PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจับนักสิทธิมนุษยชนในบังคลาเทศเป็นนักโทษทางความคิด

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลออกแถลงการณ์ถึงกรณีที่ทางการบังคลาเทศจับกุมนักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวบังคลาเทศคนสำคัญ ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างชัดเจน โดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรับเป็นนักโทษทางความคิด เรียกร้องรัฐบาลให้ปล่อยตัวทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข 

อับบาซ ฟาอิซ (Abbas Faiz) นักวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศบังคลาเทศ เปิดเผยว่าแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รับนายอดิลู รามัน ข่าน (Adilur Rahman Khan) เป็นนักโทษด้านความคิดแล้ว หลังการทางการจับกุมตัวเขาโดยไม่มีหมายจับเมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่าน

สาเหตุที่เขาถูกควบคุมตัวเพียงเพราะประท้วงอย่างสงบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกองกำลังของบังคลาเทศ “การจับกุมอดิลู รามัน ข่าน เป็นการส่งสัญญาณถึงบรรดาฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เพื่อเตือนว่าถ้าใครแสดงความกังวลด้านสิทธิมนุษยชน ก็อาจได้รับผลกระทบร้ายแรงเช่นนี้ ทางการจะต้องปล่อยตัวเขาโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข” อับบาซ ฟาอิซ กล่าวเสริมว่าแทนที่จะหาทางลงโทษนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทางการบังคลาเทศควรต้องแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิตามที่ถูกกล่าวหา โดยต้องจัดให้มีการสอบสวนและนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

สำหรับอดิลู รามัน ข่านเป็นเลขาธิการของโอดิกา (Odhikar) หน่วยงานสิทธิมนุษยชนซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงธากา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พนักงานสอบสวนยังได้ค้นสำนักงานของโอดิกา มีการยึดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ไปด้วย ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โอดิกาได้วิพากษ์วิจารณ์กองกำลังของบังคลาเทศที่เข้าปฏิบัติการในระหว่างการชุมนุมประท้วงของกลุ่มเฮฟาซัต อี อิสลาม (Hefazat-e-Islam) ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมื่อวันที่ 5 และ 6 พฤษภาคมปีนี้

มีผู้เสียชีวิตระหว่างการประท้วงอย่างน้อย 44 คน ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นเพราะการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในขณะที่มีรายงานว่าตำรวจสองนายและเจ้าหน้าที่พิทักษ์ชายแดนอีกหนึ่งนายได้ถูกผู้ประท้วงสังหาร ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม โมนิรูล อิสลาม (Monirul Islam) ผู้บัญชาการร่วมตำรวจนครบาลกรุงธากาอธิบายเหตุผลที่ต้องมีการควบคุมตัวข่านว่า “โอดิกาได้ตีพิมพ์รายงาน โดยตีพิมพ์ภาพของผู้ที่เสียชีวิตในระหว่างการปราบปรามกลุ่มเฮฟาซัตเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ....ซึ่งเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมาย รัฐบาล และของประเทศ”

โอดิการายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากถึง 61 คนในระหว่างการชุมนุมประท้วงเมื่อเดือนพฤษภาคม แต่ประกาศว่าจะไม่ตีพิมพ์รายชื่อของเหยื่อผู้เสียชีวิต เพราะเกรงว่าญาติจะได้รับอันตราย แต่มีการเรียกร้องให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการเพื่อไต่สวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระและอย่างไม่ลำเอียง

ซึ่งสอดคล้องกับเสียงเรียกร้องของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอื่น ๆ “แทนที่จะสอบสวนการเสียชีวิตของประชาชนหลายสิบคนตามที่มีรายงาน ทางการกลับหันมาเล่นงานคนที่พยายามส่งสารของกลุ่มโอดิกา รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ชีก หัสเสนา (Sheikh Hasina) กำลังปล่อยให้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงที่มีส่วนในการละเมิดสิทธิมนุษยชนลอยนวล และปราบปรามคนที่ร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างชัดเจน ซึ่งตรงข้ามกับสัญญาของตัวแทนรัฐบาลบังคลาเทศที่มีต่อรัฐภาคีสหประชาชาติอื่น ๆ ว่าจะปกป้องสิทธิมนุษยชน” อับบาซ ฟาอิซ กล่าว **************************************** AMNESTY INTERNATIONAL

NEWS FLASH

12 August 2013

Bangladesh: Arrest of human rights defender sends a chilling message

The arrest of a prominent Bangladeshi human rights defender over the weekend is a clear violation of the right to freedom of expression, Amnesty International said.

The organization has adopted Adilur Rahman Khan as a prisoner of conscience following his arrest without a warrant on 10 August. He is being detained solely for peacefully challenging alleged human rights violations by Bangladesh security forces.

“Adilur Rahman Khan’s arrest sends a chilling message to government critics – if you raise concerns about human rights, there will be serious consequences. He must be released immediately and unconditionally,” said Abbas Faiz, Bangladesh researcher at Amnesty International.

“Instead of punishing human rights defenders, the Bangladeshi authorities must address alleged violations by carrying out investigations and holding accountable those responsible.”

Adilur Rahman Khan is the secretary of Dhaka-based human rights organization Odhikar. Yesterday detectives searched Odhikar’s office, seizing computers and other equipment.

In recent months Odhikar had been critical of the Bangladeshi security forces’ actions during protests by the opposition group Hefazat-e-Islam on 5 and 6 May this year.

At least 44 people were killed during the protests, most of them after police allegedly used excessive force. Two police officers and a Bangladeshi Border Guard were reportedly killed by the protesters.

At a press briefing on 11 August, the Dhaka Metropolitan Police’s Joint Commissioner Monirul Islam explained the reasons for Khan’s detention: “Odhikar published a motivated report which used the photos of those who had died in the Hefazat attacks on May 5… This has tarnished the image of the law enforcement agency, government, and, overall, the state”.

Odhikar has reported that as many as 61 people died during the May protests, but says it will not publish the list of victims’ names, fearing it would put their relatives at risk. It has instead called on the government to form a commission to carry out an independent and impartial investigation into the incident – a call echoed by Amnesty International and other international human rights organizations.

“Rather than investigating the dozens of deaths reported, the authorities have turned against the messenger, Odhikar,” said Faiz.

“The government of Prime Minister Sheikh Hasina is letting the security forces implicated in human rights violations off the hook, whilst suppressing those who raise concerns about their conduct.

“This is in clear breach of the right to freedom of expression and makes a mockery of the Bangladeshi government’s pledges to other UN member states to uphold human rights.”

Public document
****************************************
For more information please call Amnesty International's press office in London, UK, on +44 20 7413 5566 or email: press@amnesty.org

Naowarat Suesa-ardMedia and Communication Coordinator90/24 Ladprao Soi 1, JompholChatuchak, Bangkok 10900ThailandTel: 66-2-513-8745, 66-2-513-8754Fax: 66-2-939-2534Mobile: 66-8-9922-9585www.amnesty.or.thmedia@amnesty.or.thwww.amnesty.or.thwww.facebook.com/amnestythailand Working to Protect Human Rights

ไม่มีความคิดเห็น: