PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

น.3คอลัมน์ : สถานะ คสช. ตำบล กระสุนตก เหตุปัจจัย ใด

น.3คอลัมน์ : สถานะ คสช. ตำบล กระสุนตก เหตุปัจจัย ใด



เวลา 70 วันในการหาเสียงอันมีการต่อรองจาก คสช.ผ่าน นายวิษณุ เครืองาม อาจเป็นจำนวนมากหากนำไปเทียบกับเหตุการณ์ในอดีต
ไม่ว่ายุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ไม่ว่ายุค นายบรรหาร ศิลปอาชา
แต่สภาพความเป็นจริง 1 ซึ่งไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ ไม่ว่ายุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ไม่ว่ายุค นายบรรหาร ศิลปอาชา บ้านเมืองอยู่ในสภาพปกติ
สภาพปกติภายใต้ “รัฐธรรมนูญ”
กล่าวคือ รัฐบาลก็ดำเนินไปภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ พรรคการเมืองก็ทำกิจกรรมของตนไปตามกฎหมายพรรคการเมือง
นี่ย่อมแผกต่างไปจากยุค “คสช.”
เพราะทุกวันนี้แม้รัฐธรรมนูญจะประกาศตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 แม้ พ.ร.ป.พรรคการเมืองจะประกาศตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560
แต่ก็ยังมี “ประกาศ” และ “คำสั่ง” คสช.กดทับอยู่
นั่นก็หมายความก่อนการปลดล็อกในทางเป็นจริงซึ่งคาดว่าจะเป็นเดือนธันวาคม 2561 ทุกพรรคการเมืองล้วนมิอาจเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ
แม้จะมีการคลายในเรื่อง “สมาชิก” แม้จะมีการคลายในเรื่อง “ประชุมพรรค”
แต่พรรคการเมืองก็ไม่สามารถไปพบกับ “ประชาชน” ไม่สามารถเชิญนักวิชาการหรือผู้รู้มาช่วยระดมความคิดเพื่อจัดทำ “นโยบาย”
นี่คือ “ล็อก” อันเป็นโซ่ตรวจจาก “คสช.”
หากล็อกนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาค เที่ยงธรรม อย่างแท้จริงก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงกลับมีบางกลุ่ม บางพรรคสามารถเคลื่อนไหวได้
ขณะที่บางพรรคเพียง “ขยับ” ก็ถูกเรียกตัว

ตรงนี้ต่างหากที่ทำให้ข้อต่อรองของ คสช.ซึ่งส่งผ่าน นายวิษณุ เครืองาม ขาดความจริงใจ หากแต่เป็นเรื่องของการได้เปรียบ เสียเปรียบ
โดย “คสช.” มิได้เป็น “กรรมการ” อย่างตรงไปตรงมา
ไม่ว่าพรรคการเมืองเก่า ไม่ว่าพรรคการเมืองใหม่ ไม่ว่าพรรคการเมืองขนาดเล็ก ไม่ว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่ จึงตกอยู่ในสภาวะน้ำท่วมปาก
เว้นก็แต่บาง “กลุ่ม” เว้นก็แต่บาง “พรรค”
เป็นกลุ่มใด เป็นว่าที่พรรคการเมืองใด ทุกพรรคก็รู้ว่าเป็นอย่างไรและมีความเป็น “มิตร” กับ คสช.แนบแน่นมากน้อยเพียงใด
ยิ่ง “คสช.” ยื้อ ทุกสายตาก็ยิ่งมองไปยัง “คสช.”
สถานะความเป็น “กรรมการ” สถานะความเป็น “กลาง” ของ คสช.ได้ถูกลดทอนลงไปเป็นลำดับและแจ้งชัดมากยิ่งขึ้น
ในที่สุด “กรรมการ” ก็กลายเป็น “คู่แข่งขัน”
ในที่สุด ความไม่พอใจก็จะยิ่งรวมศูนย์ไปยัง “คสช.” อย่างเป็นเอกภาพ
อย่าได้แปลกใจไปเลย หากในที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น 70 หรือ 60 วัน แนวทางนโยบายของแต่ละพรรคในการหาเสียงสร้างคะแนนนิยมจะออกมาเป็น 2 แนวทาง
แนวทาง 1 คือ เอาด้วยกับ “คสช.”
แนวทาง 1 คือ ไม่เอาด้วยกับ “คสช.”
เหตุที่เป็นเช่นนี้มิใช่เพราะว่ามีความพยายามสร้างสถานการณ์จากฝ่ายใด หากแต่จุดเริ่มต้นมาจากการปฏิบัติของ “คสช.” เป็นสำคัญ
ทุกอย่างดำเนินไปตาม “กฎแห่งกรรม” กรรมใด ใครก่อ

ไม่มีความคิดเห็น: