PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประวัติศาสตร์ชาวโรฮินจา (โรฮิงยา) ทำไมอยู่พม่าไม่ได้ อองซานซูจีว่ายังไง?

โซเชียลพลิกข้อมูล…ประวัติศาสตร์ชาวโรฮินจา (โรฮิงยา) ทำไมอยู่พม่าไม่ได้ อองซานซูจีว่ายังไง?
Cr:สำนักข่าวเจ้าพระยา

ชาวโรฮินจา คือมุสลิมที่อาศัยอยุ่ทางตอนเหนือของยะไข่ (อาระกัน) ได้เข้ามาอยู่อาศัยในอาระกันตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 แต่จำนวนไม่สามารถระบุได้แน่ชัด หลังจากสงคราม Anglo-Burmese ในปี 1826 อังกฤษ เข้าปกครองอาระกัน และอพยพผู้คนจากเบงกอลเข้ามาใช้แรงงาน จำนวนประชากรของมุสลิมคิดเป็น 5% ของชาวอาระกันในขณะนั้น (1869) แต่หลังจากนั้นไม่นาน จำนวนประชากรโรฮิงยาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บันทึกตามสัมโนประชากรของอังกฤษระหว่างปี 1872 และ 1991 ได้ระบุว่าจะนวนประชากรมุสลิมในยะไข่ เพิ่มขึ้นจาก 58,255 คนเป็น 178,646 คน
“…ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดความรุนแรงระหว่างกองกำลังมุสลิม ที่อังกฤษติดอาวุธให้ กับกองกำลังชาวยะไข่พื้นเมือง ทำให้ความขัดแย้งเพิ่มสูงขึ้น ในปี 1982 นายพลเนวินได้ทำรัฐประหารสำเร็จ และปฏิเสธความเป็นพลเมืองพม่าของชาวโรฮินจา…”
“….อังกฤษได้มอบอาวุธให้กับมุสลิมโรฮินจาทางตอนเหนือของอาระกัน เพื่อสร้างแนวป้องกันการบุกของกองทัพญี่ปุ่น ในขณะที่ตัวเองกำลังหนีตาย แต่ชาวมุสลิมกลับใช้อาวุธนั้นเข้าทำลายหมู่บ้านของชาวอาระกัน แทนที่จะนำไปต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น…”
“…เพื่อเตรียมการบุกกลับเข้าสู่พม่า อังกฤษได้จัดตั้งกองกำลังทหารอาสา (V-Force) กับชาวโรฮินจา ในช่วงสามปีที่อังกฤษสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น กองกำลังโรฮินจามุ่งโจมตีชุมชนชาวอาระกัน ใช้อาวุธที่ได้รับจากอังกฤษ เข้าทำลายวัดพุทธ โบสถ์วิหาร เจดีย์ และบ้านเรือนชาวอาระกันอย่างโหดเหี้ยม…”
“…ผู้อาวุโสของโรฮินจา ได้ก่อตั้งกลุ่มนักรบมูจาฮีดีน เพื่อดำเนินการจีฮัดในพื้นที่ตอนเหนือของอาระกันในปี 1947 เป้าหมายของกลุ่มมูจาฮีดีน คือการสร้างรัฐอิสลามอิสระขึ้นในอาระกัน ในช่วงปี 1950s พวกเขาเริ่มใช้คำเรียกตัวเองว่า “โรฮินจา” เพื่อสร้างอัตลักษณ์สำหรับอ้างสิทธิ์เหนือดินแดน ขบวนการของพวกเขามีความก้าวหน้ามากในช่วงก่อนปี 1962 ที่จะมีการปฏิวัติโดยนายพลเนวิน เนวินได้ใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อต้านโรฮินจาตลอดสองทศวรรต ส่งผลให้มุสลิมในพื้นที่ต้องหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังคลาเทศในฐานะผู้ลี้ภัยสงคราม…”
“…ตั้งแต่ปี 1990 ความเคลื่อนไหวของโรฮินจาแตกต่างจากในยุค 1950 ที่ใช้กองกำลังติดอาวุธก่อกบฏ การดำเนินการในยุคใหม่มุ่งเน้นการล็อบบี้ต่างชาติ โดยชาวโรฮินจาที่หลบหนีออกมาได้ มีการสร้างเรื่องชนพื้นเมืองโรฮินจา โดยนักวิชาการโรฮินจา และเผยแพร่คำว่า “โรฮินจา” และใช้นักการเมืองปฏิเสธถิ่นกำเนิดในเบงกาลี นักวิชาการโฮินจาอ้างว่า ยะไข่เคยเป็นรัฐอิสลามมานับพันปี หรือมีกษัตริย์มุสลิมปกครองยะไข่เป็นเวลา 350 ปี สมาชิกสภาชาวโรฮินจายังเคยกล่าวว่า “โรฮินจาอยู่ฮาศัยในยะไข่มาตั้งแต่ยุคที่พระเจ้าสร้างโลก อาระกันเป็นของเรา และมันเคยตกเป็นดินแดนของอินเดียมา 1,000 ปี” พวกเขามักจะย้อยรอยถิ่นกำเนิดของโรฮินจาไปถึงนักเดินเรือชาวอาหรับ แต่การกล่าวอ้างนี้ถูกปฏิเสธในวงวิชาการว่าเป็น “นิทานที่แต่งขึ้นใหม่” นักการเมืองโรฮินจาบางคนใช้วิธีการตราหน้านักประวัติศาสตร์นานาชาติว่า เข้าข้างชาวยะไข่ เพื่อปฏิเสธประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานอ้างอิง แม้กระนั้น เรื่องนี้ก็แพร่กระจายไปในวงกว้างหลังการจลาจลในปี 2012…”
การจลาจลที่เกี่ยวกับศาสนาเป็นเวลาเกือบเดือนในตอนกลางของพม่า ทำให้มีผู้ถูกสังหารไป 43 คน บรรดาอดีตนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัว รวมทั้งเหล่าสมาชิกรัฐสภาต่างออกแสดงความเห็นใจชาวมุสลิมที่ตกเป็นเป้าหมายของความรุนแรง ซึ่งสุเหร่ากับบ้านเรือนของพวกเขาถูกเผา
แต่นางซูจีไม่ได้แสดงกล่าวประณามอย่างชัดเจน ต่อการจู่โจมชาวมุสลิมซึ่งคิดเป็นประมาณ 4% ของประชากรทั้งหมด หรือไม่ได้ประณามวาจาที่สร้างความเกลียดชังของพระสงฆ์หัวรุนแรงจำนวนหนึ่ง
ในทางกลับกัน เมือปี 2555 เมื่อเกิดคลื่นความรุนแรงขึ้น 2 รอบระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงญากับพระสงฆ์ชนชาติส่วนน้อยชาวระไค (Rakhine) ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คนในภาคตะวันตกของประเทศ ผู้นำของฝ่ายค้านเพียงแต่กล่าวอ้อมๆ เรียกร้องให้ทุกฝ่าย “เคารพกฎหมาย”
“พวกเขาไม่ได้เป็นพลเมืองของที่ใด และคุณเพียงแต่เสียใจต่อพวกเขาที่พวกเขาเกิดมารู้สึกว่าไม่ได้เป็นพลเมืองประเทศของเราเช่นกัน” นางซูจีกล่าวถึงชาวมุสลิม โรฮิงญา ในพม่าระหว่างเยือนญี่ปุ่นสัปดาห์ที่แล้ว
แต่นางซูจีซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2534 และถูกกักบริเวณให้อยู่ในบ้านพักเป็นเวลาหลายปี ได้ปกป้องท่าทีของตัวเองว่า “ดิฉันเสียใจถ้าหากประชาชนมองว่า ความเห็นของดิฉันไม่น่าสนใจมากพอในการยอมรับพวกเขา”
นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า การให้ความเห็นอันล่าช้าของนางซูจีในเรื่องนี้ และโดยปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์ของบรรดาตัวการที่ทำให้เกิดความรุนแรงได้ทำให้นางอยู่ไม่สบายแน่ๆ ในฐานะที่เคยเป็นผู้นำต่อสู้อดีตคณะปกครองทหารมารยาวนาน
“ผมดีใจที่นางยอมรับในทางใดทางหนึ่งว่าประชาชนเหล่านี้กำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง…. แต่.. มันจำเป็นที่จะต้องมีมากกว่านางรู้สึกเศร้า” นายฟิล โรเบิร์ตสัน (Phil Robertson) แห่งองค์การฮิวแมนไรท์วอตช์ (Human Right Watch) กล่าว
“ภาระในการดำเนินการตกอยู่กับฝ่ายรัฐบาล แต่นางซูจีก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้นำฝ่ายค้านธรรมดาๆ เช่นกัน.. และนี่คือจุดที่ศีลธรรมจรรยาที่สั่งสมมาตลอดเวลาหลายปีจำเป็นต้องนำมาใช้” นายโรเบิร์ตสันกล่าว
สิ่งนี้ได้ทำให้บรรดาชนชาติส่วนน้อยแสดงความสงสัยต่อประชาชนส่วนใหญ่ในพม่า รวมทั้งนางซูจี และได้ออกกล่าวหาว่า ภายใต้รัฐบาลปฏิรูปที่นำโดยพลเรือน ก็ยังมีการเลือกปฏิบัติอยู่ต่อไป สำหรับชาวโรฮิงญายิ่งเป็นที่แน่นอนว่าพวกเขารู้สึกถูกนางซูจีทอดทิ้ง
มีชนชาติส่วนน้อยโรฮิงญาราว 800,000 คน ที่องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า เป็นกลุ่มคนถูกเลือกปฏิบัติ และรับเคราะห์กรรมหนักหน่วง อาศัยอยู่ในรัฐระไค ในนั้นมีหลายหมื่นคนกลายเป็นผู้พลัดจากที่อยู่อาศัย อันเนื่องมาจากเหตุความรุนแรงปีที่แล้ว ปัจจุบันต้องหลบภัยในค่ายผู้อพยพที่จัดทำขึ้นชั่วคราว
กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนได้กล่าวหาเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยว่า ในบางกรณีได้เป็นผู้นำการโจมตีชาวโรฮิงญาเสียเอง
อาบู ทาเฮ (Abu Tahay) แห่งพรรคประชาธิปไตยเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ (National Democratic Party for Development) ซึ่งเป็นตัวแทนชาวโรฮิงญากล่าวว่า นางซูจีซึ่งมีฐานะเป็นธิดาของนายพลอองซาน บิดาแห่งเอกราช และเป็นสัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตยนั้น ทำให้มีพันธะที่จะต้องเข้าแทรกแซงในเหตุรุนแรง
แต่นายทาเฮก็ไม่ยอมวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำของสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy) ที่เชื่อกันว่า จะชนะในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2558 ที่อาจจะทำให้นางได้ขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี
“อองซานซูจีมีการเลือกตั้งที่จะต้องเอาชัยชนะในปี 2558 ถ้าหากแสดงความเอนเอียงไปเข้าข้างมุสลิมโรฮิงญา และชาวมุสลิมกลุ่มอื่นๆ จนเกินไป นางเสี่ยงต่อการตีตนออกห่างทางการเมืองของกลุ่มชาวพุทธที่เป็นส่วนหนึ่งของฐานเสียง” นายนิโคลาส ฟาเรลลี (Nicholas Farrelly) มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าว
“กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนตะวันตก และกลุ่มนานาชาติที่ต่อต้านการไม่ยุติธรรมต่อชาวอิสลาม ล้วนไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่จะเลือกผู้เข้าไปบริหารพม่าในช่วงปีข้างหน้า” นายฟาเรลลีกล่าว
นายวินทิน (Win Tin) ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “เดอะเลดี้” ไม่ประสงค์ที่จะเติมเชื้อให้แก่ความตึงเครียดทางชนชาติและศาสนา ในขณะประเทศกำลังผ่านออกจากระบอบของคณะปกครองทหาร
“สถานการณ์นี้ทำให้นางสูญเสียภาพของการเป็นศูนย์รวมแห่งธรรม ดอว์ซูจีทราบเรื่องนี้ดี” นายวินทินกล่าวกับเอเอฟพีโดยใช้สรรพนามนำหน้าภาษาพม่าที่แสดวงการยกย่อง พร้อมสำทับว่า “ทุกอย่างล้วนมีความเปราะบางทางการเมือง”
นักการทูตอาวุโสผู้หนึ่งบอกแก่เอเอฟพีว่า บรรดาผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติควรจะมองผู้นำประชาธิปไตยในความเป็นจริงให้มากยิ่งขึ้น
ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ “จำเป็นต้องพิจารณาว่าความผิดหวังของพวกเขานั้นเป็นผลจากการมองนางซูจีให้มีฐานะใกล้เคียงนักบุญกับความถูกต้องชอบธรรมในช่วงปีถูกกักบริเวณหรือไม่” นักการทูตที่ขอไม่ให้เปิดเผยตัวตนให้ความเห็น
แต่นางคริส ลูวา ผู้นำอำนวยการ “โครงการอาระกัน” (The Arakan Project) ในกรุงเทพฯ ที่เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของชาวโรฮิงญากล่าวว่า นางซูจีล้มเหลวอย่างสำคัญในการทดสอบความเป็นผู้นำ
“นางพูดถึงการปกครองด้วยกฎหมาย แต่นั่นยังไม่พอ” นางลูวากล่าว.


ไม่มีความคิดเห็น: