PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เสรีภาพสื่อสังคมออนไลน์ social media

เสรีภาพสื่อสังคมออนไลน์ social media เป็นหัวเรื่องหนึ่งของการพูดคุยระหว่างเสวนากับกลุ่มนักข่าวอาเชี่ยน ที่สมาพันธ์ผู้สื่อข่าวในเอาเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia Press Alliance SEAPA จัดขึ้นช่วงบ่ายวันนี้ (พุธ 14 สค.)ในหัวเรื่อง Freedom of Expression Challenges to Internet Governance in Asia แลกเปลี่ยความเห็นกันหลากหลาย ในประเด็นเสรีภาพการแสดงคามเห็นทางอินเตอร์เนท เอาเรื่องที่เกิดขึ้นในไทยกรณีกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญกรรมทางเทคโนโลยี่ ปอท. ตั้งท่าจะเอาผิดคนโพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คเป็นกรณีพูดคุย พร้อมแลกเปลี่ยนความเห็น

นักข่าวฟิลลิปิน์บอกที่ฟิลลิปปินส์ มีความพยายามจากรัฐเข้ามาควบคุมการแสดงความเห็นในช่วงก่อนหน้านี้ผ่านการออกกฏหมายที่เรียกว่า cybercrime prevention act มีข้อความที่กำกวมคล้าย พรบ.คอมพิวเตอร์ ของไทย Computer crime act เปิดช่องให้จนท.รัฐตีความคำว่าภัยต่อความมั่นคง ได้หลากหลายในมาตรา14 วงเล็บสอง หลังรัฐบาลฟิลลิปินส์ผลักดันกฏหมายดังกล่าวได้ถูกทักท้วงจากภาคประชาสังคมในประเทศ และสื่อมวลชน อย่างหนักเกรงว่าจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองควบคุมการรับรุ้ข้อมุลข่าวสารใน สื่อสังคมออนไลน์ ..ก่อนที่ศาลฏีกาจะออกมาหนุนอีกแรงทำให้กฏหมายยังไม่มีการประกาศใช้

ทางมาเลเซีย มีกฏหมายหลายตัวที่ทางรัฐบาลสามารถงัดมาใช้เล่นงานคนโพสต์ข้อความที่อาจไปหมิ่นประมาทบุคคลที่สาม และในกรณีที่อาจส่งผลกระทบความมั่นคง แม้จะไม่มีกฏหมายเล่นงานโดยตรง เนื่องจากอดีตนายกมาเเลย มหาเธ่ร์ ์เคยประกาศรัฐบาลจะไม่แทรกแซงเสรีภาพของสื่อออนไลน์ แต่รัฐบาลก็มีช่องทางเข้ามากดดันอย่างที่ทำตลอดช่วงทีผ่านมา... ต่อความเห็นในเรื่องกดแชร์ กดไลค์ที่อาจเป็นความผิดทางอาญาได้หากไปแสดงความเห็นด้วยในประเด็นทางการเมืองที่มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน คนข่าวส่วนนี้ได้ี้แสดงความแปลกใจต่อเรื่องที่ได้ยินและเห็นว่าเป็นเรื่องที่ บอกถึงสติปัญญาของคนที่แสดงความเห็นในลักษณะดังกล่าว และยังเห็นว่าเป็นเรืองปกติที่ฝ่ายการเมืองต้องการมาควบคุมการรับรุ้ข้อมุลข่าวสาร่ผ่าน social media ซึ่งการรับรุ้ข้อมุลข่าวสารในsocial media นี้เป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดปรากฏการณ์ อาหรับสปริงส์ .ในโลกอาหรับ...

รู้หรือไม่ว่าสามในสี่ หรือประมาณ 15 ล้านของคนใช้อินเตอร์เนทในไทยที่มีอยู่ประมาณ 20 ล้านคน เป็นสมาชิกในเฟสบุ๊คที่มีสมาชิกทั่วโลกกว่า หนึ่งพันหนึ่งร้อยล้านคน และมีคนใช้เฟสบุ๊คทุกวันวันละ 665 ล้านคน (รายงานของเอพี เดือนพค. 2013)
 หมายเหตุ : ข้อมูลจากเพจของ พี่เป๊บซี่ Sermsuk Kasitipradit 14ส.ค.2556 


ไม่มีความคิดเห็น: