PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

จรัญแจง ศาลไม่ได้ตีความเกินคำขอ เพิ่มอำนาจ ส.ว.ยกเว้นนายกฯบัญชี มุ่งแก้ปัญหาชาติ

“จรัญ” แจง คำวินิจฉัยศาล รธน.ไม่ตีความเกินคำขอ ยึดกรอบตาม รธน. ชี้เพิ่มอำนาจให้ ส.ว.ร่วมขอยกเว้นนายกฯจากบัญชีพรรค มุ่งแก้ปัญหาชาติ-ปัดเปิดทางนายกฯคนนอก
เมื่อวันที่ 30 กันยายน นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ไปปรับแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับคำถามพ่วงว่า เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ที่กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ร่างรัฐธรรมนูญชอบด้วยกับผลการออกเสียงประชามติแล้วหรือไม่ จึงไม่มีประเด็นว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกินคำขอ เพราะศาลรัฐธรรมนูญมิได้วินิจฉัยตามคำขอของใคร แต่วินิจฉัยตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ามี 2 ประเด็นคือ 1.ร่างของ กรธ.กำหนดเรื่องที่ให้สมาชิกรัฐสภาในวาระเริ่มแรกนับตั้งแต่มี ส.ส. ซึ่งไม่ตรงกับวรรคแรกของคำถามพ่วงที่เขียนไว้ว่า “ในระหว่างห้าปีแรกนับจากมีรัฐสภา” ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 1 ว่าต้องใช้กรอบเวลาเดียวกัน ไม่เช่นนั้นจะขัดแย้งกันหมด จึงขอให้มีการแก้ไขเรื่องกำหนดเวลาและการเริ่มนับเวลาให้ตรงกับคำถามพ่วง ไม่ใช่วาระเริ่มแรกนับตั้งแต่มี ส.ส. เพราะวาระเริ่มแรกหมายถึงครั้งเดียวหลังเลือกตั้ง ส.ส. จึงทำให้เกิดข้อคิดว่า ถ้าตั้งนายกฯ ไปครั้งหนึ่งหลังจากนั้นนายกฯลาออก หรือมีเหตุให้เปลี่ยนรัฐบาล ต้องตั้งนายกฯใหม่ก็ยังอยู่ใน 5 ปีแรก ตามผลออกเสียงประชามติของประชาชน แต่เกิดข้อติดขัดไม่สามารถเลือกคนจากบัญชีรายชื่อได้ แล้วจะขอยกเว้นเพื่อปลดล็อก ตามมาตรา 272 วรรคสองก็จะทำไม่ได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ
“ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ให้ตรวจสอบตามคำขอของ กรธ.หรือตามคำขอของใคร ดังนั้น จะมีคำขอหรือไม่ก็ไม่ใช่ประเด็น เพราะเมื่อศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบพบว่าไม่สอดคล้องกับผลออกเสียงประชามติก็ต้องแก้ให้ถูกต้อง เพราะไม่ใช่การไปใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ไม่ให้พิพากษาเกินคำขอ มันคนละระบบคนละศาล จึงต้องตัดประเด็นเรื่องคำขอไปเลย” นายจรัญกล่าว
นายจรัญกล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่ 2 ที่ศาลรัฐธรรมนูญให้แก้ไขคือ การเข้าชื่อขอยกเว้นการเลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อ ซึ่ง กรธ.เห็นว่าให้เป็นเรื่องของ ส.ส.เข้าชื่อกัน แต่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 7 ต่อ 2 ให้ ส.ว.มีส่วนร่วมในการเข้าชื่อด้วย เพราะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการอนุมัติยกเว้น ก็ควรให้สมาชิกของรัฐสภาร่วมกันทำ เพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหาประเทศในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งคนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อได้ตามมาตรา 272 วรรคหนึ่ง โดยไม่ได้ไปลิดรอนสิทธิของ ส.ส.ที่มีอยู่เดิม ส่วนการเสนอชื่อนายกฯ ก็ยังให้เป็นอำนาจของ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญบทหลักในมาตรา 159
เมื่อถามว่า กรณีที่มีเสียงวิจารณ์ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นการเปิดทางให้มีนายกฯคนนอกนั้น นายจรัญกล่าวว่า ไม่ใช่ เพราะ ส.ส.ต้องเสนอชื่อคนจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งอย่างน้อยน่าจะมี 3 พรรคที่ได้คะแนนเสียงเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ในสภา เท่ากับมี 9 คน แต่ถ้าติดล็อกว่าที่ประชุมรัฐสภาไม่เห็นชอบ ก็เท่ากับว่าต้องเลือก 9 รอบจาก 9 คน ดังนั้น จะปล่อยให้ประเทศอยู่ในภาวะอย่างนั้นนานๆ ก็อันตราย และไม่มีทฤษฎีใดที่จะสำคัญไปกว่าความมั่นคงอยู่รอดของประเทศชาติ ศาลรัฐธรรมนูญจึงแก้ไขให้ ส.ว.มีส่วนร่วมในการเข้าชื่อเสนอขอยกเว้นนายกฯจากบัญชีรายชื่อได้ด้วย ซึ่งก็ไม่ได้ตัดสิทธิ ส.ส.
“สำหรับกรณีที่มีข่าวว่า กรธ.บางคนอยากพบกับศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอความชัดเจนในการปรับแก้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ตนไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีการพบกันระหว่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกับ กรธ.หรือไม่ เพราะเรื่องนี้เป็นมติร่วมกันขององค์คณะทั้งหมด” ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกล่าว

วิษณุ ยันเลือกนายกฯ ไร้ทางตัน เหตุ รบ.มี ม.44 สั่งยุบสภาเลือกใหม่ได้

วิษณุ ยันเลือกนายกฯ ไร้ทางตัน เหตุ รบ.มี ม.44 สั่งยุบสภาเลือกใหม่ได้

"วิษณุ" ชี้ต้องร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง-กกต.เสร็จก่อน ไม่งั้นเขียน พ.ร.ป.เลือกตั้งไม่ได้ ระบุ เลือกนายกฯ หลังเลือกตั้งไม่ไร้ทางตัน หากตกลงไม่ได้ รัฐบาล-คสช. มีอำนาจยุบสภาเลือกใหม่ เหตุ ม.44 ยังอยู่ บอกไม่รู้ตั้งปลัด กทม.ตกค้างขั้นไหน ให้ถามสันติบาลปมห้ามแอมเนสตี้

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 59 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่า ตนไม่เคยตอบว่าต้องร่าง พ.ร.ป.ให้เสร็จภายใน 4 เดือน เพียงแต่ระบุว่า น่าจะทำให้เสร็จภายใน 4 เดือน หากไม่เสร็จก็ขยายเวลาไปจนครบ 8 เดือน ซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กำหนดแล้วว่า จะทำร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้เสร็จก่อน มิฉะนั้นจะไม่สามารถเขียนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งได้ เพราะยังไม่ทราบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าสามารถแจกใบใดได้บ้าง ถ้าเขียนกติกาเลือกตั้งก่อน จะโยงไม่ถึง กกต. รวมทั้ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งต้องทำกฎหมายพรรคการเมืองให้ชัดเจน จึงจะร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งได้ แต่ระหว่างนั้นสามารถร่างกฎหมายเลือกตั้งไปด้วย ส่วนที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้เซตซีโร่องค์กรอิสระนั้น ตนไม่ทราบ และถ้าทำตามที่หลายเสียงร้องขอ อาจถูกตำหนิได้ว่าไร้สาระ ไม่มีเหตุผล ไม่มีประโยชน์ ขณะเดียวกัน ขอยืนยันรัฐบาลไม่มีส่วนเสนอกฎหมายลูก แต่สำหรับ พ.ร.ป.พรรคการเมือง อาจต้องมีส่วนไปดู แต่ยังไม่ทราบว่าจะดูส่วนไหน เพราะยังไม่เสร็จ

นายวิษณุ ยังกล่าวถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับคำถามพ่วงในการออกเสียงประชามติ ซึ่ง กรธ.ส่งให้ตีความว่า คำวินิจฉัยของศาลที่แตกต่างจากร่างของ กรธ. เป็นเพราะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เมื่อร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาได้ตั้งแต่ร่างแรก เมื่อปรับแก้ใส่คำถามพ่วงเข้าไป ก็ต้องไปวินิจฉัยอีก เมื่อศาลว่าอย่างไรก็ว่าตามนั้น นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ไม่มีปัญหา และพร้อมแก้ไข ขณะที่ ศาลรัฐธรรมนูญมีเจตนาให้ ส.ว.มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิกรัฐสภาในการลงมติ แต่ยกเว้นการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี สำหรับเรื่องระยะเวลา 5 ปี ศาลรัฐธรรมนูญเกรงว่าจะเกิดข้อถกเถียงและตีความได้ 2 นัยและเกิดเรื่องยุ่งยาก จึงเขียนให้ชัดไว้เลยว่าให้ ส.ว.สามารถเลือกนายกฯ คนนอก ภายในเวลา 5 ปี  ถ้ารัฐสภายังไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ก็ต้องเลือกไปเรื่อยๆ รัฐธรรมนูญบางฉบับระบุว่าจะต้องเลือกนายกฯ ให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด แต่ไม่ได้บอกว่าถ้าเลือกไม่ได้จะทำอย่างไร ซึ่งคำตอบคือต้องเลือกไปเรื่อยๆ เมื่อเลือกไปสักระยะ 5-6 เดือนแล้ว สังคมต้องยอมรับว่าเมื่อตกลงกันไม่ได้ ก็แสดงว่ามีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาตามรัฐธรรมนูญ คือการยุบสภาโดยรัฐบาลปัจจุบัน เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าให้รัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อยู่ไปจนถึงมีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ที่ถวายสัตย์ปฏิญาณ และเข้าปฏิบัติหน้าที่ โดยที่มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังมีผลอยู่

"ผมไม่ได้เปิดประเด็นว่าให้ยุบสภา แต่เมื่อมีการถามว่าถ้าเลือกไม่ได้จะทำอย่างไร แต่ทางไม่ตัน ถ้าเลือกไม่ได้แสดงว่าประชาชน หรือผู้แทนของเขาไม่พอใจที่จะให้มีรัฐบาล การเลือกนายกฯ ไม่มีกำหนดเวลา แต่ต้องดูตามความเหมาะสม  จึงต้องช่วยกันเลือกให้ได้ก็จะหมดเรื่อง ถ้าเลือกตั้งแต่รอบแรกตามบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอ ยิ่งวิเศษที่สุด" นายวิษณุ กล่าว

นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณีกรุงเทพมหานคร ทวงถามรัฐบาลถึงการแต่งตั้งปลัดกรุงเทพมหานครคนใหม่ว่า ไม่ทราบว่าขณะนี้เรื่องอยู่ที่ไหน การเสนอชื่อปลัดกรุงเทพมหานครไม่ได้มาถึงตน ส่วนที่มีข่าวว่า รัฐบาลได้ส่งรายชื่อกลับไปยังผู้เสนอนั้น ตนไม่ทราบ

เมื่อถามว่า สรุปแล้วการตั้งปลัดกรุงเทพมหานครคนใหม่ จะเป็นคนใน กทม.หรือคนนอก กทม. นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะเรื่องนี้ไม่ได้มาที่ตน ตนไม่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้ นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณีเจ้าหน้าที่สันติบาล ห้ามแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล แถลงเปิดรายงานการซ้อมทรมานในประเทศไทยว่า ตนไม่ทราบรายเอียด เห็นเพียงข่าวในหนังสือพิมพ์ว่ามีปัญหาเรื่องใบอนุญาตทำงาน การห้ามเช่นนี้อาจมีมาก่อนเพียงแต่เราไม่ทราบ ส่วนที่องค์การต่างๆ สามารถเข้าประชุมในไทยได้เพราะมีการเชิญและได้รับอนุญาตจากรัฐบาล แต่องค์กรแอมเนสตี้ฯ ไม่มีใครเชิญ ความจริงเรื่องการแถลงถ้าจะแถลงสามารถทำได้ แต่ครั้งนี้อาจเกิดความเข้าใจที่ผิดบางอย่าง จึงทำให้แถลงไม่ได้ ทั้งนี้ หากจะยื่นข้อเรียกร้องมายังไทยสามารถทำได้ แต่เรื่องแถลงข่าวอยากให้สื่อไปถามผู้ห้ามมากกว่า ว่าห้ามเพราะอะไร

บิ๊กตู่ ใช้ ม.44 ย้ายฟ้าผ่า 4 ผู้ว่าฯ ตั้ง 'ศรศักดิ์' อธิบดีกรมเจ้าท่า

บิ๊กตู่ ใช้ ม.44 ออกคำสั่งย้ายฟ้าผ่า 4 ผู้ว่าจังหวัด 'ศรีสะเกษ-ตาก-จันทบุรี-ปัตตานี' ให้ระดับรองรักษาราชการแทน -ตั้ง ศรศักดิ์ แสนสมบัติ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเจ้าท่า
piooeeeddd29 3 16
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2559 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 12/2559 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
ระบุว่าเพื่อให้การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินด้านการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และการบริหารราชการในกระทรวงคมนาคมมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1ให้บุคคลดังต่อไปนี้ขาดจากตำแหน่งหน้าที่และอัตราเงินเดือนเดิม เพื่อย้ายหรือโอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามกรอบอัตรากำลังชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษที่จัดให้มีขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรีตามข้อ 1 แห่งคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2558 เรื่อง มาตรการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบและการกำหนดกรอบอัตรากำลังชั่วคราว ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พุทธศักราช 2558
(1) นายยุทธนา วิริยะกิตติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
(2) นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
(3) นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
(4) นายวีรพงศ์ แก้วสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
การย้ายหรือโอนบุคคลไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่เป็นอัตรากำลังชั่วคราวตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ในกรณีนี้ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ร่วมกันกำหนดชื่อตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และสิทธิประโยชน์ของบุคคลดังกล่าวโดยอนุโลมตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
ข้อ 2 ให้ นายธวัช สุระบาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
ข้อ 3 ให้ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
ข้อ 4 ให้ นายวิทูรัช ศรีนาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
ข้อ 5 ให้ นายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงมหาดไทยรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
ข้อ 6 ให้ นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงกระทรวงคมนาคม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
ข้อ 7 ให้ข้าราชการตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่ง
ตั้งแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
ข้อ 8 ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน
และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 24 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
ข้อ 9 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 29 มีนาคม พุทธศักราช 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

เป็นทหาร 40 ปี ไม่คิดทำร้ายใคร! 'บิ๊กตู่' แจงโดนอดีตผู้ว่าฯม.44 ยกกลอน'ศรีปราชญ์' ขอบคุณ

อดีตผู้ว่าฯ จันทบุรี ยกกลอน 'ศรีปราชญ์' ขอบคุณ 'บิ๊กตู่' วันเกษียณอายุราชการหลังรับใบประกาศเกียรติคุณ ระบุโดน"ประหารชีวิตราชการ" โดย ม.44  พ้นตำแหน่ง 6 เดือน ไม่เคยได้รับแจ้งข้อกล่าวหา-ถูกสอบสวน ครอบครัววงศ์ตระกูลขมขื่นมาก ด้าน 'ประยทธ์' แจงอนุมัติตามขั้นตอน เป็นทหารมา 40 ปี ไม่เคยคิดทำร้ายใคร  
pioeeeedddd
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า ขณะนี้คนในโลกออนไลน์ ได้มีการส่งแชร์ต่อข้อความของ นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถูกคำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 12/2559 ให้พ้นจากตำแหน่ง  เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2559 ที่เขียนไว้ในวันสุดท้ายชีวิตราชการ พร้อมรับใบประกาศเกียรติคุณ ในตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการพิเศษสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นข้อความที่นายสมศักดิ์ เขียนขึ้นจริง 
ระบุว่า "ขอกราบขอบพระคุณท่านนายกฯที่ได้มอบใบประกาศให้ โดยที่ผมไม่ได้สร้างความชั่วอะไรให้มีมลทินมัวหมองแก่ชีวิตราชการแต่อย่างใด และขอกราบขอบคุณทุกคนที่เป็นกำลังใจมาให้โดยตลอด
หลังจากโดน"ประหารชีวิตราชการ" โดย ม.44 ให้พ้นจากตำแหน่ง(ผู้ว่าฯจันทบุรี)เมื่อ 29 มี.ค.59 ตัวผมรับได้ครับ แต่ครอบครัววงศ์ตระกูลของผมขมขื่นมากมาเป็นเวลา 6 เดือนแล้วครับ
ผมสนับสนุน ชื่นชมผลงานตัวท่านและรัฐบาลนี้ในหลายเรื่องครับ แต่ผมนั้นยังตั้งมั่นในการสร้างคุณงามความดีแก่ชาติบ้านเมือง และวงศ์ตระกูลไปตลอดชีวิต ต่อไปครับ
ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์อาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง
ดาบนี้คืนสนอง
ศรีปราชญ์"
14492516 1108045662575891 1193124415686386794 n
ขณะที่ คนใกล้ชิดนายสมศักดิ์ ระบุว่า นายสมศักดิ์ เล่าให้ฟังด้วยว่า ตั้งแต่โดนคำสั่งมาตรา 44ให้ไปเป็นผู้ตรวจราชการพิเศษไม่เคยได้รับแจ้งข้อกล่าวหรือถูกสอบสวนด้วยข้อหาใดๆเลยจนบัดนี้จึงงงว่า ทำไมถึงโดนคำสั่ง"ประหารชีวิตราชการ"เช่นนี้

(อ่านประกอบ : บิ๊กตู่ ใช้ ม.44 ย้ายฟ้าผ่า 4 ผู้ว่าฯ ตั้ง 'ศรศักดิ์' อธิบดีกรมเจ้าท่า)

ต่อมาในช่วงบ่าย (30 ก.ย.59) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเป็นประธานมอบนโยบายในงานสัมมนาเสริมสร้างความรู้และธรรมาภิบาลของกรรมการรัฐวิสาหกิจ โดยนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวตอนหนึ่งถึงข้อความของอดีตผู้ว่าฯ จันทบุรี ว่า "วันนี้เปิดดูเว็บไซต์มีเขียนว่า คนที่ถูกถอดถอนโดยกระบวนการทางกฎหมาย ก็บอกว่าเกษียณอายุราชการแล้วล่ะ ขอบคุณนายกรัฐมนตรี แต่ก็จำไว้แล้วกันดาบนั้นคืนสนอง ก็ตั้งคำถามว่า ผมผิดตรงไหน กฎหมายก็ดำเนินการไปแล้ว แล้วมาบอกว่าผมทำร้ายเขา ก็บอกว่าไม่เคยคิดทำร้ายใคร เป็นทหารมา 40 ปี ไม่เคยคิดอยากจะฆ่าใครสักคน ที่ใช้อาวุธก็ต่อสู้ศัตรูตลอดเวลา เช่น เดียวกับเรื่องการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ก็เป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบขึ้นมา ก็ต้องอนุมัติ ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ได้อยู่ที่นายกรัฐมนตรี แต่อยู่ที่หลักฐานและกระบวนการทำงาน"
" กฎหมายคือกฎหมาย หน้าที่ของผมคือทำกฎหมายให้บังคับใช้ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเท่านั้น ผมไม่เคยไปตั้งข้อหาใหม่ ไม่เคยไปล้วงคนนู้นคนนี้ เขามีการเสนอขึ้นมาทั้งสิ้น แม้กระทั่งการใช้ ม.44 เพื่อสอบสวน ก็มีคนเสนอผ่าน ศอตช. ขึ้นมา ก็เข้ามาพิจารณา จะให้ผมทำอย่างไร มีรายชื่อขึ้นมาเป็นตับแบบนี้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ถ้ามีการเสนอขึ้นมา ผมก็ต้องอนุมัติ เพราะเขาเสนอแบบมีหลักฐาน ถ้าไม่มีหลักฐานผมก็ต้องเล่นงานคนที่เสนอ ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ใช่ทุกอย่างอยู่ที่นายกรัฐมนตรีคนเดียว มันต้องอยู่ที่ทั้งกระบวนการนั่นล่ะ" พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ  

ยื่นกุญแจส.ว. ไข-เปิดนายกฯคนนอก


หมายเหตุ – เป็นความกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประชามติ โดยมีมติให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ไปปรับแก้เนื้อหาอีกครั้งใน 2 ประเด็น คือ 1.ให้ผู้มีสิทธิเสนอขอยกเว้นการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง คือสมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา 2.ให้กำหนดเวลาและวันเริ่มนับเวลาตามร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 วรรคหนึ่งและวรรคสอง คือ ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้
ยอดพล เทพสิทธา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ความเห็นของผม เบื้องต้นก็ผิดพลาดตั้งแต่ให้มีคำถามพ่วงในประชามติ ซึ่งส่งผลหลายอย่าง รวมถึงปัญหาขณะนี้คือเกิดความสงสัยว่าจะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร พอร่างแล้วให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ ศาลรัฐธรรมนูญบอกให้ไปแก้ใหม่
คำถามประเด็นแรกคือ จะแก้อย่างไรให้สอดคล้องกับคำถามพ่วง
ประเด็นที่สอง ศาลมีอำนาจสั่งให้ไปแก้ได้หรือเปล่า
ผมเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการสั่งแก้ประเด็นเหล่านี้ ถ้าจะให้อำนาจคือวินิจฉัยว่าไม่ตรงตามประชามติเท่านั้นแต่ไม่มีสิทธิสั่งให้แก้ ไม่เช่นนั้นถ้า กรธ.ยึดตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดว่าสั่งให้ทำอย่างนี้ นั่นหมายความว่า ศาลรัฐธรรมนูญเป็นคนร่างรัฐธรรมนูญเอง
ในส่วนของการโหวตนายกรัฐมนตรี ถ้าดูตามหลักของร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ลงประชามติ ให้เอกสิทธิ์ ส.ส.ในการตัดสินใจ แต่ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า เพื่อให้สอดคล้องกับคำถามพ่วงที่ลงประชามติ ก็เลยให้ ส.ว.เข้ามามีส่วนร่วมในการโหวตด้วย ถ้าพูดกันตามหลักแล้วไม่มีใครให้ ส.ว.เข้ามามีส่วนร่วมในประเด็นนี้ เพราะควรจะจบที่ ส.ส. ประเทศไทยยกเลิกกระบวนการ ส.ว. มีส่วนร่วมในการเลือกนายกฯ มาตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญปี 2540 และค่อนข้างมีความชัดเจนว่านายกฯจะต้องมาจาก ส.ส. ก็คือมาจากการเลือกตั้ง
ทีนี้ถ้ายึดตามศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง ส.ส.และ ส.ว.สามารถหาทางให้นายกฯ คนนอกเข้ามาง่ายขึ้น โดยเฉพาะตัวคะแนนเสียง ส.ว.สามารถทำให้ผลเปลี่ยนไปเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้สมมุติว่าเราเสนอชื่อหัวหน้าพรรคการเมืองขึ้นมาสักพรรค คะแนนเสียงของ ส.ว.อาจจะมากเพียงพอตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดเพื่อไม่เอานายกรัฐมนตรีคนนี้ สุดท้ายกลไกตรงนี้จะทำให้เกิดทางตันขึ้นได้ เพื่อให้มีการนำนายกฯ คนนอกเข้ามา จากที่เคยคิดว่านายกฯ คนนอกจะแก้กรณีวิกฤตก็คงไม่ใช่แล้ว กรณีแบบนี้จะเป็นการสร้างให้เกิดวิกฤตเพื่อนำนายกฯคนนอกเข้ามามากกว่า
หากแก้รัฐธรรมนูญลักษณะนี้จริง โอกาสจะมีนายกฯคนนอกสูงมาก

ชูศักดิ์ ศิรินิล
หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย (พท.)
คําวินิจฉัยมีสองประเด็น 1.ให้สมาชิกรัฐสภา (ส.ส.และหรือ ส.ว.) จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ ของทั้งสองสภา (ส.ส. 500 คน ส.ว. 250 คน) มีสิทธิเสนอต่อรัฐสภา ขอให้ที่ประชุมรัฐสภามีมติให้เลือกนายกฯ จากผู้ไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไว้ตามมาตรา 88 ก็ได้ หลังจากไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอได้ ซึ่งร่างเดิมให้สิทธิเฉพาะ ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นฝ่ายร้องขอ ส่วนการเสนอรายชื่อผู้จะเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นหน้าที่ของ ส.ส.ตามมาตรา 159 โดย ส.ว. ไม่มีสิทธิเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี
ประเด็นนี้เท่ากับเปิดช่องทางให้รัฐสภามีมติให้เลือกนายกฯนอกบัญชีได้กว้างขึ้น โดยให้ ส.ว.มีสิทธิเสนอได้ ขณะที่ร่างเดิมเป็นไปได้ที่จะไม่มี ส.ส.ถึง 250 คนร้องขอ
ประเด็นที่ 2 ในมาตรา 272 วรรคสอง กรณีการเสนอชื่อนายกฯจากบุคคลที่ไม่อยู่ในบัญชีรายชื่ออันเป็นข้อยกเว้นนั้น ใช้ถ้อยคำว่า “ในวาระเริ่มแรก เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร…” ทำให้เข้าใจว่าเลือกนายกฯนอกบัญชีได้ครั้งเดียว ก็ต้องปรับเปลี่ยนเป็นใน “ระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญ…” เพื่อให้สอดคล้องกับถ้อยคำที่กำหนดไว้ในมาตรา 272 วรรคแรก ประเด็นนี้เข้าใจว่า แก้ให้สามารถเลือกนายกฯนอกบัญชีได้หลายครั้ง
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาเช่นนี้ กรธ.ก็มีหน้าที่ต้องแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ให้เป็นไปตามนั้น คงจะไปพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสียยาก เพราะรูปแบบการให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกฯแบบนี้ยังไม่เคยมีปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใด ส่วนการปรับแก้ดังกล่าวจะมีความเหมาะสมหรือไม่ ก็คงไปวิจารณ์อะไรไม่ได้ ต้องรอให้มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญไปก่อน เมื่อถึงเวลานั้นคนส่วนใหญ่ก็คงจะเห็นถึงปัญหา ข้อดีข้อเสียเอง
ส่วนประเด็นว่าการปรับแก้ดังกล่าวเกินไปกว่าเจตนารมณ์ของประชาชนหรือไม่นั้น เห็นว่าแม้แต่ กรธ.และศาลรัฐธรรมนูญยังมีความเห็นไม่ตรงกัน จึงตอบได้ยากว่าเจตนารมณ์อันแท้จริงของประชาชนในเรื่องนี้เป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสาระสำคัญตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังนี้
ประการแรก โดยเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ซึ่งเป็นการยากจะมีพรรคการเมืองใดมีเสียงข้างมากในสภาเพื่อสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างเป็นเอกภาพ ดังนั้นการเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อหรือจากผู้แทนราษฎรนั้นเป็นไปได้ยาก
การกำหนดให้ ส.ว. มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบตัวบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งนายกฯในระยะเวลาห้าปีแรก จึงเป็นการปูบันไดให้บุคคลภายนอกได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกฯได้ง่ายอยู่แล้ว การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้อำนาจ ส.ว. ร่วมกับ ส.ส. ในการขอยกเว้นการเสนอชื่อนายกฯจากบัญชีรายชื่อ จากเดิมที่ให้ ส.ส. เป็นผู้เสนอฝ่ายเดียวก็ยิ่งมีความชัดเจนขึ้นว่านายกฯในระยะเวลาห้าปีแรกหลังมีการเลือกตั้ง มีแนวโน้มคงจะเป็นบุคคลภายนอกอย่างแน่นอน เพราะเสียง ส.ว. จำนวน 250 คน ย่อมมีความเป็นเอกภาพมากกว่า ส.ส. จำนวน 500 คนที่มาจากต่างพรรคกัน
ดังนั้น การใช้เสียง ส.ว. 250 คน และ ส.ส. อีกเพียง 126 คน ก็จะทำให้ได้นายกรัฐมนตรีคนนอกได้แล้ว แม้ ส.ว. จะไม่มีสิทธิเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี แต่การยืมมือให้ ส.ส. คนใดคนหนึ่งใน 126 คนนั้นเป็นผู้เสนอก็ไม่ใช่เรื่องยาก
ประการที่สอง การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาและวันเริ่มนับเวลา ตามมาตรา 272 วรรคสอง จากเดิมที่กำหนดว่า “ในวาระเริ่มแรกเมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 268 แล้ว” มาเป็น “ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้” ก็ย่อมมีความหมายว่า หลังการเลือกตั้งครั้งแรก เมื่อมีการใช้รัฐธรรมนูญและมีรัฐสภาแล้ว นับไปอีก 5 ปี อำนาจของ ส.ว. ในการขอยกเว้นการเสนอชื่อนายกฯจากบัญชีรายชื่อย่อมมีอยู่
ดังนั้น ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนายกฯในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวกี่คน ส.ว.ก็ยังคงมีอำนาจเช่นนี้อยู่ เช่นอยู่ได้ 2 ปีแล้วลาออกหรือหากนายกฯคนแรกหลังเลือกตั้งอยู่ครบวาระ 4 ปี ส.ว.ก็ยังมีสิทธิเลือกนายกฯจากคนนอกได้อีก 1 คน ดังนั้น โอกาสที่จะมีนายกฯคนนอกอยู่บริหารประเทศถึง 8 ปี จึงเป็นไปได้สูง จากร่างเดิมเข้าใจกันว่าจะเลือกนายกฯตามข้อยกเว้นได้ครั้งเดียว
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงพอจะคาดถึงผลที่จะเกิดได้ ส่วนจะตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือไม่ คงตอบแทนประชาชนไม่ได้
แต่ตอบได้เลยว่า ตรงใจผู้มีอำนาจในปัจจุบันแน่นอน
นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)

เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาผมก็เคารพ และขอขอบคุณที่วินิจฉัยโดยวางหลักประชาธิปไตยให้กับประเทศชาติ เนื่องจากคำวินิจฉัยกลางของศาลตรงตามกับที่ผมเคยแสดงความคิดเห็นมาหลายครั้งแล้ว โดยเฉพาะเรื่องการเสนอชื่อนายกฯต้องเป็นหน้าที่และอำนาจของ ส.ส. ให้เสนอชื่อผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ตรงนี้ชัดเจนมากว่าศาลรัฐธรรมนูญวางหลักประชาธิปไตยให้กับประเทศ เพราะ ส.ส.คือผู้แทนของประชาชน ส่วน ส.ว. ก็แค่มีอำนาจร่วมออกเสียงการยกเว้นรัฐธรรมนูญในกรณีที่จะให้มีนายกฯนอกบัญชีเท่านั้น
สุดท้ายแล้ว ศาลวินิจฉัยเหมือนกับที่ผมบอกไว้ทุกเรื่อง ตรงนี้ยิ่งชัดเจนว่า ความน่าเชื่อถือของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่เคยมีความเห็นขัดแย้งกับศาลรัฐธรรมนูญและมีความคิดเห็นแย้งกับผมจนเป็นข่าวออกมาเรื่องไอ้ห้อยไอ้โหนรายวัน ผมก็โดนต่อว่าจากประชาชนอย่างหนักเหมือนกัน ตอนนี้คำอธิบายของศาลที่ออกมาชัดเจนมากว่า ส.ว.ไม่สามารถร่วมเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ ยิ่งสะท้อนความคิดล้าหลังของ สปท.ที่ไม่ก้าวหน้า ฝากอนาคตประเทศไว้กับคนเหล่านี้ไม่ได้ ถ้าลงโทษด้วยการยุบ สปท.ก่อนกำหนดได้ก็จะดี
ส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ ส.ว.ร่วมออกเสียงกรณีที่จะให้มีนายกฯนอกบัญชี จะยิ่งเปิดช่องให้มีนายกฯคนนอกได้ง่ายขึ้นหรือไม่นั้น ผมมองว่า ไม่หรอก เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชัดเจนแล้วคือ นายกฯต้องมาจากการเสนอชื่อของ ส.ส. เจตนาหลักตรงนี้ชัดเจนมากว่า ส.ส. คือ นักการเมืองผู้ที่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน การให้รัฐสภาเลือกนายกฯจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเท่ากับเป็นการยอมรับการตัดสินใจของประชาชน
ดังนั้น ส.ว.จะไม่มีสิทธิเสนอชื่อนายกฯอย่างชัดเจน
ไพบูลย์ นิติตะวัน
อดีตคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนตัวมองว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา เป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่ออกไปใช้สิทธิลงคะแนนออกเสียงประชามติเห็นชอบประเด็นคำถามพ่วงเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา เพราะว่าตอบโจทย์เจตนารมณ์ของประชาชนได้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะทำให้ทุกอย่างมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีผลต่อการเมืองในอนาคตอย่างแน่นอน และเชื่อว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่จะต้องมาคิดกันใหม่ เพราะว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ
ส่วนตัวก็จะยังเดินหน้ารวบรวมรายชื่อประชาชนที่มีอุดมการณ์เดียวกันมาเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพื่อก่อตั้งพรรคประชาชนปฏิรูปต่อไป เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของประชาชนกว่า 10 ล้านเสียงที่ร่วมลงมติเห็นชอบในประเด็นคำถามพ่วง
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาแบบนี้ ยิ่งทำให้รู้สึกสบายใจมากขึ้นด้วย เพื่อเดินหน้าตามที่ตั้งใจไว้

“รสนา” สอนมวย “เนติบริกร” ชี้ตั้งบริษัทในบ้านพักทหารเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน

      “รสนา” สวน “เนติบริกร” ใช้บ้านพักทหารตั้งบริษัทไม่ใช่แค่เรื่องความเหมาะสม แต่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน สังคมอารยะมีธรรมาภิบาลต้องไม่มีเรื่องแบบนี้ เตือนความจำที สนช.-สปช.รวมถึง สสส.ทำไมออกกฎเหล็กห้าม
       
       วันนี้ (29 ก.ย.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กรุงเทพมหานคร และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงาน ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กแฟนเพจ รสนา โตสิตระกูล แสดงความคิดเห็นกรณีที่มีการใช้บ้านพักในค่ายทหารตั้งบริษัทรับประมูลงานของกองทัพ และรัฐมนตรีที่ดูแลรับผิดชอบด้านกฎหมายออกมาให้ความเห็นว่าสามารถทำได้ เพราะบ้านพักข้าราชการก็เหมือนบ้านเช่า ส่วนความเหมาะสมก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โดย น.ส.รสนาได้ให้ความเห็นดังนี้
       
       “ผลประโยชน์ทับซ้อนคือต้นทางของการคอร์รัปชัน"
       
       ความแตกต่างระหว่าง Rule by Law กับ Rule of Law
       
       Rule by Law คือ การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือของเผด็จการ เอาไว้บังคับคนอื่น ไม่บังคับกับพวกตัวเอง
       Rule of Law คือ หลักนิติธรรมที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน
       
       ฟังนักกฎหมายระดับเนติบริกรอธิบายเรื่องบ้านพักข้าราชการไปเทียบกับบ้านเช่า ว่าไม่มีข้อห้ามใดๆ ในการนำไปจดทะเบียนบริษัทแล้ว ทำให้เข้าใจความหมายของ Rule by Law ชัดเจนขึ้น
       
       นึกถึงเรื่องจริงของนายแพทย์คนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์หาดใหญ่ ท่านเป็นอาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ ครั้งหนึ่งคู่เขยของท่าน ประมูลได้สัญญาเปิดร้านค้าในคณะแพทยศาสตร์ พอท่านทราบเรื่องก็พูดกับคู่เขยว่า ขอให้ถอนตัวออกไป
       
       คู่เขยตอบว่า ได้ลงทุนก่อสร้างไปแล้ว และที่ได้สัญญามาก็ไม่ได้ใช้อภิสิทธิ์ของคุณหมอที่เป็นคู่เขย อีกทั้งคนทั้งคู่ก็ใช้คนละนามสกุลกันจึงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน
       
       แต่นายแพทย์ท่านนั้นยืนยันกับคู่เขยว่ายินดีจ่ายเงินที่ลงทุนคืนให้ และกล่าวว่า “ตราบเท่าที่ผมยังอยู่ในคณะนี้ ผมขอไม่ให้คุณมาทำมาค้าขายในคณะนี้”
       
       นี่คือนายแพทย์ธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่ใช่นักกฎหมายระดับเซียน แต่เข้าใจชัดเจนว่า สิ่งเรียกว่า Conflict of Interest (COI) อันเป็น “การขัดกันแห่งผลประโยชน์ระหว่างส่วนตัวกับส่วนรวม” หรือ “ผลประโยชน์ทับซ้อน” นั้น หมายถึงอะไร โดยไม่ต้องยกตัวบทกฎหมายอะไรมากล่าวอ้างเพื่อรับรองความชอบธรรมให้กับตัวเอง และพวกพ้องของตัวเอง
       
       จำได้ไหม ลุงๆ ยังจำได้ไหม ที่เคยเคร่งครัดออกระเบียบไม่ให้เอาลูกหลานญาติพี่น้องที่มีนามสกุลเดียวกันมาเป็นผู้ปฏิบัติงาน ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ที่ปรึกษาประจำตัวของบรรดา สนช.และ สปช.รวมทั้งในชั้นกรรมาธิการด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และกฎเหล็กนี้ก็ยังนำมาใช้กับ สสส.ที่ห้ามให้ทุนกับองค์กรที่มีบอร์ดของ สสส.นั่งเป็นกรรมการ (ทั้งที่ระเบียบอนุญาตให้ทำได้ แต่ คสช.ไม่ให้ทำ) มีการตรวจสอบไล่บี้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย ว่ามีการคอร์รัปชันหรือไม่ ถึงขนาดแช่แข็งเงินกองทุนจนหลายองค์กรต้องปิดตัวไป
       
       ในสังคมอารยะที่มีธรรมาภิบาล (Good Governance) นั้น ย่อมถือว่า COI ดังกล่าว เป็นการขัดต่อหลักนิติธรรมอย่างร้ายแรง ไม่ใช่แค่ “ความไม่เหมาะสม” ดังที่บรรดาเนติบริกรชอบอ้างกันอย่างข้างๆ คูๆ” 

หจก.‘ปฐมพล’ ฟัน 6 โครงการ อบจ.พิษณุโลก - 5.4 ล.เคาะครั้งเดียว จนท.ยันโปร่งใส


จนท.อบจ.พิษณุโลกหอบเอกสารกว่า 10 แฟ้มแจงปมจ้าง หจก.'ปฐมพล จันทร์โอชา'คว้ารับเหมาพัฒนาพระราชวังจันทน์ ได้ 6 โครงการ 16.1 ล.จาก 15 โครงการ ไม่มีใต้โต๊ะ โปรงใส  1 รายการ 5.4 ล.เคาะราคาครั้งเดียวก่อนหมดเวลา ลูกชายปลัดกลาโหมคุมงานเอง
picnonnnnn
กรณีห้างหุ้นส่วนจัด (หจก.) คอนเทมโพรารี คอนสตรัคชั่น ของนายปฐมพล จันทร์โอชา บุตรชาย ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นคู่สัญญารับเหมาก่อสร้างเป็นคู่สัญญารับเหมาหน่วยงานภาครัฐทั้งสิ้น 11 โครงการ (สัญญา) รวมวงเงิน 155,603,000 บาท โดยโครงการที่เป็นคู่สัญญากับ อบจ.พิษณุโลก 3 โครงการ
1.ก่อสร้างอาคารป้อมยามบริเวณทางเข้าอาคารศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก วงเงิน 750,000 บาท ทำสัญญาเมื่อ 14 ส.ค. 58 (สัญญาเลขที่ 189/2558)
2.โครงการประกวดราคาจ้างปรับปรุงอาคารอนุรักษ์และจัดแสดงด้านหน้าอาคารศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก วงเงิน 6,865,000 บาท ทำสัญญาวันที่ 1 ก.ย. 58 (สัญญาเลขที่ 216/2558)
3.โครงการวางระบบไฟฟ้า เดินสายใต้ดิน ไฟฟ้าส่องสว่าง บริเวณโบราณสถานพระราชวังจันทน์ วงเงิน 5,450,000 บาท ทำสัญญาวันที่ 15 ต.ค. 58 (สัญญาเลขที่ 20/2559)
จากการตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ของ อบจ.พิษณุโลก พบว่า โครงการที่ 2 มีผู้ผ่านการคัดเลือก 2 ราย ได้แก่ หจก.คอนเทมโพรารี คอนสตรัคชั่น และ หจก.พิษณุโลกโมเดอร์นออฟฟิศ 
ขณะที่ โครงการที่ 3 มีผู้สนใจยื่นเอกสารประมูลจ้างจำนวน 28 ราย และผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติและผ่านข้อเสนอทางด้านเทคนิค 27 ราย โครงการที่ 2 ต่ำกว่าราคากลาง 22,000 บาท ส่วนโครงการที่ 3 ห่างจากราคากลาง 2,350,000 บาท และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการเสนอราคาของเอกชนแต่ละราย  (อ่านประกอบ : ประกวดราคารับเหมา อบจ.พิษณุโลก หจก.‘ปฐมพล จันทร์โอชา’ มีคู่แข่งรายเดียว)
ล่าสุด วันที่ 29 ก.ย. 2559 นางเวียงมาศ  ธีระแนว รองปลัด อบจ.พิษณุโลก  เปิดเผยทีมข่าวพิเศษสำนักข่าวอิศราว่า เมื่อช่วงปี  2558  องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)พิษณุโลก มีนโยบายและแผนพัฒนาบริเวณโบราณสถานพระราชวังจันทน์  อ.เมือง จ.พิษณุโลก  จำนวนทั้งสิ้น 15 โครงการ งบประมาณ 53 ล้านบาท  โดยมเปิดให้ประมูลราคาเพื่อแข่งขันกันตามระเบียบ ระบบ e-Auction ตามกระบวนการระเบียบกระทรวงการคลัง  มีการเคาะราคาผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต  ผู้เข้าประมูลต้องมีคุณสมบัติตรง  มีอาชีพเกี่ยวกับงาน มีผลงานเกี่ยวกับเรื่องเดียวกัน และเปิดกว้างให้คนมีผลงานน้อย ๆ ก็สามารถประมูลได้ด้วย  ทำตามพัสดุ โปร่งใส  ปรากฏว่า หจก.คอนเทมโพรารี่ คอนสตรัคชั่น  สามารถประมูลงานได้ทั้งหมด 6 โครงการ  รวมเป็นเงิน 16,142,000 บาท  ประกอบด้วย
1.โครงการก่อสร้างรั้วเหล็กสำเร็จรูปตามแบบเดิมบริเวณโบราณสถานพระราชวังจันทน์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ราคา  918,000 บาท 
2.โครงการก่อสร้างประตูทางเข้าอาคารศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์   อ.เมือง จ.พิษณุโลก  ราคา 865,000 บาท 
3.โครงการก่อสร้างอาคารป้อมยามบริเวณทางเข้าอาคารศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ราคา 750,000บาท 
4.โครงการติดตั้งป้ายชื่อ   โบราณสถานบริเวณพระราชวังจันทน์  อ.เมือง จ.พิษณุโลก  ราคา 1,294,000 บาท  
5.โครงการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์และจัดแสดงด้านหน้าอาคารศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวัจันทน์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ราคา 6,865,000 บาท และ
6.โครงการวางระบบไฟฟ้าเดินสายไฟใต้ดิน ไฟฟ้าส่องสว่าง บริเวณโบราณสถานพระราชวังจันทน์  อ.เมือง จ.พิษณุโลก ราคา 5,450,000 บาท
29959 sonprecha 03
29959 sonprecha 04
นางเวียงมาศ กล่าวว่า  หลังเข้าทำสัญญาทุกโครงการ ทาง หจก.คอนเทมโพรารี่ฯ ได้มาจัดทำเอง ไม่มีการจ้างช่วง โดย นายปฐมพล จันทร์โอชา บุตรชาย พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม  และ น.ส.พัชรินทร์ ธีรวงศ์ภาสกร หุ้นส่วนผู้จัดการ มาคอยดูแลควบคุมงานเอง
สำหรับ โครงการเด่น คือ โครงการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์และจัดแสดงด้านหน้าอาคารศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ราคากลางตั้งไว้ 6,887,000 บาท ยื่นราคาต่ำกว่าราคากลาง 22,000 บาท ราคาที่ประมูลได้คือ 6,865,000 บาท เป็นการปรับปรุงอาคารสำนักงานป่าไม้ จำนวน 2 หลัง มีผู้ประกอบการมาซื้อแบบ 20 ราย  แต่ยื่นเอกสารเพียง 2 ราย ทำให้ หจก.คอนเทมโพรารี่ คอนสตรัคชั่น ได้รับการจ้าง ซึ่งกระบวนการทำงานเสร็จเรียบร้อยดี ส่งงาน 20 เมษายน 2559 ล่าช้าเล็กน้อย สาเหตุเนื่องจาก มีความผุพังของอาคารเดิม ทำให้ต้องมีการแก้ไขแบบแปลน เพื่อทำให้การปรับปรุงมีความสมบูรณ์กลมกลืนกับตัวอาคารเดิม  
ส่วนโครงการวางระบบไฟฟ้าเดินสายไฟใต้ดิน ไฟฟ้าส่องสว่าง บริเวณโบราณสถานพระราชวังจันทน์  อ.เมือง จ.พิษณุโลก ราคาที่เสนอ 5,450,000 บาท โครงการนี้มีการกำหนดราคากลางได้ 7,800,000 บาท  มีผู้ประกอบการมาซื้อแบบ 30 ราย  ยื่นเอกสาร 28 ราย ไม่ผ่าน 1 ราย ทำให้มีผู้ประมูลเพียง 27 ราย  การประมูลเป็นไปตามระบบ e-Auction  ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์  ปรากฏว่า หจก.คอนเทมโพรารี่ คอนสตรัคชั่น   เคาะราคาต่ำสุดครั้งเดียวเพียง 5,450,000 บาท  มีส่วนลดจากราคาเปิดประมูล  2,350,000  บาท จึงชนะการประมูลครั้งนี้ไป  แต่เนื่องจากทำงานส่งไม่ทันตามกำหนดเวลา ต้องขยายสัญญา ถึง 20 กุมภาพันธ์  ทำให้ถูกปรับเป็นเงินทั้งสิ้น   59,950 บาท         
นอกจากนี้ โครงการติดตั้งป้ายชื่อโบราณสถานบริเวณพระราชวังจันทน์  อ.เมือง จ.พิษณุโลก  ราคา 1,294,000 บาท ยื่นเอกสารเพียงรายเดียว และเป็นอีกโครงการที่ถูกปรับ เพราะส่งงานล่าช้าไป 21 วัน คิดค่าปรับเงินเงินรวม 26,628 บาท ส่วนโครงการอื่น ๆ ทั้งหมด ทำงานได้เสร็จเรียบร้อยส่งทันตามเวลา และรับเงินเรียบร้อยแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการวางระบบไฟฟ้าเดินสายไฟใต้ดิน ไฟฟ้าส่องสว่าง บริเวณโบราณสถานพระราชวังจันทน์  อ.เมือง จ.พิษณุโลก หจก.คอนเทมโพรารี่ คอนสตรัคชั่น   เคาะราคาต่ำสุดครั้งเดียวเพียง 5,450,000 บาทก่อนหมดเวลา นั้น มีผู้เข้าร่วมแข่งอีก 8 ราย เคาะครั้งเดียว และราคาเดียวกันที่ 7,790,000 บาท (ดูเอกสาร)

29959 sonprecha 01
29959 sonprecha 02

ป.ป.ท.ส่ง ป.ป.ช.สอบปมขายซากชีนุก 420 ล. ต่ำกว่าราคากลาง อ้างผิด กม.ฮั้ว

ป.ป.ท.ไม่รับไต่สวนปมขายซากชีนุก 420 ล. ต่ำกว่าราคากลาง อ้างไม่อยู่ในอำนาจ ส่ง ป.ป.ช.สอบ พร้อมกรณีปลดลูกชายจ่าทหาร ขณะที่ ทบ. แจ้งผู้ร้องเหตุยกเลิกประกวดราคา 3 ครั้ง
picgtgrfrferced29 9 16
กรณี จ่าสิบเอกคงศักดิ์ คงคามาศ ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ขอความเป็นธรรมและให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง
1.กรณีขายซากเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบ 47 (CH-47D-ชีนุก) จำนวน 6 ลำ ของกองทัพบกว่า มีราคาต่ำกว่าปกติหรือไม่ เนื่องจาก บริษัท ไทย แอร์โรสเปซ อินดัสทรีส์ จำกัด แสดงเจตจำนงเสนอซื้อในวงเงิน 600 ล้านบาท แต่ทว่า กรมการขนส่งทหารบกได้ประมูลขายทอดตลาดให้เอกชนรายหนึ่งในวงเงิน 420 ล้านบาท
2.ไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีกรมการขนส่งทหารบกมีคำสั่งปลด จ.ส.อ.ธนลภย์ คงคามาศ บุตรชาย จ.ส.ต.คงศักดิ์ ตำแหน่งพลขับ สังกัดมณฑลทหารบกที่ 11 ออกจากราชการ ฐานหนีราชการ เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2559 ไม่มีเบี้ยหวัด และบำนาญ และสั่งถอดยศ สงสัยว่า คำสั่งปลดดังกล่าว อาจเป็นผลมาจากบริษัท ฯ ไม่ยอมเข้าร่วมประมูลขายทอดตลาดซากเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบ 47 ข้างต้นหรือไม่ (อ่านประกอบ:ยื่นบิ๊กตู่-สตง. สอบปมกองทัพขาย ฮ.ชีนุก 420 ล. โยงปลดจ่าทหาร)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2559 นายฉัตร์ชัย ยอดอุดม รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้ส่งหนังสือถึงผู้ร้องเรียนแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ท.ครั้งที่ 11/2559 เมื่อวันที่ 28 ก.ค.2559 มีมติไม่รับเรื่องไว้ไต่สวนข้อเท็จจริง เนื่องจากการขายซากเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบ 47 (CH-47D-ชีนุก) จำนวน 6 ลำพร้อมชิ้นส่วนและอุปกรณ์ให้แก่ บริษัท ธนพิพัฒน์ยนต์ตระการ จำกัด ต่ำกว่าราคากลางที่กำหนดไว้เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ซึ่งอยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)
ส่วนกรณีร้องเรียนคำสั่งของกรมการขนส่งทหารบกไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ท.มีมติไม่รับเรื่องไว้ไต่สวนข้อเท็จจริง เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
picgtfrfsssss29 9 16
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 ก.ย.2559 พล.ต.ปัณณทัต กาญจนวสิต เลขานุการกองทัพบก ได้ทำหนังสือชี้แจงจ่าสิบเอกคงศักดิ์ คงคามาศ กรณีการขายซากเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบ 47 และกรณีการปลด จ.ส.อ.ธนลภย์ คงคามาศ บุตรชาย จ.ส.ต.คงศักดิ์ออกจากราชการด้วยเช่นกัน สาระสำคัญสรุปว่าเหตุที่กองทัพบกไม่สามารถขายในราคา 600 ล้านบาทให้แก่ บริษัท ไทย แอร์โรสเปซ อินดัสทรีส์ จำกัด ตามข้อเสนอได้ เนื่องจาก ไม่ผ่านการแข่งขันตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง 
ในการยกเลิกประกวดราคาขายซากชีนุกทั้ง 3 ครั้ง ครั้งแรก มีผู้เสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง ครั้งที่สองและครั้งที่สาม มีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียวและผิดเงื่อนไขการประมูล ส่วนกรณีของบุตรชายนั้น เนื่องจาก จ.ส.อ.ธนลภย์ คงคามาศ ขาดหนีราชการเกิน 15 วัน และหน่วยงานต้นสังกัดมีคำสั่งให้ถอดยศ

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

“วิษณุ” ย้ำตั้งบริษัทในค่ายทหารอาจผิดแค่ระเบียบภายใน


“วิษณุ” ชี้ลูกชาย “พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา” ใช้บ้านพักในค่ายทหารตั้งบริษัทอาจแค่ผิดระเบียบภายใน ส่วน พล.อ.ปรีชา ปฏิเสธไม่พูดเรื่องบริษัทของบุตรชาย ขณะที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียตั้งคำถามถึงความเหมาะสมการใช้สถานที่ราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
สำนักข่าวไทยรายงานว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาย้ำอีกครั้งกรณีบุตรชาย พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหมใช้บ้านพักในค่ายทหารจดทะเบียนตั้งบริษัทว่าไม่ใช่เรื่องที่ผิดกฎหมายทั่วไป แต่เป็นเรื่องที่อาจผิดระเบียบภายใน ซึ่งกระทรวงกลาโหมจะเป็นหน่วยงานที่พิจารณา ส่วนจะตีความอย่างไรตนไม่ทราบ
ก่อนหน้านี้สำนักข่าวอิศรารายงานว่าได้ตรวจสอบพบว่า หจก. คอนเทมโพรารี คอนสตรัคชั่น ของนายปฐมพล จันทร์โอชา บุตรชาย ปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นคู่สัญญารับเหมาก่อสร้างงานของหน่วยงานภาครัฐทั้งสิ้น 11 โครงการ รวมวงเงิน 155,603,000 บาท โดยได้ใช้บ้านพักในค่ายสมเด็จพระเอกาทศรศ จ.พิษณุโลก เป็นที่ตั้งบริษัท
ด้าน นสพ.บางกอกโพสต์รายงานว่า เมื่อวันจันทร์ พล.อ.ปรีชา ออกมายืนยันว่าไม่ทราบเรื่องที่บุตรชายใช้บ้านในค่ายพักทหารเป็นที่ตั้งบริษัทของตนเอง
บีบีซีไทยได้โทรศัพท์ไปสอบถาม พล.อ.ปรีชา ซึ่งปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเรื่องนี้ โดยบอกเพียงว่า “สื่อเขียนกันเอง หาคำตอบเอา ถ้าถูกถูก ถ้าผิดก็ว่าไป แล้วมันผิดหรือยัง ส่วนที่นายวิษณุระบุว่าผิดระเบียบภายในก็ให้ไปสอบถามนายวิษณุ”
ทั้งนี้ นายวิษณุ ตอบคำถามสื่อมวลชนที่ถามว่าจะเอาผิดกับ พล.อ.ปรีชา ที่จะเกษียณอายุราชการได้มากน้อยแค่ไหน ว่า ไม่ทราบ เช่นเดียวกับที่เขาไม่ทราบว่าการจัดตั้งบริษัทที่ทำในนามของบุตรชาย พล.อ.ปรีชา ซึ่งไม่ใช่ข้าราชการทหาร จะสามารถลงโทษได้มากน้อยแค่ไหน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าผู้ใช้โซเชียลมีเดีย อาทิ Pantip.com วิพากษ์วิจารณ์ความเหมาะสมในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง โดยบ้างมองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม บางคนตั้งคำถามว่า หากการใช้บ้านในค่ายทหารเป็นสถานที่ตั้ง หจก.ได้ ต่อจากนี้ไปผู้ที่อาศัยบ้านหลวงก็สามารถนำไปใช้ตั้งกิจการต่าง ๆ ได้เช่นกัน เพราะไม่ผิดระเบียบ ไม่ผิดวินัย ไม่ผิดกฎหมาย เพียงแต่ไม่รู้ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เป็นต้น
(ภาพจากเว็บไซต์รัฐบาล)

วิษณุ ยังยืนยันกรณีลูกชาย"บิ๊กติ๊ก"

วันนี้ ( 29 ก.ย.)   ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล  เมื่อเวลา 15.30 น.  นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี  ได้ให้สัมภาษณ์  กรณีลูกชาย พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม  ใช้บ้านพักในค่ายทหารประกอบธุรกิจ  เป็นการกระทำผิดกฎระเบียบกระทรวงกลาโหมหรือไม่  ว่า ตามระเบียบสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2555  ระบุว่าไม่ให้นำเอาบ้านพัก ไปใช้ในทางธุรกิจ  ซึ่งคำนี้แปลว่าอะไรตนเองไม่ทราบ   ต้องไปถามกระทรวงกลาโหมว่าผิดหรือไม่  แล้วจะมีบทลงโทษอย่างไร  ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้ผิดกฎหมาย  แต่เป็นเรื่องภายในกระทรวง  ซึ่งเป็นการตรวจสอบทางวินัย แต่เนื่องจากลูกชายของ พล.อ.ปรีชา ไม่ได้เป็นข้าราชการ  จึงไม่สามารถลงโทษทางวินัยได้  ส่วนจะสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้หรือไม่ เนื่องจาก พล.อ.ปรีชา ได้เกษียณอายุราชการแล้ว  ตนไม่แน่ใจว่าสามารถตรวจสอบได้หรือไม่

"สุดท้ายแล้ว  อย่างนี้เป็นความผิดหรือไม่ ผมไม่ทราบ เพราะไม่รู้เจตนารมณ์ของเขาว่าเอาบ้านไปทำธุรกิจแปลว่าอะไร  ส่วนถ้าทำผิดแล้วจะสามารถลงโทษอะไรได้ ก็ไม่ทราบเหมือนกัน " นายวิษณุ กล่าว

บิ๊กป้อม ยัน จะไม่รับตำแหน่งนายกฯหากมีคนเสนอชื่อ



บิ๊กป้อม ยัน จะไม่รับตำแหน่งนายกฯหากมีคนเสนอชื่อ
แนะสื่อไปถามศาลรธน.-กรธ.แก้รธน.บรรจุสว.เสนอชื่อนายกฯจากนอกบัญชีพรรค ได้ ชี้ไม่เกี่ยวกับผม
กรณี ที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความคำถามพ่วงประชามติเปิดช่องให้ส.ว.สามารถร่วมเสนอชื่อและเลือกนายกรัฐมนตรีได้ อันเป็นการเปิดช่องให้สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีของพรรคการเมืองได้นั้น
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวว่า ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญและกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่เกี่ยวกับผม
เมื่อถามว่า หากมีคนเสนอชื่อ ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร กล่าวว่า ก็จะไม่รับตำแหน่ง
พลเอกประวิตร ยังกล้าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีหยุดแทรกแซงชี้นำการตัดสินคดีรับจำนำข้าว ว่า เป็นเรื่องของกฎหมาย ซึ่งนายกรัฐมนตรีไม่สามารถไปแทรกแซงได้อยู่แล้ว เพราะศาลคงไม่ยอม พรรคเพื่อไทยคิดไปเอง
โดยเมื่อคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก็เป็นหน้าที่ของศาล และเจ้าหน้าที่ตามกระบวนการยุติธรรม และไม่จำเป็นต้องมีการเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลสถานการณ์ในช่วงใกล้ตัดสินคดี เพราะปัจจุบันนี้ก็ดูแลเป็นพิเศษอยู่แล้ว หากใครออกมาสร้างความขัดแย้งและทำให้ไม่สงบก็จะดำเนินการตามกฎหมาย
ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียนถึงความไม่เป็นธรรมจากการโยกย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉพาะกรณีของพล.ต.ต.​อดุลย์ ณรงค์​ศักดิ์ รอง ผบช.น. ทำ​หนังสือ​จดหมาย​เปิด​ผนึก​ร้องขอ​ความ​เป็น​ธรรม​ถึง​​​กรณี​​ถูก​ถอด​ราย​ชื่อ​เสนอ​ให้ดำรง​ตำแหน่ง ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจนั้น พลเอกประวิตร ระบุว่า ทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้รายงานว่ามีการถอดคำร้องไปหมดแล้ว ซึ่งไม่มีอะไรเป็นเพียงความต้องการหาคนทำงานให้เหมาะสม ซึ่งทั้งพล.ต.ต.อดุลย์ และพล.ต.ท.​ปิยะ อุ​ทา​โย ต่างก็เก่งเหมือนกัน แต่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม ไม่ได้พิจารณาว่าเป็นพวกของใคร
ซึ่งทางพ.ต.ท.ปิยะสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจมากว่า30ปี จึงเป็นบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจมากกว่า และเหมาะสมกว่า เนื่องจากทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องการที่จะพัฒนาและปฏิรูปโรงเรียนนายร้อยตำรวจให้ดีขึ้น
พร้อมยืนยันการถอนคำร้องของพล.ต.ต.อดุลย์ไม่มีการบังคับจากผู้บังคับบัญชา เป็นการถอนด้วยความสมัครใจ และถึงแม้พล.ต.ต.อดุลย์จะไม่ได้เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อย แต่ก็จะได้ขึ้นเป็นพล.ต.ท.เช่นกัน

"ปราบโกงด้วยการโกง"



"ปราบโกงด้วยการโกง"
ผมค่อนข้างเป็นห่วงภาพพจน์ของประเทศโดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรม เมื่อเห็นข่าวการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีที่ว่า "ให้นายบุญทรงออกมาจากคุกก่อนจึงค่อยมาลากตนขึ้นศาล" ซึ่งมีลักษณะเป็นการเยาะเย้ยถากถางและสามารถกำหนดผลของคดีอาญาที่นายบุญทรงเป็นจำเลยอยู่ในศาลได้ล่วงหน้า ยิ่งเมื่ออ่านข่าวของสำนักข่าวอิสราที่อ้างรายงานการจัดอันดับองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นในเอเซียของ Political and Economic Risk Consultancy Ltd. (PERC) ว่าองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นของไทยเป็นองค์กรที่ถูกใช้ในทางการเมืองมากที่สุด โดยพาดพิงถึง ป.ป.ช. ว่าทำหน้าที่ช่วยเหลือรัฐบาลทหารในการทำลายความน่าเชื่อถือของนักการเมืองและป้องกันไม่ให้คนเหล่านี้กลับเข้ามาในการเมืองอีก ทำให้นึกถึงภาพนายกยิ่งลักษณ์ที่ถูก ป.ป.ช. ดำเนินคดีถึง 15 คดี ซึ่งรวมคดีที่เกิดจากน้ำท่วมอันเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่น่าจะเป็นคดีได้ ส่วนตัวผมก็ถูกนายกรัฐมนตรีข่มขู่เรื่องคดีที่ ป.ป.ช. และอดีตนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยจำนวนมากถูก ป.ป.ช. ดำเนินคดีเป็นว่าเล่น แม้กระทั่งการเสนอกฎหมายอันเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญยังถูกดำเนินคดีเพื่อนำไปให้ สนช. ที่ คสช. แต่งตั้งทำการถอดถอนห้ามเล่นการเมืองต่อไป เหล่านี้คือหลักฐานที่ตอกย้ำว่ากระบวนการยุติธรรมไทยขาดความเป็นอิสระและกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
นายกรัฐมนตรียังให้สัมภาษณ์ข่มขู่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลและบุคคลใกล้ตัวนายกรัฐมนตรีอันถือเป็นการปิดกั้นการตรวจสอบ การที่นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้า คสช. มีอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่จะสั่งการใดๆ ก็ได้ให้มีผลในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และถือว่าคำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด เท่ากับนายกรัฐมนตรีมีอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือศาลและทุกองค์กรที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ยิ่งในเวลานี้อยู่ในระหว่างการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่อาจกำหนดให้กรรมการในองค์กรอิสระทำหน้าที่ต่อไปหรือสิ้นสุดลงตามที่เรียกว่าการเซ็ทซีโร่ นายกรัฐมนตรีจึงสามารถให้คุณและโทษทั้งตัวบุคคลและองค์กรได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่องค์กรอิสระทั้งหลายรวมทั้ง ป.ป.ช. ต่างแข่งกันทำผลงานให้เข้าตานายกรัฐมนตรีเพื่อความอยู่รอดของตัวเองแต่เคราะห์กรรมตกแก่ประชาชน พฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีจึงเป็นการยืนยันถึงการมีอำนาจเหนือกระบวนการยุติธรรมและกำลังใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ทำให้ประชาชนทั่วไปและประชาคมโลกไม่มั่นใจในความเป็นอิสระและเป็นกลางของกระบวนการยุติธรรม ขัดกับข้อ 10 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีที่มีโทษทางอาญาจากศาลที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง ดังนั้น การปราบโกงจึงเป็นเพียงวาทกรรมทางการเมืองที่มีขึ้นเพื่อใช้ปราบฝ่ายตรงข้ามโดยใช้องค์กรอิสระและศาลเป็นเครื่องมือแต่ปิดกั้นการตรวจสอบตัวเองและพรรคพวก ตกลงเราจะอยู่กันแบบนี้ใช่มั้ยครับ
วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
29 กันยายน 2559

ตระกูลปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ แชมป์เศรษฐีหุ้นไทย 2558 มั่งคั่ง 8.8 หมื่นล้าน

เผยแชมป์เศรษฐีหุ้นปี 2558 “หมอเสริฐ” นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ แห่งโรงพยาบาลกรุงเทพ ยังรักษาบัลลังก์เศรษฐีหุ้นไทยได้อีกเป็นปีที่ 3 รวย 6.2 หมื่นล้าน เศรษฐีหุ้นอันดับ 2 ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ บิ๊กบอสพฤกษา รวย 3.5 หมื่นล้าน ตามด้วย สมโภชน์ อาหุนัย เจ้าพ่อหุ้นพลังงาน EA นั่งเศรษฐีหุ้นอันดับ 3 รวย 3.2 หมื่นล้าน ด้านตระกูลปราสาททองโอสถ ก้าวขึ้นแชมป์ตระกูลเศรษฐีหุ้นไทย มั่งคั่ง 8.8 หมื่นล้าน
วารสารการเงินธนาคาร ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทย โดยภาพรวมของเศรษฐีหุ้นไทยในปี 2558 ซึ่งวัดจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ประเภทบุคคลธรรมดาในประเทศที่ถือหุ้นสัดส่วน 0.5% ขึ้นไป ตามการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นล่าสุดก่อนวันที่ 30 กันยายน 2558 จำนวน 6,712 ราย มีมูลค่าหุ้นที่ถือครองรวมทั้งสิ้น 1,801,432 ล้านบาท ลดลงจากปี 2557 รวม 29,961 ล้านบาท หรือ 1.64% นอกจากนี้ ยังได้รับเงินปันผลรวมกันเป็นจำนวนเงิน 51,491 ล้านบาท ลดลง 339 ล้านบาท หรือ 0.65% จากปี 2557
นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ที่มาภาพ : http://images.forbes.com/media/lists/85/2011/prasert-prasarttong-osoth.jpg
นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ที่มาภาพ : http://images.forbes.com/media/lists/85/2011/prasert-prasarttong-osoth.jpg
สำหรับผลการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทยในวารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนธันวาคม 2558 ปรากฏว่า นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ หรือ หมอเสริฐ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ เจ้าของกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ ครองแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยปี 2558 โดยเป็นแชมป์ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยในปีนี้ หมอเสริฐถือครองหุ้นสูงสุดเป็นอันดับ 1 รวมมูลค่า 62,365.18 ล้านบาท รวยขึ้น 4,455.70 ล้านบาท หรือ 7.69%
นอกเหนือจากหุ้น บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) หรือโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่หมอเสริฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ในสัดส่วน 19.11% รวมมูลค่า 54,777.21 ล้านบาท และหุ้น บมจ.โรงพยาบาลนนทเวช (NTV) ในสัดส่วน 0.79% มูลค่า 42.46 ล้านบาทแล้ว ปีนี้หมอเสริฐยังรวยขึ้นจากการนำ บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) เจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 โดยถือหุ้น BA 18.24% มูลค่า 7,545.52 ล้านบาท
เศรษฐีหุ้นอันดับ 2 ได้แก่ ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท (PS) โดยมีมูลค่าหุ้นที่ถือครองรวมมูลค่า 35,280.09 ล้านบาท ลดลง 6,299.41 ล้านบาท หรือ 15.15% เนื่องจากหุ้น PS ที่ทองมาถือในสัดส่วน 54.42% มูลค่า 34,902.50 ล้านบาทนั้น ราคาปรับลดลงเหลือ 28.75 บาท ณ 30 กันยายน 2558 ซึ่งเป็นวันที่ใช้คำนวณมูลค่าความมั่งคั่งของเศรษฐีหุ้นในปีนี้ จากที่อยู่ในระดับ 34.25 เมื่อปีที่แล้ว โดยราคาปรับลดลง 5.5 บาท หรือ 16.06%
นอกจากนี้ ทองมา ยังถือหุ้น บมจ.ศุภาลัย (SPALI) 0.71% มูลค่า 224.58 ล้านบาท และ บมจ.แอล.พี.เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) 0.61% มูลค่า 153.01 ล้านบาท อีกด้วย
เศรษฐีหุ้นอันดับ 3 ในปีนี้ เป็นของ สมโภชน์ อาหุนัย เจ้าของกิจการธุรกิจพลังงาน จำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในชื่อ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) โดยถือครองหุ้นมูลค่ารวม 32,495.74 ล้านบาท ลดลงไป 4,069.75 ล้านบาท หรือ 11.13% ประกอบด้วยหุ้น EA 40.49% มูลค่า 32,468.44 ล้านบาท และหุ้น บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี (EE) อีก 0.94% มูลค่า 27.30 ล้านบาท
เศรษฐีหุ้นอันดับ 4 ได้แก่ คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) หุ้นที่คีรีถือครองรวมมูลค่าทั้งสิ้น 32,209.11 ล้านบาท ลดลง 6,990.91 ล้านบาท หรือ 17.83% ประกอบด้วย หุ้น BTS ในสัดส่วน 27.52% มูลค่า 31,991.36 ล้านบาท บมจ.แกรนด์ คาแนล แลนด์ (GLAND) 0.51% มูลค่า 87.60 ล้านบาท และหุ้น บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย (VGI) 0.54% มูลค่า 130.16 ล้านบาท
เศรษฐีหุ้นอันดับ 5 ได้แก่ อนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ถือครองหุ้นมูลค่ารวม 23,026.65 ล้านบาท ลดลง 1,761.96 ล้านบาท หรือ 7.11% ประกอบด้วย บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH) 24.43% มูลค่า 23,016.30 ล้านบาท และ บมจ.แมนดาริน โฮเต็ล (MANRIN) 1.36% มูลค่า 10.35 ล้านบาท
ปีนี้เจ้าของอาณาจักรธุรกิจแบรนด์สุกี้ MK ยุพิน ธีระโกเมน กระโดดขึ้นมานั่งในอันดับ 6 โดยถือหุ้น บมจ.เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป (M) มูลค่า 20,970.10 ล้านบาท โดยยุพินถือหุ้น M ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจาก 21.97% เป็น 40.03% ในปีนี้ ส่งผลให้มูลค่าความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นถึง 8,831.71 ล้านบาท หรือ 72.76%
ด้าน วิชัย ทองแตง เจ้าพ่อเคเบิลยักษ์ใหญ่แบรนด์ CTH ปีนี้ครองอันดับ 7 ถือหุ้นรวมมูลค่า 20,431.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 136.62 ล้านบาท หรือ 0.67% ซึ่งนอกจากหุ้น บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) 6.71% มูลค่า 19,238.46 ล้านบาท, บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น (FORTH) 7.23% มูลค่า 551.76 ล้านบาท และ บมจ.ปุ๋ยเอ็นเอฟซี (NFC) 8.04% มูลค่า 272 ล้านบาท แล้ว ปีนี้วิชัยยังถือหุ้นเพิ่มขึ้นอีก 3 บริษัท คือ บมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส (FSMART) 0.51% มูลค่า 51.42 ล้านบาท, บมจ.สยามเจเนอรัล แฟคตอริ่ง (SGF) 17.67% มูลค่า 192.12 ล้านบาท และ บมจ.ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น (TWZ) 6.72% มูลค่า 125.64 ล้านบาท
เศรษฐีหุ้นอันดับ 8 ในปีนี้ ได้แก่ นิติ โอสถานุเคราะห์ ถือครองหุ้นมูลค่ารวม 19,871.66 ล้านบาท ลดลง 4,148.70 ล้านบาท หรือ 17.27% นอกจากนิติจะเป็นทายาทของอาณาจักรโอสถสภาแล้ว ยังเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มีพอร์ตการถือหุ้นมากถึง 14 บริษัท
ปีนี้ พิชญ์ โพธารามิก ทายาทคนเดียวของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดิศัย โพธารามิก ผู้ก่อตั้ง บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล อยู่ในอันดับ 9 ถือหุ้นมูลค่ารวม 18,491.78 ล้านบาท ลดลง 1,931.06 ล้านบาท หรือ 11.66% ประกอบด้วย บมจ.โมโน เทคโนโลยี (MONO) ในสัดส่วน 71.99% มูลค่า 5,277.61 ล้านบาท, บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) 25.84% มูลค่า 10,326.66 ล้านบาท และ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์ อินเตอร์เน็ต จัสมิน (JASIF) 5% มูลค่า 2,887.50 ล้านบาท
เศรษฐีหุ้นอันดับ 10 ได้แก่ ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ เป็นอีกหนึ่งทายาทของหมอเสริฐที่ได้รับอานิสงส์จากการนำบางกอกแอร์เวย์สเข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา โดยถือครองหุ้นรวมมูลค่า 13,846.15 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 6,451.59 ล้านบาท หรือ 87.25% ประกอบด้วย บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ในสัดส่วน 2.71% มูลค่า 7,764.56 ล้านบาท และ บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) 14.70% มูลค่า 6,081.59 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีทายาทอีก 3 คน ได้ก้าวเข้ามาเป็นเศรษฐีหุ้นหน้าใหม่ในปีนี้ ได้แก่ พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ เป็นเศรษฐีหุ้นอันดับ 32 ถือหุ้น BA 15.88% มูลค่า 6,567.74 ล้านบาท, อาริญา ปราสาททองโอสถ เศรษฐีหุ้นอันดับ 101 ถือหุ้น BA 7.78% มูลค่า 3,054.29 ล้านบาท, สมฤทัย ปราสาททองโอสถ เศรษฐีหุ้นอันดับ 222 ถือหุ้น BA 3.69% มูลค่า 1,527.59 ล้านบาท และภรรยาหมอเสริฐ วัลลีย์ ปราสาททองโอสถ เศรษฐีหุ้นอันดับ 430 ถือหุ้น BA 1.73% มูลค่า 714.13 ล้านบาท
สำหรับแชมป์ตระกูลเศรษฐีหุ้นไทยปี 2558 ได้แก่ ตระกูลปราสาททองโอสถ ซึ่งก้าวขึ้นมาเป็นแชมป์ตระกูลเศรษฐีหุ้นไทยเป็นครั้งแรก โดยสร้างสถิติความมั่งคั่งสูงสุดถึง 88,086.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ถึง 22,771.37 ล้านบาท หรือ 34.86%
ความมั่งคั่งของตระกูลปราสาททองโอสถที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลนี้ เกิดจากการนำ บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) หรือบางกอกแอร์เวย์สจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ 6 เครือญาติในตระกูล นำโดย นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ และภรรยา วัลลีย์ ปราสาททองโอสถ รวมทั้งทายาทอย่าง พุฒิพงศ์ สมฤทัย อาริญา และ ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ รวยขึ้นในพริบตา
นอกจากหุ้น BA แล้ว ตระกูลปราสาททองโอสถยังถือหุ้น บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) และบมจ.โรงพยาบาลนนทเวช (NTV) อีกด้วย
ส่วน ตระกูลจิราธิวัฒน์ แชมป์ตระกูลเศรษฐีหุ้น 2 ปีซ้อน ปีนี้หล่นไปอยู่อันดับ 2 โดยเครือญาติเศรษฐีหุ้นในตระกูล 44 คน ถือครองหุ้นรวมกันทั้งสิ้น 58,548.92 ล้านบาท ลดลง 10,842.96 ล้านบาท หรือ 15.63% ตระกูลเศรษฐีหุ้นไทยอันดับ 3 ได้แก่ ตระกูลกาญจนพาสน์ โดย 5 เครือญาติในตระกูล ได้แก่ คีรี อนันต์ กวิน ชัยสิทธิ์ สาคร กาญจนพาสน์ ถือครองหุ้นรวมมูลค่า 45,052.90 ล้านบาท ลดลง 4,340.87 ล้านบาท หรือ 8.79%
อันดับ 4 ตระกูลวิจิตรพงศ์พันธุ์ โดยทองมาและทิพย์สุดา พร้อมด้วยลูกสาวทั้งสองคน คือ มาลินี และ ชัญญา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ถือครองหุ้น บมจ.พฤกษา (PS) รวมกันเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 42,611.34 ล้านบาท ลดลง 7,701.91 ล้านบาท หรือ 15.31% และตระกูลเศรษฐีหุ้นอันดับ 5 ได้แก่ ตระกูลทองแตง ที่ครอบครัวทองแตง ได้แก่ วิชัย เพชรัตน์ วิอร อัฐ อติคุณ และอิทธิ ทองแตง ถือครองหุ้นรวมกันเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 41,653.59 ล้านบาท ลดลง 2,428.77 ล้านบาท หรือ 5.51%

"ศาลฎีกาฯ สั่งยึดบ้าน "สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล""

Nation TV

"ศาลฎีกานักการเมือง มติเอกฉันท์ ให้บ้าน จ.อ่างทอง " สมศักดิ์ " อดีต รมว.ศึกษาธิการ พรรคชาติไทยพัฒนา ที่สร้างปี 2541 มูลค่า 16 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลปี 58 พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

ที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ วันที่ 29 ก.ย.59 เวลา 14.30 น. นายชาติชาย อัครวิบูลย์ รองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะ 9 คน อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อม.74/2558 ที่อัยการสูงสุด (อสส.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นผิดปกติของ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล หรือเสี่ยตือ อดีต รมว.ศึกษาธิการ และอดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ผู้ถูกกล่าวหาว่า มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ จำนวน 16 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดินกรณีสืบเนื่องจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเสียงข้างมาก เมื่อวันที่ 28 พ.ค.58 ชี้มูลความผิด จากการไต่สวนกรณีการร่ำรวยผิดปกติของนายสมศักดิ์ ซึ่งจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ที่ไม่แสดงบ้านพักเลขที่ 5/5 ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ที่ปลูกสร้าง เมื่อปี 2541 ช่วงที่นายสมศักดิ์ เป็น รมช.ศึกษาธิการ และก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี 2544 ในช่วงที่นายสมศักดิ์เป็น รมว.ศึกษาธิการ โดยใช้เงินค่าก่อสร้าง 16 ล้านบาท

โดยองค์คณะ ฯ พิจารณาพยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า จำเลยไม่สามารถชี้แจงที่มาของทรัพย์สินดังกล่าวได้ จึงมีมติเอกฉันท์ ให้บ้านพักเลขที่ 5/5 ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ที่ปลูกสร้าง เมื่อปี 2541 มูลค่า 16 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดินขณะที่นายสมศักดิ์ อดีต รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งวันนี้เดินทางมาฟังคำพิพากษา กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ยอมรับคำตัดสิน ก่อนจะเดินทางกลับ"

เปิดรายชื่อครบหมด แต่งตั้งโยกย้าย321นายพลตำรวจ-ผ่านก.ตร.




เมื่อวันที่ 28 ก.ย. สำหรับรายชื่อข้าราชการตำรวจที่ผ่านการพิจารณาของก.ตร. ในการแต่งตั้งโยกย้าย ระดับรองผบ.ตร.-ผบก. วาระประจำปี 2559 รวมทั้งสิ้น 321 ตำแหน่ง ประกอบด้วย
1 พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา ที่ปรึกษา(สบ 10) (ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ) เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
2 พล.ต.อ.สุเทพ เดชรักษา ที่ปรึกษา(สบ 10) (ด้านกฎหมายและสอบสวน) เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
3 พล.ต.ท.รุ่งโรจน์ แสงคร้าม ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
4 พล.ต.อ.ปัญญา มาเม่น ที่ปรึกษา(สบ 10) (ด้านป้องกันปราบปรามอาชญากรรม) เป็นจเรตำรวจแห่งชาติ
5 พล.ต.ท.กวี สุภานันท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นที่ปรึกษา(สบ 10) (ด้านกฎหมายและสอบสวน)
6 พล.ต.ท.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นที่ปรึกษา(สบ 10) (ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ)
7 พล.ต.ท.สุวิระ ทรงเมตตา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นที่ปรึกษา(สบ 10) (ด้านป้ องกันปราบปรามอาชญากรรม)
8 พล.ต.ท.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นที่ปรึกษา(สบ 10) (ด้านบริหาร)
9 พล.ต.ท.เดชา ชวยบุญชุม ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นที่ปรึกษา(สบ 10) (ด้านสืบสวน)
10 พล.ต.ท.ชัยวัฒน์ เกตุวรชัย ผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค 1 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
11 พล.ต.ท.ดุสิต สังขะเมฆะ นายตำรวจราชสำนักประจำ (สบ 8) เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
12 พล.ต.ท.เดชา บุตรน้ำเพชร ผู้บัญชาการ สำนักงานงบประมาณและการเงิน เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
13 พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สอาดพรรค ผู้บัญชาการ สำนักงานตรวจสอบภายใน เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
14 พล.ต.ท.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ ผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค 5 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
15 พล.ต.ท.ธเนตร์ พิณเมืองงาม ผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค 2 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
16 พล.ต.ท.พรหมธร ภาคอัต ผู้บัญชาการศึกษา เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
17 พล.ต.ท.ไพศาล เชื้อรอต ผู้บัญชาการ ประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่ที่ปรึกษาด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน) เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
18 พล.ต.ท.มนู เมฆหมอก ผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
19 พล.ต.ท.รุ่งฤทธิ์ ซุ่นทรัพย์ ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
20 พล.ต.ท.วิทยา ประยงค์พันธุ์ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่นายตำรวจประจำสภาความมั่นคงแห่งชาติ) เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
21 พล.ต.ท.วีรพงษ์ ชื่นภักดี ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่บริหารงานด้านป้องกันปราบปราม) เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
22 พล.ต.ท.ศักดา เตชะเกรียงไกร ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นรองจเรตำรวจแห่งชาติ
23 พล.ต.ท.จิตติ รอดบางยาง ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่นายตำรวจประสานงานสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงมหาดไทย) เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2
24 พล.ต.ท.ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3
25 พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
26 พล.ต.ท.เติมพงษ์ สิทธิประเสริฐ จเรตำรวจ(สบ 8) เป็นจเรตำรวจ(สบ 8)(หัวหน้าจเรตำรวจ)
27 พล.ต.ท.ทวิชชาติ พละศักดิ์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6
28 พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
29 พล.ต.ท.รอย อิงคไพโรจน์ ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล เป็นผู้บัญชาการศึกษา
30 พล.ต.ท.สมบูรณ์ ตันตระกูล นายแพทย์ใหญ่(สบ 8) เป็นที่ปรึกษา(สบ 8) โรงพยาบาลตำรวจ
31 พล.ต.ต.กิตติพงษ์ เงามุข รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 เป็นผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
32 พล.ต.ต.ไกรบุญ ทรวดทรง รองผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ เป็นผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ
33 พล.ต.ต.จตุพล ปานรักษา รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4
34 พล.ต.ต.จารุวัฒน์ ไวศยะ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี
35 พล.ต.ต.ชนินทร์ ชะโยชัยชนะ รองนายแพทย์ใหญ่(สบ 7) เป็นที่ปรึกษา(สบ 8)โรงพยาบาลตำรวจ
36 พล.ต.ต.ชินภัทร สารสิน รองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เป็นผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่นายตำรวจประสานงานสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงมหาดไทย)
37 พล.ต.ต.โชติกร สีมันตร รองนายแพทย์ใหญ่(สบ 7) เป็นผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
38 พล.ต.ต.ติณภัทร ภุมรินทร์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เป็นผู้บัญชาการสำนักงานส่งกำลังบำรุง
39 พล.ต.ต.เทพ อมรโสภิต รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
40 พล.ต.ต.นพดล เผือกโสมณ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 เป็นผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่นายตำรวจประจำสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
41 พล.ต.ต.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
42 พล.ต.ต.รณศิลป์ ภู่สาระ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 เป็นผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้
43 พล.ต.ต.รัฐพงษ์ ยิ้มใหญ่ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 เป็นจเรตำรวจ(สบ 8)
44 พล.ต.ต.วิฑูรย์ นิติวรางกูร รองนายแพทย์ใหญ่(สบ 7) เป็นนายแพทย์ใหญ่(สบ 8)
45 พล.ต.ต.วิศณุ ม่วงแพรสี รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 เป็นผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่ที่ปรึกษาด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน)
46 พล.ต.ต.สมหมาย กองวิสัยสุข รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
47 พล.ต.ต.สรศักดิ์ เย็นเปรม รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 เป็นผู้บัญชาการสำนักงานงบประมาณและการเงิน
48 พล.ต.ต.สัญชัย ไชยอำพร รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 เป็นจเรตำรวจ(สบ 8)
49 พล.ต.ต.สาคร ทองมุณี รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9
50 พล.ต.ต.สาโรช นิ่มเจริญ รองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจสอบภายใน เป็นผู้บัญชาการสำนักงานตรวจสอบภายใน
51 พล.ต.ต.สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7
52 พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
53 พล.ต.ต.อดิศร์ งามจิตสุขศรี รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นจเรตำรวจ(สบ 8)
54 พล.ต.ต.อิทธิพล พิริยะภิญโญ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่บริหารงานด้านป้องกันปราบปราม)
55 พล.ต.ต.อิทธิศักดิ์ กรินชัย นายตำรวจราชสำนักประจำ (สบ 7) เป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ (สบ 8)
56 พล.ต.ต.อรรถกร ทิพยโสธร นายตำรวจราชสำนักประจำ(สบ 6)ส่วนปฏิบัติการนายตำรวจราชสำนักประจำ เป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ (สบ 8)
57 พล.ต.ต.จำนงค์ รัตนกุล รองผู้บัญชาการสำนักงานส่งกำลังบำรุง เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล
58 พล.ต.ต.ชลิต ปรีชาหาญ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
59 พล.ต.ต.ชาติชาย แตงเอี่ยม รองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3
60 พล.ต.ต.ชูรัตน์ ปานเหง้า รองจเรตำรวจ(สบ 7) เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
61 พล.ต.ต.ทรงเกียรติ วาทะกุล รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9
62 พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค 5 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7
63 พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
64 พล.ต.ต.ธนาศักดิ์ ฤทธิเดชไพบูล รองจเรตำรวจ(สบ 7) เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4
65 พล.ต.ต.ธเนษฐ สุนทรสุข รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เป็นรองจเรตำรวจ(สบ 7)
66 พล.ต.ต.นพปฎล อินทอง รองจเรตำรวจ(สบ 7) เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ
67 พล.ต.ต.บุญยศ บุญไพศาล รองผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
68 พล.ต.ต.ประหยัชว์ บุญศรี รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี
69 พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
70 พล.ต.ต.พิทยา ศิริรักษ์ รองผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
71 พล.ต.ต.พุทธิชาต เอกฉันท์ รองจเรตำรวจ(สบ 7) เป็นรองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้
72 พล.ต.ต.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา รองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
73 พล.ต.ต.มณฑล เงินวัฒนะ รองผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล เป็นรองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้
74 พล.ต.ต.มโนช ตันตระเธียร รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
75 พล.ต.ต.วัลลภ ประทุมเมือง รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล
76 พล.ต.ต.วิชัย เกษมวงศ์ รองผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่ที่ปรึกษาด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน) เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
77 พล.ต.ต.วิเชียร ตันตะวิริยะ รองผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่บริหารและให้คำปรึกษาด้านป้องกันปราบปราม) เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
78 พล.ต.ต.วิสาร์ท สมปราชญ์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
79 พล.ต.ต.ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7
80 พล.ต.ต.สมชาย นิตยบวรกุล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี
81 พล.ต.ต.สมิทธิ มุกดาสนิท รองจเรตำรวจ(สบ 7) เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
82 พล.ต.ต.สุภธัช คำดี รองจเรตำรวจ(สบ 7) เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
83 พล.ต.ต.สุรชัย ควรเดชะคุปต์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
84 พล.ต.ต. สุวรรณ เอกโพธิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เป็นรองจเรตำรวจ (สบ 7)
85 พล.ต.ต.อนุรักษ์ แตงเกษม รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
86 พล.ต.ต.หญิง อัญชนา ศรีทรงผล รองผู้บัญชากา สำนักงานกำลังพล เป็นรองนายแพทย์ใหญ่(สบ 7)
87 พล.ต.ต.อาชวันต์ โชติกเสถียร รองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
88 พล.ต.ต.กฤษกร พลีธัญญวงศ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรี เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2
89 พล.ต.ต.กฤษณะ ทรัพย์เดช ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7
90 พล.ต.ต.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 1 เป็นรองจเรตำรวจ(สบ 7)
91 พล.ต.ต.เกียรติพงศ์ ขาวสำอางค์ ผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เป็นรองจเรตำรวจ(สบ 7)
92 พล.ต.ต.หญิง ขนิษฐา เที่ยงทัศน์ ผู้บังคับการกองการเงิน เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานงบประมาณและการเงิน
93 พล.ต.ต.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย ผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 3 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3
94 พล.ต.ต.จิตรจรูญ ศรีวนิชย์ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4
95 พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
96 พล.ต.ต.จิรวัฒน์ ทิพยจันทร์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6
97 พล.ต.ต.ฉลอง ภาคย์ภิญโญ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9
98 พล.ต.ต.เฉลิม สุวรรณรัตน์โอสถ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 3 เป็นรองจเรตำรวจ(สบ 7)
99 พล.ต.ต.ชนินทร์ สุดโนรีกูล ผู้บังคับการอำนวยการโรงพยาบาลตำรวจ เป็นรองนายแพทย์ใหญ่(สบ 7)
100 พล.ต.ต.ชยุต รัตนอุบล ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 4 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
101 พล.ต.ต.ชัยพร พานิชอัตรา ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 3 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
102 พล.ต.ต.ชาตรี ไพศาลศิลป์ ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 4 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
103 พล.ต.ต.เชษฐา โกมลวรรธนะ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 2 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2
104 พล.ต.ต.โชคชัย เหลืองอ่อน ผู้บังคับการกองยุทธศาสตร์ เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ
105 พล.ต.ต.ไชยยา รุจจนเวท ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 2 เป็นรองจเรตำรวจ(สบ 7)
106 พล.ต.ต.ฐากูร นัทธีศรี ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4
107 พล.ต.ต.ดาวลอย เหมือนเดช ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดตรัง เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7
108 พล.ต.ต.ดำรัส วิริยะกุล ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดระนอง เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8
109 พล.ต.ต.ถนอม มะลิทอง ผู้บังคับการปกครอง เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
110 พล.ต.ต.ทนงศักดิ์ ทั่งทอง ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
111 พล.ต.ต.ทนงศักดิ์ วังสุภา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี เป็นรองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้
112 พล.ต.ต.ธิติ แสงสว่าง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
113 พล.ต.ต.นันทเดช ย้อยนวล ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดกระบี่ เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8
114 พล.ต.ต.นัยวัฒน์ ผะเดิมชิต ผู้บังคับการกองตรวจราชการ 2 เป็นรองจเรตำรวจ(สบ 7)
115 พล.ต.ต.นิติพงศ์ เนียมน้อย ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 6 เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
116 พล.ต.ต.ประจวบ วงศ์สุข ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพะเยา เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6
117 พล.ต.ต.พงษ์เดช พรหมมิจิตร ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
118 พล.ต.ต.พงษ์พันธุ์ วรรณภักตร์ ผู้บังคับการกองคดีปกครองและคดีแพ่ง เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
119 พล.ต.ต.พรชัย เจริญวงศ์ ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 3 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
120 พล.ต.ต.พรชัย ไทยแท้ ผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
121 พล.ต.ต.พัฒนวุธ อังคะนาวิน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส เป็นรองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้
122 ศาสตราจารย์ พล.ต.ต.พิศาล มุขแจ้ง อาจารย์(สบ 6) กลุ่มงานคณาจารย์ คณะตำรวจศาสตร์ เป็นรองผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่ที่ปรึกษาด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน)
123 พล.ต.ต.โพธ สวยสุวรรณ ผู้บังคับการกองตรวจราชการ 8 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9
124 พล.ต.ต.ภาณุเดช บุญเรือง ผู้บังคับการตำรวจภูธจังหวัดแพร่ เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ
125 พล.ต.ต.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
126 พล.ต.ต.มนตรี ยิ้มแย้ม ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 8 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
127 พล.ต.ต.มนตรี สัมบุณณานนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค 5
128 พล.ต.ต. รณกร ศุภสมุทร ผู้บังคับการ กองสรรพาวุธ รองจเรตำรวจ(สบ 7)
129 พล.ต.ต.วรรฏมณฑ์ อัฏฐ์วารี นายตำรวจราชสำนักประจำ(สบ 6) ส่วนปฏิบัติการนายตำรวจราชสำนักประจำ เป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ(สบ 7)
130 พล.ต.ต.วารินทร์ วชิรปัญญานุกูล นายแพทย์ (สบ 6) โรงพยาบาลตำรวจ เป็นรองนายแพทย์ใหญ่ (สบ 7)
131 พล.ต.ต.วาสิทธิ์ บางท่าไม้ นายตำรวจราชสำนักประจำ(สบ 6) ส่วนปฏิบัติการนายตำรวจราชสำนักประจำ เป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ(สบ 7)
132 พล.ต.ต.วิชิต ปักษา ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
133 พล.ต.ต.วีระชัย วิสุทธิอุทัยกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2
134 พล.ต.ต.สมบัติ มิลินทจินดา ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
135 พล.ต.ต.สมพงษ์ เตชะสมบูรณ์ ผู้บังคับการกองตรวจสอบและทะเบียนประวัติ เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
136 พล.ต.ต.สมสง่า ชรินทร์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
137 พล.ต.ต.เสถียร คูวิบูลย์ศิลป์ ผู้บังคับการสถาบันฝึกอบรมและวิจัยการพิสูจน์หลักฐานตำรวจ เป็นรองจเรตำรวจ(สบ 7)
138 พล.ต.ต.เสริมคิด สิทธิชัยกานต์ ผู้บังคับการกองร้องทุกข์ เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานส่งกำลังบำรุง
139 พล.ต.ต.โสพรรณ ธนะโสธร ผู้บังคับการสถาบันส่งเสริมงานสอบสวน เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี
140 พล.ต.ต.อนิกธัญญ์ ชยสุทธา ผู้บังคับการกองสารนิเทศ เป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจสอบภายใน
141 พล.ต.ต.อนุศักดิ์ โกมลศาสตร์ ผู้บังคับการอำนวยการสำนักงานจเรตำรวจ เป็นรองผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่บริหารและให้คำปรึกษาด้านป้ องกันปราบปราม)
142 พล.ต.ต.อำนวย พวกสนิท ผู้บังคับการสนับสนุนทางอากาศ เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
143 พล.ต.ต.อำพล บัวรับพร ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
144 พล.ต.ต.กริช กิติลือ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
145 พล.ต.ต.กัมปนาท โสภโณดร ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์ เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9
146 พล.ต.ต.ก่อเกียรติ วงศ์สุเมธ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์
147 พล.ต.ต.คม อมรปิ ยะกฤษฐ์ ผู้บังคับการอำนวยการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ เป็นผู้บังคับการสถาบันฝึกอบรมและวิจัยการพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
148 พล.ต.ต.คำรณ บุญเลิศ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี
149 พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผู้บังคับการตำรวจรถไฟ เป็นผู้บังคับการตำรวจจราจร
150 พล.ต.ต.เจษฏา ใยสุ่น ผู้บังคับการกองวินัย เป็นผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 6
151 พล.ต.ต.ฉลองเกียรติ โรจน์ปัญญาคุปต์ ผู้บังคับการศูนย์บริการทางการศึกษา เป็นผู้บังคับการอำนวยการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
152 พล.ต.ต.ชยพล ฉัตรชัยเดช ผู้บังคับการกองแผนงานอาชญากรรม เป็นผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 4
153 พล.ต.ต.ชัยญัติ สายถิ่น ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร เป็นผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 4
154 พล.ต.ต.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ ผู้บังคับการกองตำรวจสื่อสาร เป็นผู้บังคับการกองสรรพาวุธ
155 พล.ต.ต.ชาติชาย วัฒนสุขชัย ผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 4 เป็นผู้บังคับการศูนย์ฝึกตำรวจ
156 พล.ต.ต.ฐิติพงศ์ อาทิตยานนท์ ผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากร เป็นผู้บังคับการศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 2
157 พล.ต.ต.ณฐพล แสวงกิจ ผู้บังคับการกองทะเบียนพล เป็นผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3
158 พล.ต.ต.ดำรงค์ เพ็ชรพงศ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์
159 พล.ต.ต.ดุษฎี ชูสังกิจ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 4
160 พล.ต.ต.ธวัชชัย ยิ่งเจริญสุข ผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1 เป็นผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 1
161 พล.ต.ต.ธัชชัย ปิ ตะนีละบุตร ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครนายก
162 พล.ต.ต.นิตินันท์ เพชรบรม ผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจสันติบาล เป็นผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจนครบาล
163 พล.ต.ต.นิธิพัฒน์ พัฒนถาบุตร์ ผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 5 เป็นผู้บังคับการกองตรวจราชการ 2
164 พล.ต.ต.นิยม ด้วงสี ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดน่าน เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง
165 พล.ต.ต.นิรันดร เหลื่อมศรี ผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นผู้บังคับการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง
166 พล.ต.ต.บรรลือ ชูเวทย์ ผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 9
167 พล.ต.ต.ปิยะ สุขประเสริฐ ผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 9 เป็นผู้บังคับการกองร้องทุกข์
168 พล.ต.ต.พจน์ บุญมาภาคย์ ผู้บังคับการกองตรวจราชการ 5 เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ
169 พล.ต.ต.พงศ์ฤทธิ์ บุญเลี้ยง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสิงห์บุรี
170 พล.ต.ต.พยูห์ ธนะศรีสืบวงศ์ ผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 2 เป็นผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 6
171 พล.ต.ต.พัฒนินท์ นพจินดา ผู้บังคับการศูนย์ฝึกตำรวจ เป็นผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
172 พล.ต.ต.ภัทรพงษ์ ดิษยรักษ์ ผู้บังคับการกองงบประมาณ เป็นผู้บังคับการกองการเงิน
173 พล.ต.ต.ภัสรวินทร์ พงศ์ภิภัทรภาคิน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี
174 พล.ต.ต.ภาณุวิชญ์ ทองยิ้ม ผู้บังคับการสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
175 พล.ต.ต.มงคล วรุณโณ ผู้บังคับการตำรวจจราจร เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล 5
176 พล.ต.ต.มนัส ศิกษมัต ผู้บังคับการกองคดีอาญา เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส
177 พล.ต.ต.มานิตย์ จันทรคณา ผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 7 เป็นผู้บังคับการกองตรวจราชการ 9
178 พล.ต.ต.ยงเกียรติ มนปราณีต ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้บังคับการประจำกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
179 พล.ต.ต.ยุทธชัย พัวประเสริฐ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดแพร่
180 พล.ต.ต.วณัฐ อรรถกวิน ผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 3 เป็นผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 3
181 พล.ต.ต.วรพงษ์ ทองไพบูลย์ ผู้บังคับการกองสวัสดิการ เป็นผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
182 พล.ต.ต.หญิง วราภรณ์ ภูวรัตนกุล ผู้บังคับการกองบัญชี เป็นผู้บังคับการกองตรวจสอบภายใน 2
183 พล.ต.ต.วรวิทย์ ปานปรุง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพังงา เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกระบี่
184 พล.ต.ต.วิบูลย์ สีสุข ผู้บังคับการกองอัตรากำลัง เป็นผู้บังคับการกองยุทธศาสตร์
185 พล.ต.ต.วุฒิพงศ์ เพ็ชรกำเหนิด ผู้บังคับการกองโยธาธิการ เป็นผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 3
186 พล.ต.ต.สมจิตร์ ทองแท่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย
187 พล.ต.ต.สมชาย นุ่มโต ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด
188 พล.ต.ต.สมนึก บุรมิ ผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 2 เป็นผู้บังคับการกองคดีปกครองและคดีแพ่ง
189 พล.ต.ต.สมบัติ หวังดี ผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 9 เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน
190 พล.ต.ต.สมประสงค์ เย็นท้วม ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 5 เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี
191 พล.ต.ต.สุคุณ พรหมายน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี
192 พล.ต.ต.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้บังคับการปราบปราม
193 พล.ต.ต.สุทิพย์ ผลิตกุศลธัช ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย
194 พล.ต.ต.สุนทร เฉลิมเกียรติ ผู้บังคับการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง เป็นผู้บังคับการประจำกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
195 พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว เป็นผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
196 พล.ต.ต.สุรศักดิ์ ขุนณรงค์ ผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่ประสานงานนโยบายกับนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1
197 พล.ต.ต.อดิศักดิ์ น้อยประเสริฐ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุตรดิตถ์
198 พล.ต.ต.อดุลย์ รัตนภิรมย์ ผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 1 เป็นผู้บังคับการกองกฎหมาย
199 พล.ต.ต.อภิชิต เทียนเพิ่มพูล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร
200 พล.ต.ต.อัคราเดช พิมลศรี ผู้บังคับการปราบปราม เป็นผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 7
201 พล.ต.ต.อาทิชา เปาอินทร์ ผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 7 เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม
202 พล.ต.ต.อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา เป็นผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล
203 พล.ต.ต.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครนายก เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม
204 พล.ต.ต.อุดร ยอมเจริญ ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 2 เป็นผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 3
205 พล.ต.ต.อภิชัย ศรีโสภิต ผู้บังคับการอำนวยการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นผู้บังคับการศูนย์บริการทางการศึกษา
206 พ.ต.อ.กรณ์ณพัชญ์ กิตติพิบูลย์ รองผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 3 เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
207 พ.ต.อ.กฤษฎา แก้วจันดี รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา
208 พ.ต.อ.หญิง กัตติกา ภูมิพิทักษ์กุล นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
209 พ.ต.อ.กิตติกร บุญสม รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 5 เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก
210 พ.ต.อ.คเณศ บุญเกษมสันติ นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานออร์โธปิ ดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
211 พ.ต.อ.จรัญฌิ์ เริงธรรม รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย เป็นผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 5
212 พ.ต.อ.หญิง จริยา ศรีเมฆารัตน์ พยาบาล (สบ 5) กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจ
213 พ.ต.อ.จักรพร แท่นทอง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้
214 พ.ต.อ.ฉัตรพัฒน์ จารุเรืองพงศ์รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตราด เป็นผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 2
215 พ.ต.อ.เฉลิมพล จินตรัตน์ รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
216 พ.ต.อ.ชยพจน์ หาสุณหะ รองผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 2 เป็นผู้บังคับการข่าวกรองยาเสพติด
217 พ.ต.อ.ชัยรัตน์ ทิพยจันทร์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรี
218 พ.ต.อ.ชัยรัตน์ ศรีเอี่ยม รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระแก้ว เป็นผู้บังคับการศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 3
219 พ.ต.อ.ชูฉัตร ธารีฉัตร รองผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 เป็นผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
220 พ.ต.อ.ฎิษพจณ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลพบุรี เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลพบุรี
221 พ.ต.อ.ณพวัฒน์ อารยางกูร รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เป็นผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2
222 พ.ต.อ.ณรงค์ ทรัพย์เย็น รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้บังคับการปกครอง
223 พ.ต.อ.ณรงค์ ศุภเอม รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี เป็นผู้บังคับการกองตรวจราชการ 5
224 พ.ต.อ.ณรงค์รัตน์ พิชัยณรงค์ รองผู้บังคับการกองงบประมาณ เป็นผู้บังคับการกองงบประมาณ
225 พ.ต.อ.ณัฐแก้ว เมตตามิตรพงศ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่ประสานงานนโยบายกับนายกรัฐมนตรี)
226 พ.ต.อ.ณัฐคมน์ พร้อมสันเทียะ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร เป็นผู้บังคับการกองตรวจราชการ 8
227 พ.ต.อ.ดุสิต สมศักดิ์ รองผู้บังคับการกองตรวจราชการ 8 เป็นผู้บังคับการกองแผนงานอาชญากรรม
228 พ.ต.อ.ไตรศูล เนียมทรัพย์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดระยอง เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดระยอง
229 พ.ต.อ.ทวีโรจน์ ศิริสวัสดิบุต รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตราด
230 พ.ต.อ.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ เป็นนายแพทย์ (สบ 6) โรงพยาบาลตำรวจ
231 พ.ต.อ.ทัศนา แสงงาม รองผู้บังคับการสนับสนุนทางอากาศ เป็นผู้บังคับการสนับสนุนทางอากาศ
232 พ.ต.อ.ทิวา บุญดำเนิน รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 7 เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบึงกาฬ
233 พ.ต.อ.ทีฆโชติ สุวรรณาคม รองผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 4 เป็นผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 2
234 พ.ต.อ.ทีป ราญสระน้อย รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร เป็นผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้
235 พ.ต.อ.ธีรศักดิ์ สุริวงศ์ รองผู้บังคับการตำรวจจราจร เป็นผู้บังคับการ กองวินัย
236 พ.ต.อ.ธีระพงษ์ วงษ์รัฐพิทักษ์ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 3 เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล 7
237 พ.ต.อ.นพดล ศรสำราญ รองผู้บังคับการศูนย์พัฒนาด้านการข่าว เป็นผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 1
238 พ.ต.อ.หญิง นิรมล แก้วผลึก รองผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจสันติบาล เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
239 พ.ต.อ.บัญชา ปั้นประดับ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี
240 พ.ต.อ.บุญญสิทธิ์ ว่องไว รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี เป็นผู้บังคับการสถาบันส่งเสริมงานสอบสวน
241 พ.ต.อ.บุญทวี โตรักษา รองผู้บังคับกา ตำรวจภูธรจังหวัดกระบี่ เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพังงา
242 พ.ต.อ.บุณยรัสน์ พุกกะเวส นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานผู้ป่ วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
243 พ.ต.อ.ประทักษ์ เจริญศิลป์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหนองบัวลำภู
244 พ.ต.อ.ประสาน บุญเหมือน รองผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 4 เป็นผู้บังคับการกองตรวจสอบและทะเบียนประวัติ
245 พ.ต.อ.ประเสริฐ เงินยวง รองผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว เป็นผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว
246 พ.ต.อ.ประเสริฐ ศิริพรรณาภิรัตน์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร เป็นผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 7
247 พ.ต.อ.ปราบพาล มีมงคล รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี เป็นผู้บังคับการอำนวยการ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้
248 พ.ต.อ.ปริญญา วิศิษฐ์ฎากุล รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก
249 พ.ต.อ.ปรีชา วิมลไชยจิต รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
250 พ.ต.อ.ปรีดา เปี่ยมวารี รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา
251 พ.ต.อ.ปิยะวัฒน์ เฉลิมศรี รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี
252 พ.ต.อ.พงศ์ธร สุโฆษิต นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
253 พ.ต.อ.พงศ์ศักดิ์ ลิ้มเฉลิมฉัตร รองผู้บังคับการฝึกพิเศษ เป็นผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1
254 พ.ต.อ.พงษ์ศิริ สวนแก้ว รองผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 4 เป็นผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 4
255 พ.ต.อ.หญิง พรเพ็ญ บุนนาค นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลตำรวจ เป็นนายแพทย์ (สบ 6) โรงพยาบาลตำรวจ
256 พ.ต.อ.พรหมณัฎฐเขต ฮามคำไพ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น
257 ศาสตราจารย์ พ.ต.อ.หญิง พัชรา สินลอยมา อาจารย์ (สบ 5) กลุ่มงานคณาจารย์ คณะนิติวิทยาศาสตร์ เป็นอาจารย์ (สบ 6) กลุ่มงานคณาจารย์ คณะตำรวจศาสตร์
258 พ.ต.อ.ไพบูลย์ มะระพฤกษ์วรรณ นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
259 พ.ต.อ.ไพโรจน์ บุญเต็ง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ เป็นผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 3
260 พ.ต.อ.ไพศาล ลือสมบูรณ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย
261 พ.ต.อ.ภรศักดิ์ นวนหนู รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 8 เป็นผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 8
262 พ.ต.อ.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ รองผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล 2
263 พ.ต.อ.มณฑป แสงจำนง รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 5 เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดน่าน
264 พ.ต.อ.มนเทียร พันธ์อิ่ม รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตราด เป็นผู้บังคับการกองโยธาธิการ
265 พ.ต.อ.มนตรี จรัลพงศ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์
266 พ.ต.อ.มานพ เกษร รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระแก้ว เป็นผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานจเรตำรวจ
267 พ.ต.อ.รักษ์จิต หม้อมงคล รองผู้บังคับการกองสรรพาวุธ เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
268 พ.ต.อ.วราวุธ สกลธนารักษ์ รองผู้บังคับการกองสารนิเทศ เป็นผู้บังคับการกองอุทธรณ์
269 พ.ต.อ.วัชรินทร์ บุญคง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ เป็นผู้บังคับการกองทะเบียนพล
270 พ.ต.อ.วัฒนา ยี่จีน รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 3 เป็นผู้บังคับการวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
271 พ.ต.อ.วิชัย เตียะเพชร รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา เป็นผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 2
272 พ.ต.อ.วิชัย ลีวรรณนภาใส นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานหู คอ จมูก โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
273 พ.ต.อ.วิเชียร พินดวง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 3
274 พ.ต.อ.วีรวัฒน์ วิภาตวิทย์ นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลตำรวจ เป็นนายแพทย์ (สบ 6) โรงพยาบาลตำรวจ
275 พ.ต.อ.วีระ จิรวีระ รองผู้บังคับการตำรวจจราจร เป็นผู้บังคับการอำนวยการโรงพยาบาลตำรวจ
276 พ.ต.อ.ศักย์ศิรา เผือกอ่ำ รองผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจสันติบาล เป็นผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
277 พ.ต.อ.ศุภวัฒน์ ทับเคลียว รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา เป็นผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 9
278 พ.ต.อ.สงวน โรงสะอาด รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพะเยา เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพะเยา
279 พ.ต.อ.สนธิชัย อาวัฒนกุลเทพ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร
280 พ.ต.อ.สมเกียรติ เกิดจงรักษ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร
281 พ.ต.อ.สมเกียรติ วัฒนพรมงคล รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร เป็นผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 2
282 พ.ต.อ.สมนึก น้อยคง รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 5 เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล 3
283 พ.ต.อ.สมปอง สุขเอี่ยม นักบิน (สบ 5) กลุ่มงานการบิน กองบินตำรวจ เป็นนักบิน (สบ 6) กองบินตำรวจ
284 พ.ต.อ.สมพงศ์ ทองใบ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตรัง
285 พ.ต.อ.สมพงษ์ วิถีประดิษฐ รองผู้บังคับการกองอัตรากำลัง เป็นผู้บังคับการกองอัตรากำลัง
286 พ.ต.อ.สมพจน์ ขอมปรางค์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ
287 พ.ต.อ.สมหมาย ประสิทธิ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท
288 พ.ต.อ.สมาน ชัยณรงค์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดระนอง
289 พ.ต.อ.สรร พูลศิริ รองผู้บังคับการกองแผนงานอาชญากรรม เป็นผู้บังคับการสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
290 พ.ต.อ.สรรภัทร ปราบพุฒซา รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน เป็นผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 5
291 พ.ต.อ.สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์ นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
292 พ.ต.อ.สรายุทธ สงวนโภคัย รองผู้บังคับการปราบปราม เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่
293 พ.ต.อ.สหรัฐ ศักดิ์ศิลปชัย รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 8 เป็นผู้บังคับการกองคดีอาญา
294 พ.ต.อ.สันติ ไทยเสถียร รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4 เป็นผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการศึกษา
295 พ.ต.อ.สัมพันธ์ เบญจศิริ รองผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 2 เป็นผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 2
296 พ.ต.อ.สัมฤทธิ์ ตงเต๊า รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 8 เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล 8
297 พ.ต.อ.สายเพชร ศรีสังข์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครนายก เป็นผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
298 พ.ต.อ.สิทธิชัย โล่กันภัย รองผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 เป็นผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2
299 พ.ต.อ.สุพัฒน์ เชยชิด รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี เป็นผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 7
300 พ.ต.อ.สุภากร คำสิงห์นอก รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา
301 พ.ต.อ.สุรพงษ์ ถนอมจิตร รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี เป็นผู้บังคับการตำรวจรถไฟ
302 พ.ต.อ.อำนวย วรญาวิสุทธิ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม เป็นผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 1
303 พ.ต.อ.หญิง สุวรรณี วุฒิณรงค์ตระกูล นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานตา โรงพยาบาลตำรวจ เป็นนายแพทย์ (สบ 6) โรงพยาบาลตำรวจ
304 พ.ต.อ.สุวิชาญ ญาณกิตติกุล รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม
305 พ.ต.อ.สุรนาท วรรณวรรค รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตรัง เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
306 พ.ต.อ.เสรี ธีรพงษ์ นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานสูตินารีเวชกรรม โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
307 พ.ต.อ.โสภณรัชต์ สิงหจารุ นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
308 พ.ต.อ.โสฬส พินิจศักดอฺ รองผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากร เป็นผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากร
309 พ.ต.อ.อดิศร อินสด รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก เป็นผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6
310 พ.ต.อ.อดุลย์ ดรุณเพท รองผู้บังคับการวิทยาลัยการตำรวจ เป็นผู้บังคับการวิทยาลัยการตำรวจ
311 พ.ต.อ.อนุภาพ ศรีนวล รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี
312 พ.ต.อ.อนุรักษ์ นาคพนม รองผู้บังคับการตำรวจรถไฟ เป็นผู้บังคับการกองบัญชี
313 พ.ต.อ.อภิศักดิ์ เดชะคำภู รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม
314 พ.ต.อ.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้บังคับการกองสวัสดิการ
315 พ.ต.อ.อัครพล ศรีเสาวลักษณ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้บังคับการอำนวยการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
316 พ.ต.อ.อังกูร คล้ายคลึง รองผู้บังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นผู้บังคับการกองสารนิเทศ
317 พ.ต.อ.หญิง อัจฉรมนต์ บูรณสมภพ นักเทคนิคการแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานชีวเคมี โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้บังคับการประจำโรงพยาบาลตำรวจ
318 พ.ต.อ.อาคม ไตรพยัคฆ์ รองผู้บังคับการกองตำรวจสื่อสาร เป็นผู้บังคับการกองตำรวจสื่อสาร
319 พ.ต.อ.อาคม สายสมัย รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 8 เป็นผู้บังคับการประจำตำรวจภูธรภาค 8
320 พ.ต.อ.หญิง อาภาพรรณ ชลศึกษ์ รองผู้บังคับการกองการต่างประเทศ เป็นผู้บังคับการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
321 พ.ต.อ.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองผู้บังคับการตำรวจจราจร เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง
.................
ที่มา ข่าวสด