PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

6 องค์กรผนึกพลังจริยธรรมในสังคมไทย

"หากเราไม่ผนึกกำลังกันคิดว่าบ้านเมืองจะไปไม่รอด"

"จริยธรรมที่เราบกพร่องคือความกล้าหาญในวิชาชีพ"


4ก.ค.56เมื่อเวลา14.50 น.ที่สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจัดงาน จริยธรรมในสังคมไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 16 ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มีการสนทนากลุ่มเรื่อง จริยธรรมในสังคมไทยโดย ศ.พิเศษ วิชา มหาคุณ กรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชิต ดร.ประวิช รัตนเพียร ผู้ตรวจการแผ่นดิน นายสีมา สีมานันท์ ประธานอนุกรรมการวิสามัญส่งเสริมจริยธรรมเพื่อราชการใสสะอาด สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ 


“อุดมเดช”มอง ข่าวไทยขายความรุนแรง ชี้มีการขัดผลประโยชน์กันระหว่างสปอนเซอร์กับนสพ.

นายเดชอุดม กล่าวว่า จริยธรรมของผู้สื่อข่าวนั้น คือความจริง ในวิชาชีพต้องไม่แต่งเติมเสริมต่อข่าวใดๆ ในการเป็นนักข่าว ในอดีตภาพข่าวที่ลงหนังสือพิมพ์ จะมีแต่ภาพข่าวแต่ความรุนแรง เช่นการถ่ายภาพหน้าตาของผู้ต้องหาให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะขายข่าวไม่ได้ ประเทศไทยชอบให้มีกฎหมายบังคับ ภาพเหล่านี้ทำให้ญาติคนตายสะเทือนใจเป็นอย่างมากและได้ถามญาติเหล่านั้นหรือเปล่าว่าเขาพอใจหรือไม่ ผิดกับต่างประเทศที่มีการป้องกันภาพอนาจารอย่าละเอียดกว่ามาก นอกจากนี้เรื่องขัดผลประโยชน์ระหว่างสปอนเซอร์กับหนังสือพิมพ์ก็ยังเป็นประเด็นที่น่าสนใจอยู่ 

นายเดชอุดมกล่าวต่อว่า สิ่งที่ทำให้เรากำลังสับสนอยู่ตนนี้ เพราะเรารับความนิยมแบบตะวันตกมากเกินไป เราวัดไอคิว พยายามเรียนให้เก่ง เมื่อศตวรรษที่ 20 ชาวตะวันตกสำรวจว่าการที่จะใช้ไอคิวอย่างเดียวนั้นไม่ได้ ต้องมี อีคิว และจริยธรรมด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าได้แสดงคำสอน คือ ศีล สมาธิ และปัญญา มาก่อนแล้ว แต่พวกเรานั้นไม่ปฏิบัติตาม ในอังกฤษ มีการสอนจริยธรรมกันตั้งแต่เด็กๆมากว่ากว่า 77 ปีแล้ว ผิดกับบ้านเราที่การศึกษาในทุกวันนี้ยังไร้ทิศทาง ดังนั้นสื่อควรจะเป็นตัวอย่างในการมีจริยธรรม



“ประวิช” ชี้จริยธรรมเป็นเรื่องของนามธรรม ทำให้สับสน ต้องเดินหน้าทำให้เป็นรูปธรรม

ดร.ประวิช รัตนเพียร ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ในการทำงานผู้ตรวจการแผ่นดินมีความคล่องตัว แต่ในการกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐ พบว่าเรื่องของจริยธรรมที่สับสนเพราะเป็นนามธรรม ทำให้มีความเห็นที่ต่างกัน ไม่มีรูปธรรม การที่จะหาแบบอย่างนั้นไม่เกิดขึ้น การพูดเรื่องจริยธรรมในแบบที่ไม่สามารถจับต้องได้ เป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่สามารถเห็นแบบอย่างของการกระทำ ไม่สามารถเห็นผลกระทบได้ทันที และเรื่องจริยธรรมเป็นเรื่องที่สอดแทรกอยู่ในทุกเรื่องของสังคม เรื่องถัดมาการสร้างจริยธรรมในสังคมไทย เรามีการทำมานานแล้ว แต่วันนี้ก็ยังไปไม่ถึงไหน หากเรายังทำอยู่แบบเดิมก็จะไม่สามารถสู้กับสังคมข้างนอกได้ เราควรจะหาทางออกที่ดีกว่านี้ ทำให้เป็นสิ่งที่สามารถจับต้องได้ อย่างในรัฐสภา มีคณะกรรมการประมวลจริยธรรม แต่ทางสภาเองก็มีปัญหาในการบังคับใช้

ดร.ประวิช กล่าวต่อว่า ทางผู้ตรวจการแผ่นดินกำลังพยายามเดินหน้าสร้างจริยธรรมให้เป็นรูปธรรมสามารถจับต้องได้ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ต้องมีแบบอย่างเอาจริงเอาจังเพื่อให้สังคมมองเห็นและบังคับใช้ได้ เช่นโครงการปลูกจิตสำนึก ที่ผ่านมาโครงการเช่นนี้ไม่สามารถปลูกได้อย่างเห็นผล ดังนั้นควรจะปลูกในรูปแบบใหม่ อย่างเช่นหยิบยกพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ต่างขึ้นมาในวันนี้การสื่อสารในสังคมพัฒนาอย่างมาก ดังนั้นถ้าเราไม่จริงจังจริยธรรมคงจะเสื่อมถอยอย่างมาก



“สีมา”จี้มุ่งสร้างจริยธรรมเชิงปฏิบัติ ควรเริ่มจากสาบันครอบครัว

นายสีมา สีมานันท์ ประธานอนุกรรมการวิสามัญส่งเสริมจริยธรรมเพื่อราชการใสสะอาด สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.) กล่าวว่า เรื่องคุณธรรมเราคงเห็นพ้องกันว่า ขณะนี้เราควรมุ่งไปในทางปฏิบัติเลย เรื่องนี้จริงๆแล้วมันรายล้อมรอบตัวเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือคนในวิชาชีพนั้นๆ เป็นเรื่องที่ทุกคนเป็นห่วง วันนี้เราควรพูดถึงว่า เราจะทำอย่างไรให้สังคมดีขึ้น การสั่งสมการปฏิบัติที่ดีต้องเริ่มที่จะมีการรณรงค์ส่งเสริมให้คนเป็นคนดี หลักสูตรการรณรงค์ส่งเสริมจริยธรรมควรแทรกเข้าไปในวิชาชีพเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ รวมไปถึงการผลิตสื่อต่างๆก็เพื่อช่วยเพิ่มการรณรงค์ การที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จต้องมีกลุ่มตัวอย่างที่ดี และต้องมีให้มาก และในหลายๆระดับด้วย เริ่มตั้งแต่ระดับสูงก็คือระดับผู้บริหารจนถึงล่างสุดก็คือคนใช้แรงงาน กุญแจแห่งความสำเร็จก็คือต้องมีผู้รับผิดชอบในส่วนนี้ ดังนั้นสถาบันครอบครัว โรงเรียน ศาสนาก็ต้องช่วยกันส่งเสริมต่อไปเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ 



ปธ.สภานสพ. มอง 16 ปีผ่านไปสื่อเปลี่ยน มองสื่อออนไลน์อันตรายเหตุไม่มีใครดูแลได้

นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า 16 ปีที่ผ่านมาสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก สภาการหนังสือพิมพ์ในยุคแรก มีความเข้แข็งมาก เรารู้ว่าจะทำอะไร ในระยะหลังๆพบว่าสื่อเปลี่ยนแปลงไปมากเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ทั้งสื่อออนไลน์ โซลเชียลมีเดีย ต่างพัฒนาไปมาก โดยไม่มีใครสามารถควบคุมได้ เป็นเรื่องที่น่าลำบากสำหรับการกำกับดูแล นอกจากนี้สิ่งที่น่าห่วงอีกอย่างหนึ่ง คือ เราสามารถชิ้วกดปุ่มเพียงครั้งเดียวเพื่อส่งข่าวไปได้ทั่วโลก



“ปธ.สิทธิมนุษยชน” แนะสื่อมีศีลธรรมในการเสนอข่าว อย่าเลือกปฎิบัติกับผู้มีอำนาจ ให้ยึดผลประโยชน์ปท.เป็นหลัก

ศาสตราจารย์ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า สังคมไทยโดยเฉพาะสื่อกำลังสับสนว่าจริยธรรมคืออะไร สำหรับตนในแง่จริยธรรมสังคมจะมีความสับสนอยู่ 2 เรื่อง คือ 1.ถูกกฎหมาย และ 2.ถูกกฎหมาย แต่ผิดศีลธรรม ซึ่งเรื่องดังกล่าวต้องดูใน 2 มิติ หากพบผิดศีลธรรมอยู่บ้างก็ต้องคิดหลายรอบ เราทุกคนรวมถึงสื่อมวลชนต้องยึดมั่นในความถูกต้องและถูกศีลธรรมด้วย 

ในแง่สื่อการวินิจฉัยผู้มีอำนาจกับผู้ที่ด้อยอำนาจจะแตกต่างกัน หากเป็นผู้มีอำนาจเราต้องมองว่ามีการใช้อำนาจถูกกฎหมายหรือไม่ และสุดท้ายเราต้องมองถึงเรื่องผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก แต่ในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกับผู้ด้อยโอกาสกว่านั้น เราต้องดูเรื่องของเหยื่อผู้ถูกละเมิด ต้องไม่พยายามเพียงแค่หาคนมาเป็นแหล่งข่าว เพื่อผลประโยชน์เท่านั้น ฉะนั้นหากหน้าที่ของสื่อคือการยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง จะต้องเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องของการรักษาความชอบธรรมให้สังคมและคนทั่วไป และหากเรากำลังสับสนขอให้มองขยายความรับผิดชอบไปถึงสังคมด้วย


“วิชา” บอกเคารพจริยธรรมสื่อ เชื่อสังคมจะหูหนวกตาบอดหากไม่มีสื่อตีแผ่ข้อมูล แนะมีความกล้าหาญในวิชาชีพ พร้อมผนึกกำลังเสริมสร้างจริยธรรม

ขณะที่ ศาสตราจารย์ พิเศษ วิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า ขบวนการจริยธรรมตนยังเคารพในสื่อ แต่ปัญหาในสังคมเราใหญ่มาก สื่อเองคงไม่พอ เพราะสื่อยังเอาตัวไม่รอด ตนให้กำลังใจสื่อมาตลอด เพราะรู้ว่าสื่ออยู่ได้ตนก็อยู่ได้ ป.ป.ช.ที่ผ่านมาอยู่ได้เพราะสื่อสนับสนุนและให้โอกาส จากที่ไปประชุมป.ป.ช.โลกเขา ระบุว่าการปราบปรามทุจริตส่วนที่สำคัญที่สุดคือ สื่อ เพราะหากสื่อปิดปากไม่ออกข่าว คิดว่าธุระไม่ใช่ บ้านเมืองก็จะหูหนวกตาบอดไม่รับรู้อะไรทั้งนั้น ถึงแม้เขาจะไม่อ่านวันนี้แต่วงล้อประวัติศาสตร์จะจารึกอยู่เสมอ และหากเกิดเรื่องร้ายแรง ที่ทำลายจริยธรรมคุณธรรม แต่สื่อไม่ออกข่าวเลย ประวัติศาสตร์ก็จะชี้ว่าเหตุที่จมปักเพราะสื่อมีส่วนเช่นกัน และหากเราไม่ผนึกกำลังกันคิดว่าบ้านเมืองจะไปไม่รอด

"จริยธรรมที่เราบกพร่องคือความกล้าหาญในวิชาชีพ ทุกวิชาชีพต้องมีความรู้ลึกซึ้ง จากที่ผมไปคุยกับประธานก.พ.ของประเทศภูฏานเขาบอกว่าเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินมีความสำคัญมาก ที่ต้องมีการสำแดงในฐานะข้าราชการและในฐานะผู้ประกอบชาชีพ เราต้องมีการปลุกมืออาชีพ เพราะเราปล่อยคนในระบบราชการแบบขอไปที คนดีๆที่อยู่ข้างนอกเมื่อเข้าระบบราชการก็บกพร่อง"

ศาสตราจารย์ พิเศษ วิชา ระบุว่า อ่านบทความเก่าของดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ที่มีการนำมาลงซ้ำใหม่ คนต่างประเทศที่มาสอนในประเทศไทยบอกว่ากระทรวงที่น่าหัวเราะที่สุดในไทยคือกระทรวงศึกษาธิการ น่าสงสารที่สุด เพราะเป็นผู้ที่ดูแลจริยธรรมคุณธรรมของเด็กที่สร้างขึ้นมา แต่ไม่สามารถทำได้ชัดเจน ขณะที่ป.ป.ช.ฮ่องกง ก็พูดว่าเรื่องการมีผลประโยชน์ทับซ้อนจะสอนตั้งแต่ในระดับมหาวิทยาลัย 

"อย่างเรื่องการสอบหากเด็กคนนั้นเป็นญาติของท่าน แต่มีตำแหน่งว่างตำแหน่งเดียวจะทำอย่างไร ก็ไม่ช่วยลูกหลานแล้วจะช่วยหมาที่ไหน นั่นคือสังคมไทย แต่ที่ฮ่องกงไม่ได้เด็ดขาดถูกออกลูกเดียว ส่วนที่ญี่ปุ่นก็มีกฎหมายที่ว่าด้วยจริยธรรม ห้ามไม่ให้ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งใดและมีส่วนได้เสียไปตีกอล์ฟกับคนที่เป็นนักธุรกิจเป็นอันขาด ให้ออกลูกเดียว แต่ประเทศไทยเป็นอย่างไร ที่สนามกอล์ฟถ้าไม่ไปถูกออก นี่คือการปฎิวัติสังคมของไทย แต่อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าเรายังมีความหวังในการผนึกกำลังในการมีจริยธรรม"ศาสตราจารย์ พิเศษ วิชาระบุ

หมายเหตุ-เผยแพร่โดยสภาการหนังสือพิมพ์ฯ

ไม่มีความคิดเห็น: