ของสตช.มีข้อบกพร่องในขั้นตอนการเตรียมการหารถดับเพลิงมาใช้ในการสลายการชุมนุมและมีข้อบกพร่องในวิธีการยิงแก๊สน้ำตา โดยยิงในแนวตรงขนานกับพื้นซึ่งไม่เป็นไปตามวิธีการที่ถูกต้องที่ต้องยิงเป็นวิถีโค้ง ประกอบกับแก๊สน้ำตาที่นำมาใช้เป็นแก๊สน้ำตาที่ซื้อมาเป็นเวลานานจึงมีประสิทธิภาพต่ำ จึงต้องใช้แก๊สน้ำตาจำนวนมากเกินกว่าที่จะใช้โดยปกติทั่วไป ทำให้เกิดความปั่นป่วนชุลมุนเกิดความเสียหายต่อผู้ชุมนุมมากเกินกว่าผลตามปกติที่เกิดจากการใช้แก๊สน้ำตาที่มีประสิทธิภาพดีและยิงโดยวิธีการที่ถูกต้อง และยังส่งผลเสียหายไปถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่มาช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งไม่ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติจะรู้ถึงข้อบกพร่องของขั้นตอนในการเตรียมการหารถดับเพลิงมาใช้กับผู้ชุมนุมก่อนการใช้แก๊สน้ำตาและข้อบกพร่องในประสิทธิภาพของแก๊สน้ำตาที่ทำให้ต้องยิงแก๊สน้ำตาเป็นจำนวนมากหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อบกพร่องดังกล่าวส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของนายชิงชัยกับพวก แต่ละรายจึงเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่ชีวิตร่างกายสิทธิและเสรีภาพจึงเป็นการกระทำละเมิดตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สตช.จึงต้องรับผิดต่อผู้ได้รับความเสียหาย
       
       ส่วน สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า แม้นายกฯ จะเป็นหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง และการกระทำละเมิดดังกล่าวจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากมติคณะรัฐมนตรีที่ให้มีการจัดประชุมแถลงนโยบายที่รัฐสภา แต่มติดังกล่าวก็เป็นไปตามปกติเพื่อให้การแถลงนโยบายของรัฐบาลดำเนินการไปได้เท่านั้น หน่วยงานที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง คือสตช. สมควรติดตามสถานการณ์และเตรียมการเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหา หากจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกำหนดนัดหรือสถานที่ประชุมทางรัฐสภาคงต้องปรึกษาหารือกันแล้วแจ้งคณะรัฐมนตรีทราบ และมีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีติดตามตรวจสอบสถานการณ์และกำกับดูแลการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยประสานสั่งการ สตช. หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจึงไม่ได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการในการสลายการชุมนุมแต่อย่างใด การกำหนดขั้นตอนวิธีการในการสลายการชุมนุมเพื่อเปิดทางให้มีการประชุมแถลงนโยบายึงอยู่ภายใต้ำนาของสตช. อีกทั้งเมื่อเริ่มประชุมแล้วเกิดความเสียหายย่อมเป็นอำนาจประธานรัฐสภาที่จะสั่งปิดกาปรระชุมเพื่อยุติเหตุการณ์ ดังนั้นนายกฯและสำนักนายกรัฐมนตรีจึงไม่ได้กระทำละเมิด
       
       อย่างไรก็ตาม กรณีสืบเนื่องจากการชุมนุมบางส่วนมีลักษณะทำให้ผู้อื่นเกรงลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายเสรีภาพและทรัพย์สินซึ่งเป็นหน้าที่ของ สตช. ที่ต้องระงับยับยั้งการกระทำดังกล่าว เมื่อพิจารณาพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งกากรระทำละเมิดแล้วเห็นว่าค่าเสียหายที่ศาลปกครองชั้นต้นกำหนดตั้งแต่ 8 พันบาทเศษ ถึง 5 ล้านบาทเศษ สูงเกินส่วน สมควรลดค่าเสียหายลงร้อยละ 20 จึงมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้สตช.ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่นายชิงชัยกับพวกแต่ละรายจำนวนตั้งแต่ 7,120 - 4,152,771.84 บาท พร้อมดอกเบี้ย และยกฟ้องสำนักนายกรัฐมนตรี
       
       ด้าน นายตี๋ แซ่เตียว หนึ่งในผู้ฟ้องคดี กล่าวว่า วันนี้พอใจมากที่ศาลให้ความยุติธรรม เพราะที่ผ่านมาชีวิตการครองตัวลำบากมาก ไม่สามารถประกอบอาชีพอะไรได้ เนื่องจากยังมีการอาการเจ็บป่วยทางร่างกายซึ่งเป็นผลกระทบจากการสลายการชุมนุมฯทำให้ภรรยาต้องประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวเพียงคนเดียว อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้ทำให้ตนรู้สึกกลัวและไม่กล้าที่จะไปชุมนุมทางการเมืองอีก หากอนาคตการบริหารบ้านเมืองเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ก็จะออกมาต่อสู้อีก
       
       ส่วน นายชิงชัย กล่าวยอมรับคำพิพากษา แม้ว่าค่าสินไหมที่ได้รับเทียบไม่ได้กับสิ่งที่สูญเสียไป ทุกวันสภาพร่างกายยังไม่ปกติ ต้องไปพบแพทย์ตรวจติดตามเป็นระยะะ และไม่ได้รู้สึกกลัวกับการชุมนุม หากเห็นว่ามีการบริหารบ้านเมืองที่ไม่ถูกต้องก็จะไปร่วมเคลื่อนไหวอีก
       
       ส่วน นายบุญธานี กิตติสินโยธิน ทนายความ กล่าวว่า หลังจากนี้ ทาง สตช. ก็ต้องชดใช้ให้กับผู้เสียหายตามคำพิพากษาภายใน 60 วัน ซึ่งที่ศาลยกฟ้องในส่วนของสำนักนายกรัฐมนตรีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ทางผู้เสียหายก็คงต้องยอมรับเพราะเป็นคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดแล้ว

วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

'วีระ'ท้าทายคสช.ลั่น'กูไม่กลัวมึง'

'วีระ'ท้าทายคสช.ลั่น'กูไม่กลัวมึง'
30 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 13:49 น.
30ม.ค.61- นายวีระ สมความคิด ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน และเลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) ซึ่งร่วมเคลื่อนไหวที่ลานสกายวอล์ค แยกปทุมวัน ร่วมกับ กลุ่มนายรังสิมันต์ โรม แกนนำกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิวส์ แกนนำกลุ่มฯ และนายสมบัติ บุญวามอนงค์ หรือบ.ก.ลายจุด เมื่อเย็นวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Veera Somkwamkid อีกครั้ง โดยระบุข้อความว่า
....ตอนคุณยึดอำนาจ คุณเคยถามประชาชนก่อนไหม?
คุณยึดอำนาจแล้วคุณสัญญาอะไรกับประชาชนบ้าง
คุณได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้สำเร็จสักเรื่องหนึ่งไหม?
คุณมันก็แค่ผู้ที่ไม่เคยทำอะไรตามที่ให้สัญญาไว้เลย
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ใครเขาจะเลือกคุณ
อยากอยู่ในอำนาจต่อจนไม่เห็นหัวประชาชน
คุณคิดว่าประชาชนเขาจะยอมอดทนได้อีกหรือ?
คุณอย่ากดขี่ข่มเหงจนประชาชนหมดความอดทน
ขอยืมคำของม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช "กูไม่กลัวมึง"

ฟังนายกฯ พูดเอง ยอมรับรัฐบาลขาลง วอนเห็นใจ

ฟังนายกฯ พูดเอง ยอมรับรัฐบาลขาลง วอนเห็นใจ


ออกจากปากเองเป็นครั้งแรก บิ๊กตู่ยอมรับรัฐบาลเป็นช่วงขาลง ออกตัวเป็นเรื่องปกติทำงานมา 3 ปี มีปัญหาเพิ่ม วอนขอให้เห็นใจ อย่าโยงทุกประเด็น...

เมื่อวันที่ 30 ม.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ว่า ขอเห็นใจรัฐบาล คสช. ทำงานเต็มที่ อย่าโยงทุกประเด็นกระทบการทำงาน ทั้งนี้ ขอเวลาวางรากฐานประเทศ จะมากหรือน้อยให้เป็นไปตามกฎหมาย

นายกฯ และหัวหน้า คสช. กล่าวต่อว่า ยอมรับรัฐบาลเป็นช่วงขาลง แต่เป็นเรื่องปกติของรัฐบาลทำงานมา 3 ปี มีปัญหาเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ได้สั่งชะลอก่อสร้างโรงไฟฟ้าเทพาแล้ว โดยให้กระทรวงพลังงานไปดูแนวทางแก้ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าเฉพาะหน้า.

กระเทือนซาง

กระเทือนซาง


เมืองไทยมีสำนักสำรวจ ความเห็นประชาชน หรือสำนักโพลระดับชาติที่มีชื่อ เสียงคุ้นหูติดปากต่อเนื่องมานับสิบปี อยู่ 3 เจ้าด้วยกัน

1, “สวนดุสิตโพล” 2, กรุงเทพโพลล์ และ 3, นิด้าโพล

โดยปกติแต่ละสำนักโพลเขาจะจับประเด็นฮอตฮิตที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นไปสอบถามความเห็นประชาชนกลุ่มตัวอย่างแล้วนำไปสรุปเผยแพร่เป็นประจำเกือบทุกสัปดาห์

ผลโพลแต่ละประเด็นจะสะท้อนความคิดเห็นประชาชนส่วนใหญ่ได้มากน้อยอย่างไรก็เป็นเรื่องของโพล
เพราะการทำโพลเป็นการสุ่ม ตัวอย่างจากคนแค่พันกว่าคน หรือสองพันคนเท่านั้นเอง

“แม่ลูกจันทร์” กราบเรียนว่าสองวันที่ผ่านมามันเกิดประเด็นร้อนซ้อนประเด็นโพลกลายเป็นกระแสวิจารณ์กันแซ่ดทั่วบ้านทั่วเมือง

เมื่อ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ผู้อำนวยการนิด้าโพลของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เกิดอาการฟิวส์ขาด ประกาศยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากโดนสั่งเบรกผลสำรวจความคิดเห็น ประชาชนล่าสุดเกี่ยวกับประเด็น...นาฬิกา

ดร.อานนท์ ประกาศว่าเสรีภาพทางวิชาการ และการให้เกียรติกันสำคัญ ที่สุดสำหรับผม แม้ไม่มีตำแหน่ง (ผอ.นิด้าโพล) ผมก็มีที่ยืนในสังคมได้ เพราะยืนอยู่บนความถูกต้อง ความกล้าหาญทางวิชาการ เสรีภาพทางวิชาการและความ กล้าหาญทางจริยธรรม หากไม่สามารถดำรงสิ่งเหล่านี้ไว้ได้ก็ไม่มีเหตุผลที่จะอยู่ในตำแหน่ง ผอ.นิด้าโพลต่อไป

ดร.อานนท์ ยอมรับตามตรงว่า “ผมสนับสนุนรัฐประหาร และสนับสนุนรัฐบาล คสช. แต่ถ้าสิ่งใดไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ผมก็ไม่จำเป็นต้อง... เลียท็อปบูตนะครับ”

ถือเป็นการประกาศลาออกจาก ผอ.นิด้าโพล ที่รุนแรงทะลวงไส้ยิ่งนักแล

“แม่ลูกจันทร์” จึงต้องย้อนไปดูผลสำรวจความเห็นประชาชนของ “นิด้าโพล” ก่อนหน้านี้ว่าเป็นเรื่องใด??

ปรากฏว่า “นิด้าโพล” สอบถามประชาชนทั่วประเทศ 1,250 คน ประเด็นความเชื่อมั่นต่อการตรวจสอบรัฐบาล คสช. ของ ป.ป.ช.

มีคำถามน่าสนใจถามความเห็นประชาชนว่า มีความไม่ปกติหรือไม่โปร่งใสในรัฐบาลหรือไม่??

ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 76.32 ระบุว่ามีความไม่ปกติไม่โปร่งใสในรัฐบาล

แต่ประชาชนอีก 16.64 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าโปร่งใสดี

และประชาชนอีก 7.04 เปอร์เซ็นต์ แทงกั๊กว่าไม่แน่ใจ

อนึ่ง กรณีการลาออกของ ผอ.นิด้าโพล ทำให้ “แม่ลูกจันทร์” ต้องย้อนไปสำรวจผลโพลสำนักอื่นล่าสุดมาเทียบเคียง

กรุงเทพโพลล์ ล่าสุด สอบถามความเห็นประชาชนทั่วประเทศ 1,114 คน ว่าคิดอย่างไรระหว่าง “นายกฯคนนอก” กับ “นายกฯคนใน”

ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ 70.6 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่านายกฯคนใหม่ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ส่วนประชาชนอีก 29.4 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าหากเลือกคนในไม่ได้ก็ต้องเอา “คนนอก” เป็นนายกรัฐมนตรี
ทีนี้มาถึง “สวนดุสิตโพล” ล่าสุด ตั้งประเด็นถามความเห็นประชาชนทั่วประเทศ 1,250 คน คิดอย่างไรที่ต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีก 90 วัน??

อันดับหนึ่ง ประชาชน 48.27 เปอร์เซ็นต์ อยากให้เลือกตั้งเร็วๆ
อันดับสอง ประชาชน 27.81 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าถ้าเลื่อนเลือกตั้งแล้วส่งผลดีก็ยอมรับได้เหมือนกัน
อันดับสาม ประชาชน 26.07 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าการเลื่อนเลือกตั้งอีก 90 วัน กระทบภาพลักษณ์ประเทศ และเป็นการสืบทอดอำนาจ คสช.

สรุปว่ามี นิด้าโพลเจ้าเดียว... ที่ถามประชาชนเรื่อง...นาฬิกา.

"แม่ลูกจันทร์"

สำคัญสุดตรงปากท้อง

สำคัญสุดตรงปากท้อง


จะว่าไปเรื่องนาฬิกาหรูมันเตลิดไปไหนต่อไหนแล้ว แนวโน้มผล “นิด้าโพล” ที่ออกมาก็คงไม่ได้ทำให้ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม กระแสย่ำแย่ไปกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้
แต่เจอปมเบรกโพลต่างหาก มันยิ่งทำให้ “ลุงป้อม” สะเทือนหนักเข้าไปอีก

นี่แหละที่น่าเอะใจ เกมลึกที่แฝงอยู่มันไม่ธรรมดา

เอาเป็นว่า ผอ.นิด้าโพลคนนี้เพิ่งเข้ารับตำแหน่งได้ 2 สัปดาห์ ก่อนหน้านั้นก็เห็นชื่อเป็นคอลัมนิสต์ประจำอยู่สื่อออนไลน์ที่เจ้าของเป็นไม้เบื่อไม้เมากับ “บิ๊กป้อม” ในคดีลอบสังหารหัวขบวนม็อบพันธมิตรฯ

มันคิดกันได้หลายแง่หลายมุม กับเครือข่าย “นิด้า” ที่โยงอยู่กับขั้วอำนาจหลายสาย

ที่แน่ๆ “พี่ใหญ่” โดนเร่งเกม “เผด็จศึก” หนักขึ้นทุกขณะ

และถึงนาทีนี้ มันลามถึงทีมงานทหาร คสช.ทำอะไรก็ผิดหมด

ตามเงื่อนไขสถานการณ์ต้อนเข้ามุมติดล็อก ตัว “บิ๊กป้อม” จะถอยออกตอนนี้ก็ยากแล้ว เพราะนั่นหมายถึงการยอมรับสภาพมอมแมมตามที่โดนกล่าวหาโจมตี เช่นเดียวกัน “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ หัวหน้า คสช. จะปรับเอา “พี่ใหญ่” ออกก็ไม่ได้ จะกลายเป็นลงดาบซ้ำ ฆ่า “บิ๊กป้อม” ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด

แถมในจังหวะสถานการณ์ที่มาผนวกพร้อมกันทั้งปมเลื่อนเลือกตั้ง ปมนาฬิกา ยังมาเจอ “นิด้าโพล”
เข้าเหลี่ยมนักการเมืองสบช่อง “ขุดทอง” ทุกวัน

เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ช่วยกันเตะตัดขา “ลุงตู่” กะเอาให้พับฐาน

ก็เหลือแค่ “ขาค้ำยัน” ทางด้านเศรษฐกิจภายใต้การกำกับของ “จอมยุทธ์กวง” นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ กัปตันทีมเศรษฐกิจ ที่ยังยืนหยัดอยู่ได้

แถมยังแข็งแรงขึ้นตามข้อมูลล่าสุดประเทศไทยคว้าอันดับ 1 ประเทศที่เหมาะเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดในโลก จากการสำรวจของเว็บไซต์ U.S.News & World Report

เศรษฐกิจประคองการเมือง แรงกระแทกหนักๆยัง “เอาอยู่”

ตามรูปการณ์ งานช้างของ “ลุงตู่” ยามนี้ มันอยู่ที่ปัญหาการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ที่ยื้อยุดฉุดกระชากไม่จบง่ายๆ แบบที่ฝั่งนายจ้างโวยรัฐบาลให้เกินจากที่ตกลงกันไว้ ทำให้กระทบอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี ขณะที่ฝ่ายลูกจ้างก็ยืนกรานว่ารัฐบาลขึ้นให้น้อยไป ไม่พอประทังชีวิตประจำวัน ขู่ปลุกม็อบกดดัน

นายกฯต้องเคลียร์ให้พบกันครึ่งทาง ก่อนพังทั้งระบบ

เช่นเดียวกับนายสมคิด ก็ออกโรงยืนยันงานนี้ไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องความเป็นธรรมในสังคม

เพราะลูกจ้างไม่ได้ขึ้นค่าแรงมาหลายปีแล้ว และถ้าลูกจ้างมีรายได้มากขึ้น ก็มีอำนาจในการซื้อมากขึ้น ในที่สุดก็กลับมาที่พ่อค้า เจ้าของธุรกิจขายของได้มากขึ้น

“เฮียกวง” ก็ออกแรงโน้มน้าวให้เห็นผลดีกับเศรษฐกิจภาพรวม

และยังมีข้อมูลสนับสนุนจากนายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดผลสำรวจของ สสว. สรุปการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกระทบต้นทุนค่าแรงงานเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.54 ต้นทุนสินค้าขยับแค่ร้อยละ 0.05

นั่นหมายถึง อยู่ในระดับที่เอสเอ็มอียอมรับได้

สสว.สะท้อนตัวเลขอย่างเป็นทางการหักล้างเสียงวิจารณ์ลอยๆของพวกจ้องปั่นกระแส

ภายใต้เงื่อนไขสถานการณ์ที่นักการเมืองจ้องผสมโรงอยู่

งานนี้ถ้ารัฐบาลยอมลดตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำตามแรงบีบของนายจ้าง ม็อบเกิดแน่

แต่ถ้ารัฐบาลเลือกไม่ยอมตามนายจ้างก็อาจมีเสียงโวยบ้าง ซึ่งมันก็ยังมีมาตรการช่วยเหลือของกระทรวงอุตสาหกรรมกับกระทรวงการคลังอย่างที่นายสมคิดได้สั่งให้กรมสรรพากรเข้าช่วยเอสเอ็มอี โดยให้หักลดหย่อนภาษีเป็นพิเศษ 1.15 เท่า น่าจะช่วยลดเสียงโวยนายจ้างให้เบาลง

สรุปฟันธง รัฐบาลต้องเอียงไปทางฝั่งลูกจ้างมากกว่า

ตามยุทธศาสตร์ที่อิงอยู่กับประชาชนฐานราก ภายใต้โหมดการแก้ปัญหาให้ผู้มีรายได้น้อยพ้นขีดเส้นความยากจนในปี 2561

เหนืออื่นใด มันเป็นอะไรที่วัดได้จาก “สวนดุสิตโพล” สะท้อนข่าวที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ข่าวการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นอันดับหนึ่ง สูงกว่าประเด็นร้อนเรื่องนาฬิกาหรู

นั่นหมายถึง คนสนใจเรื่องปากท้องมาก่อนกระแสอื่นใด ไม่สนใจอะไรมากกว่าผลประโยชน์ใกล้ตัว

“ลุงตู่” กับ “สมคิด” คุมภาวะปากท้องได้ ก็เบาไปหลายเปลาะ.

ทีมข่าวการเมือง

คสช. แจ้งจับ 7 แกนนำผู้ชุมนุม ‘คนเรียกร้องเลือกตั้ง’

คสช. แจ้งจับ 7 แกนนำผู้ชุมนุม ‘คนเรียกร้องเลือกตั้ง’
.
พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ หัวหน้าส่วนปฏิบัติการคณะทำงานด้านกฎหมายส่วนงานการรักษาความสงบแห่งชาติ ผคสช.) เดินทางไปแจ้งความร้องทุกข์ที่ สน.ปทุมวัน ต่อ 7 นักศึกษา-นักกิจกรรม ที่จัดชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้ง และคัดค้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. บริเวณสกายวอล์ก แยกปทุมวัน เมื่อวันเสาร์ที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา ระหว่างเวลา 17.30 - 19.00 น. ประกอบด้วย
1. นายรังสิมันต์ โรม
2. นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์
3. น.ส.ณัฎฐา มหัทธนา
4. นายอานนท์ นำภา
5. นายเอกชัย หงส์กังวาน
6. นายสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ
7. นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล
.
ข้อกล่าวหาที่ตัวแทน คสช. มาแจ้งความในครั้งนี้ ได้แก่ (1) การฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ที่ห้ามชุมนุมตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ (2) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี
.
การชุมนุมดังกล่าว เกิดขึ้นภายหลังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติแก้ไขกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. เลื่อนวันเลือกตั้งออกจากเดิมซึ่งต้องไม่เกินเดือนพฤศจิกายนของปี 2561 ไปอีก 90 วัน ขณะที่วานนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ให้สัมภาษณ์ที่โรงเรียนเตรียมทหาร จ.นครนายก ปฏิเสธว่า ‘ไม่ใช่ผู้เลื่อนเลือกตั้ง’ ทั้งๆ ที่ มติของ สนช. ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะเจ้าตัวใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 เลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ซึ่งเดือนต้องเริ่มในเดือนตุลาคมของปี 2560 ออกไปอีกครึ่งปี
.
แต่แม้จะมีผู้ถูกแจ้งจับแล้ว ทางกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group ก็ยังยืนยันที่จะชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง ในวันที่ 10 กุมภาพันธุ์นี้ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ศึกยังไม่จบ

"ผมก็เป็นทหารผ่านศึก แต่ศึกยังไม่จบ และศึกหนักเหลือเกิน" บิ๊กตู่ เผย ทหารถูกสอนให้ทำเพื่อคนอื่น

พลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี กล่าว กับคณะมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก ว่า ผมก็เป็นทหารผ่านศึก แต่ศึกยังไม่จบ และศึกหนักเหลือเกิน 

ก่อนขอบคุณมูลนิธิที่ช่วยเหลือและทำประโยชน์เพื่อประเทศ ขณะเดียวกันสั่งต่อยอดงานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ได้จริง ยืนยันรัฐบาลสนับสนุนงบฯในการวิจัย 

ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ประธานกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก นำคณะเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อติดดอกป๊อบปี้สีแดง ประชาสัมพันธ์สนับสนุนมูลนิธิครอบครัวทหารผ่านศึก เนื่องในวันทหารผ่านศึก 3 กุมภาพันธ์นี้ 

ซึ่งนายกฯได้ขอบคุณคณะกรรมการมูลนิธิที่ช่วยเหลือครอบครัวของทหารผ่านศึก ซึ่งปัจจุบันการช่วยเหลือทหารอาจจะไม่ได้มาจากสนามรบแล้ว เนื่องจากขณะนี้เป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่นการป้องกันชายแดน และความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นจึงขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ทำงานเพื่อประเทศชาติ 

วานนี้มีโอกาสเดินทางไปมอบโอวาทเนื่องในวันสถาปนาโรงเรียนเตรียมทหาร ว่าผู้บังคับบัญชาสอนให้ทำเพื่อคนอื่น โดยบางทีลืมนึกถึงความปลอดภัยของตัวเอง จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องทำหน้าที่ ทำงานเพื่อประเทศชาติ 

"ผมเองก็เป็นทหารผ่านศึกเช่นกัน แต่ศึกยังไม่จบ ศึกหนักเหลือเกิน ” ก่อนที่จะเดินขึ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี

ขอต่อเวลาอีกไม่นาน

หลัง ถูก ทวงสัญญา??!!

"นายกฯบิ๊กตู่" ติง อย่าร้องเพลงคสช. แต่ ท่อนที่ว่า "เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน..."

แล้วทำไมไม่รัองท่อนที่ว่า "แผ่นดินที่งดงาม จะคืนกลับมา."

แล้วถ้าผมร้อง ท่อนนี้ล่ะ.."แผ่นดินจะดี ในไม่ช้า ความสุขจะคืนมาประเทศไทย"

 บางความสุขผมคืนให้ได้ทันที  บางความสุขก็ยังไม่ได้ เป็นเรื่องของกลไกในการแก้ปัญหา 

"ผมขอเวลาผมวางรากฐานประเทศ อีกระยะหนึ่ง  จะมากจะน้อย ก็เป็นไปตาม กรอบกฏหมาย"

"ขออย่าเพิ่งหมดกำลังใจกับผม และ คสช. ผมขอความเข้าใจจากทุกคน"

พลเอกประยุทธ์ 30มค.2561

"ผมเห็นว่ามีสื่อหลายคน วันนั้นผมจำได้ว่าใครเป็นคนถามผม เรื่องสัญญา เรื่องเนื้อเพลง ทุกอย่างจับเป็นประเด็นไปหมด 

"เรื่องสัญญาคืนความสุขในความหมายของผม คือ ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายซึ่งมีอยู่กี่กลุ่ม 

เพราะฉะนั้นบางความสุขผมคืนให้ได้ทันที  บางความสุขก็ยังไม่ได้ เป็นเรื่องของกลไกในการแก้ปัญหา 

ในการจะคืนความสุขต่อๆไป ในรัฐบาลนี้ และรัฐบาลหน้า จะมาบอกว่าผมไม่คืนความสุข 

ผมขอถามว่าจะคืนได้ไหม ปัญหาร้อยแปดพันเก้า ทุกคนต้องไปช่วยกันแก้ไขด้วย

ขอให้เข้าใจผม ผม ไม่ได้แก้ตัวทั้งสิ้น ขอถามกลับว่าบ้านเมืองสงบเรียบร้อยขึ้นหรือไม่ตอนนี้ มีความสุขหรือไม่ เศรษฐกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลางดีขึ้นหรือไม่ 

ขณะนี้รัฐบาลกำลังแก้ไขปัญหาทั้งหมดอยู่หรือไม่ ปัญหาสะสมได้รับการแก้ไขไหม ปัญหาแรงงานรัฐบาลก็กำลังดูแลเรื่องค่าจ้างอยู่ นี่ไม่ใช่ความสุขเหรอ แม้จะไม่มากนัก แต่ก็เป็นความสุข 

"นี่คือสัญญาของผม ผมคืนให้ ให้ในสิ่งที่ให้ได้ก่อน อันไหนยังไม่ได้รัฐบาลต่อไปต้องไปทำต่อไม่ใช่ไปโจมตีกันไปมา ถ้าโจมตีกันวันนี้ แล้ววันหน้าจะได้อะไรไหม มันก็โจมตีกันอยู่แบบนี้แหละ"

การโจมตีรัฐบาลอย่างเดียว ผมว่าไม่เป็นธรรม อยากให้สื่อทุกคนดูแลประเทศชาติด้วย 

และถ้าจะพูดถึงเพลง มีการพูดถึงแต่เฉพาะว่า ขอเวลาอีกไม่นาน  และถ้าผมจะเอาเนื้อเพลงตอนจบที่ว่า "แผ่นดินที่งดงามจะคืนกลับมา"

ก็เอาเนื้อเพลงคนละตอนบ้าง ความหมายมีสมบูรณ์อยู่ในเนื้อเพลงอยู่แล้ว

"ขออย่าเพิ่งหมดกำลังใจกับผม ทุกอย่างกำลังเดินหน้าไปได้ระดับหนึ่งไม่ว่าจะเวทีต่างประเทศ การจัดอันดับ เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจคู่ค้าเริ่มดีขึ้น 

อย่าเพิ่งหมดกำลังใจกับผม และรัฐบาลคสช. ก็พยายามทำอย่างเต็มที่ อะไรที่มีปัญหาอยู่บ้าง ผมรับทั้งหมด เพราะผมรับผิดชอบอยู่แล้ว 

ขอให้เห็นใจบ้างในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี่ ประเด็นของ ผมไม่ใช่คำแก้ตัว 

"ขอเวลาให้ผมวางรากฐานประเทศ อีกสักระยะหนึ่งก่อนเท่านั้นเอง มันจะมากจะน้อย
เป็นไปตามกฎหมาย"

เราเป็น"รัฏฐาธิปัตย์"

"บิ๊กป้อม" ถาม ต้องการความสงบมั้ย ยันฝ่ายความมั่นคง เราเป็น"รัฏฐาธิปัตย์"ต้องดูแล ปัญหา ม็อบ We Walk เดินสันติภาพ-DRGชุมนุม ทุกเสาร์  ลั่น หากชุมนุมอีก ไม่เป็นไร ผมเตรียมเอง

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวถึง กลุ่มเคลื่อนไหว ทั้ง กลุ่ม เดินสันติภาพ We Walk ที่เดินในต่างจังหวัด และ กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย DRG ที่ชุมนุม ทุกวันเสาร์ ว่าเราต้องการความสงบ หรือไม่  และเป็นหน้าที่ที่หน่วยความมั่นคงจะต้องดูแล

ส่วนการชุมนุมวันเสาร์นั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า ก็ต้องทำตามกฏหมาย ทุกอย่าง ตามคำสั่งของคสช.เพราะตอนนี้เราเป็นรัฏฐาธิปัตย์ จะอะไรหล่ะ

ส่วนจะลุกลาม นั้นยังไม่รู้ เพราะยังไม่ชุมนุม

ส่วนการแจ้งข้อกล่าวหา กลุ่ม DRG ที่ชุมนุม
เสาร์ที่แล้ว นั้น หากชุมนุมอีกจะทำอย่างไร พลเอกประวิตร กล่าวว่า  ไม่เป็นไร ผมเตรียมเอง

"คุณต้องการความสงบหรือเปล่า เป็นเรื่องความมั่นคงเอง"

เมื่อถามถึงการข่าว พบจะมีกลุ่มเคลื่อนไหว 
อาศัยสถานการณ์ช่วงนี้ พลเอกประวิตร กล่าวว่า ก็มีกลุ่มเดียวที่เห็นนี่แหล่ะ

เมื่อถามว่า  กลุ่มเคลื่อนไหว กระจายต่างจังหวัด จะเข้ามา กทม.หรือไม่ พลเอกประวิตร กล่าวว่า  สื่อ คิดเอง  เพราะหากเป็นทางการมือง จะรวมตัว กันได้ ไม่เกิน5 คน แล้วจะรวมตัวอะไรกันอีกล่ะ

วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

‘สฤณี’ ประกาศ ไม่รับตำแหน่ง หลังบิ๊กตู่เซ็นแต่งตั้งเป็นกก.ผู้ทรงคุณวุฒิ เมืองอัจฉริยะ

‘สฤณี’ ประกาศ ไม่รับตำแหน่ง หลังบิ๊กตู่เซ็นแต่งตั้งเป็นกก.ผู้ทรงคุณวุฒิ เมืองอัจฉริยะ


วันนี้ (29 ม.ค.) น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักแปลชื่อดัง โพสต์รูปภาพพร้อมข้อความปฎิเสธการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยระบุว่า

“มีน้องส่งมาให้ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ตัวเองเป็น “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ” มีลายเซ็นผู้นำเผด็จการทหารในฐานะนายกฯ ลงวันที่ 29 ธ.ค. 2560 ที่ผ่านมา ขอแจ้งสั้นๆ นะคะว่า ตัวเองไม่เคยได้รับการทาบทามใดๆ มาก่อนเลย และต่อให้ได้รับการทาบทาม ก็ “ไม่ยินดี” ที่จะทำงานใดๆ ให้กับคณะกรรมการไหนก็ตามที่เผด็จการแต่งตั้ง เบื่อหน่ายและรู้สึกเซ็งมากกับเรื่องแบบนี้ เมื่อไหร่เผด็จการทหารจะเลิก “ตู่” เอาเองเสียที ที่ผ่านมาก็เคยเจอเรื่องประมาณนี้มาแล้วสองสามครั้ง หน่วยงานอะไรสักอย่างจะเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการที่เผด็จการตั้ง แต่อย่างน้อยหน่วยงานเหล่านั้นยังให้เกียรติโทรมาถาม พอตอบปฏิเสธไปเขาก็ไม่เสนอชื่อต่อ อ่านเฟซบุ๊กคนที่คุณอยากแต่งตั้งดูมั่ง เมืองจะอัจฉริยะได้ไงในเมื่อเผด็จการยังบังคับให้คนเป็นนั่นเป็นนี่ที่เขาไม่ได้อยากจะเป็น” น.ส.สฤณี กล่าว

ภาพที่แท้จริงแห่งอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

 

มักมีคนจำนวนมากเชื่อว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นคนที่มีอำนาจมากที่สุดในอเมริกาและในโลก ความเชื่อเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นมายาคติหรือความเชื่อผิดๆ เพราะตามความจริงแล้วประธานาธิบดีมีอำนาจจำกัดและไม่สามารถทำหรือสั่งอะไรได้ตามอำเภอใจเหมือนกับกษัตริย์ในเทพนิยายเสมอไปเพราะเขาต้องรับมือจากการได้รับแรงกดดันหรืออิทธิพลจากกลุ่มทางการเมืองหลายกลุ่ม แม้ตามการปกครองแบบประธานาธิบดีนั้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเป็นทั้งประมุขของรัฐและฝ่ายบริหารซึ่งเปี่ยมด้วยบารมีอย่างท่วมท้นทั้งในและนอกประเทศ แต่ระบบการเมืองอเมริกันนั้นถูกออกแบบมาเพื่อตรงกันข้ามกับการปกครองแบบกษัตริย์นิยมของอังกฤษคือมีวัตถุประสงค์ไม่ให้ผู้ใดมีอำนาจในการปกครองอย่างเด็ดขาดเช่นให้สถาบันทางการเมืองต่างๆ มีการตรวจสอบและคานอำนาจกันเอง (Check and Balance) รวมไปถึงการยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นหลักตามแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism)

คนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจการเมืองของสหรัฐฯ มักคิดว่าถ้าได้ประธานาธิบดีเป็นคนดี ทุกอย่างทั้งในและนอกประเทศก็จะดีตาม ซึ่งผู้ลงแข่งขันสมัครประธานาธิบดีมักอาศัยความเข้าใจเช่นนี้ในการสร้างภาพเพื่อดึงคะแนนเสียงให้กับตัวเองในช่วงหาเสียงดังเช่นคำขวัญที่ว่า “เปลี่ยน” (change) หรือคำสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในอเมริกาของบารัก โอบามา แต่ในอีกหลายปีต่อมา นอกจากขีดจำกัดดังกล่าวแล้ว โอบามายังจัดได้ว่าเป็นประธานาธิบดีที่ความสามารถปานกลางและขาดความเด็ดขาดจึงทำให้คะแนนความนิยมของเขาตกต่ำอย่างมากเพราะผู้ที่ศรัทธาเขาตั้งแต่ต้นอาจไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็มีคนอีกจำนวนมากที่มองว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่มีอำนาจอะไรเลยและเป็นหุ่นเชิดของกลุ่มอิทธิพลทั้งหลาย ในบทความนี้จึงต้องการแสดงให้เห็นว่าภาพที่จริงของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ได้อยู่สุดโต่งด้านใดด้านหนึ่ง และประธานาธิบดียังมีความพยายามในการสร้างอำนาจให้กับตัวเอง อนึ่งบทความจะเน้นไปที่นโยบายการต่างประเทศและการทหารเป็นหลัก
 


การมองอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเกินจริง

สำหรับชาวโลกจำนวนมากแล้ว การมองอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเกินจริงอาจเกิดจากการอนุมานแบบง่ายๆ เพราะสหรัฐฯ ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นผู้นำสูงสุดของสหรัฐฯ จึงต้องมีอำนาจสูงสุดเช่นกัน หรือ สาเหตุอื่นก็ได้แก่การนำเอาการเมืองของตัวเอง (ที่มักเป็นเผด็จการอย่างเช่นไทย) มาทับกับภาพของการเมืองอเมริกา และปัจจัยที่ทรงอิทธิพลที่สุดคือการนำเสนอและการผลิตซ้ำภาพของประธานาธิบดีตาม  "ลัทธิบูชาบุคคล"  หรือ "ทฤษฎีมหาบุรุษ" ที่สังคมประชาธิปไตยเสรีนิยมแบบอเมริกาเองก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ผ่านสื่ออันยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯ ไม่ว่าสำนักข่าวซึ่งเน้นไปที่ตัวประธานาธิบดีเป็นหลัก รวมไปถึงภาพยนตร์ฮอลลีวูดซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากได้นำเสนอภาพของประธานาธิบดีในเชิงที่ยิ่งใหญ่หรือมีอำนาจเกินกว่าเหตุ ด้วยภาพยนตร์เหล่านั้นมักเป็นภาพยนตร์แนวต่อสู้ อิงวิทยาศาสตร์ผสมแฟนตาซี ทำรายได้สูงๆ   มากกว่าภาพยนตร์หลายเรื่องที่นำเสนอฉากความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีกับรัฐสภาและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ  ซึ่งใกล้เคียงกับภาพที่แท้จริงของการเมืองแบบอเมริกันแต่เข้าสู่สายตาของชาวโลกน้อยกว่ามากเพราะเป็นภาพยนตร์แบบชีวิต รักโรแมนติกหรือสืบสวนสอบสวน

สาเหตุที่ภาพยนตร์ฮอลลีวูดนำเสนอภาพของประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่หรือเป็นผู้บัญชาการทหารหรือจอมทัพ (Commander-in-chief) ซึ่งไม่สอดคล้องกับตัวตนที่แท้จริงของประธานาธิบดีเท่าไรนักก็เพราะผู้สร้างต้องการตอบสนองกระบวนทัศน์ของคนอเมริกันจำนวนมากที่ยังคงยกย่องความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาเหนือประเทศต่างๆ ในโลก ในขณะเดียวกันก็เป็นการเชิดชูประชาธิปไตยโดยเฉพาะมิติทางอำนาจของพลเรือนเหนือกองทัพ ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีภาพยนตร์ที่นำเสนอความยิ่งใหญ่ของนายทหารระดับสูงอย่างเช่นนายพล 5  ดาวหรือคณะเสนาธิการทหารร่วมสหรัฐอเมริกา (Joint chief of staff) เท่ากับ วีรกรรมของนายทหารระดับล่าง ๆ อันจะเป็นการยกย่องจิตวิญญาณของทหารมากกว่าความหวังในลาภยศสรรเสริญของผู้นำกองทัพ ดังเช่นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ที่กองทัพ (โดยเฉพาะนาวิกโยธิน) ต้องต่อสู้กับเหล่ามนุษย์ต่างดาวผู้ชั่วร้าย

อนึ่งเป็นเรื่องน่าสังเกตว่าคนในวงการฮอลลีวูดจำนวนมากมักสนับสนุนพรรคเดโมแครตและมีแนวคิดเสรีนิยมจึงมักนำเสนอภาพของประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครตในด้านบวกและพรรครีพับลิกันในด้านลบ ดังเช่นเรื่อง The Butler (2013) ซึ่งสร้างมาจากชีวิตจริงของคนใช้ผิวดำในทำเนียบขาวได้นำเสนอภาพของจอห์น เอฟ   เคนนาดี (เดโมแครต) ในด้านดีเช่นเป็นคนอ่อนโยน เข้าใจหัวอกคนสีผิว   ภาพของริชาร์ด นิกสัน   (ริพับลิกัน) ในด้านลบเช่นนักการเมืองเห็นแก่ตัวและขี้โกง ภาพของโรนัลด์ เรแกน (ริพับลิกัน) ในด้านลบเช่นใช้สิทธิยับยั้งรัฐสภาไม่ให้ทำการคว่ำบาตรประเทศแอฟริกาใต้ที่มีนโยบายเหยียดสีผิว แต่เขาก็ไม่ต้องการถูกมองว่าเป็นพวกเหยียดสีผิว  และในที่สุดภาพยนตร์ก็เชิดชูโอบามา ประธานาธิบดีสีผิวคนแรกของสหรัฐฯ (ซึ่งตัวเอกที่เกษียณแล้วได้ไปเข้าพบตอนจบของเรื่อง)  ดังนั้นผู้นำที่ยอดเยี่ยมของภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดมักจะมาจากพรรคเดโมแครต ดังเช่นเรื่อง ID 4  ภาพยนตร์มนุษย์ต่างดาวบุกโลกที่ประธานาธิบดีมีบุคลิกของบิล คลินตันของเดโมแครต (แต่ก็แอบขโมยภาพของนักบินผู้เก่งกาจจากบุชผู้พ่อ)


ความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับกลุ่มการเมืองภายในประเทศ

ตามความเป็นจริงแล้วแล้วอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีจำกัด กลุ่มการเมืองกลุ่มแรกที่ประธานาธิบดีต้องรับมือคือรัฐสภาซึ่งมีหน้าที่สำคัญเช่นการออกกฎหมายและการอนุมัติงบประมาณที่ประธานาธิบดีร้องขอ  สำหรับการเมืองอเมริกันนั้นกฎหมายไม่ได้ออกมาอย่างง่ายดายเหมือนกับหลายประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา กฎหมายจะเกิดขึ้นมาได้ก็ต้องผ่านการเห็นชอบจากเสียงของทั้ง 2 สภาคือวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรถึง 2 ใน 3  (Supermajority)  ดังนั้นจึงมีหลายครั้งที่ประธานาธิบดีมีความขัดแย้งกับสภาซึ่งมักประกอบด้วยเสียงส่วนใหญ่คือสมาชิกจากพรรคตรงกันข้ามกับพรรคที่ประธานาธิบดีสังกัดอยู่จนทำให้เกิดภาวะชะงักงันทางอำนาจ กฎหมายฉบับสำคัญที่รัฐบาลพยายามผลักดันไม่สามารถออกมาได้จนกระทั้งในบางปีรวมไปถึงการอนุมัติงบประมาณของประเทศจนทำให้รัฐบาลบาลกลางต้องปิดทำการชั่วคราว (สหรัฐ ฯ มีระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคใหญ่คือเดโมแครตและริพับลิกัน กระนั้นก็มีพรรคอื่นซึ่งมีขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีโอกาสเป็นรัฐบาล)  ล่าสุดโอบามาทำงานได้ไม่เป็นที่พึงพอใจของคนอเมริกันนัก จึงทำให้คนอเมริกันเลือกสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากพรรคริพับลิกันเข้าไปเป็นจำนวนมากจึงทำให้พรรคริพับลิกันมีเสียงของสมาชิกใน 2 สภามากกว่าเดโมแครต อันจะยิ่งทำให้โอบามาต้องพยายามหนักยิ่งขึ้นในการผลักดันกฎหมายของตนและพรรคเดโมแครตให้เกิดความสำเร็จ  (แน่นอนว่าจะส่งผลถึงคะแนนเสียงของผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครตในอีก 2 ปีข้างหน้าซึ่งก็น่าจะเป็นฮิลลารี คลินตัน)

แม้ว่าประธานาธิบดีมีบทบาทสำคัญต่อตัวกฎหมายคือเป็นผู้ลงนามเพื่อให้กฎหมายที่ผ่านสภามานั้นสมบูรณ์  ประธานาธิบดียังสามารถส่งกฎหมายกลับคืนเพื่อให้สภาพิจารณาใหม่ หรือแสดงความต้องการยับยั้งกฎหมาย (veto) ฉบับนั้น  แต่ถ้าทั้ง 2 สภายังคงยืนยันกฎหมายฉบับเดิม กฎหมายก็จะถูกนำออกมาใช้ได้แม้ว่าจะไม่มีลายมือชื่อของประธานาธิบดีก็ตาม  (อนึ่งประธานาธิบดีสามารถการคัดค้านแบบอื่นเช่นไม่ลงนามในกฎหมายภายใน 10 วันเพื่อให้กฎหมายผ่านไปโดยไม่มีลายมือชื่อของตัวเอง แต่ถ้าการกระทำเช่นนี้เกิดขึ้นในช่วงที่การประชุมสภาถูกเลื่อนออกไปกฎหมายนั้นจะตกไป ดังที่เรียกว่า pocket veto)  เช่นเดียวกับการที่ประธานาธิบดีจะแต่งตั้งรัฐมนตรี  ประธานศาลสูง เอกอัครราชทูต ฯลฯ ได้สำเร็จนั้นจะต้องได้รับการเห็นชอบจากวุฒิสภาเสียก่อนอันสะท้อนให้เห็นว่าอำนาจของทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาต่างถ่วงดุลอำนาจกันอย่างมาก นอกจากนี้ประธานาธิบดีมีอำนาจเพียง 2 อย่างซึ่งไม่ต้องขอการอนุมัติจากรัฐสภาคือการการออกคำสั่งของฝ่ายบริหาร (Executive order) และการประกาศวันสำคัญที่อุทิศให้กับบุคคลซึ่งมีความสำคัญหรือสร้างประโยชน์ให้กับสังคมอเมริกันแต่อำนาจทั้ง 2 อย่างนี้ก็ต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญอีก

ประธานาธิบดียังพบกับขีดจำกัดทางอำนาจอื่นเช่นรัฐบาลระดับมลรัฐซึ่งมีรัฐบาลและรัฐธรรมนูญเป็นของตัวเอง ผู้นำรัฐบาลระดับมลรัฐคือผู้ว่าการรัฐซึ่งอาจจะมีนโยบายการบริหารงานที่แตกต่างจากประธานาธิบดีก็ได้แม้จะอยู่ในพรรคเดียวกันก็ตามเพราะความอิสระของแต่ละมลรัฐ ส่วนสภาของมลรัฐก็มีอิสระในการออกกฎหมายเอง  ดังนั้นในแต่ละรัฐจะมีกฎหมายหลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน (และดูแปลกๆ เพราะเป็นกฎหมายเก่าที่อายุกว่าร้อยหรือ 2 ร้อยปีมาแล้ว)  โดยที่รัฐบาลกลางเข้าไปก้าวก่ายไม่ได้แต่กฎหมายของมลรัฐจะต้องไม่อาจขัดแย้งกับกฎหมายของรัฐบาลกลางและตัวรัฐธรรมนูญ สำหรับรัฐบาลกลางก็มีอำนาจที่สงวนไว้ไม่กี่อย่างเช่นการผลิตธนบัตร การทหารและการแต่งตัวเอกอัครราชทูต ทั้งนี้ยังไม่นับฝ่ายตุลาการโดยเฉพาะศาลสูง (Supreme court) ซึ่งนอกจากที่กรุงวอชิงตันดีซีแล้วมีประจำอยู่ทุกมลรัฐ ก็ทำหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญไปด้วย ซึ่งมีคนจำนวนมากโดยเฉพาะพรรคฝ่ายค้านนำกฎหมายหรือคำสั่งของฝ่ายบริหารจากรัฐบาลกลางไปให้ศาลสูงตีความว่าสอดคล้องหรือขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญซึ่งส่งผลให้กฎหมายต่างๆ หรือนโยบายที่ฝ่ายบริหารผลักดันต้องยุติหรือว่าชะลอไปดังเช่นคำสั่งของฝ่ายบริหารในการให้สิทธิแก่ผู้อพยพผิดกฎหมายในยุคของโอบามาหรือในกรณีกฎหมายการประกันสุขภาพที่ผลักดันโดยโอบามาจนประสบความสำเร็จ แต่มลรัฐหลายแห่งโดยเฉพาะที่ผู้ว่าการรัฐที่สังกัดพรรคริพับลิกันปฏิเสธจะปฏิบัติตามเพราะยึดตามศาลสูงที่ตีความว่าการที่รัฐบาลกลางบังคับให้มลรัฐขยายโครงการทางสุขภาพเช่นนี้เป็นเรื่องผิดรัฐธรรมนูญ  อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีก็มีอำนาจในการถ่วงดุลกับฝ่ายตุลาการจากอำนาจในการให้อภัยโทษ (Pardon) ลดโทษลงบางส่วน (Commute) หรือแก่ผู้ที่ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดไม่ว่าจะเป็นทางการเมืองหรือทางอาญา  เพียงแค่ในศตวรรษที่ 20 มีการให้อภัยโทษหรือลดโทษของประธานาธิบดีแก่บุคคลต่างๆ ถึง 20,000 ครั้ง แต่ประธานาธิบดีต้องยอมรับความเสี่ยงทางการเมืองและความน่าเชื่อถือทางสังคมจากการใช้สิทธิครั้งนี้ดังเช่นเจอรัล ฟอร์ด ให้อภัยโทษแก่นิกสันก่อนที่ขบวนการถอดถอนจากคดีวอเตอร์เกตจะสิ้นสุดอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฟอร์ดต้องพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแก่จิมมี คาร์เตอร์

นอกจากนี้ประธานาธิบดียังต้องรับมือกับกลุ่มข้าราชการที่ทำงานให้กับรัฐบาลกลางซึ่งตามหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของประธานาธิบดี แต่ก็ยังก่อปัญหาให้กับประธานาธิบดีเหมือนกับประเทศอื่นๆ เพราะคนเหล่านั้นมีความรู้เฉพาะด้านและประสบการณ์มากกว่าจึงกลายเป็นกลุ่มผลประโยชน์อีกกลุ่มหนึ่งที่ทรงอิทธิพล ตัวอย่างที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์ได้แก่สำนักสอบสวนกลางหรือ FBI ซึ่งขึ้นตรงกับประธานาธิบดี แต่ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการคนแรกคือเจย์ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ (ดำรงตำแหน่งในช่วงปี 1935 –1972) ได้ทำให้สำนักสอบสวนกลางเหมือนกับแก๊งค์มาเฟียเพราะได้ก่อกวนคู่ปรปักษ์ทางการเมืองไม่ว่านักการเมืองหรือนักกิจกรรมทางสังคม รวมไปถึงการเก็บข้อมูลลับต่อบรรดาคนดังและผู้นำทางการเมืองด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมาย (แต่มักมีข้ออ้างว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงเช่นต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์)  ยังกล่าวกันว่าฮูเวอร์ ได้เก็บความลับของประธานาธิบดีหลายคนในยุคหลังสงครามโลกจึงไม่มีประธานาธิบดีคนใดกล้าแทรกแซงการทำงานหรือปลดเขาออกจำตำแหน่งจนเขาเสียชีวิตไปเอง  หรืออย่างในปัจจุบันได้แก่กระทรวงกลาโหมซึ่งมีที่ทำงานคือเพนตากอนเป็นกระทรวงซึ่งทรงอิทธิพลที่สุดกระทรวงหนึ่งด้วยงบประมาณจำนวนมหาศาลคือประมาณร้อยละ 4.8 ของมวลผลิตภัณฑ์ของทั้งประเทศได้ก่อปัญหาให้กับโอบามาซึ่งมีแผนจะตัดงบประมาณครั้งใหญ่แต่ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าไรนัก กระนั้นเหตุการณ์ไม่สงบของตะวันออกกลางและการแผ่อิทธิพลของจีนในเอเชียหนือได้ทำให้โอบามาต้องหันมาเพิ่มงบประมาณในปีนี้

ประธานาธิบดียังต้องกับแรงกดดันคือกลุ่มผลประโยชน์ (Interest group) หรือกลุ่มตัวแทนของประชาชน ที่มีความต้องการให้รัฐปฏิบัติตามความต้องการของตนในประเด็นใดประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นการสร้างทางลัดในการต่อรองทางอำนาจกับรัฐบาลนอกเหนือจากการเลือกตั้ง ซึ่งกลุ่มผลประโยชน์นี้ไม่ได้เป็นตอบสนองนายทุนหรือเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่งเสมอไปดังที่อาจารย์สุลักษณ์เข้าใจเพราะกลุ่มผลประโยชน์ไม่ได้มีเพียงกลุ่มทุนหรือกลุ่มอุตสาหกรรมเท่านั้น หากยังมีอีกมากที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมเช่นกลุ่มเพื่อสิทธิของชนสีผิว สิทธิสตรี สิทธิพวกรักร่วมเพศ การรักษาสิ่งแวดล้อม สิทธิสัตว์ ฯลฯ กลุ่มเหล่านี้จะมีนักวิ่งเต้น (Lobbyist) ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อทั้งตัวประธานาธิบดี  พรรคการเมือง และรัฐสภาผ่านเงินบริจาค  การช่วยรณรงค์หาเสียงหรือการหาข้อมูลสำคัญให้ กลุ่มผลประโยชน์นี้ยังร่วมมือกับรัฐสภาและระบบราชการในการมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลอีกต่อหนึ่ง ดังที่เรียกว่าสามเหลี่ยมเหล็กกล้าหรือ Iron Triangle

เป็นเรื่องน่าสนใจที่ว่าประธานาธิบดียังต้องรับมือกับชุดบริหารของเขาเองเช่นรองประธานาธิบดี  รัฐมนตรีและคณะที่ปรึกษา ตัวอย่างเช่นรองประธานาธิบดีซึ่งโดยปกติไม่มีอำนาจเท่าไรนักแต่ในรัฐบาลของจอร์จ ดับเบิลยู บุช  นายดิก เชนีย์ถือได้ว่าเป็นรองประธานาธิบดีที่มีอำนาจอยู่เบื้องหลังประธานาธิบดีมากที่สุดในประวัติศาสตร์  ในด้านรัฐมนตรีนั้นได้แก่นางฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศยังเบียดบังภาพลักษณ์ของโอบามาในเวทีต่างประเทศและวิจารณ์นโยบายต่างประเทศของรัฐบาล ส่วนคณะที่ปรึกษาซึ่งมีตัวอย่างคือเฮนรี คิสซิงเจอร์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในยุคของริชาร์ด นิกสันนั้นมีอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศสูงมากรวมไปถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อน (เช่นเป็นมิตรผสมกับการกับคู่แข่ง)  กับตัวนิกสันเอง คิสซิงเจอร์ยังเบียดบังบารมีของนิกสันโดยการรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1973

ท้ายนี้เรายังไม่สามารถปฏิเสธปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อตัวประธานาธิบดีเอง เช่นสื่อมวลชนซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐและมักสามารถทั้งทำให้ฝ่ายบริหารสะดุดหรือหยุดชะงักจากพลังในการวิพากษ์วิจารณ์โจมตีและอิทธิพลในการชี้นำทัศนคติของมวลชน หรือแม้แต่การตีแผ่โครงการอันไม่เปิดเผยต่างๆ ของรัฐบาลซึ่งทำให้ทำเนียบขาวต้องระมัดระวังในการเก็บความลับจำนวนมากให้พ้นจากสื่ออย่างเช่นกรณีนักข่าวของสำนักพิมพ์วอชิงตันโพส 2 คนได้ทำการขุดคุ้ยคดีอื้อฉาววอเตอร์เกต (Watergate) อันเป็นสาเหตุให้ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันต้องลาออกในปี 1974 ก่อนที่รัฐสภาจะเสร็จสิ้นกระบวนการไต่สวนเพื่อถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งหรือ Impeachment  (ซึ่งก็เป็นขีดจำกัดทางอำนาจของประธานาธิบดีอีกอย่างหนึ่งแม้ประธานาธิบดีแม้ว่าจะสามารถดำรงตำแหน่งได้ถึง 4 ปีโดยไม่ต้องถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจเหมือนกับนายกรัฐมนตรี)

ในทางกลับกันประธานาธิบดีก็ต้องทำตนให้โปร่งใสและเปิดกว้างในเรื่องข่าวสารข้อมูลเพื่อความสะดวกของสื่อมวลชนในการสะท้อนให้ประชาชนได้เห็นการทำงานของรัฐบาล เช่นตัวประธานาธิบดีต้องเป็นกันเองและได้รับความนิยมจากนักข่าว (ไม่ใช้คำหยาบคายและขู่ว่าจะชกหน้าหรือเอาโปเดียมทุ่มใส่) อันจะส่งผลถึงคะแนนความนิยม (approval rating) ของตัวประธานาธิบดีรวมไปถึงคะแนนเสียงที่จะมีให้กับสมาชิกของพรรคการเมืองที่ประธานาธิบดีผู้นั้นสังกัดอยู่ กระนั้นก็มีสื่อมวลชนจำนวนมากที่มีอุดมการณ์ตรงกันข้ามกับประธานาธิบดีจึงมักจะนำเสนอภาพของประธานาธิบดีในด้านลบอย่างต่อเนื่องดังเช่นสำนักข่าวฟอกซ์นิวส์ซึ่งมีอุดมการณ์ไปทางขวาและมักโจมตีโอบามา อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้เกิดสื่อทางเลือกใหม่ซึ่งอาจมีพลังเสียยิ่งกว่านั้นคือสื่อทางโลกออนไลน์หรือ Social media เช่นอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์อันจะมีพลังสำหรับมุมมองและความนิยมของประชาชนต่อประธานาธิบดีอย่างมาก เพราะความแพร่หลายของสื่อเช่นนี้แล้ว ด้วยการยึดถือเสรีภาพของการแสดงออกทางการเมือง รัฐก็ไม่อาจออกกฎหมายแบบมาตรา 112 ในการห้ามไม่ให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ ด่าทอหรือล้อเลียนตัวประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ (ยกเว้นจะเกี่ยวกับความมั่นคงเช่นการคุกคามหรือขู่ฆ่าประธานาธิบดี) หากพิจารณาในเว็บไซต์หรือบล็อคแล้ว บุชนั้นมีภาพแห่งความชั่วร้ายไม่ต่างจากฮิตเลอร์ หรือโอบามามีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เหมือนสตาลินหรือเลนิน
 

อำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในระดับโลก

การที่ชาวโลกมองว่าสหรัฐฯ นั้นยิ่งใหญ่คับโลกหรือต้องการครองโลกตามความทะเยอทะยานของจักรวรรดินิยม (ซึ่งทำให้ใครหลายหันหันมาสนับสนุนจีนและรัสเซียโดยหารู้ไม่ว่าทั้ง 2 ชาติก็มีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกับสหรัฐฯ เพียงแต่ยังไม่พบกับโอกาส) ความเชื่อเช่นนี้ก็สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่า สหรัฐฯ เป็น superpower หรือมีอำนาจมากที่สุดในโลกและมีงบประมาณทางทหารสูงที่สุดในโลก  ดังนั้นประธานาธิบดีน่าจะสั่งเป็นสั่งตายกับใครในประเทศไหนก็ได้  แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง สหรัฐฯ ไม่อาจจะทำสงครามกับใครได้อย่างอำเภอใจเพราะประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทำให้สหรัฐฯ ตระหนักดีว่าแม้ประเทศที่มีกำลังทางทหารด้อยกว่าตนมากก็ไม่ได้ว่าจะแพ้สหรัฐฯ เสมอไป (ดังนั้นจึงไม่ต้องพูดถึงประเทศที่มีอำนาจไม่ห่างกันมากอย่างเช่นจีนและรัสเซีย)  แม้ว่าสหรัฐฯ จะมีอาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์เป็นจำนวนมากเคียงคู่ไปกับรัสเซียแต่ก็ไม่ได้นำไปใช้กับประเทศใดได้นับตั้งแต่กับญี่ปุ่นเมื่อสมัยสงครามโลกไม่ว่าเพราะกฎหมายระหว่างประเทศหรือผลกระทบที่ตามมาจะย้อนกลับมาสู่สหรัฐฯ อย่างใหญ่หลวงนักโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัฒน์นี้  และที่สำคัญที่สุดก็จะกระทบถึงคะแนนความนิยมของตัวประธานาธิบดีจากประชาชนอเมริกันเองซึ่งมีอยู่จำนวนไม่น้อยที่ต่อต้านสงครามหรือการไปแทรกแซงประเทศอื่น ยกเว้นว่าจะเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ที่ทำให้สาธารณชนคล้อยตามดังเช่นเครื่องบินชนตึกเวิร์ดเทรดปี 2001 อันนำไปสู่การบุกอัฟกานิสถาน

นอกจากนี้สหรัฐฯ มีอำนาจและบทบาทในการเมืองโลกอย่างจำกัด สำหรับความสัมพันธ์กับประเทศทั้งหลายแม้แต่ประเทศซีกโลกตะวันตกอย่างเช่นยุโรปตะวันตกไม่ได้เป็นแบบสั่งซ้ายหันขวาหัน แม้แต่อังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรอันเหนียวแน่น  ลักษณะของความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้เป็นแค่การใช้อำนาจทางการเมืองหรือเศรษฐกิจกดดัน แต่ยังรวมไปถึงการทูตเช่นการเกี้ยวพาราสี (เหมือนจีบผู้หญิง) การต่อรอง การชิงไหวชิงพริบในรูปแบบต่างๆ อันอาจได้ผลไปสู่ความขัดแย้งหรือแม้แต่ความล้มเหลวด้วยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้นำของรัฐบาลในแต่ละยุคอีกด้วยเพราะผู้นำเหล่านั้นในระบอบประชาธิปไตยต้องคำนึงถึงคะแนนความนิยมและคะแนนเสียงของประชาชนซึ่งก็มีทัศนคติต่อสหรัฐฯ ในระดับที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างที่ชัดเจนได้แก่สงครามเวียดนาม ประเทศซึ่งมักถูกมองโดยชาวโลกว่าในสังกัดของสหรัฐฯอย่างเช่นอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตกล้วนแต่ปฏิเสธที่จะส่งทหารเข้าไปร่วมรบเช่นเดียวกับช่วงสงครามอิรักในปี 2003 ที่สหรัฐอเมริกาในยุคของบุชแม้จะได้รับการสนับสนุนจากโทนี แบลร์ของอังกฤษ (จนแบลร์ถูกล้อเลียนว่าเป็นสุนัขพูเดิลของบุช) แต่ก็มีความขัดแย้งกับฝรั่งเศสในยุคของญัก ชีรักและเยอรมันในยุคของแกร์ฮาร์ด ชเรอเดอร์อย่างรุนแรง ยิ่งในปัจจุบันการออกมาแฉโดยเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนอดีตเจ้าหน้าที่ของซีไอเอว่าทางการสหรัฐฯ ได้จารกรรมความลับจากบรรดาผู้นำของประเทศซึ่งเป็นมิตรกับตนย่อมทำให้เกิดผลทางด้านลบในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศเหล่านั้นมากขึ้น

ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจว่ากับประเทศในซีกอื่นๆ ของโลกไม่ว่าตะวันออกกลางดังเช่นซาอุดิอาระเบีย อียิปต์ การ์ตา  เอเชียใต้ดังเช่นอินเดียและโดยเฉพาะปากีสถาน เอเชียแปซิฟิก (ซึ่งสหรัฐฯ พยายามเพิ่มอิทธิพลแข่งกับจีน) ทั้งนี้ไม่นับประเทศที่อยู่นอกวงโคจรอำนาจของสหรัฐฯดังเช่นในทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา  สหรัฐฯ  จะดำเนินความสัมพันธ์ในรูปแบบที่ยืดหยุ่นหรือผ่อนปรนด้วยต่อประเทศเหล่านั้น (หรือจะเรียกว่ากะล่อนก็สุดแล้วแต่) อันกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อนโยบายต่างประเทศและการทหารของตัวประธานาธิบดีด้วย อันเป็นความเข้าใจผิดอย่างมากสำหรับคนที่คิดว่าสหรัฐฯ เป็นตำรวจโลกซึ่งจะทำอะไรก็ได้ ยิ่งอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกของสหรัฐฯ กำลังถูกจีนเข้ามาเบียดขับอยู่ด้วย หรือในกรณีของไทยนั้นถือได้ว่าเป็นกรณีที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนซึ่งเราจะนำไปถกเถียงกันต่อไปในบทความหน้า
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับอิสราเอลและอำนาจของประธานาธิบดี

ในทางกลับกันกลับมีคนเชื่อตามทฤษฎีสมคบคิดว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่มีอำนาจอะไรเลย    อันอยู่ตรงกันข้ามสุดโต่งกับความเชื่อแรกที่ว่าประธานาธิบดีมีอำนาจมากที่สุดในโลก มีคนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่ามีนักธุรกิจชาวยิว หรือสมาคมลับมีอิทธิพลเหนือรัฐบาลและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวประธานาธิบดีสหรัฐฯ  (บางคนถึงกลับบอกว่ายิวครองอเมริกา)  เป็นที่น่าสังเกตว่าทฤษฎีเช่นนี้มักเป็นการพูดหรือสืบต่อกันลอยๆ ผ่านสื่อแบบประชานิยมเช่น ภาพยนตร์  นวนิยาย การเสวนาในเว็บไซต์ ฯลฯ   ยังหาข้อพิสูจน์ออกเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนนัก ตามความจริงกลุ่มอิทธิพลของอิสราเอลต่อนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ใกล้เคียงกับทฤษฎีนี้ที่สุดได้แก่กลุ่มผลประโยชน์ที่เพื่อประโยชน์ของอิสราเอล อันมีชื่อเป็นทางทางการว่า American Israel Public Affairs Committee หรือ AIPAC  ที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลหรือนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ สูงมาก กระนั้นก็มีหลายครั้งที่สหรัฐฯ ไม่ได้เอาใจอิสราเอล ดังกรณีคลองสุเอซในปี 1956 ที่อิสราเอลวางแผนทางทหารกับอังกฤษและฝรั่งเศสในการเข้ายึดคลองสุเอซคืนจากอียิปต์และหวังว่าสหรัฐฯ  จะให้การสนับสนุน รัฐบาลของไอเซนฮาวร์ร่วมกับสหภาพ     โซเวียต กลับทำตรงกันข้ามคือบีบให้ทั้ง 3 ประเทศถอนกำลังออกไป จึงทำให้คลองสุเอซอยู่กับอียิปต์เหมือนเดิม หรือในปี 2012 ตอนที่มิตต์ ลอมนีย์ลงสมัครแข่งขันประธานาธิบดีกับโอบามา ลอมนีย์ให้การสนับสนุนอิสราเอลอย่างมากเพื่อเอาใจคนอเมริกันเชื้อสายยิวในขณะที่โอบามาได้ชื่อว่าเป็นประธานาธิบดีที่ต่อต้านอิสราเอลมากที่สุดในประวัติศาสตร์และมีความสัมพันธ์ไม่ดีกับนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคือเบนจามิน เนทันยาฮู แต่โอบามากลับชนะการแข่งขันเป็นสมัยที่ 2  (อันสะท้อนให้เห็นว่าคนอเมริกันเชื้อสายยิวอาจไม่ได้ผูกพันกับอิสราเอลหรือเห็นด้วยกับนโยบายของอิสราเอลต่อปาเลสไตน์เสมอไป) และยังแต่งตั้งทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมที่ถูกว่าเป็นพวกต่อต้านยิวอีกด้วย ปัจจุบันสหรัฐฯ ก็แสดงตนเป็นกลางคือกดดันให้อิสราเอลถอนการลงหลักปักฐานออกไปจากเขตปาเลสไตน์ แต่ก็พยายามวิ่งเต้นและกดดันไม่ให้สหประชาชาติรับรองความเป็นรัฐให้กับปาเลสไตน์ สุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ สหรัฐฯ จึงกลายเป็นที่เกลียดชังของทั้ง  2 ฝ่าย  นอกจากนี้สหรัฐฯ ก็ไม่ยอมส่งกองทัพโจมตีซีเรียและอิหร่านตามคำขอของอิสราเอล  (ในทางกลับกันโอบามายังพยายามติดต่อพูดคุยกับประธานาธิบดีอิหร่านอีกด้วย)  ล่าสุดเมื่อตอนต้นเดือนมีนาคม ปีนี้นายเนทันยาฮูได้เดินทางมายังสหรัฐฯ เพื่อกล่าวคำปราศรัยที่รัฐสภาตามคำเชิญของรัฐสภาซึ่งพรรคริพับลิกันเป็นเสียงส่วนใหญ่ เพื่อเป็นกลยุทธทางเมืองในการกดดันโอบามา ซึ่งได้การเมินเฉยจากโอบามาและรัฐบาลรวมไปถึงสมาชิกของพรรคเดโมแครตอีกเป็นจำนวนมาก อันสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มผลประโยชน์ที่วิ่งเต้นผลเพื่อประโยชน์ของอิสราเอลนั้นไม่ได้มีอำนาจไม่จำกัดและยังต้องต่อสู้กับกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ยังเป็นความเข้าใจผิดด้วยที่ว่าสหรัฐฯ ให้ความสำคัญแก่อิสราเอลเพียงประเทศเดียวในตะวันออกกลาง  สหรัฐฯ ยินดีช่วยเหลือทุกประเทศที่ตอบสนองประโยชน์ตัวเองและความมั่นคงในตะวันออกกลาง สหรัฐฯ พร้อมจะเป็นมิตรกับหลายประเทศซึ่งแม้ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลามแต่ก็จัดตัวเองว่าเป็นรัฐฆราวาส (secular state)  เช่นอียิปต์ยุคหลัง กามัล อัลนัสเซอร์ที่สหรัฐฯ ต้องการหว่านล้อมให้เป็นตัวกลางในการเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์และเป็นหลักความมั่นคงในตะวันออกกลาง รวมไปตุรกี (หากนับว่าอยู่ในตะวันออกกลาง) ซึ่งมีรูปแบบการปกครองค่อนไปทางเผด็จการมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับอินโดนีเซียซึ่งมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก หรือแม้แต่รัฐที่จัดว่าตัวเองเคร่งศาสนาดังเช่นซาอุดิอาระเบียและกาตาร์แต่ก็ถ้าประสานผลประโยชน์กับสหรัฐฯ ได้ก็ถือว่าเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับกลุ่มทุนสามานย์

นอกจากยิวและสมาคมลับแล้ว นักทฤษฎีสมคบคิดหลายคนยังเชื่อว่าประธานาธิบดีเป็นหุ่นเชิดให้กับกลุ่มทุนสามานย์  ทฤษฎีนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากสื่อในเมืองไทยซึ่งเกลียดชังทักษิณและยังรับเอาทฤษฎีจากฝ่ายซ้ายเช่นนอม ชอมสกีมาใช้ในการวิเคราะห์ บางสื่อถึงกลับบอกว่าทักษิณเป็นเด็กดีของประธานาธิบดีและประธานาธิบดีเป็นหุ่นเชิดให้กับกลุ่มทุนสามานย์ ดังนั้นทักษิณจึงเป็นหุ่นเชิดให้กับกลุ่มทุนสามานย์ (ในรายการนั้น ผู้เขียนสังเกตว่า พอผู้ดำเนินรายการถามว่ากลุ่มทุนนั้นเป็นใครบ้าง เจ้าของทฤษฎีกลับตอบแบบไม่เต็มเสียงและเลี่ยงไปพูดประเด็นอื่นแทน)   เป็นเรื่องที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ มักมีนโยบายเอาใจบริษัทขนาดใหญ่หรือ บริษัทข้ามชาติ จนทำให้ฝ่ายต่อต้านเห็นว่าคนพวกนี้สามารถสั่งประธานาธิบดีแบบซ้ายหันขวาหันได้ (คนพวกนี้มักจะลืมวิเคราะห์พลเอกประยุทธ์ซึ่งก็มีลักษณะเช่นนี้ไม่ผิดเพี้ยน)  ดังเช่นอาจารย์สุลักษณ์  ศิวลักษณ์ในบทความ จดหมายรักถึงเผด็จการ แม้ว่าบริษัทขนาดใหญ่หรือบริษัทข้ามชาตินั้นก็เป็นหนึ่งในกลุ่มผลประโยชน์ที่มีกลุ่มนักวิ่งเต้นที่ทรงพลังมากและทุนทรัพย์สูงมาก แต่ผู้เขียนคิดว่าอิทธิพลของกลุ่มเหล่านี้เป็นเพียง "ระดับสูง" แต่ไม่ใช่ "ทั้งหมด" เพราะประธานาธิบดีจะต้องคำนึงถึงเรื่องอื่นด้วยเช่นอุดมการณ์ทางการเมือง และเศรษฐกิจ (เช่นเน้นเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่หรือเน้นผลประโยชน์ของชนรากหญ้าอเมริกันด้วย)  ทัศนคติของประชาชน ที่ปรึกษาด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านความมั่นคง และสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่เกิดขึ้น และปัจจัยอื่นอีกร้อยแปด ฯลฯ

ตัวอย่างได้แก่กลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มทุนที่มักตกเป็นจำเลยมากที่สุดก็คือ กลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธหรือ Military  Industrial Complex  หากเราลองศึกษาดูนโยบายการทหารและการต่างประเทศของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดังเช่นในกรณีสงครามเวียดนาม หากใช้ทฤษฎีสมคบคิดแบบ โอลิเวอร์ สโตน ก็จะบอกว่าเพราะเคนนาดีไม่ต้องการขยายอิทธิพลทางทหารไปมากกว่านี้ก็เลยถูกกลุ่มนี้ร่วมกับกลุ่มอื่นๆ เช่น   ซีไอเอ เอฟบีไอ กองทัพ  ฯลฯ ในการลอบสังหาร และเชิดลินดอน บี จอห์นสันซึ่งก็ถือกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในแผนครั้งนี้ขึ้นมา แต่ตามความจริงแล้วไม่มีการรับประกันว่าเคนนาดีนั้นจะไม่ขยายอิทธิพลทางทหารในอนาคต หากเขาไม่ถูกลอบสังหาร เพราะกระบวนทัศน์แห่งภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์หรือทฤษฎีโดมิโนนั้นมีอิทธิพลในทำเนียบขาวนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 50 (ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคมืดหรือยุคที่คนอเมริกันหวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์อย่างมาก)  ผสมกับความไร้ประสิทธิภาพและความฉ้อฉลของรัฐบาลเวียดนามใต้ในยุคของ    โง ดินห์ เดียม (ซึ่งเคนนาดีมีส่วนรู้เห็นในการให้ซีไอเอหนุนให้ทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลเดียม แต่อาจไม่ได้คาดคิดว่าเดียมและน้องจะถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม  ข้อมูลส่วนนี้ในภาพยนตร์ของโอลิเวอร์ สโตนไม่ได้กล่าวถึง)  รวมไปถึงความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลยุคหลังเดียม จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จอห์นสันต้องส่งกำลังทหารไปเข้าในเวียดนามใต้ในปี 1965 แม้ว่าจอห์นสันจะมีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธ (ซึ่งก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเขาอย่างแน่นอน) แต่ถ้าเคนนาดีจะยังดำรงตำแหน่งอยู่หรือว่าเป็นคนอื่นขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี สหรัฐฯ ก็อาจจะเข้าร่วมในสงครามเวียดนามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หรือในยุคของริชาร์ด นิกสัน (1968-1974) นั้น  แม้เขาจะสัญญาต่อประชาชนในช่วงหาเสียงว่าจะพากองทัพสหรัฐฯ ออกจากเวียดนาม แต่เขากลับขยายขอบเขตสงครามไปในลาวและกัมพูชา สำหรับคนที่มองว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นหุ่นเชิดให้กับกลุ่มทุนก็มองว่าการกระทำของนิกสันเกิดจากการบงการจากวงการอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว หากเราคำนึงถึงเงื่อนไขทางการเมืองแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่สหรัฐฯ จะถอนตัวออกจากเวียดนามใต้เพื่อปล่อยให้เวียดนามเหนือเข้ายึดอย่างง่ายดาย นิกสันและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติอย่างเช่นเฮนรี คิสซิงเจอร์คาดคิดว่าจะทำให้สหรัฐฯ เสียหน้าเพราะสงครามเวียดนามได้ทำให้สหรัฐ ฯสิ้นเปลืองงบประมาณและชีวิตของกำลังพลไปเป็นจำนวนมาก อันจะส่งผลร้ายต่อดุลทางอำนาจที่สหรัฐฯ มีไปทั่วโลก เช่นเดียวกับก็จะเป็นตัวทำลายคะแนนความนิยมและคะแนนเสียงที่มีคนอเมริกันมีต่อตัวนิกสันและพรรคริพับลิกันอย่างมาก นิกสันจึงหาทางออกบนนโยบาย “การออกจากเวียดนามอย่างมีเกียรติ” หรือ Honorable exit  ดังนั้นนิกสันจึงต้องทำให้กองกำลังเวียดกงที่ช่วยเหลือเวียดนามเหนือชะงักงันจากการทิ้งระเบิดอย่างหนักลงในช่องทางลำเลียงของพวกเวียดกงในลาวและกัมพูชาอันจะเป็นการเสริมสร้างความความปลอดภัยแก่เวียดนามใต้  รวมไปถึงการทิ้งระเบิดอย่างหนักที่เวียดนามเหนือเพื่อจะบังคับให้เวียดนามเหนือยอมเจรจายุติการโจมตีเวียดนามเหนือภายใต้สัญญาที่ชื่อ Paris Peace Accords ในปี 1973 ก่อนที่สหรัฐฯจะถอนฐานทัพออกไป และการที่นิกสันสามารถสร้างนโยบายอันยิ่งใหญ่เช่นการไปเชื่อมความสัมพันธ์กับจีนในปี 1972  และความสำเร็จของเขาในการเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์กับสหภาพโซเวียตในปีเดียวกันนั้น อันเป็นการลดความตึงเครียดระหว่าง 2 มหาอำนาจจนถึงปี 1979 ก็ไม่อาจเป็นเหตุผลที่เพียงพอสำหรับทฤษฎีที่ว่าประธานาธิบดีเป็นหุ่นเชิดให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธ

นอกจากนี้ในยุคของโรนัลด์ เรแกน ไม่มีหลักฐานเป็นรูปธรรมว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธนั้นสนับสนุนให้ เรแกนเป็นประธานาธิบดีชนิดที่ว่าเหมือนกับส่งเป็นตัวแทน (เหมือนกับที่สุลักษณ์ได้อ้างไว้ในบทความจดหมายรักถึงเผด็จการ) อาจจะจริงที่ว่ามีการสนับสนุน แต่เราก็ต้องดูว่าเป็นการสนับสนุนของกลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธแตกต่างจากกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ หรือไม่ กระนั้นสาเหตุที่งบประมาณของสหรัฐฯ จะสูงมากในยุคของเขาก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเพราะเรแกนเป็นนักต้านคอมมิวนิสต์และต้องการเน้นนโยบายต่างประเทศกับการทหารในเชิงรุกกับสหภาพโซเวียต แต่แล้วในหลายปีต่อมา เรแกนสามารถเปลี่ยนนโยบายจากนโยบายแบบเหยี่ยวในการทำสงครามมาเป็นการเจรจาการลดอาวุธนิวเคลียร์กับสหภาพโซเวียตร่วมกับกอร์บาชอฟได้สำเร็จเพราะเขาได้รับอิทธิพลจากการประท้วงอาวุธนิวเคลียร์ของชาวอเมริกัน (ซึ่งเป็นสิ่งที่สุลักษณ์ไม่ได้กล่าวถึง) เช่นเดียวกับแผนสตาร์วอร์ของเขาซึ่งเป็นเพียงการสร้างภาพเพื่อขู่สหภาพโซเวียตเพราะกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นการรวมตัวกันของนักวิทยาศาสตร์สามารถวิ่งเต้นรัฐบาล
โดยพิสูจน์ได้ว่าโครงการนี้สร้างผลเสียมากกว่าผลดี

เช่นเดียวกับบารัก โอบามา หากเขาเป็นไปอย่างที่ทฤษฎีสมคบคิดบอกว่าเป็นหุ่นเชิดให้วงการอุตสาหกรรมอาวุธ สหรัฐฯ คงทำสงครามกับซีเรียและอิหร่านซึ่งเป็นศัตรูของอิสราเอลไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีคำถามว่าเหตุใด   โอบามาจึงเสนอให้ตัดงบประมาณของกระทรวงกลาโหม แม้ว่าจะไม่สำเร็จนักเพราะอาศัยการร่วมมือจากรัฐสภา (ก็น่าสนใจว่ามีความพยายามในบรรดาสมาชิกของสภาหลายคนในการทำให้กระทรวงกลาโหมนั้นสามารถถูกตรวจสอบงบประมาณได้โปร่งใสกว่าเดิม) แต่ก็แสดงให้เห็นว่าประธานาธิบดีนั้นมีความเป็นตัวของตัวเองซึ่งดำเนินนโยบายต่างๆ อันตั้งอยู่การคิดอย่างมีเหตุผล ความโลภ หรือความโง่ขลาหรืออะไรก็แล้วแต่  อุปนิสัยประการหนึ่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทุกคนคือรักในเกียรติของตนและต้องการเอาชนะอุปสรรคหรือขีดจำกัดที่อยู่รอบตัวเอง


ความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ และกองทัพ

ความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ และกองทัพ (Civilian-military relations) ถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอำนาจของประธานาธิบดีอีกเช่นกัน  จากบทความของสุลักษณ์คือจดหมายรักถึงเผด็จการ สุลักษณ์ได้อ้างว่า “แม่ทัพนายกอง” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการบริหารรัฐกิจนั้น ผู้เขียนเข้าใจว่าเขาน่าจะหมายถึงบรรดานายพลในกองทัพ อันสะท้อนให้เห็นว่าสุลักษณ์อาจนำเอาบริบททางการเมืองไทยมาสวมทับกับการเมืองของสหรัฐฯ ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังบทความของผู้เขียน “รู้แล้วว่าเหตุใดจำนวนนายพลไทยจึงมีมากกว่านายพลอเมริกัน” สะท้อนให้เห็นว่านายพลทั้งหลายไม่มีอำนาจทางการเมืองเช่นเดียวกับไทยหรือประเทศด้อยพัฒนาที่เป็นเผด็จการทั้งหลาย ค่านิยมของการเป็นมืออาชีพของกองทัพอเมริกันนั้นเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจเช่นเดียวกับบทบาทของพลเรือนที่มีอยู่เหนือกองทัพ กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าความสัมพันธ์ระหว่างบรรดา “แม่ทัพนายกอง” กับประธานาธิบดีอเมริกันหาได้ราบรื่นอย่างที่เข้าใจกันเสมอไป อันเป็นธรรมชาติของทุกประเทศไม่ว่าเผด็จการหรือประชาธิปไตย (คงมีบางประเทศที่ยกเว้นเช่นไทยเพราะทหารปกครองประเทศเสียเอง)  เพราะบรรดานายพลทั้งหลายนั้นเป็นทหารอาชีพซึ่งมีความรู้ความสามารถอย่างเต็มเปี่ยม ในขณะที่ประธานาธิบดีนั้นเป็นพลเรือนย่อมไม่อาจเทียบเท่าได้  (สำหรับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นมีเพียง ดีดี ไอเซนฮาวร์ที่เคยเป็นนายทหารอาชีพมาก่อน)  ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญหรือวิกฤตขึ้นมาจึงมีความเป็นไปได้สำหรับความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีและนายพลดังเช่นกรณีสงครามเกาหลีที่ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมนได้ปลดนายพลดักกลัส แม็คอาเธอร์ออกจากการเป็นผู้บัญชาการกองทัพของสหประชาชาติในเกาหลีใต้เพราะทัศนคติไม่ตรงกันที่ว่าแม็คอาร์เธอร์ต้องใช้การอาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์กับจีนและเกาหลีเหนือ ในขณะที่   ทรูแมนไม่ต้องการขยายวงของสงครามไปมากกว่านี้  กระนั้นประวัติศาสตร์ในช่วงนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะแต่แม็คอาเธอร์ได้ปฏิเสธในภายหลังว่าเขาต้องการใช้อาวุธนิวเคลียร์พร้อมกับชี้ว่าเป็นข้อกล่าวหาของทรูแมน  หากแม็คอาร์เธอร์พูดถูก สาเหตุสำคัญที่น่าจะทำให้ทรูแมนปลดแม็คอาร์เธอร์ก็ได้แก่การแสดงตัวท้าทายเขาต่ออำนาจของประธานาธิบดี  มีเรื่องเล่าว่าเมื่อทรูแมนได้พบกับแม็คอาร์เธอร์ ฝ่ายหลังได้จับมือกับฝ่ายแรกแทนที่จะแสดงการเคารพแบบทหารอันสะท้อนว่าแม็คอาร์เธอร์ไม่ได้เคารพในตัวประธานาธิบดีเลย

หรือในยุคของบิล คลินตันและจอร์จ ดับเบิลยู บุชนั้นมีภาพของผู้ไม่เจนจัดในสงครามเพราะคลินตันมีประวัติของการหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหารในช่วงสงครามเวียดนามอันจะเป็นตัวซ้ำเติมให้ความสัมพันธ์ระหว่างคลินตันกับกองทัพถือว่าย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์นอกเหนือจากนโยบายต่างๆ ของเขาที่ขัดแย้งกับกองทัพ ในขณะที่บุชถูกกล่าวหาว่าใช้เส้นสายของบิดาในฐานะวุฒิสมาชิกของรัฐเท็กซัสไปเป็นสมาชิกของกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ (National Guard) ด้านการป้องกันทางอากาศและยังไม่ยอมมาปฏิบัติหน้าที่เป็นเดือนๆ   ดังจะเห็นได้จากภาพยนตร์ Transformers (2008)  ที่เป็นภาพยนตร์เชิดชูลัทธิกองทัพนิยมและน่าจะสะท้อนมุมมองของทหารได้ในระดับหนึ่งยังล้อเลียนบุชโดยให้ประธานาธิบดีดูขาดความเก่งกาจ และไร้ประสิทธิภาพ นอกจากนี้การทำสงครามในอัฟกานิสถานและอิรักของที่ล้มเหลวย่อมทำให้กองทัพนั้นหันมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของบุช กรณีอันโด่งดังได้แก่ขบถนายพล (Generals revolt) ในปี 2006 ที่บรรดานายพลที่เกษียณอายุราชการไปแล้วได้วิจารณ์และเรียกร้องให้นายโดนัลด์ รัมส์เฟลด์รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมลาออกจากตำแหน่ง  ส่วนโอบามานั้นก็ยังถูกโจมตีว่าขาดความเป็นผู้นำทางทหารและนโยบายทางทหารสับสนและไม่ประสบความสำเร็จนัก(ดังกรณีในตะวันออกกลาง) ดังเช่นในปี 2010      นายพลสแตนลีย์ แม็คไครส์ทัลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาการของไอเอสเอเอฟหรือกองทหารนานาชาติที่นำโดยองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือได้ให้สัมภาษณ์ต่อนิตยสารโรลิ่งสโตนในเชิงวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลและรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต่อมาเขาจึงถูกโอบามาไล่ออก

โดยภาพรวมแล้วแม้ว่ากองทัพอเมริกันจะมีปัญหาและเสื่อมศรัทธาต่อรัฐบาลพลเรือนแต่กองทัพไม่เคยก้าวล่วงไปถึงการแทรกแซงทางการเมืองนอกจากจะมุ่งไปที่ประเด็นเรื่องการทหารเสียมากกว่า กองทัพจึงไม่สามารถมีอำนาจเหนือประธานาธิบดีหรือสามารถกดดันประธานาธิบดีมากจนเกินไปหรือแม้แต่การก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของประเทศเสียเองผ่านการทำรัฐประหารเหมือนกับประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศ ดังนั้นประธานาธิบดีสหรัฐฯ จึงยังคงเป็นจอมทัพอยู่ไม่ว่าในทางกฎหมายหรือเชิงปฏิบัติ

การเพิ่มอำนาจของประธานาธิบดี

ด้วยความต้องการเอาชนะขีดจำกัดที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในประวัติศาสตร์ซึ่งไม่ต้องการจะถูกเรียกว่าเป็นประธานาธิบดีเป็ดง่อย (Lamb duck president) จึงมุ่งเพิ่มหรือแสวงหาอำนาจให้กับตัวเองได้หลายรูปแบบเช่นจากการสร้างบารมีให้กับตัวเองโดยใช้สิ่งที่ตัวเองมีอยู่ตั้งแต่ก่อนเป็นประธานาธิบดีเช่น บุคลิก หน้าตา วงศ์ตระกูล ภรรยา ครอบครัวหรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงผ่านการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ (โดยมีคำว่า First นำหน้าเช่น First Lady หรือสุภาพสตรีหมายเลข 1 อันหมายถึงภรรยาของประธานาธิบดี) แม้แต่ภาพยนตร์ซึ่งผู้เขียนคิดว่าทำเนียบขาวนั้นได้เข้าไปมีอิทธิพลในวงการฮอลลีวูดไม่มากก็น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัวแทนจากพรรคเดโมแครตได้เป็นประธานาธิบดีเพราะอุดมการณ์ค่อนข้างมีความสอดคล้องกัน  นอกจากนี้ทีมงานของประธานาธิบดียังใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ในการดึงดูดความสนใจของคนยุคใหม่เช่นการมีเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ของตัวประธานาธิบดีเอง ถึงแม้ปัจจัยแรกนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของประธานาธิบดีโดยตรงแต่ก็สามารถมีอิทธิพลเหนืออารมณ์ความรู้สึกของคนอเมริกันโดยเฉพาะเพศหญิงโดยประธานาธิบดีที่ทำสำเร็จมาแล้วได้แก่เคนนาดี เรแกนและคลินตัน   นอกจากนี้ประธานาธิบดีต้องส่งอิทธิพลให้สมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดอยู่ได้เข้าไปในสภาทั้ง 2 สภาคือวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรให้ได้จนเป็นเสียงข้างมากเพื่อความสะดวกในการออกกฎหมาย การอนุมัติงบประมาณหรือมอบอำนาจพิเศษให้กับตน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวประธานาธิบดีเองว่าจะทำให้คนอเมริกันเกิดความศรัทธาเสียก่อน ดังเช่นโอบามามีส่วนให้ให้พรรคเดโมแครตได้เสียงข้างมากในสภาเป็นเวลา 2 ปีนับแต่เขาดำรงตำแหน่ง

ประธานาธิบดีเองยังต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกพรรคเพื่อที่ว่าจะไม่มีคนแปรพักตร์หรือก่อขบถไปเข้าลงคะแนนเสียงให้กับพรรคตรงกันข้ามในการออกกฎหมายฉบับต่างๆ  ถึงแม้ว่าตำแหน่งประธานาธิบดีจะไม่ได้เปลี่ยนมือง่ายๆ เหมือนกับการเมืองแบบรัฐสภาอย่างเช่นอังกฤษหรือออสเตรเลีย แต่รัฐสภาซึ่งไม่เป็นมิตรกับประธานาธิบดีจะสร้างปัญหาให้กับภาวะความเป็นผู้นำของประธานาธิบดีดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น  นอกจากนี้ภาพพจน์ของประธานาธิบดีอันจะส่งผลถึงการเมืองระดับมลรัฐเช่นผู้ว่าการรัฐในพรรคที่ประธานาธิบดีได้รับความนิยมอย่างสูงอาจอาศัยภาพของประธานาธิบดีในการสร้างคะแนนเสียงให้กับตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันผู้ว่าการรัฐก็อาจจะเอาตัวออกห่างจากประธานาธิบดีที่คะแนนความนิยมตกต่ำเพื่อเอาตัวรอด ในด้านตุลาการประธานาธิบดียังสามารถแต่งตั้งตุลาการศาลสูงซึ่งมีอุดมการณ์เดียวกับพรรคของตนได้อันจะทำให้มีการตีความกฎหมายที่ตนและพรรคของตนพยายามผลักดันในด้านเป็นคุณให้ (ดังที่รูสเวลต์เคยประสบความสำเร็จมาแล้ว) กระนั้นก็ไม่ได้เป็นเรื่องรับประกันว่าจะสำเร็จเสมอไปเพราะประธานาธิบดีไม่สามารถสั่งปลดตุลาการที่ตัวเองแต่งตั้งได้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังต้องสามารถสร้างดุลทางอำนาจกับกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งก็แย่งกันในการเข้ามาอิทธิพลเหนือรัฐบาลและรัฐสภาเพื่อให้อำนาจของประธานาธิบดีมีความศักดิ์สิทธิ์ในสายตาของคนอเมริกันดังเช่นโอบามาได้ใช้สิทธิยับยั้งกฏหมายเกี่ยวกับท่อส่งน้ำมันคีย์สโตน เอ็กซ์แอลถึงแม้ว่ากลุ่มผลประโยชน์ทางพลังงานจะทำการวิ่งเต้นอย่างมากจนกฎหมายผ่านทั้ง 2 สภาก็ตาม  การกระทำของโอบามาเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มที่ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

นอกจากนี้ประธานาธิบดี (โดยเฉพาะจากพรรคเดโมแครต) มักจะสร้างโครงการขนาดใหญ่เพื่อมวลชนทั่วประเทศ อาจจะทำให้รัฐบาลท้องถิ่นคือมลรัฐต้องพึ่งพิงงบประมาณของรัฐบาลกลางมาก ดังนั้นประธานาธิบดีจึงสามารถมีอิทธิพลเข้าครอบงำผู้ว่าการรัฐได้แก่  แฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ซึ่งออกนโยบาย นิวดีลในช่วงปี 1933-1938 เพื่อฟื้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งพบกับความหายนะจากวิกฤตเศรษฐกิจนั้น นอกจากจะทำให้สหรัฐฯ จะมีเศรษฐกิจดีขึ้นจากการสร้างโครงการจำนวนมากเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนและการเพิ่มจำนวนงานแก่คนอเมริกันของรัฐบาลกลางแล้ว ยังทำให้รูสเวลต์เป็นประธานาธิบดีที่ทรงอำนาจและได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศ จนมีคนมองว่าเขาเป็นเผด็จการและยังเป็นเรื่องน่าสนใจว่าหากเขาไม่ถึงแก่อสัญกรรมเสียก่อนขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 4 ในปี 1945 เขาจะสามารถเป็นประธานาธิบดีต่อไปได้อีกกี่สมัย (วาระของประธานาธิบดีถูกจำกัดเหลือเพียง 2 สมัยตั้งแต่ปี 1951)

สุดท้ายประธานาธิบดีสหรัฐฯ สามารถสร้างอำนาจให้กับตนผ่านสงครามในฐานะเป็นจอมทัพ   ตามมติเกี่ยวกับอำนาจในเรื่องสงคราม (War Powers Resolution) ในปี 1973 ของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีสามารถสั่งกองทัพให้มีปฏิบัติการทางทหารได้ภายใน 60 วันก่อนที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบต่อการทำสงคราม (และยังขยายต่อได้อีก 30 วันหากจำเป็น)  ดังนั้นประธานาธิบดีทุกคนจึงพยายามหาช่องทางในการหาสาเหตุอันเหมาะสมเพื่อสร้างอำนาจและชื่อเสียงไม่ว่าในระดับประเทศหรือระดับโลกให้กับตัวเองเช่นการปฏิบัติการทางทหารอย่างมีขีดจำกัดในพื้นที่ต่างๆ เช่นบิล คลินตันสั่งกองทัพสหรัฐฯ ร่วมกับองค์การนาโตในการโจมตียูโกสลาเวียในปี 1999 (บ้างก็ว่าเพื่อกลบเกลื่อนเรื่องอื้อฉาวทางเพศระหว่างเขากับเด็กฝึกงานที่ทำเนียบขาว)  หรือยิ่งไปกว่านั้นการที่รัฐสภาประกาศสงครามไม่ว่าจะเป็นทางการหรืออยู่ในชื่ออื่นจากกรณีพิเศษเช่นการพบกับภัยคุกคามต่อประเทศจะเป็นการอนุมัติให้ประธานาธิบดีมีอำนาจเหนือระบบราชการที่เกี่ยวข้องกับการทำสงครามไม่ว่าบรรดานายพลหรือข้าราชการในกระทรวงกลาโหมมากกว่าเดิม เช่นประธานาธิบดีมีอำนาจในการใช้จ่ายงบประมาณสำหรับการทำสงครามโดยไม่ต้องผ่านการเห็นชอบของรัฐสภาก่อน   นอกจากนี้ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงการทำสงครามหรือไม่ก็ตาม ประธานาธิบดีสามารถรับมือกับนายพลในกองทัพได้โดยการสร้างชุดที่ปรึกษาด้านความมั่นคงที่เป็นพลเรือนแต่มีความรู้ความสามารถในด้านการทำสงครามหรือการแก้ไขวิกฤตที่เป็นภัยคุกคามต่อประเทศ ตัวอย่างเช่นคณะกรรมาธิการของสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือ EXCOMM ของจอห์น เอฟ เคนนาดีซึ่งช่วยคลี่คลายวิกฤตการณ์คิวบาในปี 1962 แต่เป็นเรื่องทีประธานาธิบดีต้องตระหนักให้ดีว่าเขาจะต้องคงความเป็นผู้นำของกลุ่มเช่นนี้อยู่ตลอดเวลา

นอกจากนี้สงครามยังทำให้ประธานาธิบดีสร้างชื่อเสียงและบารมีจนสามารถข่มพรรคการเมืองฝ่ายค้าน สื่อมวลชนหรือประชาชนจนต้องคล้อยตามนโยบายของประธานาธิบดี ดังเช่นเมื่อเกิดเหตุการณ์เครื่องบินชนตึกเวิร์ดเทรดเมื่อวันที่ 11 กันยายน ปี 2001 ทำให้รัฐสภาอนุมัติให้บุชมีอำนาจจากการเห็นชอบแก่ปฏิบัติการทางทหารของรัฐบาลในอัฟกานิสถานซึ่งเป็นที่ซ่อนตัวของบิน ลาเดนผู้ถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมในครั้งนี้ อนึ่งบุชยังใช้โอกาสนี้ในการผลักดันรัฐบัญญัติความรักปิตุภูมิหรือ PATRIOT Act ในการสร้างอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับการก่อการร้ายเช่น การดักฟังโทรศัพท์ การเข้าถึงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นอีเมล์ เว็บไซต์ต่างๆ  ซึ่งถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลซึ่งจะเพิ่มอำนาจทางฝ่ายบริหารเหนือสังคมอเมริกันอีก  รวมไปถึงการก่อตั้งกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) ในปี 2002 เพื่อตอบรับภัยที่จะเกิดในประเทศไม่ว่าจากการก่อการร้ายหรือภัยจากธรรมชาติอันเป็นการเพิ่มตำแหน่งของข้าราชการกว่าสองแสนตำแหน่งซึ่งก็เป็นการเพิ่มอำนาจของประธานาธิบดีอีกต่อหนึ่ง

สำหรับการรุกรานอิรักของสหรัฐฯ ในปี 2003  (โปรดสังเกตว่าผู้เขียนไม่ได้ใช้คำว่าสงคราม เพราะรัฐสภาไม่ได้ประกาศสงครามอย่างเป็นทางการกับประเทศใดเลยนับตั้งแต่ปี 1942)  ซึ่งก็มีข้อกล่าวหาต่อรัฐบาลอเมริกันมากมายและหนึ่งในนั้นของฝ่ายซ้ายที่น่าเชื่อถือก็คือการเข้าไปครอบครองแหล่งผลิตน้ำมันและแรงผลักดันจากอุดมการณ์นวอนุรักษ์นิยมในการส่งออกประชาธิปไตย (ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากวงการอุตสาหกรรมอาวุธ) แต่สาเหตุอื่นที่จะกล่าวในที่นี้ก็คือความพยายามของบุชในการเป็นประธานาธิบดีที่เก่งกาจในสายตาของคนอเมริกันและชาวโลกเพราะทำให้สหรัฐฯ มีอำนาจมากและสามารถจัดระเบียบโลกใหม่ผ่านวาทกรรมสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror) ได้ยิ่งใหญ่กว่าบุชผู้พ่อเมื่อบัญชาการให้สหรัฐฯ บุกรุกอิรักครั้งแรกในปี 1991  แต่ผลที่ได้กลับล้มเหลวอันกลายเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งนอกไปจากการก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008  บุชจึงกลายเป็นประธานาธิบดีที่มีคะแนนความนิยมที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์คนหนึ่งภายหลังการสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 2009

ตัวอย่างล่าสุดได้แก่โอบามาซึ่งมีโนบายการต่างประเทศและการทหารค่อนข้างสับสน แม้ว่าในช่วงต้นของตำแหน่งประธานาธิบดี เขาจะพยายามทำสัญญาที่เคยให้ไว้คือการสิ้นสุดสงครามในอัฟกานิสถานและอิรักรวมไปถึงสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในสมัยรัฐบาลบุชซึ่งไม่ได้รับความนิยมจากสาธารณชน แต่ด้วยความต้องการของโอบามาในการสร้างผลงานเพื่อเรียกคะแนนความนิยมอันเป็นการตอบรับกับเหตุการณ์ต่างประเทศไม่ว่าสงครามกลางเมืองและความวุ่นวายในอิรักและลิเบีย ซีเรียอันเป็นผลให้เกิดกลุ่มผู้ก่อการร้ายไอเอส (ซึ่งเราก็ไม่สามารถปฏิเสธแรงกดดันจากกลุ่มอื่นเช่นขีดจำกัดดังที่กล่าวไว้ข้างบนไม่ว่าอิทธิพลจากที่ปรึกษาความมั่นคง กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ ฯลฯ) ทำให้โอบามาต้องดำเนินนโยบายสงครามต่อไปดังเช่นเรียกว่าสงครามต่อต้านการก่อการร้ายภาค 2.0 (War on Terror 2.0)  เช่นโอบามาส่งกองกำลังจำนวนหลายหมื่นคนเข้าไปในอัฟกานิสถานในปี 2009 นอกจากนี้เขายังอนุมัติให้เครื่องบินไร้คนขับโจมตีผู้ก่อการร้ายในปากีสถานอันยังผลให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบันและในปี 2015 นี้   โอบามายังได้เรียกร้องให้รัฐสภาอนุมัติอำนาจพิเศษให้กับเขาในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายไอเอสเป็นเวลา 3 ปี

และเพื่อเป็นการสนับสนุนให้นโยบายทั้งการต่างประเทศและการทหารสำเร็จอันนำไปสู่อำนาจ ประธานาธิบดีจึงจำต้องข้ามเส้นแห่งความผิดชอบชั่วดีไปสู่การอนุมัติให้รัฐบาลมีปฏิบัติการลับ (covert operation) ในต่างประเทศอันจะเป็นการปลดเปลื้องตัวประธานาธิบดีออกจากขีดจำกัดทุกอย่างรอบตัวไม่ว่าหลักทางจริยธรรม กฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชนซึ่งสหรัฐฯมักใช้เป็นการกดดันประเทศอื่น  รัฐสภาและฝ่ายค้าน สื่อมวลชน รวมไปถึงคนอเมริกันซึ่งต่อต้านตน ปฏิบัติการเช่นนี้เป็นสิ่งที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ช่วงตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นิยมกระทำนับตั้งแต่ปฏิบัติการณ์ลับของทั้งไอเซนฮาวร์และเคนนาดีในการนำเอาชาวคิวบาพลัดถิ่นมาฝึกเพื่อโค่นล้มฟีเดลคาสโตรในปี 1961 ดังที่เรียกว่า Bay of pigs ปฏิบัติการณ์ที่อนุมัติโดยริชาร์ด นิกสันอันมีชื่อว่าปฏิบัติการเมนู (Operation Menu) และปฏิบัติการณ์ฟรีดอม ดีล (Freedom deal) ในการทิ้งระเบิดเหนือลาวและกัมพูชา ระหว่างปี 1969-1973 ซึ่งเป็นปฏิบัติการลับที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศเพราะลาวและกัมพูชาไม่ได้เป็นคู่กรณีเหมือนกับเวียดนามเหนือ ปฏิบัติการณ์นี้ยังขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญเพราะรัฐสภาไม่ได้รับรู้ก่อน หรือแม้แต่คุกลับที่ดำเนินการโดยซีไอเอในการทรมาณนักโทษเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อการร้ายในช่วงรัฐบาลของจอร์จ ดับเบิลยู บุช แม้ปฏิบัติการณ์เหล่านั้นโดยมากจะมีการตัดความรับผิดชอบทางกฎหมายไม่ให้ถึงตัวประธานาธิบดี แต่การเปิดเผยของสื่อมวลชนในภายหลังได้ทำให้คนอเมริกันและชาวโลกเสื่อมความศรัทธาต่อตัวประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมไปถึงตัวสหรัฐฯ เองอย่างมาก