PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

"ยุทธการแลกเชลยศึก" ?

การย้อนจับหลวงปู่พุทธอิสระนั้นมีเงื่อนงำแน่นอน เรื่องเกิด 2557 และท่านโดนคดีกบฏด้วยอยู่แล้ว แต่มาจับคดี "ทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจพกพาอาวุธ" ที่เข้าไปในเขตชุมนุม "หลักสี่ไ ในปี 2561 ตำรวจทิ้งช่วง 4 ปี จึงเป็นหนึ่งคำถาม
การที่เจ้าหน้าที่เข้าไปในพื้นที่ชุมนุม โดยไม่แจ้งให้ใครรู้ ทั้งๆ ที่รู้ว่า "หลวงปู่รับผิดชอบเวที "ศูนย์ราชการหลักสี่อยู่" ซึ่งปกติเจ้าหน้าที่รัฐต้องป้องกันการเข้าใจผิด ควรต้องแจ้งให้ "หลวงปู่ทราบ นั่นเป็นเจตนาที่จะป้องกัน "มือที่ 3" สร้างสถานการณ์ ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ การล้มสลายของรัฐบาลชั่วคราวของระบอบทักษิณ ยกเว้นแต่ว่า "ประมาท" ไม่แจ้งให้ "หลวงปู่หรือหัวหน้าการ์ดทราบ ยกเว้นมีแผนการนอกเหนือกว่านั้น
แผนการจับกุม "หลวงปู่นี้ น่าจะเป็นความแค้นของหลายๆ คน โดยเฉพาะ "ฝ่ายตำรวจ" และ "ฝ่ายฮาร์ดคอร์ระบอบทักษิณ" เพราะเรื่องราวที่ "หลักสี่" มีเบื้องหลังมากมายและเป็นจุดล่อแหลมต่อการที่ใครก็ได้สามารถเข้าไปเผา "ศูนย์ราชการ" ได้ และจะเป็นเรื่องราวการเผาของฝ่ายโค่นระบอบทักษิณหรือ กปปส. ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องคู่ขนานกับ "นปช.เผาบ้านเผาเมือง" ในปี 2553 โชคดีที่ "ใครคนนั้น" ไม่สามารถทำได้ตามแผนชั่วร้ายนั้น
แผนการจับกุม "หลวงปู่" แบบไร้ปราณีนี้ ผมขอเรียกว่า "ยุทธการแลกเชลยศึก" เชลยศึก คือ ผู้ที่ถูกฝ่ายตรงข้ามของการสงครามจับตัวไว้ แต่เชลยศึกในกระบวนคิดนี้ คือ "ระบอบทักษิณ" เพราะทั้งระบอบเป็น "เชลยศึก" สงครามการเมืองของไทย มีหลายคดี เช่น คดีการเผาบ้านเผาเมือง คดีทุจริต คดียิงลูกระเบิดใส่ประชาชนมีคนตาย และคดี ม.112 การจับหลวงปู่พุทธอิสระอย่างไร้ปราณี เป็นการสร้างกระแส หลายมิติให้สังคมตอบสนอง และสิ่งที่ "ระบอบทักษิณ" ต้องการให้เกิด คือ "การปรองดอง" เพราะ"ต้องการได้รับการปลดปล่อยภาวะเชลยศึกทางการเมือง" ด้วยการแลกเปลี่ยน และให้ยอมรับ "หลักการปรองดอง" ก่อนการเลือกตั้งในอนาคต เพราะคดี 2 คดีของหลวงปู่นั้น สำนวนและพยานขึ้นอยู่กับตำรวจครับตำรวจสามารถปรับเขียนสำนวนอย่างไรก็ได้ และสามารถพริกแผลงการการหาพยานหลักฐานได้
การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์นั้นเป็นจินตยุทธ์ครับ การชนะสงครามเป็นศิลปแห่งการสร้างสมมติฐาน ที่คล้ายกับเกมส์หมากรุกหรือหมากล้อม หมากรุกมี 64 ตาราง มีตัวเล่น 32 ตัว และมีกติกาที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 7-8 ศตวรรษมาแล้ว ทีปรัชญาของเกมส์อยู่ที่รุกและเอาชนะโดยเร็ว เช่นเดียวกับหมากล้อมมีหลักปรัชญาอยู่ที่ "ความอดทนและรอบคอบ" จึงไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ใครสร้างสมมติฐานได้ละเอียดรอบคอบกว่า คือ ผู้ชนะ ผมคิดว่าความอดทนอหิงสา ไม่เรียกร้องและจินตยุทธ์ของหลวงปู่จะนำสู่ชัยชนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น: