PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นายกรัฐมนตรีคุยสายตรงบัน คี มูน ด้าน-นปช. แจงข้อมูลยูเอ็น

นายกรัฐมนตรีคุยสายตรงบัน คี มูน ด้าน-นปช. แจงข้อมูลยูเอ็น
นายกรัฐมนตรีคุยโทรศัพท์สายตรงกับเลขาธิการยูเอ็นชี้แจงเรื่องการทำประชามติ แจ้งให้ทราบว่ามีผู้ไม่หวังดี เผยเลขาธิการยูเอ็นห่วงเรื่องการแสดงความคิดเห็นต่อร่าง รธน. ด้าน นปช.พบเจ้าหน้าที่ยูเอ็น และเตรียมทำหนังสือถึงอียูให้เข้ามาสังเกตการณ์การทำประชามติ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าในช่วงเช้าวันนี้ (20 มิ.ย.) ได้โทรศัพท์พูดคุยกับนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติในเรื่องการทำงานและการเตรียมการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ รวมทั้งการดำเนินงานตามโรดแมปที่วางไว้

สำนักข่าวไทยรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ได้ชี้แจงให้เลขาธิการยูเอ็นทราบว่ามีผู้ไม่หวังดี ซึ่งเลขาธิการยูเอ็นได้รับทราบและเชื่อว่าจะมีความเข้าใจ ทั้งนี้ เลขาธิการยูเอ็นได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนในขณะนี้ ซึ่งตนชี้แจงให้ ทราบว่ายังมีพรรคการเมืองบางพรรคไม่ให้ความร่วมมือทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้เปิดช่องทางให้เข้ามามีส่วนร่วมแล้ว แต่กลับไม่ยอมรับ

นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า จะมีการส่งผู้แทนไปชี้แจงทำความเข้าใจกับเลขาธิการยูเอ็นอย่างเป็นทางการอีกครั้ง และไทยพร้อมจะชี้แจงเรื่องนี้กับทุกประเทศ

สำนักข่าวไทยรายงานด้วยว่า ในวันเดียวกันนี้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) และแกนนำกลุ่ม ได้เข้าพบเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ โดยนายจตุพรระบุว่าได้พูดคุยเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเจ้าหน้าที่ยูเอ็น ได้แนะนำให้ทำหนังสือไปยัง นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ หากจะเชิญมาสังเกตการณ์การออกเสียงประชามติในไทย และหากกลุ่ม นปช. พบข้อมูลการละเมิดสิทธิ์เกี่ยวกับการทำประชามติ ก็ให้ส่งข้อมูลมายังยูเอ็นเป็นระยะ
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. กล่าวว่า ที่ผ่านมายูเอ็น สนใจและติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และได้แสดงความห่วงใยมาถึงรัฐบาลหลายครั้ง ซึ่งกลุ่ม นปช. จะทำหนังสือถึงสหภาพยุโรป หรือ อียู เพื่อขอให้เข้ามาสังเกตการณ์การออกเสียงประชามติ เพราะมองว่า อียู เป็นองค์กรที่มีประสบการณ์ตรง และมีบทบาทชัดเจน ในการเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้ง หรือการลงประชามติในหลาย ๆ ประเทศ ‪#‎ประชามติ‬ ‪#‎ร่างรัฐธรรมนูญ‬

ไม่มีความคิดเห็น: