PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เกษียร เตชะพีระ : เสรีนิยม กับ ประชาธิปไตย

เกษียร เตชะพีระ : เสรีนิยม กับ ประชาธิปไตย

๑) เสรีนิยมไม่ใช่สิ่งเดียวกับประชาธิปไตย

Friedrich August von Hayek (1899 – 1992) อาจารย์ปู่เจ้าสำนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่ชาวอังกฤษเชื้อสายออสเตรียผู้ได้รางวัล โนเบลเศรษฐศาสตร์ปี ๑๙๗๔ เคยแสดงความเห็นไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับ เสรีนิยม vs. ประชาธิปไตยว่า เมื่อมองจากจุดยืนของเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งกล่าวให้ถึงที่สุดเป็นพื้นฐานของเสรีภาพทางการเมืองแล้วนั้น…..

Friedrich August von Hayek (1899 – 1992)
Friedrich August von Hayek (1899 – 1992)
“แม้ว่าเสรีนิยมจะไปกันได้กับประชาธิปไตย แต่มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เสรีนิยมเกี่ยวข้องกับขอบเขตแห่งอำนาจรัฐบาล ขณะที่ประชาธิปไตยเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ว่าใครกุมอำนาจ จะเห็นความแตกต่างได้ดีที่สุดหากเราพิจารณาถึงสิ่งที่ตรงข้ามกับสองอย่าง นั้น สิ่งที่ตรงข้ามกับเสรีนิยมคือเผด็จการเบ็ดเสร็จ ขณะสิ่งที่ตรงข้ามกับประชาธิปไตยคืออำนาจนิยม ดังนั้น โดยหลักการแล้วอย่างน้อยมันจึงเป็นไปได้ที่รัฐบาลประชาธิปไตยอาจมีลักษณะรวบ อำนาจเบ็ดเสร็จ และรัฐบาลอำนาจนิยมอาจดำเนินตามหลักการเสรีนิยม”
(อ้างจาก Hayek, F. A. (1967) ‘The Principles of a Liberal Social Order’, in Studies in Philosophy, Politics and Economics, Chicago, University of Chicago Press.)

๒) ความสัมพันธ์ระหว่างเสรีนิยมกับประชาธิปไตย

เพื่อนอาจารย์ร่วมคณะท่านหนึ่งได้ซักถามสืบเนื่องจากท่าทีของ Hayek ข้างต้นมาว่า
“…..แล้วอาจารย์เลือกทางไหนครับ? หรือว่า อันไหนควรมาก่อนมาหลังดี?”
ผมตอบว่า:
สองอย่างแยกกันไม่ได้ ต่างเป็นเงื่อนไขจำเป็นของกันและกัน หากไม่มีเสรีนิยม (limited government) ประชาธิปไตยอาจเสื่อมถอยกลายเป็นทรราชย์ของเสียงข้างมากได้โดยง่าย เพราะบุคคลและเสียงส่วนน้อยที่เห็นต่างสามารถกูกเบียดขับจำกัดสิทธิเสรีภาพ จนเงียบไปเลย เสียงข้างมากแบบประชาธิปไตยที่ได้ก็จะเป็นแบบ uninformed/ill-informed เพราะไม่ได้ฟังคนเห็นต่างจากเสียงข้างมาก และไม่ได้พบเห็นทางเลือกที่อาจเป็นไปได้และมีผู้เสนอ
ในทางกลับกัน หากไม่มีประชาธิปไตย (เมื่อคนเราเท่ากัน อำนาจย่อมเกิดจากตัวเลข ทุกคนหนึ่งเสียงเท่ากัน เสียงข้างมากตัดสิน จนกว่าเสียงข้างมากเปลี่ยนใจ ก็จะเกิดการตัดสินใหม่) เส้นที่เสรีนิยมต้องลากเพื่อจำกัดอำนาจรัฐบาล vs. สิทธิเสรีภาพของบุคคลพลเมือง ก็จะเป็นเส้นที่ลากโดยพลการ ไม่ชอบธรรม เพราะไม่เป็นที่ยอมรับ การขยับเส้นดังกลา่ว (เพิ่ม/ลดอำนาจรัฐ เพิ่ม/ลดสิทธิเสรีภาพของบุคคลพลเมือง) จะกลายเป็นตัดสินโดยคนส่วนน้อยหรือคณะบุคคล ต่อให้ลากขึ้นมา คนส่วนใหญ่ก็จะไม่เอาด้วย จะเกิดปัญหาการบังคับใช้เส้นนั้นเสมอ เส้นจำกัดอำนาจรัฐ/สิทธิเสรีภาพว่าจะอยู่ตรงไหนอย่างไรเส้นเดียวที่ชอบธรรม และรับได้ในปัจจุบันคือเส้นที่กำหนดโดยเสียงส่วนใหญ่ตามวิถุีทางประชาธิปไตย จนกว่าเสียงส่วนใหญ่จะเปลี่ยนใจแล้วลากใหม่
เสรีนิยมกับประชาธิปไตยจึงเป็นเงื่อนไขของกันและกันอย่างไม่อาจขาดกันได้ การขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป ส่วนที่เหลือก็จะบกพร่องพิการจนไม่สามารถธำรงคุณภาพเดิมไว้ได้ ต้องเสื่อมถอยไปเป็นอื่นในที่สุด ต้องมีทั้งคู่ครับ (พันธมิตรฯ เอาแต่เสรีนิยม ปฏิเสธประชาธิปไตย, ส่วนฝ่ายนปช.เอาแต่ประชาธิปไตย ละเลยเสรีนิยม นี่เป็นส่วนหนึ่งของความยุ่งยากทางการเมืองหลายปีที่ผ่านมา)

๓) ลำดับพัฒนาก่อนหลังของเสรีนิยมกับประชาธิปไตย

ส่วนคำถามของอาจารย์ Wasan Luangprapat เรื่อง sequencing หรือลำดับพัฒนาก่อนหลังของเสรีนิยมกับประชาธิปไตย อะไรควรพัฒนามาก่อนดี? นั้น
liberal_democracy
Fareed Zakaria เสนอว่าเสรีนิยมควรมาก่อน โดยอ้างเหตุผลและตัวอย่างในหลายทวีปว่าราบรื่นกว่า ถ้าให้ประชาธิปไตยมาก่อนโดยเสรีนิยมไม่พร้อมหรือขาดหาย ก็จะได้ illiberal democracy/authoritarian democracy ซึ่งก็มีส่วนจริงจากประสบการณ์ของหลายประเทศหลังสงครามเย็น เช่น เปรู, เวเนซูเอลา, ไทยภายใต้รัฐบาลทักษิณ ฯลฯ
แต่ในทางกลับกัน ผมก็คิดว่าถ้าพัฒนาเสรีนิยมก่อน จำกัดประชาธิปไตย คุณก็จะได้ liberal autocracy/liberal semi-democracy ซึ่งสามารถมีปัญหาได้เหมือนกัน เช่น นปช.ไม่สามารถรับระบอบนี้ที่กองทัพ คปค/คมช.กับพรรคประชาธิปัตย์สถาปนาขึ้นได้แล้ว จึงออกมาต่อสู้ดุเดือดเมื่อปี ๒๕๕๒ – ๕๓ สืบเนื่องมา
สรุปแล้วเรื่อง sequencing ไม่มีสูตรสำเร็จครับอาจารย์ ผมคิดว่าต้องดูเงื่อนไขสังคมการเมือง โดยเฉพาะ ชนชั้น & สัมพันธภาพ ดุลกำลังและการต่อสู้ทางชนชั้น ที่เป็นจริงในสังคมหนึ่ง ๆ
ในสภาพไทยปัจจุบัน ทางเลือกเสรีนิยมก่อน ประชาธิปไตยทีหลัง, หรือประชาธิปไตยก่อน เสรีนิยมทีหลัง ไม่ work ทั้งคู่
เสรีนิยมก่อน ประชาธิปไตยทีหลัง (เสื้อแดงหรือคนชั้นกลางระดับล่างในเมืองและชนบทซึ่งเป็นเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง เขาไม่เอา)
ส่วน ประชาธิปไตยก่อน เสรีนิยมทีหลัง (เสื้อเหลืองหรือสลิ่มหรือหน้ากากขาว รวมทั้งกลุ่มวิชาชีพ NGOs ซึ่งแม้จะเป็นเสียงส่วนน้อยในการเลือกตั้ง แต่กุมทุนทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินไว้มากในเขตกรุงและเมืองทั่วไป ก็ไม่เอา)
มีทางเดียว ต้องประคองมันไปด้วยกันทั้งเสรีนิยมและประชาธิปไตย โดยไม่ให้ทหารแทรกแซงและไม่ดึงสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง แต่ให้สถาบันหลักของชาติทั้งหลายเป็นหลักค้ำประกันทั้งพื้นที่สิทธิเสรีภาพและพื้นที่ประชาธิปไตย ไม่ให้ถูกล่วงล้ำทำลายด้วยอำนาจนอกระบบ (รัฐประหาร, ม็อบอนาธิปไตย, เส้นสายไม่เป็นทางการของอำมาตย์ ฯลฯ) ทั้งคู่

๔) ข้อคำนึงเพิ่มเติมถึงปัญหาเสรีนิยม vs. ประชาธิปไตยที่ผ่านมา

คุณ ป. เพื่อนผม คุยหลังไมค์เรื่องนี้มาว่า:
“things to considered
1. นักวิชาการ is not always popular.ตอนนี้นักวิชาการกำลังมีเครดิต ใครๆ ก็เอามาอ้างมาอิง แต่อย่าลืมว่า ในช่วงหลัง 2500 นักวิชาการไม่ป๊อบเลย คำนี้แปลว่าคนที่ไม่มีใครเขาเอาเป็นพวก ส่วนนักวิชาการที่มีพวก เขาเรียกว่าที่ปรึกษา (อันนี้นักวิชาการอาวุโสท่านหนึ่งบอกผม)
2. วัฒนธรรม is not always your friend. วัฒนธรรมเป็นวิถีทางแสวงหาความสุขของคน คนที่ว่านี้อาจจะมีจำนวนเป็นล้านๆ และวิถีทางที่ว่าอาจจะหมายถึงการต่อสู้ ด่าทอ เตะถีบ และหักหลังกันอย่างวุ่นวาย
3. ชนชั้นกลาง is not always as liberal as they look.
4. มวลชน is not always น่ารัก.”
ผมสนองตอบไปดังนี้:
I completely agree with all the 4 points you have raised. Hence neither the middle class’s liberal semi-democracy, nor the grassroots’ illiberal democracy will work. Both are bad in their own respective way. The difficulty is to find a way to get away from the political bind and I think color-politics is part of the problem.

ไม่มีความคิดเห็น: