PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กรณี น้ำมันรั่วไหล ปตท.

น้ำตาจะไหลกับเสียงก่นด่าปตท.ที่ดังจากทุกสารทิศ จำได้ว่าตอนที่รณรงค์ต่อต้านท่อก๊าซไทย-พม่าของปตท.เมื่อสิบกว่าปีก่อน เราพูดถึงความตายของช้างป่า ปูราชินี ค้างคาวกิตติ เราพูดถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในฝั่งพม่า การอุดหนุนเงินให้กับรัฐบาลทหารพม่าที่เอาเงินไปซื้ออาวุธมาเข่นฆ่าประชาชนตนเอง ฯลฯ แต่ไม่ยักมีกระแสตอบรับจาก “คนชั้นกลาง” มากมายเหมือนตอนที่น้ำมัน 50,000 กว่าลิตรรั่วไหล ทำลายเกาะเสม็ดที่เป็นความหลังของคนชั้นกลางจำนวนมาก

ตอนนั้นเราเรียกร้องสังคมให้ตรวจสอบการใช้งบประมาณของปตท.ในการประชาสัมพันธ์สร้างภาพตนเอง ไม่ยักจะมีคนสนใจเท่าไร อย่าว่าแต่เขียนข่าวเชียร์เลย ตอนนั้นปตท.เอาข้อมูลตนเองลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ทำเหมือนเป็น “บทความ” ของนสพ.เลย ไม่เห็นมีคนออกมาโจมตี “สื่อ” สักเท่าไร ยิ่งตอนหลังปตท.ทำรางวัล “โลกสีเขียว” คราวนี้แม้แต่นักสิ่งแวดล้อมก็เงียบเป็นเป่าสาก ไม่เป็นไรครับ หวังว่าครั้งนี้เป็นกระแสการตื่นตัวอย่างจริงจังต่อความฉ้อฉลเอาเปรียบของบรรษัทยักษ์ใหญ่ ไม่ใช่เดี๋ยวปตท.แจกตั๋วเที่ยวฟรีรีสอร์ทเกาะเสม็ด คนชั้นกลางก็จะลืมคำด่าของตัวเองไปซ

ที่สำคัญคือหน่วยงานของรัฐต้องเข้ามาสอบสวนเรื่องนี้ทันที รอช้ากว่านี้อาจมีการทำลายหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เหมือนกรณี Deepwater Horizon oil spill ที่อ่าวเม็กซิโก สหรัฐฯ เพียงแค่วันที่ 8 ของการรั่วไหลของน้ำมัน (เกือบ 80 ล้านลิตร หรือ 1,600 เท่าของปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลในไทยเที่ยวนี้) federal agencies อย่างกระทรวง Homeland Security กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ ก็เริ่มเข้ามาสอบสวนกรณีนี้แล้ว ในที่สุดนำไปสู่การฟ้องร้องคดีของรัฐเพื่อเรียกค่าเสียหายจาก BP เป็นมูลค่ามากถึง 20 พันล้านเหรียญ (เขาคำนวณจากปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลทั้งหมด 4.9 ล้านแบเรล x ค่าใช้จ่ายในการชำระล้าง 1,100 - 4,300 เหรียญ/แบเรล) ผมว่า DSI น่าจะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง นอกเหนือจากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ คนชั้นกลางที่กดดันปตท. อย่าลืมกดดันหน่วยงานของรัฐให้ทำงานด้วยครับ!

ไม่มีความคิดเห็น: