PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ภารกิจเคลื่อนกำลังยึดสถานที่ราชการ1ธ.ค.56

ภารกิจในวันที่ 1 ธ.ค.จะเคลื่อนพร้อมกันทุกจุด กทม. แบ่งปฏิบัติการ 3 ส่วน คือ 

1.ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ จะเคลื่อนไปยังกระทรวงพาณิชย์ และพื้นที่อื่นๆ โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. จะประกาศในวันพรุ่งนี้ (1ธ.ค.) 
2.กระทรวงการคลัง จะขยายพื้นที่ควบคุมคือ กรมประชาสัมพันธ์ และ 3.เวทีราชดำเนิน โดยมีกลุ่มกองทัพธรรม และ คปท. จะเคลื่อนเข้าพื้นที่และควบคุมทำเนียบรัฐบาล และกระทรวงการต่างประะทศ ขณะที่กลุ่มมวลชนเวทีราชดำเนิน จะรับผิดชอบ 9 พื้นที่ แบ่งเป็น 8 ขบวนที่เริ่มตั้งแต่ถนนราชดำเนิน คือ 

1.ไปบช.น.จะขยายพื้นที่ควบคุม ถึงกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย
2.ไปกระทรวงแรงงาน นำโดยนายอิสระ สมชัย
3.ไปกระทรวงมหาดไทย นำโดยสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

ส่วนอีก 5 พื้นที่จะเปิดเผยในวันพรุ่งนี้ (1ธ.ค.) เนื่องจากไม่ต้องการให้ฝ่ายความมั่นคงรู้ก่อน ทั้งนี้จะมีรถติดเเครื่องเสียงนำ 8 คัน นัดรวมตัวกันเวลา 09.00 น. ก่อนเคลื่อน 10.45 น.

และส่วนอีก 1 ที่มั่น คือ หอศิปล์ฯ กทม. มีนายพุณธิพงศ์ ปุณณกันต์ เป็นแกนนำ เพื่อเคลื่อนไปยัง สตช. ในเวลา 10.45 น. นอกจากนั้นจะแบ่ง

กำลังอีก 1 ส่วนเพื่อรักษาพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อไม่ให้คนเสื้อแดงมายึดพื้นที่ โดยมีตนและคณะจะเป็นผู้รักษาเวที แจ้งข่าวสารที่ถูกต้อง รวมถึงส่งอาหาร ส่งกำลังบำรุงไปยังทุกจุดที่เข้าควบคุมพื้นที่

"ก่อนเดินทาง สำรวจตัวเองให้พร้อม อาทิ อาหาร ร้องเท้า น้ำดื่ม ใครไปทำเนียบ หรือ บช.น. ให้เตรียมผ้าขนหนูเพื่อเช็ดเหงื่อ ทั้งนี้ต้องยึดหลักสันติ อหิงสา ขันติ ไม่มียั่วยุเจ้าหน้าที่ ขอให้คนที่ไปฟังแกนนำและไม่ฝ่าฝืนมติของแกนนำ ทั้งนี้รัฐบาลจะส่งคนมาปะปนกับพวกเราเพื่อยุแหย่ให้ทำความรุนแรง ขอให้ควบคุมตัวไว้" นายสาทิตย์ กล่าว

เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อเข้าร่วมชุมนุมยึดสถานที่ราชการ เพราะผิดกฎหมาย

ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินประกาศเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อเข้าร่วมชุมนุมยึดสถานที่ราชการ เพราะผิดกฎหมาย

30 พฤศจิกายน 2013 เวลา 14:31 น.
วันนี้ (29 พ.ย. 56) เวลา 22.30 น. ณ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันแถลงการณ์ประกาศเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อเข้าร่วมชุมนุมยึดสถานที่ราชการ ตามที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประการยกระดับการชุมนุมในวันที่ 1 ธันวาคมนี้

พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า วันนี้ตามที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ออกมาประกาศเข้ายึดส่วนราชการต่าง ๆ นั้น ผมในฐานะรองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอยืนยันต่อพี่น้องประชาชนว่า รัฐบาลยังคงเป็นรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนผ่านการเลือกตั้ง ตามครรลองที่เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ

การดำเนินการของนายสุเทพนั้น ผิดกฎหมายและรัฐบาลจะดำเนินการตามขั้นตอนของ กฎหมายโดยไม่มีการละเว้น จึงขอไม่ให้พี่น้องประชาชนเข้าร่วมการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะจะกลายเป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจของกลุ่มบุคคลของนายสุเทพ ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมากและยังไม่รู้ว่านายสุเทพจะนำพาประเทศ ให้เสียหายไปอีกมากเพียงใด

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการรักษาความสงบเรียบร้อย ด้วยความละมุนละม่อม ไม่ติดอาวุธ และจะร่วมกันรักษาสถานที่ราชการไว้ เพราะสถานที่ราชการเหล่านี้เป็นสมบัติของชาติ มาจากเงินภาษีของประชาชน มีไว้เพื่อให้บริการประชาชนและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ มาตรการที่จะใช้ในการรักษาความสงบเรียบร้อยนั้น จะเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล

ขอวิงวอนให้พี่น้องประชาชนได้ตระหนักว่า ถึงแม้ผู้ชุมนุมจะมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่ทุกคนก็ต้องรักชาติ รักพระมหากษัตริย์ไม่ได้ยิ่งหย่อนต่อกัน และไม่ควรที่จะทำให้การใช้สิทธิเสรีภาพนั้น เกินขอบเขต ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น หรือทำลายทรัพย์สินที่เป็นของประชาชนทุกคน

ทางด้านนายจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกล่าว่า กระผมในนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยทุกท่าน ได้โปรดร่วมมือกันทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนและข้าราชการในสังกัด ขออย่าได้ร่วมมือกับผู้ยุยุงให้เกิดความไม่สงบ และอย่าทำสิ่งที่ผิดกฎหมายตามที่แกนนำยุยง และแกนนำเองก็ได้ยอมรับแล้วว่า ต้องทำสิ่งที่ละเมิดกฎหมายเพื่อเอาชนะรัฐบาล ความผิดตามกฎหมายอาญากรณีดังกล่าวมีอายุความถึง 10 ปี โทษหนักจำคุกไม่เกิน 7 ปี ขอร้องให้พี่น้องกรุณายับยั้งชั่งใจ เตือนลูกหลานญาติมิตรของท่าน อย่าได้ร่วมมือกับผู้ยุยง

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการ ศอ.รส. กล่าวว่า ขอให้ใช้สมาธิไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ว่าการเข้าไป ที่ทำงานหรือสถานที่ราชการนั้น เป็นความผิดตามกฎหมาย ผมขอยืนยันว่าจะยึดตามกฎหมาย ขั้นตอนปฏิบัติ และความชอบธรรม หลีกเลี่ยงการปะทะ การใช้กำลัง แต่หากมีความจำเป็นที่ผู้ชุมนุมได้เข้าไป เราอาจจะใช้มาตรการต่าง ๆ ตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อยับยั้งไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในพื้นที่ ก็ขอความกรุณาให้ผู้ชุมนุมได้ใคร่ครวญถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้วยครับ

"นายกฯ" เรียกฝ่ายมั่นคงฯ ถกประเมินสถานการณ์ม็อบที่ บช.ปส.

"นายกฯ" เรียกฝ่ายมั่นคงฯ ถกประเมินสถานการณ์ม็อบที่ บช.ปส. ขณะเลขาฯ สมช. ลั่นไม่ยอมให้ยึดทำเนียบฯ เด็ดขาด เตรียมกำลัง จนท. พร้อมรับมือแล้ว 100%...

วันที่ 30 พ.ย. 56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้เรียกประชุมหน่วยงานความมั่นคง เพื่อประเมินสถานการณ์ชุมนุม ที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและ รมช.เกษตรและสหกรณ์ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทยรวมถึง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นเวลา 12.00 น. นายกฯ ได้ให้สื่อต่างประเทศเดินทางเข้าบันทึกเทป เพื่อชี้แจงถึงภาพรวมของสถานการณ์พล.ท.ภราดร เปิดเผยว่า ในที่ประชุม นายกฯ ได้กำชับให้ชี้แจงทำความเข้าใจประชาชนให้รู้เท่าทันสถานการณ์ เพื่อให้เห็นว่าการร่วมชุมนุมในขณะนี้ โดยเฉพาะการบุกรุกสถานที่ราชการเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยแกนนำเวลานี้สุ่มเสี่ยงเข้าหลักเกณฑ์ข้อหาเป็นกบฏ แต่ผู้ไปร่วมยังบรรเทาได้ จึงอยากให้ประชาชนใช้วิจารณญาณ รัฐบาลอยากให้รู้เท่าทันสถานการณ์ว่าอะไรเป็นอะไร และในส่วนของทำเนียบรัฐบาล ตามที่ผู้ชุมนุมประกาศจะบุกยึดในวันที่ 1 ธ.ค. นั้น ได้มีการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน 100 เปอร์เซ็นต์ แล้ว จะไม่ยอมให้ยึดทำเนียบฯ โดยเด็ดขาด ส่วนสถานที่ราชการอื่นได้มีการแจ้งเตือนให้เตรียมป้องกันเรียบร้อยแล้ว

" ใจ อึ๊งภากรณ์ " เสนอทำประชามติยกเลิกหรือแก้รธน.ปี50 แต่ไม่ต้องยุบสภา

" ใจ อึ๊งภากรณ์ " เสนอทำประชามติยกเลิกหรือแก้รธน.ปี50 แต่ไม่ต้องยุบสภา แนะบทเรียนปี49 ประชาธิปัตย์ไม่ลงสมัครเลือกตั้งทำให้เพิ่มวิกฤติ ..

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ควรยุบสภาหรือลาออก ตามคำเรียกร้องของคนชั้นกลางเสื้อเหลืองที่มาประท้วงภายใต้การนำขอ...ง สุเทพ เทือกสุบรรณ ผมฟันธงแบบนี้ทั้งๆ ที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการนิรโทษกรรมเหมาเข่ง และการปกป้องกฏหมายเผด็จการ 112 ของรัฐบาล

ในประการแรก การยุบสภาจะไม่ทำให้ผู้ประท้วงพอใจแต่อย่างใด เพราะเขาไม่สนใจประชาธิปไตยและรู้ดีว่าถ้ายุบสภา ประชาธิปัตย์ สุเทพ และพรรคพวกของเขา ไม่มีวันชนะการเลือกตั้ง เราควรคำนึงถึงการยุบสภาของอดีตนายกทักษิณในปี ๒๕๔๙ เพราะพอจัดการเลือกหลังจากนั้นตั้งพรรคฝ่ายค้านไม่ยอมลงสมัคร เพราะรู้ว่าจะแพ้ด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถครองใจคนส่วนใหญ่ได้ การไม่ลงสมัครของพรรคฝ่ายค้านเพิ่มวิกฤต จนตั้งรัฐบาลไม่ได้ แล้วนำไปสู่รัฐประหาร ข้อแก้ตัวของฝ่ายเหลืองตอนนั้นและในขณะนี้คือ เขามองว่าประชาชนส่วนใหญ่ “ขาดวุฒิภาวะพอที่จะมีสิทธิ์เลือกตั้ง” ซึ่งเป็นข้ออ้างของฝ่ายเผด็จการมาแต่ไหนแต่ไร พวกนี้จะไม่พอใจจนกว่าคนล้าหลังของเขาขึ้นมาตั้งรัฐบาลด้วยวิธีใดก็ได้

ในประการที่สอง อภิสิทธิ์กับสุเทพเป่าประกาศว่ารัฐบาล"ขาดความชอบธรรม" เราอาจถกเถียงในเรื่องนี้ได้ แต่เราเถียงไม่ได้ว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งขาดลอยในการเลือกตั้งคราวที่แล้ว ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยชนะการเลือกตั้ง ต้องให้ทหารตั้งเป็นรัฐบาลแทน

แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ คนที่กล่าวหาว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรม เป็นพวกมือเปื้อนเลือด เพราะเขาดำรงตำแหน่งสูงในรัฐบาลตอนที่มีการเข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดงที่ไม่ถืออาวุธ ผมนึกไม่ออกว่าศีลธรรมฉบับไหนในโลกมองว่ามาตกรมีความชอบธรรม ดังนั้นเราไม่ต้องไปให้ความสำคัญกับคำพูดของสุเทพหรืออภิสิทธิ์ เขาพร้อมจะฆ่าคนเพื่อรักษาอำนาจเผด็จการ

นักวิชาการหลายคนเสนอว่ารัฐบาลควรจัดทำประชามติโดยเร็ว เพื่อถามประชาชนว่าต้องการยกเลิกหรือแก้รัฐธรรมนูญทหารปี ๕๐ ทั้งฉบับหรือไม่ ผมเห็นด้วย ควรรีบทำ แต่ขณะที่ทำประชามติไม่ต้องยุบสภาแต่อย่างใด ถ้ารัฐบาลชนะประชามติ ก็พิสูจน์ว่าคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับรัฐบาล ถ้าแพ้ประชามติ รัฐบาลก็ควรลาออกและยุบสภา นี่คือกระบวนการประชาธิปไตยรัฐสภาในระดับสากล

คำถามคือรัฐบาลกล้าทำประชามติแบบนี้หรือไม่ เพราะที่แล้วมาก็จับมือประนีประนอมกับทหารมาตลอด

ส่วนเรื่องตลกร้ายของ “ม็อบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” และสุเทพ ที่พูดถึง “สภาประชาชน” หรือ “รัฐบาลประชาชน” เราไม่ต้องให้ความสำคัญเลย เพราะเป็นคำโกหกตอแหลของกลุ่มคนที่ดูถูกประชาชนส่วนใหญ่ ไม่เคารพมติประชาชน และมัวแต่เรียกร้องให้ทหารทำรัฐประหาร พวกนี้ไม่มีแม้แต่เศษขี้เล็บของความชอบธรรมเลย


มาตรการยกระดับยึดประเทศ

ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันนี้ (30 พ.ย.) นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย หนึ่งในแกนนำผู้ชุมนุม กปปส. ที่เวทีราชดำเนิน กล่าวกับผู้ชุมนุมถึงภารกิจของผู้ชุมนุมที่เวทีราชดำเนินวันนี้ว่า ภารกิจราชดำเนินวันนี้ มี 2 ภารกิจ หนึ่ง สะสมรองรับมวลชนที่เดินมาจากพื้นที่ทั่วประเทศ

เพราะฉะนั้นกลุ่มไหนจังหวัดไหนอำเภอไหนตำบลไหนที่มาถึงแล้วให้ประกาศการมาถึงโดยส่งประกาศมาด้านข้างเวที ภารกิจของการสะสมรองรับมวลชนจะดำเนินไปตลอดทั้งวันนี้และคืนนี้ ถ้าที่ไหนมีปัญหาค่อยว่ากันในการเข้าไปช่วยเหลือ

นายสาทิตย์ กล่าวถึง การเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมที่ศูนย์ราชการว่า ยังคงดำเนินการโดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ และ ความรุนแรง เพราะมีสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมช่องหนึ่งไปออกข่าวว่าเราทุบประตู ทั้งที่เราไม่ได้ทุบประตู และรัฐบาลพยายามให้ข่าวในทางลบต่อมวลชน และขอบอกข่าวไปถึงเจ้าหน้าที่ทุกข่าว ถ้ามีผู้ชุมนุมใดที่จะผ่านมาทางเวที ให้แจ้งก่อน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ และเจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบด้วยว่ามวลมิตรมาจากที่ใด

เวทีที่แจ้งวัฒนะ จะรับผิดชอบหน่วยงาน ทบวง กรม ที่แจ้งวัฒนะ ส่วนเวทีที่ราชดำเนินจะจัดกิจการอย่างต่อเนื่องบนเวทีต่อไป

ส่วนภารกิจที่ สอง คือการตระเตรียมอาหาร บัดนี้เรามี 8 ครัวและจะเพิ่มขึ้นอีกรองรับมวลชน วันนี้ คืนนี้ และพรุ่งนี้ ครบถ้วน 100 % วันนี้จะมีมวลมิตร มวลมหาประชาชนทั่วประเทศเดินทางมาที่นี่ เพราะฉะนั้นครัวจะมีงานหนัก
ส่วนข่าวสำคัญ พรุ่งนี้(1 ธ.ค.)จะมีขบวนที่เคลื่อนออกจากที่นี่ ส่วนรายละเอียดจะแจ้งพรุ่งนี้ ที่แจ้งไปแล้วคือที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจนครบาลและกระทรวงศึกษาธิการ เพราะเรารู้ว่าที่นั่นตำรวจเยอะ และไปที่กระทรวงแรงงาน ซี่งเป็นที่ตั้งศอ.รส.


แต่นอกจาก 3 ที่ดังกล่าว พรุ่งนี้จะมีอีกอย่างน้อย 3-4 ที่ปิดไว้ก่อน ยังไม่บอก ส่วนบ่ายวันนี้ขอรถกระบะอาสา 40 คันไปสแตนบายรอคำสั่ง ขนอาหาร ขนคน ไปช่วยพวกเราทุกที่ ซี่ง 13.00 น.จะตั้งโต๊ะที่ด้านร้านศรแดง มีข่าวว่าจะมีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบออกไปตามจุดต่างๆ เพื่อไปสร้างข่าวลวง ซึ่งถ้ามีคนมาพูดให้มาแจ้งที่ชุมนุมเพราะทุกเรื่องต้องกำหนดจากบนเวทีเท่านั้น และถ้ามีผู้มีจิตเจตนาหวังดีนำอาหาร นำน้ำดื่มมาแจกให้มาแจ้งที่เวทีแล้วเราจะประกาศให้ว่ารับประทานหรือดื่มได้ ให้ช่วยกันดู


เรื่องสุดท้ายคือ จะมีพี่น้องมาสมทบเพิ่มเติม กิจกรรมเราจะดำเนินต่อไป ผมและคณะจะติดตามสถานการณ์ทุกที่ แกนนำมีการติดต่อกับตลอดเวลา ให้รอฟังทิศทาง ถ้าไม่มีปัญหาที่ใดให้สะสมมวลชนรอที่นี่ รอวันแห่งชัยชนะในวันพรุ่งนี้

ที่มา: http://www.thanonline.com

วาทกรรมเกลียดคนดี? บนหน้าปกนิตยสารเวย์แม็กกาซีน

วาทกรรมเกลียดคนดี?
บนหน้าปกนิตยสารเวย์แม็กกาซีน

ผมเห็นปกนิตยสารเวย์แม็กกาซีนแล้ว บอกตรงๆ ว่า ไม่สบายใจนัก ในการ "ใส่รหัสความหมายการประชดคนดี" ด้วยการใช้ภาพผู้หญิงหน้าตาเรียบร้อย ผิวขาวสะอาด สวมใส่ชุดขาวราวกับจะไปฟังธรรมมะ ตรงคอเธอสวมใส่นกหวีดสายเส้นสีธงไตรรงค์

พร้อมๆ กับมีคำว่า "คนดีสำเร็จรูป"
เพื่อสื่อความหมายว่า "อยากเป็นคนดี ก็แค่ถือนกหวีด และไปเข้าร่วมม็อบ(ราชดำเนิน) ก็กลายเป็นคนดีแล้ว" --- ส่วนคนที่เหลือ ก็เป็นคนไม่ดี หรือคนที่สีเทาๆ เทาเข้ม เทากลาง เทาน้อยก็แล้วแต่

แต่ไม่อินโนเซ้นส์ทางการเมืองเหมือนม็อบคนดีนี้หรอก
นี่คือการใส่รหัสทางสัญลักษณ์ ในการ "โต้ตอบ" ความหมายเชิงต่อสู้กับสัญลักษณ์นกหวีดและธงชาติไทย ที่มันยงมีควาหมมายไปว่า แค่คิดถึงชาติไทย สำนึกรัก เอาสายธงชาติมาติด แขวน ห้อยตามตัว แค่นี้คุณก็กลายเป็นพวก "คนดี" แบบง่ายๆ ขึ้นทันที!

ผมว่า "คิดแบบนี้ นิตยสารเวย์ มักง่ายไปหน่อย!"

ในทางกลับกัน ผมคิดว่า "คนที่ไปชุมนุม คือ คนที่ใส่ใจปัญหาบ้านเมือง มิใช่คนเห็นแก่ตัว แก่ผลประโยชน์ส่วนตัว
ใช่ เขาคือคนมีความคิด ความสำนึก ตระหนักรู้ผิดชอบชั่วดี ผมไม่เห็นด้วยที่ใครจะมาพูดค่อนขอดว่า ม็อบคนดี ม็อบไฮโซ เพื่อเป็นการใช้ลดคุณค่าของเขาเหล่านั้น, ก็คุณต้องการพลเมืองประเทศที่รู้เท่าทันนักการเมือง เท่าทันข่าวสาร เป็นคนมีความรู้ ความคิดไม่ใช่หรือ

ผมเห็นทั้งคนแก่ แม่เฒ่า ที่ชีวิตนี้ ไม่ได้ยากลำบากอะไรอีก ใช่ คนชนชั้นกลางส่วนมากที่ไม่ได้มีความลำบาก หรือแม้มีความลำบากทางเศรษฐกิจ แต่ก็มิได้เพิกเฉยละเลยต่อการเมืองของประเทศ

คนเหล่านี้ มองเห็นว่าต้องปกป้องจริยธรรม แก่นความดีความงามของประเทศ มากกว่าปกป้องพรรคการเมืองหรือนักการเมืองที่มีแต่แสวงหาผลประโยชน์

แน่นอนว่าเขาส่วนหนึ่งมิใช่ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาอินโนเซ้นส์ต่อโลกมากขนาดนั้น

คนเหล่านี้คือคนที่เสพข้อมูลข่าวสารเชิงลึก อ่านหนังสือพิมพ์ มากกว่าที่จะใช้ชีวิตไปกับกระแสวัฒนธรรมนิยมทั่วๆ ไป

นิตยสารเวย์ กรุณาอย่าใช้วาทกรรม ม็อบคนดี
เพราะทำเช่นนี้ คุณก็เป็นส่วนหนึ่งของการค่อนขอด ค่อนแขวะคนที่มีสำนึกจิตใจรักชาติ -- คำว่ารักชาติในที่นี้ คือ "รักษาผลประโยชน์ของชาติ"

ก็แล้วคุณสมบัติเช่นนี้ คุณคิดว่า คนดี หรือคนเลวจะมีมากกว่ากันล่ะ?
สงสัยเหมือนกันว่า "คนประเภทไหนกัน ที่ เกลียดความเป็นคนดีๆ ในสังคม?"
และคนประเภทไหน ที่อ่าน นิตยสารเวย์แม็กการซีน??

ใช่ประเภท นักคิด นักขบถ นักตั้งคำถาม นักแตกต่าง นักทางเลือก???
หรือจริงๆ แล้ว มันเฉพาะ คนในเวย์ ที่ดูจะเหมือน มีหนทางของตนเองในการมองสังคม?


เกษียร เตชะพีระ : เสรีนิยม กับ ประชาธิปไตย

เกษียร เตชะพีระ : เสรีนิยม กับ ประชาธิปไตย

๑) เสรีนิยมไม่ใช่สิ่งเดียวกับประชาธิปไตย

Friedrich August von Hayek (1899 – 1992) อาจารย์ปู่เจ้าสำนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่ชาวอังกฤษเชื้อสายออสเตรียผู้ได้รางวัล โนเบลเศรษฐศาสตร์ปี ๑๙๗๔ เคยแสดงความเห็นไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับ เสรีนิยม vs. ประชาธิปไตยว่า เมื่อมองจากจุดยืนของเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งกล่าวให้ถึงที่สุดเป็นพื้นฐานของเสรีภาพทางการเมืองแล้วนั้น…..

Friedrich August von Hayek (1899 – 1992)
Friedrich August von Hayek (1899 – 1992)
“แม้ว่าเสรีนิยมจะไปกันได้กับประชาธิปไตย แต่มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เสรีนิยมเกี่ยวข้องกับขอบเขตแห่งอำนาจรัฐบาล ขณะที่ประชาธิปไตยเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ว่าใครกุมอำนาจ จะเห็นความแตกต่างได้ดีที่สุดหากเราพิจารณาถึงสิ่งที่ตรงข้ามกับสองอย่าง นั้น สิ่งที่ตรงข้ามกับเสรีนิยมคือเผด็จการเบ็ดเสร็จ ขณะสิ่งที่ตรงข้ามกับประชาธิปไตยคืออำนาจนิยม ดังนั้น โดยหลักการแล้วอย่างน้อยมันจึงเป็นไปได้ที่รัฐบาลประชาธิปไตยอาจมีลักษณะรวบ อำนาจเบ็ดเสร็จ และรัฐบาลอำนาจนิยมอาจดำเนินตามหลักการเสรีนิยม”
(อ้างจาก Hayek, F. A. (1967) ‘The Principles of a Liberal Social Order’, in Studies in Philosophy, Politics and Economics, Chicago, University of Chicago Press.)

๒) ความสัมพันธ์ระหว่างเสรีนิยมกับประชาธิปไตย

เพื่อนอาจารย์ร่วมคณะท่านหนึ่งได้ซักถามสืบเนื่องจากท่าทีของ Hayek ข้างต้นมาว่า
“…..แล้วอาจารย์เลือกทางไหนครับ? หรือว่า อันไหนควรมาก่อนมาหลังดี?”
ผมตอบว่า:
สองอย่างแยกกันไม่ได้ ต่างเป็นเงื่อนไขจำเป็นของกันและกัน หากไม่มีเสรีนิยม (limited government) ประชาธิปไตยอาจเสื่อมถอยกลายเป็นทรราชย์ของเสียงข้างมากได้โดยง่าย เพราะบุคคลและเสียงส่วนน้อยที่เห็นต่างสามารถกูกเบียดขับจำกัดสิทธิเสรีภาพ จนเงียบไปเลย เสียงข้างมากแบบประชาธิปไตยที่ได้ก็จะเป็นแบบ uninformed/ill-informed เพราะไม่ได้ฟังคนเห็นต่างจากเสียงข้างมาก และไม่ได้พบเห็นทางเลือกที่อาจเป็นไปได้และมีผู้เสนอ
ในทางกลับกัน หากไม่มีประชาธิปไตย (เมื่อคนเราเท่ากัน อำนาจย่อมเกิดจากตัวเลข ทุกคนหนึ่งเสียงเท่ากัน เสียงข้างมากตัดสิน จนกว่าเสียงข้างมากเปลี่ยนใจ ก็จะเกิดการตัดสินใหม่) เส้นที่เสรีนิยมต้องลากเพื่อจำกัดอำนาจรัฐบาล vs. สิทธิเสรีภาพของบุคคลพลเมือง ก็จะเป็นเส้นที่ลากโดยพลการ ไม่ชอบธรรม เพราะไม่เป็นที่ยอมรับ การขยับเส้นดังกลา่ว (เพิ่ม/ลดอำนาจรัฐ เพิ่ม/ลดสิทธิเสรีภาพของบุคคลพลเมือง) จะกลายเป็นตัดสินโดยคนส่วนน้อยหรือคณะบุคคล ต่อให้ลากขึ้นมา คนส่วนใหญ่ก็จะไม่เอาด้วย จะเกิดปัญหาการบังคับใช้เส้นนั้นเสมอ เส้นจำกัดอำนาจรัฐ/สิทธิเสรีภาพว่าจะอยู่ตรงไหนอย่างไรเส้นเดียวที่ชอบธรรม และรับได้ในปัจจุบันคือเส้นที่กำหนดโดยเสียงส่วนใหญ่ตามวิถุีทางประชาธิปไตย จนกว่าเสียงส่วนใหญ่จะเปลี่ยนใจแล้วลากใหม่
เสรีนิยมกับประชาธิปไตยจึงเป็นเงื่อนไขของกันและกันอย่างไม่อาจขาดกันได้ การขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป ส่วนที่เหลือก็จะบกพร่องพิการจนไม่สามารถธำรงคุณภาพเดิมไว้ได้ ต้องเสื่อมถอยไปเป็นอื่นในที่สุด ต้องมีทั้งคู่ครับ (พันธมิตรฯ เอาแต่เสรีนิยม ปฏิเสธประชาธิปไตย, ส่วนฝ่ายนปช.เอาแต่ประชาธิปไตย ละเลยเสรีนิยม นี่เป็นส่วนหนึ่งของความยุ่งยากทางการเมืองหลายปีที่ผ่านมา)

๓) ลำดับพัฒนาก่อนหลังของเสรีนิยมกับประชาธิปไตย

ส่วนคำถามของอาจารย์ Wasan Luangprapat เรื่อง sequencing หรือลำดับพัฒนาก่อนหลังของเสรีนิยมกับประชาธิปไตย อะไรควรพัฒนามาก่อนดี? นั้น
liberal_democracy
Fareed Zakaria เสนอว่าเสรีนิยมควรมาก่อน โดยอ้างเหตุผลและตัวอย่างในหลายทวีปว่าราบรื่นกว่า ถ้าให้ประชาธิปไตยมาก่อนโดยเสรีนิยมไม่พร้อมหรือขาดหาย ก็จะได้ illiberal democracy/authoritarian democracy ซึ่งก็มีส่วนจริงจากประสบการณ์ของหลายประเทศหลังสงครามเย็น เช่น เปรู, เวเนซูเอลา, ไทยภายใต้รัฐบาลทักษิณ ฯลฯ
แต่ในทางกลับกัน ผมก็คิดว่าถ้าพัฒนาเสรีนิยมก่อน จำกัดประชาธิปไตย คุณก็จะได้ liberal autocracy/liberal semi-democracy ซึ่งสามารถมีปัญหาได้เหมือนกัน เช่น นปช.ไม่สามารถรับระบอบนี้ที่กองทัพ คปค/คมช.กับพรรคประชาธิปัตย์สถาปนาขึ้นได้แล้ว จึงออกมาต่อสู้ดุเดือดเมื่อปี ๒๕๕๒ – ๕๓ สืบเนื่องมา
สรุปแล้วเรื่อง sequencing ไม่มีสูตรสำเร็จครับอาจารย์ ผมคิดว่าต้องดูเงื่อนไขสังคมการเมือง โดยเฉพาะ ชนชั้น & สัมพันธภาพ ดุลกำลังและการต่อสู้ทางชนชั้น ที่เป็นจริงในสังคมหนึ่ง ๆ
ในสภาพไทยปัจจุบัน ทางเลือกเสรีนิยมก่อน ประชาธิปไตยทีหลัง, หรือประชาธิปไตยก่อน เสรีนิยมทีหลัง ไม่ work ทั้งคู่
เสรีนิยมก่อน ประชาธิปไตยทีหลัง (เสื้อแดงหรือคนชั้นกลางระดับล่างในเมืองและชนบทซึ่งเป็นเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง เขาไม่เอา)
ส่วน ประชาธิปไตยก่อน เสรีนิยมทีหลัง (เสื้อเหลืองหรือสลิ่มหรือหน้ากากขาว รวมทั้งกลุ่มวิชาชีพ NGOs ซึ่งแม้จะเป็นเสียงส่วนน้อยในการเลือกตั้ง แต่กุมทุนทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินไว้มากในเขตกรุงและเมืองทั่วไป ก็ไม่เอา)
มีทางเดียว ต้องประคองมันไปด้วยกันทั้งเสรีนิยมและประชาธิปไตย โดยไม่ให้ทหารแทรกแซงและไม่ดึงสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง แต่ให้สถาบันหลักของชาติทั้งหลายเป็นหลักค้ำประกันทั้งพื้นที่สิทธิเสรีภาพและพื้นที่ประชาธิปไตย ไม่ให้ถูกล่วงล้ำทำลายด้วยอำนาจนอกระบบ (รัฐประหาร, ม็อบอนาธิปไตย, เส้นสายไม่เป็นทางการของอำมาตย์ ฯลฯ) ทั้งคู่

๔) ข้อคำนึงเพิ่มเติมถึงปัญหาเสรีนิยม vs. ประชาธิปไตยที่ผ่านมา

คุณ ป. เพื่อนผม คุยหลังไมค์เรื่องนี้มาว่า:
“things to considered
1. นักวิชาการ is not always popular.ตอนนี้นักวิชาการกำลังมีเครดิต ใครๆ ก็เอามาอ้างมาอิง แต่อย่าลืมว่า ในช่วงหลัง 2500 นักวิชาการไม่ป๊อบเลย คำนี้แปลว่าคนที่ไม่มีใครเขาเอาเป็นพวก ส่วนนักวิชาการที่มีพวก เขาเรียกว่าที่ปรึกษา (อันนี้นักวิชาการอาวุโสท่านหนึ่งบอกผม)
2. วัฒนธรรม is not always your friend. วัฒนธรรมเป็นวิถีทางแสวงหาความสุขของคน คนที่ว่านี้อาจจะมีจำนวนเป็นล้านๆ และวิถีทางที่ว่าอาจจะหมายถึงการต่อสู้ ด่าทอ เตะถีบ และหักหลังกันอย่างวุ่นวาย
3. ชนชั้นกลาง is not always as liberal as they look.
4. มวลชน is not always น่ารัก.”
ผมสนองตอบไปดังนี้:
I completely agree with all the 4 points you have raised. Hence neither the middle class’s liberal semi-democracy, nor the grassroots’ illiberal democracy will work. Both are bad in their own respective way. The difficulty is to find a way to get away from the political bind and I think color-politics is part of the problem.

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

ขอเรียกร้องให้ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ชื่อย่อ กปปส.

ได้ทบทวนการตั้งชื่อที่มีคำว่า พระมหากษัตริย์ อยู่ในชื่อ เนื่องจากนักข่าวเริ่มรายงานข่าวภาคภาษาอังกฤษในชื่อ People's Committee for Thailand Revolution to the real Democracy under the constitutional monarchy ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับตอนที่เกิดรัฐประหารปี 2549

การรัฐประหารปี 2549 นั้น คณะรัฐประหารตั้งชื่อตนเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy (อักษรย่อ CDRM) 

ในเวลาต่อมาได้ตัดคำว่า under Constitutional Monarchy ออก เพราะสื่อต่างประเทศนำไปลงข่าวแล้วผู้ติดตามข่าวจากนานาชาติบางคนตีความว่า คณะปฏิรูปฯ เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
จึงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อเป็น Council for Democratic Reform (อักษรย่อ CDR)

ยึดประเทศชนะ1ธ.ค. เทือกผุด‘กปปส.’ปิด‘ทำเนียบฯ-ศูนย์ราชการ-ศาลากลาง’


วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2556, 00:00 น.

๐ ม็อบดาวกระจายบุก "เพื่อไทย-ทบ." จี้ถามจุดยืน "ประยุทธ์" ย้ำกองทัพเป็นทหารของในหลวงและประชาชน นักธุรกิจเป่านกหวีดย่านอโศกดังสนั่น "สุเทพ" รวมพลังตั้งคณะ "กปปส." ประกาศ 1 ธ.ค. วันมหาชัยชนะ ประกาศยึดทุกหน่วยในศูนย์ราชการฯ ทำเนียบฯ สตช. เขาดิน กรมประชาสัมพันธ์ ฯ "ปู" เต้นเรียกถกหน่วยมั่นคง ตั้งวอร์รูมแจกงาน รมต.ช่วย แจงสื่อนอกอ้างมาจากการเลือกตั้ง ลั่นไม่ยุบสภา "ตร." ปั้นยอดเสื้อแดงเท่าศูนย์ราชการฯ 2 หมื่นคน "รองโฆษก รบ." ใช้เวที ศอ.รส.ป้อง "หญิงอ้อ" ไม่คิดแผนฆ่า "เทือก" 

เมื่อวันศุกร์ กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านระบอบทักษิณ ยังคงเคลื่อนขบวนดาวกระจายไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเรียกร้องให้แต่ละหน่วยงานแสดงจุดยืนต่อต้านรัฐบาล และต่อต้านระบอบทักษิณอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่เวลา 11.00 น. กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาและประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดยนายอุทัย ยอดมณี และนายนิติธร ล้ำเหลือ ที่ปรึกษา คปท.พร้อมมวลชนกว่า 10,000 คน เคลื่อนขบวนจากแยกนางเลิ้ง ไปยังกองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) เพื่อทวงถามจุดยืนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.และกองทัพ ที่มีต่อสถานการณ์บ้านเมือง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางถึงด้านหน้า บก.ทบ. นายรัชต์ยุตฆ์ ศิรโยธินภักดี แกนนำแนวร่วม คปท. สั่งให้มวลชนที่เป็นชายฉกรรจ์ประมาณ 80 คน เข้าประชิดประตู บก.ทบ.ด้าน ถ.ราชดำเนินทุกประตู ก่อนช่วยกันผลักดันพังประตูเข้าไปชุมนุมภายในสนามหญ้าหน้า บก.ทบ. นายอุทัยอ่านแถลงการณ์ว่า คปท.ขอเรียกร้องให้ ผบ.ทบ.และกองทัพประกาศจุดยืนต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยขณะนี้วิกฤตการณ์บ้านเมืองได้ก้าวไปสู่การล่มสลายของทุกภาคส่วนของประเทศ กัดกร่อนบ่อนทำลายหลักนิติธรรม นิติรัฐ จากการบริหารงานของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยการนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายและนักโทษหนีคดี กำกับอยู่เบื้องหลัง ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลก

เวลา 14.30 น. หลังกลุ่ม คปท.ปักหลักชุมนุมที่ บก.ทบ.กว่า 4 ชั่วโมง แกนนำได้ให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนออกเดินทางกลับไปยังแยกนางเลิ้ง 

ทหารย้ำยืนข้างประชาชน

ต่อมา พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก พร้อมด้วย พ.อ.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกกองทัพบกร่วมกันแถลงข่าว โดย พ.อ.วินธัยอ่านคำแถลงการณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ หลัง คปท.บุกเข้ามาชุมนุมภายใน บก.ทบ.ว่า กองทัพบกขอแจ้งต่อสาธารณชนให้ทราบว่า กองทัพบกยังคงเป็นกองทัพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและประชาชนอยู่เสมอ โดยติดตามสถานการณ์และเตรียมการดูแลช่วยเหลือประชาชน หากมีการบาดเจ็บหรือสูญเสียจากสถานการณ์การชุมนุมที่อาจจะมีแนวโน้มกำลังก้าวไปสู่ความรุนแรงอยู่ในขณะนี้ 

"กองทัพบกขอให้การชุมนุมของทุกฝ่ายเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยภายใต้กรอบกฎหมาย รวมทั้งอย่าได้พยายามแบ่งฝ่าย หรือดึงกองทัพต้องตกเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะกองทัพบกถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นทั้งรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนทุกภาคส่วน จะต้องร่วมมือกันแสวงหาทางออกอย่างสันติให้ได้โดยเร็ว" รองโฆษกกองทัพบกกล่าว

อีกจุด เวลา 11.00 น. กลุ่มคนรักชาติ ถ.เพชรบุรี ต่อต้านระบอบทักษิณ นัดรวมตัวกันที่บริเวณตึกชาญอิสสระ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กันตั้งแต่ช่วงเช้า จากนั้นได้เคลื่อนขบวนพร้อมเป่านกหวีดเชิญชวนพนักงานบริษัท ประชาชนตามเส้นทางถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เข้าร่วมขบวนเดินทางไปที่หน้าที่ทำการพรรคเพื่อไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ 

โดยเมื่อเดินทางมาถึงที่ทำการพรรคเพื่อไทย ต่างก็ตะโกนโจมตีการทำงานของพรรคเพื่อไทย พร้อมเป่านกหวีดขับไล่ ซึ่งบรรยากาศบริเวณรอบพรรคเพื่อไทยเป็นไปอย่างคึกคัก โดยเฉพาะด้านข้างเป็นอาคารไทยซัมมิท ทาวเวอร์ ได้มีพนักงานบริษัทต่างๆ ที่เช่าพื้นที่ของอาคารกว่า 200 คน ออกมาร่วมชุมนุมและเป่านกหวีดร่วมกับผู้ชุมนุมที่อยู่ด้านนอกเป็นระยะ

ขณะที่พรรคเพื่อไทย กำลังตำรวจกว่า 4 กองร้อย ดูแลความเรียบร้อย พร้อมนำรถเครื่องขยายเสียงมาจอดบริเวณหน้าพรรค ชี้แจงกับผู้ชุมนุมว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ที่ประจำการจุดนี้ ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจของประชาชน จะปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา 

ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยได้นำป้ายข้อความ “ปิดทำการ”, “ห้ามเข้าเด็ดขาด” และ “พรรคหยุด 1 วัน 29 พ.ย.56” มาติดไว้บริเวณหน้าพรรคด้วย 

กระทั่ง เวลา 13.45 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้ร่วมกันร้องเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมี พร้อมประกาศยุติการรวมตัวทำกิจกรรมที่หน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมประกาศว่า หากรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยยังมีพฤติกรรมอย่างเดิมอีก จะกลับมาแน่นอน

ส่วนบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อโศก เวลา 11.30 น. ก็มีประชาชนออกมาร่วมตัวชุมนุม พร้อมชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึง น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านระบอบทักษิณ ปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย พร้อมร่วมกันเป่านกหวีดขับไล่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ เช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แกนนำได้นำรถกระจายเสียงเปิดเพลงให้กำลังใจ พร้อมปราศรัยเชิญชวนให้ประชาชนเดินทางออกมาชุมนุม โดยนายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ขึ้นอ่านแถลงการณ์ของกลุ่มรักประเทศไทย ในการแสดงจุดยืนล้มล้างระบอกทักษิณ นายสมเกียรติ หอมละออ ประธานชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า จะนำกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางไปยื่นหนังสือที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เพื่อให้ชาวต่างประเทศเข้าใจถึงการชุมนุมและการทำงานของรัฐบาลที่ล้มเหลว

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า วันนี้ไม่ได้บังเอิญมา แต่เป็นการตั้งใจมา และไม่ได้มาเพราะพรรค ไม่ได้มาเพราะสี แต่มาเพื่อความถูกต้อง เรื่องนี้จะจบเมื่อไหร่อย่างไร พี่น้องประชาเป็นคนกำหนด ยืนยันว่าจะไม่จบจนกว่าชัยชนะจะเป็นของพี่น้องประชาชน

จากนั้น เวลา 12.34 น. กลุ่มผู้ชุมนุมต่างร่วมกันเป่านกหวีด เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านรัฐบาลและระบอบทักษิณ ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับ โดยกลุ่มของนายสมเกียรติ พร้อมด้วยนายกรณ์และ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ นำผู้ชุมนุมไปยื่นหนังสือที่สถานทูตสหัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ ที่เวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน การชุมนุมของกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณ ก็ยังมีผู้เข้าร่วมอย่างหนาแน่น โดยช่วงค่ำ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายศิริโชค โสภา, นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต และ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ได้เดินทางมาถึงเวทีราชดำเนิน และเดินทักทายผู้ชุมนุม โดยผู้ชุมนุมได้โห่ร้องเเละเป่านกหวีดต้อนรับ ลั่น 1 ธ.ค. วันแห่งชัยชนะ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กล่าวบนเวทีว่า จากที่แกนนำได้ร่วมหารือกันขณะนี้ ได้ข้อสรุปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอให้ผู้ชุมนุมรอฟังทิศทางในการเคลื่อนไหวจากนายสุเทพ ที่จะประกาศให้รับทราบ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 15.30 น. ได้มีชายวัยรุ่นเข้ามาก่อเหตุสร้างความวุ่นวายในพื้นที่การชุมนุมโดยได้ลักลอบนำประทัดเเละได้วิ่งไล่จุดโยนใส่ผู้ที่เดินทางมาชุมนุม เเต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ โดยการ์ดเเละเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้เข้าจับกุมตัวไว้บริเวณร้านอาหารเมธาวัยวลัย ศรเเดง ทราบชื่อคือนายเอกลักษณ์ พุ่มรินทร์ อายุ 22 ปี ชาว จ.ฉะเชิงเทรา การ์ดอาสาสมัครจึงคุมตัวส่ง สน.สำราญราษฎร์ ที่กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นอีกจุดที่กลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักตั้งเวที มีแกนนำย่อยสลับกันปราศรัย โดย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นเวทีปราศรัย โจมตีการทำงานของรัฐบาล พร้อมกล่าวเชิญชวนมวลมหาชนออกมาแสดงพลังร่วมชุมนุม ที่เวทีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมยังคงปักหลักรวมตัวกันอยู่อีกแห่งเช่นกัน บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคัก มีการตั้งจอโปรเจ็กเตอร์ขนาดใหญ่ และเครื่องขยายเสียงบริเวณหน้าอาคารบี เพื่อติดตามการถ่ายทอดบรรยากาศบนเวทีในแต่ละที่ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ของผู้ชุมนุมและแกนนำ ขณะที่ผู้ชุมนุมต่างทยอยหลบแดดเข้ามานั่งฟังแกนนำปราศัยซึ่งทานแกนนำได้ประกาศเชิญชวนมวลชนให้ออกมาร่วมชุมนุมกันให้มากๆ เช่นวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา ต่อมาเวลา 14.00 น. กลุ่มสมาพันธ์สหภาพแรงงานวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้เคลื่อนขบวนรถที่ดัดแปลงเป็นเวทีปราศรัยเคลื่อนที่ 2 คัน มายังประตูด้านทิศตะวันออกชั้น 1 อาคารศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ พร้อมประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงว่า สมาพันธ์สหภาพแรงงานวิสาหกิจฯ พร้อมที่จะร่วมโค่นระบอบทักษิณกับผู้ชุมนุมกลุ่มต่างๆ และประชาชน ทำให้ประชาชนที่ปักหลักรออยู่บริเวณดังกล่าว ต่างเป่านกหวีดและชูมือตบต้อนรับอย่างกึกก้อง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณ ประชุมหารือแนวทางการเคลื่อนไหว ร่วมกับ ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, นายแทน เทือกสุบรรณ, น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ, นายวิทยา แก้วภราดัย, นายอิสสระ สมชัย, นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู, นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นพ.ระวี มาศฉมาดล, นายถาวร เสนเนียม, นายสาวิทย์ แก้วหวาน, หลวงปู่พุทธะอิสระ, พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ, นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม, พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร และนายสำราญ รอดเพชร เวลา 19.30 น. นายสุเทพขึ้นเวทีปราศัย พร้อมแนะนำกลุ่มนักวิชาการที่เข้าร่วมต่อต้านระบอบทักษิณ และแกนนำกลุ่มต่างๆ ที่เข้าร่วมการชุมนุม ภายใต้ชื่อ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) นายสุเทพกล่าวว่า ตนจะเป็นเลขาฯ กปปส. และกำหนดแนวทางในการต่อสู้กับระบอบทักษิณ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ กปปส.ได้หารือตัดสินใจร่วมกันแล้วโดยกำหนดวันชนะของมวลชน เพราะไม่ต้องการให้พี่น้องประชาชนทุกข์ทรมานในการต่อสู้อีกต่อไป โดยจะกำหนดวันที่ 1 ธ.ค. เป็นวันแห่งชัยชนะของมวลมหาประชาชนผู้รักชาติรักแผ่นในทุกพื้นที่ของประเทศ ขอให้รับรู้ว่ามวลมหาประชาชนที่รักชาติได้ตัดสินใจแล้วว่า 1 ธ.ค. เป็นวันที่แห่งชัยชนะของมวลมหาประชาชน 

นายสุเทพกล่าวว่า การจะได้ชัยชนะต้องร่วมแรงร่วมใจกันขจัดระบอบทักษิณให้หมดสิ้นจากแผ่นดินไทย นี่คือการปฏิบัติการของพลเมืองดี ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง นอกจากนี้ เรายังได้กำหนดแผนปฏิบัติการที่เป็นไปโดยสันติปราศจากอาวุธ สิ่งที่สำคัญคือทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกันอย่าง และออกมาชุมนุมจำนวนมาศาล 

"เราจะเริ่มปฏิบัติตั้งแต่คืนนี้เป็นต้นไป และขอให้พี่น้องทุกคนที่มาร่วมชุมนุมในคืนนี้ ได้ร่วมกันควบคุมศูนย์ราชการที่เป็นศูนย์รวมของทุกกระทรวงที่นี้โดยสมบูรณ์เด็ดขาด และประกาศไปยังพี่น้องทุกคนที่นี้ว่าวันจันทร์ไม่ต้องทำงานอีกแล้ว ถ้าจะมาทำอีกต้องรอตนประกาศ แต่จะอนุญาตให้มาร่วมชุมนุมได้ โดยให้ข้าราชการศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ กองทัพไทยเข้าทำงานได้" นายสุเทพกล่าว

เขากล่าวว่า นอกจากนี้เราจะเข้ายึดพื้นที่ กสท และทีโอที ซึ่งเชื่อว่าทุกอย่างจะเป็นไปอย่างเรียบร้อย และวันอาทิตย์ พวกเราจะเข้าไปยึดทำเนียบรัฐบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจนครบาล กระทรวงศึกษาธิการ และสวนสัตว์เขาดิน เพราะที่แห่งนี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งกองกำลังอยู่ รวมถึงจะเข้าไปยึดกระทรวงแรงงาน กระทวงพาณิชย์ กรมประชาสัมพันธ์ และกระทรวงการต่างประเทศ และยึดทุกพื้นที่ เพื่อไม่ให้คนมาทำงานอีกแล้ว 

"ส่วนพี่น้องที่ได้อยู่ในรัฐวิสาหกิจ ก็ไม่ต้องทำงานอีกแล้วนับตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นไป ยกเว้นการบินไทย บีทีเอส รถไฟ รถเมล์ และในวันอาทิตย์ เวลา 10.45 น.ขอให้พี่น้องทุกคนไปรอตามกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ตามที่ผมประกาศไปแล้ว โดยไม่ต้องไม่มีแกนนำ แต่พกหัวใจอันยิ่งใหญ่ลุกขึ้นไปปฏิบัติพร้อมกัน หลังจากนั้นเวลาบ่ายโมงเราจะร่วมกันประกาศชัยชนะประชาชนพร้อมกัน และวันนั้นจะไม่มีระบอบทักษิณอีกต่อไป โดยขอให้มวลชนยึดหลักสันติวิถี ปราศจากอาวุธ" นายสุเทพกล่าว

ช่วงค่ำ หลังนายสุเทพประกาศท่าทีแล้ว บนเวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นายสาทิตย์กล่าวว่า ขอนัดในวันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. เพื่อจะเดินอารยะไปควบคุมพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล, สตช., บช.น., กระทรวงศึกษาธิการ, เขาดินวนา และกระทรวงแรงงาน เพื่อไม่ให้ตำรวจออกมาปราบจลาจล ส่วนเวทีกระทรวงการคลังจะรับหน้าที่ควบคุมพื้นที่กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และกรมประชาสัมพันธ์ ในขณะที่พี่น้องประชาชนในต่างจังหวัด ก็ให้ไปควบคุมศาลากลางทั่วประเทศ เพื่อแสดงพลังของเจ้าของประเทศ ในขณะที่ประชาชนอื่นๆ ก็ให้มีหน้าที่สังเกตการณ์และตรวจสอบกำลังของเจ้าหน้าที่ 

“ไม่มีทางถอย ไม่มีกลัวอีกต่อไปแล้ว วันที่ 1 ธ.ค.ต้องเอาชัยชนะของมวลมหาประชาชนกลับบ้านให้จงได้ ร่วมกันเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่สังคมที่ดี เพื่ออนาคตลูกหลาน ขจัดระบอบทักษิณ” นายสาทิตย์กล่าว

นายสามารถ มะลูลีม ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตัวแทนชาวจีนในเยาวราชได้จัดทำนกหวีดทองคำ น้ำหนัก 6 สลึง ให้แก่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ทั้งนี้ นกหวีดทองคำได้อยู่ที่ตน พร้อมจะหาจังหวะเวลามอบให้

นายดำรงค์ ไวยคมณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย กล่าวผ่านสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า สหภาพซึ่งมีสมาชิกราว 15,000 คน จะหยุดงาน และงดบินทันที หากมีการเข้าสลายการชุมนุมหรือทำร้ายผู้ประท้วงที่กำลังชุมนุมประท้วงรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ 

ด้านเวทีกลุ่มคนเสื้อแดง ที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน หัวหมาก นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แถลงเรียกร้องให้รัฐบาลดูแลความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุม และขอให้คนเสื้อแดงอดทนต่อกลุ่มคนที่มีความเห็นต่างกัน พร้อมย้ำว่าสภาผู้แทนราษฎรขณะนี้เป็นสภาประชาชนอย่างแท้จริง เพราะมาจากการเลือกตั้ง แต่แนวคิดของนายสุเทพควรเรียกว่า สภาแต่งตั้ง น่าจะเหมาะกว่า 

นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. ขึ้นเวทีปราศรัยว่า การบุกยึดอาคารสถานที่ราชการของกลุ่มนายสุเทพ จนถึงขณะนี้ยังไม่สำเร็จ ดังนั้น การประกาศภารกิจที่จะปิดฉากภายใน 1-2 วันนี้ อาจจะเป็นการบุกยึดตัวบุคคลสำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรี หรือแกนนำ นปช. ดังนั้น เรื่องดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ต้องออกมาแสดงพลัง นายจตุพรยังเรียกร้องให้นายสุเทพลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อแสดงตัวให้ชัดว่าการต่อสู้ครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพรรค

"ปู" ประกาศไม่ยุบสภา

วันเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่ช่วงเช้า น.ส.ยิ่งลักษณ์เรียกประชุมหน่วยงานความมั่นคง ประชุมประเมินสถานการณ์การชุมนุม ใช้เวลา 30 นาที โดย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกฯ กล่าวว่า นายกฯ ให้นโยบายขอให้ข้าราชการในทุกส่วนอดทนอดกลั้น ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ใช้อาวุธและความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม โดยเน้นประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจต่อผู้ชุมนุม หากมีการเผชิญหน้าขอให้คุยกัน 

"ขณะนี้ได้ส่งสัญญาณไปแล้วว่าต้องการพูดคุย แต่ขอสงวนชื่อผู้ใหญ่ซึ่งเป็นคนกลางทำหน้าที่ประสานกับนายสุเทพ รวมทั้งผมยังพยายามติดต่อโทรศัพท์ไปยังนายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.สงขลา เพื่อพยายามจะติดต่อกับนายสุเทพ แต่ยังไม่รับสาย ถามว่าไม่คุยแล้วจะรู้เรื่องได้อย่างไร จะไปให้ตั้งสภาประชาชนหรือศาลประชาชนอย่างนั้นหรือ รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ ในเมื่อไม่มีแล้วเราจะเอาอย่างไร ถ้าอยากจะให้มีต้องแก้ไขกฎหมาย ก็ต้องคุยกันให้ถึงจุดนั้น” พล.ต.อ.ประชากล่าว

ซักว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ มีท่าทีอย่างไรกับเรื่องการพูดคุย พล.ต.อ.ประชารีบบอก อย่าไปเอ่ยถึงบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง

พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาฯ สมช. กล่าวว่า รัฐบาลได้ดำเนินการจัดตั้งวอร์รูมเพื่อป้องกัน แก้ไข ระงับ ยับยั้ง บรรเทาเหตุการณ์ โดยคำนึงถึงสิทธิในการแสดงออกของประชาชน ด้วยการตั้งวอร์รูมเพื่อติดตามสถานการณ์ภาพรวม โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และนายวราเทพ ดูข้อกฎหมายรัฐสภา ร.ต.อ.เฉลิมดูข้อกฎหมายคดีต่างๆ นายสุรนันทน์คอยอำนวยการห้องวอร์รูมที่ห้องเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ดูภาพร่วมการประชาสัมพันธ์ และนายธงทองดูเรื่องการร้องเรียนความเดือดร้อนของประชาชน ผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์ 1111

ต่อมานายมาร์ค แอนดรูว์ เจฟฟรีย์ เคนต์ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ 

นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าว นายมาร์คได้สอบถามถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในไทย โดยมีความกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อยากเห็นการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ อยู่ภายใต้กรอบของประชาธิปไตยและกฎหมาย ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบกลับว่า รัฐบาลอยากเห็นการเจรจาเช่นกัน และขอย้ำว่าจะดูแลปกป้องผู้ชุมนุมอย่างเต็มที่ และอยากเห็นการแสดงออกทางประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติธรรม รักษาตัวบทกฎหมาย โดยรัฐบาลจะใช้แนวทางสันติภาพหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า และการดำเนินการใดๆ จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล 

ขณะที่เฟซบุ๊ก น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้นำบทสัมภาษณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อสำนักข่าว CNN มาเปิดเผย โดยระบุคำสัมภาษณ์ว่า "หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประชาชนชาวต่างประเทศและประชาชนชาวไทยจะสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถกลับสภาวะปกติ รัฐบาลสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตราบใดที่ไม่กระทำผิดกฎหมาย การดำเนินการกับผู้ประท้วงของรัฐบาลจะเป็นไปอย่างสันติและยึดหลักสากล"

นอกจากนี้ สำนักข่าว BBC ของอังกฤษ เปิดเผยบทสัมภาษณ์พิเศษ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของไทยขณะนี้หลังจากการประท้วงเพื่อขับไล่รัฐบาลล่วงเข้าวันที่ 6 โดยออกอากาศทางสถานีข่าวโทรทัศน์ของบีบีซี ซึ่งเกาะติดการชุมนุมประท้วงของไทยในช่วงหลายวันที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวที่ทำหน้าที่สัมภาษณ์คือ โจนาธาน เฮด ได้ตั้งคำถามข้อหนึ่งว่า เหตุใด น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงยังไม่ยุบสภา เสียแต่ตอนนี้เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็ได้รับคำตอบจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่สงบพอสำหรับจัดการเลือกตั้ง และถึงแม้จะมีการเลือกตั้งใหม่ ตนก็ไม่มั่นใจว่าผู้ประท้วงจะพึงพอใจ

น.ส.ยิ่งลักษณ์ย้ำหลายครั้งว่า ตนและรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เธอยอมรับว่าสถานการณ์ในไทยขณะนี้ "อ่อนไหวมาก" แต่เธอยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่ใช้กำลังกับผู้ประท้วงที่ยึดกระทรวงต่างๆ 

"ดิฉันรักประเทศนี้ ดิฉันอุทิศตนเพื่อประเทศนี้ สิ่งเดียวที่ดิฉันต้องการสำหรับประเทศนี้ก็คือเราต้องปกป้องประชาธิปไตย" นายกรัฐมนตรีหญิงของไทยกล่าวตอบคำถามที่ว่าเธอรู้สึกเหนื่อยจากแรงกดดันในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนอยากวางมือหรือไม่

รบ.ป้อง 'อ้อ' สั่งฆ่าสุเทพ

ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) แถลงสถานการณ์การชุมนุมว่า เมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา ตำรวจสายตรวจ สน.นางเลิ้ง ตรวจพบรถบรรทุกของสำนักงานเขต กทม. วิ่งจากแยกยมราช ผ่านจักรวรรดิ ถนนหลานหลวง ตรงไปยังพื้นที่การชุมนุมซึ่งมีความผิดปกติ จึงเข้าตรวจค้นพบมีถุงบรรจุทราย 250 ถุง และที่นั่งหลังคนขับมีแกลลอนบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง 4 แกลลอน 

"จากการสอบปากคำ คนขับให้การอ้างว่า ต้องการจะนำไปถมพื้นที่น้ำขังบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ส่วนถังน้ำมันจะนำไปเติมเครื่องปั่นไฟ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงยังไม่แจ้งข้อกล่าวหา และให้นำกลับไปเก็บไว้ที่ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า ทั้งนี้ ศอ.รส.สันนิษฐานว่า อุปกรณ์ดังกล่าวต้องการให้มวลชนนำไปเป็นฐาน เพื่อปีนขึ้นไปภายในพื้นที่หวงห้ามและสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรง" โฆษก ศอ.รส.ระบุ

พล.ต.ปิยะกล่าวถึงการที่ผู้ชุมนุมตัดน้ำ-ไฟ สำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า ตำรวจได้แจ้งความดำเนินคดีกับแกนนำที่สั่งการและผู้ก่อเหตุแล้ว เพื่อเอาผิดฐานร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆ ที่ส่งผลต่อไฟฟ้า น้ำประปา ทำให้ประชาชน และราชการได้รับความเดือดร้อน มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมกันนี้ได้สั่งให้ทุกส่วนราชการที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว ดำเนินการตรวจสอบความเสียหายทั้งหมด เพื่อดำเนินการฟ้องร้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหายต่อไป 

"ส่วน พ.ต.ท.มานะ ธัญญะวานิช รอง ผกก.สส.สภ.นครพนม ถูกกลุ่มผู้ชุมนุมใช้หัวนอตยิงใส่หน้าผาก ได้รับบาดเจ็บ ก็ได้ให้แจ้งความดำเนินคดีแล้ว" พล.ต.ต.ปิยะกล่าว

น.ส.ตรีดาว อภัยวงศ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม.และโฆษก กทม. ออกมาตอบโต้ทันทีว่า ทรายที่อยู่บนรถเป็นทรายที่จะนำไปถมบริเวณที่น้ำท่วมขังในตรอกซอกซอยบริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย รวมถึงกระถางต้นไม้ที่ผู้ชุมนุมทิ้งเศษขยะไว้เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อโรคและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่ ส่วนแกลลอนน้ำมันบรรจุเต็ม 4 แกลลอนต้องไปเติมน้ำมันที่ศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดง เพื่อเติมเครื่องสูบน้ำ ไม่ใช่เครื่องปั่นไฟ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตำรวจสันติบาลรายงานยอดผู้ชุมนุมวันนี้ (29 พ.ย.) ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มี 11,000 คน, แยกนางเลิ้ง 500 คน, สะพานมัฆวานฯ 500 คน, กระทรวงการคลัง 2,800 คน, ศูนย์ราชการฯ 20,000 คน ส่วนเสื้อแดงราชมังคลาฯ 20,000 คน 

ด้านนายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ใช้เวที ศอ.รส.ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าวกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ระบุคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภรรยา พ.ต.ท.ทักษิณ พูดคุยกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ สังกัดกองทัพอากาศ เพื่อสั่งฆ่านายสุเทพ และแกนนำคนอื่นๆ ว่า นายสุเทพกำลังโกหกประชาชน เพื่อต้องการยกระดับให้รุนแรง ซึ่งไม่มีเหตุผลที่คุณหญิงพจมานจะสั่งให้ดำเนินการดังกล่าว

"ผมขอประณามคนให้ข่าวนี้ พร้อมฝากบอกนายสุเทพด้วยว่า อย่าหลอกใช้พี่น้องประชาชน และอยากบอกพี่น้องประชาชนด้วยว่า นายสุเทพกำลังโกหกประชาชน ชอบกุเรื่อง ซึ่งเรื่องนี้เป็นนิสัยที่ถนัดของนายสุเทพอยู่แล้ว เพื่อยกระดับการชุมนุม และเมื่อประเมินค่านายสุเทพแล้ว พบว่าไร้ราคาและไร้เหตุผล" รองโฆษกรัฐบาลกล่าว

พล.อ.ท.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ ปฏิเสธเช่นกันว่า หน่วยงานกองทัพอากาศไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการที่จะประสงค์ร้ายต่อนายสุเทพ ซึ่งจุดยืนของกองทัพอากาศได้ยึดถือการปฏิบัติตามระเบียบกลาโหมว่าด้วยการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง แต่ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านความมั่นคง กองทัพอากาศยังคงติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด 

"เราตระหนักดีว่าขณะนี้กองทัพกำลังเป็นที่จับตาของทุกฝ่าย กองทัพจึงต้องระมัดระวังในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ รวมถึงการแสดงความคิดเห็นที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว" โฆษกกองทัพอากาศกล่าว

มีรายงานว่า ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ซอยจรัญสนิทวงศ์ 69 ซึ่งเป็นบ้านพักของคุณหญิงพจมาน มีตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบอารักขาอยู่จำนวนมาก.


พท.ออกแถลงการณ์ 7 ข้อ..ปมประเด็นวิกฤตการเมือง **



เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทย
ได้ออกแถลงการณ์ในนามพรรคเพื่อไทยต่อกรณีการชุมนุมทางการเมือง โดยได้
มีเนื้อหาระบุว่า จากที่มีการชุมนุมทางการเมือง และในขณะนี้การชุมนุมที่สงบได้
เปลี่ยนเป็นการชุมนุมที่มีการละเมิดกฎหมาย และมีการยึดสถานที่ราชการ ซึ่งไม่
สอดคล้องกับบทบัญญัติทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยขอแถลงว่า
[​IMG]

  1. 1. พรรคเพื่อไทยเรียกร้องให้แกนนำผู้ชุมนุม และผู้ชุมนุมที่ยึดสถานที่ราชการซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายและหลัก นิติธรรม ให้ออกจากอาคารและสถานที่ราชการ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและข้าราชการสามารถให้บริหารประชาชนอย่างต่อเนื่อง

    2. พรรคเพื่อไทยสนับสนุนท่าทีของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในการเปิดพื้นที่
    พูดคุยระหว่างฝ่ายต่างๆ เพื่อแก้ความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธี
  2. 3. พรรคเพื่อไทยเห็นด้วยและสนับสนุนรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลผู้ที่มาชุมนุมอย่างละมุนละม่อม สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

    4. เนื่องจากแกนนำผู้ชุมนุมเป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทยขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายชวน หลีกภัย และพรรคประชาธิปัตย์ ช่วยดำเนินการให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และแกนนำผู้ชุมนุมยุติการยึดสถานที่ราชการโดยพลัน


  3. 5. พรรคเพื่อไทยขอขอบคุณมิตรประเทศและเลขาธิการสหประชาชาติ ที่แสดงท่าทีว่าควรยุติข้อขัดแย้งทางการเมืองโดยการพูดคุยกันอย่างสันติวิธี 
    ซึ่งพรรคเพื่อไทยเห็นด้วย


  4. 6. พรรคเพื่อไทยขอเรียนชี้แจงว่า การที่ผู้ชุมนุมหรือพรรคประชาธิปัตย์ได้ใส่ร้ายรัฐบาลว่าขาดความชอบธรรม เพราะไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนั้นพรรคขอชี้แจงว่า พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยประเด็นที่ มาของ ส.ว. ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่จะรับคดีไว้ พิจารณาและวินิจฉัยเช่นนั้น ซึ่งเป็นการประกาศว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการรับ
    และพิจารณาคดีนี้เป็นการเฉพาะเจาะจง และมิใช่เป็นการประกาศไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญเป็นการทั่วไป และ



  5. 7. พรรคเพื่อไทยเห็นว่าข้อเรียกร้องของหัวหน้ากลุ่มผู้ชุมนุมที่จะตั้งสภา ประชาชนไม่อาจทำได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 50 พรรคเพื่อไทยเห็นว่าการชุมนุมโดยสงบ เป็นการใช้เสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมในลักษณะที่ฝ่าฝืนกฎหมายและบทบัญญัติของรัฐ ธรรมนูญ โดยเฉพาะการยึดสถานที่ราชการ ซึ่งเสมือนเป็นการใช้ประเทศและคนไทยเป็นตัวประกัน ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมในบ้านเมือง ที่เป็นรากฐานการปกครองประเทศที่ดีและเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพพื้นฐาน ของประชาชนทุกคน

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จากใจ ผบทบ....


พล.อ.ประยุทธ์ ผบ.ทบ. ออกแถลงการณ์ขอม็อบอย่าดึงทหารเลือกข้าง จี้หยุดดึงสถาบันเป็นเงื่อนไขความขัดแย้ง ยันกองทัพเป็นทหารของในหลวง –ประชาชน วอนคนไทยรักกันถวายพ่อหลวง 5ธันวา

ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก พร้อมด้วยพ.อ.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกกองทัพบกร่วมกันแถลงข่าว โดยพ.อ.วินธัย ได้อ่านคำแถลงการณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ภายหลังจากที่กลุ่มผู้ชุมนุมเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) บุกเข้ามาชุมนุมภายในบก.ทบ.
"กองทัพบกขอแจ้งต่อสาธารณชนให้ทราบว่ากองทัพบกยังคงเป็นกองทัพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และประชาชนอยู่เสมอ โดยติดตามสถานการณ์และเตรียมการดูแลช่วยเหลือประชาชน หากมีการบาดเจ็บหรือสูญเสียจากสถานการณ์การชุมนุมที่อาจจะมีแนวโน้มกำลังก้าวไปสู่ความรุนแรงอยู่ในขณะนี้ กองทัพบกขอให้การชุมนุมของทุกฝ่ายเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยภายใต้กรอบกฎหมาย รวมทั้งอย่าได้พยายามแบ่งฝ่าย หรือดึงกองทัพต้องตกเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะกองทัพบกถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นทั้งรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันแสวงหาทางออกอย่างสันติให้ได้โดยเร็

สำหรับภารกิจงานป้องกันและเทิดทูนสถาบัน กองทัพบกพยายามอย่างเต็มที่ โดยใช้หลักนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ในการดำเนินการ จึงอยากให้ทุกฝ่ายไม่ควรนำสถาบันมาเป็นเงื่อนไขในความขัดแย้งทางการเมือง เพราะประชาชนทุกคนคือคนไทยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วยกันทั้งสิ้น หากทุกฝ่ายเร่งปลุกระดมมวลชนให้เกิดอารมณ์ที่รุนแรงหรือไม่พอใจกันในวงกว้างต่อไปจะไม่สามารถควบคุมหยุดความรุนแรงได้ โดยเฉพาะช่วงนี้ใกล้ถึงช่วงเดือนแห่งความสุขของคนไทย วันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม อาจทำให้พระองค์ทรงไม่สบายพระทัยได้ ที่คนไทยด้วยกันขาดความสามัคคีต้องมาต่อสู้กันเอง ทหารทุกคนจะอยู่ในบทบาทที่เหมาะสมและไม่ได้นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์ ทุกคนมีความห่วงใยในสถานการณ์อย่างแท้จริง ทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และพลเรือนยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับของทางราชการ อย่าได้มองและมีทัศนคติในเชิงลบต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำงานตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นขอให้ประชาชนผู้ชุมนุมได้เข้าใจ รวมทั้งขอให้มีความระมัดระวังในการใช้วาจาที่สุภาพเหมาะสมต่อเจ้าหน้าที่ในแต่ละโอกาสด้วย
“กองทัพบกคงยึดถือและปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้ทรงพระราชทานไว้ เมื่อพ.ค. ปี 2535อยู่ตลอดเวลา ขอให้ประชาชนทุกคนได้ทำความเข้าใจ ลดความเกลียดชังซึ่งกันและกันทุกพวก ทุกฝ่าย ทุกสี ขอให้สนับสนุนให้ผู้นำของตนร่วมกันหาทางออกให้ได้โดยเร็ว รวมทั้งประชาชนจะต้องไม่ทำร้ายกันเอง สุดท้ายแล้วจะไม่มีใครชนะหรือแพ้ แต่ที่พ่ายแพ้คือประเทศชาติ”


ผี กับ เทวดา

โดย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำธุรกิจร่ำรวยมหาศาล เมื่อเขากระโดดสู่ถนนการเมือง ได้รับคะแนนเสียงถล่มทลาย คนไทยให้โอกาสกับเขามากที่สุด จนจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ต่อมาถูกตามเช็คบิลในคดีทุจริตหลายคดี เขากลับเมืองไทยไม่ได้ แต่ยังอยู่เบื้องหลังรัฐบาลของ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ผู้คนบูชาเขา รักเขา เกลียดเขา และกลัวเขา ปัจจุบันไม่มีใครทราบว่าเขาอยู่ที่ไหน อยู่นานแค่ไหน และจะไปที่ไหนต่อ เขาจึงเป็นเสมือน "ผี"

คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ อยู่ในวงการเมืองมานานกว่า 30 ปี เป็น ส.ส. มาทุกสมัย ผ่านตำแหน่งสำคัญมากมาย เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง เคยเป็นแม้กระทั่งรองนายกรัฐมนตรี ขณะนี้ เขาลาออกจากการเป็น ส.ส. รวมทั้งตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์

เขามุ่งหน้าสู่ "การเมืองภาคประชาชน" ที่ที่เขาสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ ไม่มีใครสามารถห้ามเขาได้ ไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีระเบียบข้อบังคับ ไม่มีกลุ่มก๊วน ไม่มีพรรคการเมือง

ด้วยอายุอาณามเกือบ 65 ปี เขาไม่เคยใฝ่ฝันถึงตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" ความจริงเขามาถึงจุดสูงสุดทางการเมืองแล้ว

คุณสุเทพย้ำแล้วย้ำเล่าว่า "จะไม่กลับมามีตำแหน่งทางการเมืองอีก ไม่ว่าตำแหน่งใดๆ" อีกทั้งเขายังยืนยันว่า จะไม่มีการเจรจาต่อรองกับรัฐบาล

ที่สำคัญ แม้ว่าคุณยิ่งลักษณ์ลาออก หรือประกาศยุบสภา ก็ไม่เพียงพอ

เขาต้องการ "ปฏิรูปการเมือง" เลิกใส่ใจการเมืองในระบบรัฐสภาหรือพรรคการเมือง อย่างเช่นพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยสังกัดมาเป็นระยะเวลายาวนาน

คุณสุเทพเป็นอิสระจากพันธะทางการเมือง และข้อผูกมัดทั้งหลาย ไม่มีการโหวต ไม่มีความจำเป็นต้องทำตามกฎข้อบังคับที่แม้แต่จะพูดก็ต้องยกมือ อีกต่อไป

ขณะนี้ คุณสุเทพเป็นที่ยกย่อง เทิดทูน บูชา ชื่นชม ของ "มวลมหาประชาชน" ทุกๆคนเปรียบเขาดั่ง "วีรบุรุษ"

คุณสุเทพใช้เวลามาเกือบทั้งชีวิตกับการเมือง เพื่อต้องการเห็นความยุติธรรม ปราบปรามคอรัปชั่น แต่ไม่มีใครเชื่อถือ "อุดมการณ์" ของเขา แต่คุณสุเทพใช้เวลาเพียง 20 วันที่การเมืองข้างถนน นอนกับม็อบ กินข้าวกล่อง พูดกลางเวที เดินกลางแดดเป็นสิบกิโล ด้วยวลี "ล้มระบอบทักษิณ"

เขากลายเป็น "ฮีโร่" ไม่มีใครจะทำได้อย่างคุณสุเทพอีกแล้ว แม้แต่ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล หรือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หรือใครต่อใครในอดีต ที่จะทำให้ประชาชนออกมาร่วมชุมนุมด้วยใจ อัพอินสตาแกรม เป่านกหวีด โบกธงชาติ ถือเป็น "วันประวัติศาสตร์" ที่มีผู้คนออกมามากมายที่สุด ตั้งแต่ที่ถนนราชดำเนินสร้างขึ้นมา

นี่เป็นความฝันอันสูงสุดของอาชีพนักการเมือง ที่จะมีชื่อจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ขณะที่มีลมหายใจอยู่ เป็นวันที่ "รุ่งเรือง" หรือที่เรียกว่า "Glory Day” คุณสุเทพใช้เวลาเพียง 20 วัน สร้างประวัติศาสตร์นี้ให้กับตัวเอง กลับกัน หากคุณสุเทพยังอยู่ในวงการเมืองจนวันตาย ก็ไม่มีวันที่จะสร้างประวัติศาสตร์แบบนี้ได้

คุณทักษิณคือผู้ที่สร้างเกียรติยศให้กับคุณสุเทพ เพราะเป็นผู้ผลักไสให้คุณสุเทพต้องออกไปต่อสู้นอกระบบรัฐสภา

ครั้งหนึ่งในชีวิต ที่คุณสุเทพได้เปลี่ยนจาก "นักการเมืองธรรมดา" มาเป็น "เทวดา"

วีรบุรุษที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย


เมื่อคนที่สั่งฆ่า ตั้งสภาประชาชน

อ.เกษียร จัดหนัก สุเทพ

เมื่อคนที่สั่งฆ่า ตั้งสภาประชาชน
วิญญาณกลางถนน ก็โหยหวนด้วยป่วนใจ
ขัดขืนอารยะ ยืมวาทะกระพี้ไป
อนารยะไทย ที่ฆ่าหมู่กลับดูดาย
ยึดไทยเป็นของกู ใช่ของสูพวกวัวควาย
ประชาธิปตาย เสียงข้างน้อยคอยบงการ
เมืองไทยใช่ของเรา เป็นของเขานานเท่านาน
ครอบครัวชั่วลูกหลาน เป็นขี้ข้านามว่าไทย


คนบันเทิงกับม็อบ ต้านทักษิณ

วันนี้ คนบันเทิงกับการชุมนุมทางการเมือง ได้กลายมาเป็นปรากฏการณ์และเป็นหัวข้อที่ผู้คนในสังคมไทยกำลังพูดถึง

ไม่เพียงมวลมหาประชาชนเรือนมหาศาลที่หลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ แต่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนในหน้าประวัติศาสตร์ของการชุมนุมทางการเมือง ที่มีผู้คนจากทุกภาคส่วนทุกสาขาวิชาชีพได้มารวมตัวกันมากมายเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าบรรดาดารานักร้องนักแสดงจากแวดวงบันเทิงที่ขานรับมาร่วมกิจกรรมทางการเมืองกันอย่างมากหน้าหลายตา

การก้าวออกมาของ "บุคคลสาธารณะ" จากฟากบันเทิง ซึ่งมีทั้งดารารุ่นอาวุโส จนถึงดารารุ่นใหม่ที่กำลังมีผลงานประดับวงการ ได้กลายมาเป็น "ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์" ไปโดยปริยาย เพราะไม่ใช่เรื่องปกตินัก ที่คนบันเทิง, ซึ่งโดยปกติทั่วไป , ไม่เคยข้องเกี่ยวกับเรื่องการเมือง หรือพาตัวเองมาอยู่ในพื้นที่ของความขัดแย้ง จะออกมาแสดงจุดยืนของตนเช่นนี้

ด้วยเหตุนี้ เวทีบนถนนราชดำเนิน จึงมิได้มีเพียง "ขาประจำ" ที่เคยร่วมเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี 2549 อย่างบรรดาศิลปินเพลงเพื่อชีวิตหลายวง , นักร้องเพลงร็อกอย่าง ร็อค ร็อคเคสตรา , พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง หรือนักแสดงเจนเวทีอย่าง ตั้ว ศรัญญู วงศ์กระจ่าง เท่านั้น แต่ในวันนี้ มีทั้งคนที่ขึ้นเวทีอภิปราย อย่าง แตงโม ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ , โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์, มัดหมี่ พิมดาว พานิชสมัย หรือจะเป็นดารานักแสดงที่ร่วมชุมนุม ตั้งแต่ ตุ๊ก ดวงตา ตุงคะมณี เรื่อยไปจนถึง มอส ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ , อี๊ด วงฟลาย ฯ

ไหนจะมีดารานักแสดงอีกนับไม่ถ้วนที่แสดงจุดยืนผ่านทางโซเชียลมีเดีย อย่าง เฟซบุ๊ค และ อินสตาแกรม ไม่ว่าจะเป็น คิมเบอร์ลี เทียมศิริ , ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา , แหม่ม คัทลียา , แอน ทองประสม ฯลฯ

คนบันเทิงในการชุมนุมทางการเมืองจึงเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่น่ามองข้าม และน่าจะมีความหมายมากกว่าแค่เพียง "สีสัน" เท่านั้น

-------------------------------------

รศ. ไชยันต์ ไชยพร อาจาร์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย แสดงความเห็นว่า โดยพื้นฐานบรรดานักแสดง นักร้อง ศิลปินในวงการบันเทิง ไม่ได้แตกต่างจากประชาชนทั่วไป ซึ่งย่อมจะมีทั้งคนที่มีทัศนะความคิดเห็นทางการเมือง และในเวลาเดียวกัน ก็ย่อมมีคนที่ไม่มีความตื่นตัวทางการเมืองรวมอยู่ด้วย

แต่ในสถานการณ์สังคมการเมืองปัจจุบันที่ทุกคนต่างให้ความสนใจ ย่อมมีผู้คนในแวดวงบันเทิงออกมาติดตามความเคลื่อนไหว ติดตาม ตื่นตัว จนถึงขั้นออกมาแสดงจุดยืน หรือเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งในแง่นี้ ย่อมหมายความว่า พวกเขาต้องสละเวลาจากงานที่ทำ เพื่อมาเข้าร่วม และในอีกด้านหนึ่ง ยังมีความสุ่มเสี่ยงต่อเรตติ้ง หรือคะแนนนิยม เมื่อสังคมไทยอยู่ในช่วงเวลาของการแบ่งสีแบ่งกลุ่มอย่างชัดเจนเช่นนี้

“คงต้องยอมรับว่า ดารานักแสดงก็เหมือนคนไทยโดยทั่วไป เกิดความรู้สึกร่วมกันในประเด็นที่ว่า เขาทนไม่ไหวจริงๆ ต่อปัญหาของประเทศ และต้องการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งโดยสถานะของเขา โดยปกติอาจไม่ต้องการออกมาแสดงตนแบบนี้ แต่เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้ว ระหว่างอนาคตการเมือง กับอนาคตของเขา เขาก็ต้องตัดสินใจเลือก”

มุมมองของ ไชยันต์ ตรงกับความคิดของ คฑาหัสต์ บุษปะเกศ นักเขียนบทละครโทรทัศน์ ที่เป็นตัวแทนของคนแวดวงบันเทิงว่า ปัจจุบัน สถานการณ์ของประเทศดำเนินมาอย่างยาวนาน จนถึงขีดสุดแล้ว

"ผมคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศที่ต้องมีส่วนร่วม อย่างที่เห็นกันว่า ตอนนี้ คนทุกภาคส่วน ทุกวงการ ทุกวิชาชีพ ทั้งหมอ ครูบาอาจารย์ นิสิตนักศึกษา ต่างได้ออกมาปฏิเสธการใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม ไม่ว่าจะเป็นหอการค้า สภาอุตสาหกรรม ฯ คนบันเทิงเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง เราไม่คิดว่าเราจะสร้างแรงสะเทือนมากมายอะไร แต่เราไม่ใช่ไทยเฉยอีกต่อไป เราได้แต่หวังว่าการลุกฮือขึ้นมาของคนทั้งสังคมขนาดนี้ น่าจะทำให้ผู้บริหารประเทศ น่าจะได้หันกลับมาทบทวนบ้างว่าเกิดอะไรขึ้น หากไม่หลงกับคำป้อยอกับคนรอบข้างจนเกินไป"

นักเขียนบทละคร เจ้าของผลงาน "เหนือเมฆ" ที่เคยถูก "เซ็นเซอร์" ไม่ให้ออกอากาศทางช่อง 3 มาก่อนหน้านี้ ยังเพิ่มเติมด้วยว่า ที่ผ่านมาภายใต้ระบบการเมืองอำนาจนิยม การเมืองเสียงข้างมากผูกขาดความชอบธรรมนั้น มีเรื่องที่ผู้คนไม่สามารถยอมรับได้มากมาย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวทุกเมื่อเชื่อวัน แม้กระทั่งคนวงการบันเทิงก็ไม่เว้น พลอยได้รับผลกระทบนี้ด้วยเช่นกัน

-------------------------------------

ด้าน พรเทพ เฮง นักวิจารณ์บันเทิง วิเคราะห์โดยมองจากแง่มุมพัฒนาการของสื่อว่า โดยอดีตที่ผ่านมา แม้คนบันเทิงบางส่วนอาจจะสนใจความเป็นไปของบ้านเมือง แต่ด้วยโครงสร้างทางอำนาจ และกลไกต่างๆ ที่สื่ออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ ทำให้ธุรกิจบันเทิง ทั้งหนัง เพลง ทีวี หรือแม้กระทั่งแวดวงหนังสือ ต่างพยายาม “เซนเซอร์ตัวเอง” มาโดยตลอด เดิมที ไม่มีใครอยากออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเมือง เพราะกลัวจะเกิดปัญหา จนกระทั่งมาถึงยุคสมัยของโซเชียลมีเดียนในวันนี้ ทำให้คนบันเทิงมีพื้นที่แสดงออกของตัวเองอย่างชัดเจน

“ต้องขอบคุณเทคโนโลยีโซเชียลมีเดียว ที่ทำให้การเมืองไทยในวันนี้พัฒนาไปอีกขั้น โดยเฉพาะคนจากฟากบันเทิงซึ่งเคยจำกัดการแสดงออก ได้มีพื้นที่ของตัวเอง ผ่านเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ในการสื่อถึงจุดยืน มุมมอง หรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ในยุคการเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูปสื่อ โดย กสทช. พอดี”

“เดิมทีนั้น ดารามีเฉพาะพื้นที่ข่าวบันเทิง หากจะทำอะไรออกไปจากสายงาน หรือไปแสดงจุดยืนในเรื่องอื่นๆ ก็เสี่ยงที่จะถูกนำเสนออย่างผิดเพี้ยนจากสื่อกระแสหลักได้ เรียกว่ามีความเสี่ยงอยู่มาก แต่เมื่อทุกวันนี้ พวกเขามีพื้นที่ของตัวเอง พวกเขาจะโพสต์ข้อความ ความเห็นความคิดต่อเรื่องต่างๆ ได้อย่างชัดเจน และตรงประเด็น โดยไม่ต้องห่วงว่าจะถูกเข้าใจผิด”

“ในเวลาเดียวกัน สื่อกระแสหลักก็อาศัยพื้นที่ของโซเชียลมีเดียเหล่านี้ มารายงานให้สาธารณะได้รับรู้อีกขั้นหนึ่ง ไม่เพียงเท่านั้น หากมีกระแสความเข้าใจผิดใดเกิดขึ้น ดารายังใช้พื้นที่ของตัวเองแก้ต่างได้อีกด้วย ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

ในมุมมองของนักวิจารณ์บันเทิงคนนี้ นอกจากนวัตกรรมของสื่อแล้ว ภาวะความรู้สึกอัดอั้นต่อการเมืองในประเทศ การหมกเม็ดแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะตนของคนในพรรครัฐบาล ที่สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน และเมื่อมาถึงการผ่านร่างพรบ.นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง อย่างไม่นึกถึงความถูกต้องชอบธรรม คือจุดระเบิดของเรื่องนี้ ทั้งที่เดิมทีนั้น หลายคนก็ไม่ได้ให้ราคาแก่พรรคฝ่ายค้าน อย่างประชาธิปัตย์แต่อย่างใด

“อย่าลืมว่า ดาราเป็นบุคคลสาธารณะ พวกเขามีต้นทุนสูงทางสังคม การออกมาแสดงความคิดเห็นต่อบ้านเมือง เป็นเรื่องน่าชื่นชม ตราบใดก็ตามที่พวกเขาไม่กระทำผิดกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อการแสดงออกของตัวเอง” พรเทพ กล่าว

-------------------------------------

ปรากฏการณ์ที่คนในวงการบันทิงออกมาแสดงตนนั้น ไชยันต์ เรียกว่าเป็น “สำนึกพลเมือง” เช่นเดียวกันกับคนจากสาขาวิชาชีพอื่น ซึ่งด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนของความก้าวหน้าของการเมืองไทยที่มีพัฒนาการไปอีกขั้น เพราะหากบุคคลทุกกลุ่มทุกวิชาชีพ และทุกภาคส่วนของสังคม ออกมาแสดงความตื่นตัวทางการเมืองเช่นนี้ ย่อมเป็นนิมิตหมายที่ดีแก่การเมืองของประเทศในระยะยาว

“เราได้เห็นสังคมดารา ดาวดวงที่กำลังเจิดจรัสก้าวออกมาแสดงสปิริต ผมคือว่าเป็นการแสดงออกถึงสำนึกพลเมือง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในความจริงนั้น มนุษย์เราต่างมีหลายบทบาทหน้าที่ด้วยกัน เช่น ในฐานะมนุษย์ เรามีสำนึกในความเป็นมนุษย์ ในฐานะพลเมืองของประเทศ เรามีสำนึกของความเป็นพลเมือง หรือการที่เรามีอาชีพแตกต่างกันไป แต่ละคนก็ยังมีสำนึกในวิชาชีพอยู่ด้วย ซึ่งการมี 'สำนึกพลเมือง' หมายความว่า คนเหล่านี้ต้องมีจิตใจเสียสละ อย่างการสละเวลาอันมีค่าของพวกเขาออกเคลื่อนไหว ออกมาสำแดงพลัง ซึ่งในด้านหนึ่ง ยังต้องเสี่ยงกับเรื่องของคะแนนนิยม เสี่ยงต่อการไม่มีงานทำ หรืออย่างน้อยก็เสียเวลา แทนที่จะไปทำมาหากิน”

อย่างไรก็ตาม ในฐานะนักวิชาการ ไชยันต์ ย้ำว่าการแสดงออกของคนในวงการบันเทิง หากออกมาจากจิตใจด้านใน จากพลังบริสุทธิ์ ไม่ว่าจะไปสนับสนุนฝ่ายไหนก็ตาม เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในการคิดเห็นแตกต่าง ยกเว้นเพียงคนในวงการบันเทิงบางคนที่ออกมาเคลื่อนไหวบนเวทีม็อบ เพื่อมุ่งผลประโยชน์ของตนเอง หรือเพราะอามิสสินจ้าง นั่นเป็นเรื่องหนึ่ง

ขณะที่ คฑาหัสต์ บุษปะเกศ มองว่า จุดเริ่มต้นของการออกมาของดารานักแสดงนักร้องนั้น ลึกๆ แล้วเป็นเรื่องปัจเจกหรือเรื่องของแต่คน เพราะในวงการนี้ไม่มีใครสามารถชี้นำใครได้ แต่เมื่อทุกคนก้าวออกมา ย่อมจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ รู้สึกและปรารถนาจะมีส่วนร่วมในความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ภาพรวมในที่สุด จึงกลายเป็นกระแสที่จุดติดขึ้นในทันที

"ต้องการจะบอกว่า พลังนี้เป็นพลังบริสุทธิ์ เลิกคิดเรื่องการจ้างวานได้เลย คนบันเทิง ใครจะไปจ้างได้ เพราะราคาค่าตัวในแต่ละงานก็มากโขอยู่แล้ว ถ้าเขาไม่มีใจมา เขาคงไม่มากัน" นักเขียนบทละครคนเดิม กล่าวเพิ่มเติม

ด้วยความเป็นดารานักแสดง หรือคนในวงการบันเทิง ซึ่งเป็นเสมือน “คนของประชาชน” หรือเป็นบุคคลที่มีคนรักใคร่ในผลงาน ทั้ง พรเทพ และ ไชยันต์ ต่างยอมรับว่า การออกมาเคลื่อนไหว แสดงจุดยืนทางการเมืองเช่นนี้ ก่อให้เกิดน้ำหนักแก่ความคิดอ่านของผู้คนในสังคมอย่างแน่นอน

พรเทพ อธิบายว่า “ในสถานการณ์ที่อ่อนไหวแบบนี้ ย่อมเป็นเรื่องปกติ ที่ต้องมีทั้งคนรักและคนเกลียด ซึ่งอย่างน้อยๆ ดาราก็ต้องประเมินด้วยตัวเองว่า ต้องการแลกหรือไม่ จึงไม่น่าแปลกใจหากเราจะเห็นดารารุ่นเก่า ดาราอาวุโส อายุ 40-50 ออกมาเปิดหน้ามากกว่าดารารุ่นใหม่ เพราะคนพวกนี้มีวุฒิภาวะ มีสถานะทางสังคมมั่นคงขึ้น และไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องหน้าที่งาน”

ขณะที่ ไชยันต์ เห็นว่า “ถ้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็ยิ่งตอกย้ำความรักใคร่ชอบพอ แต่สำหรับบางคนที่อาจจะชื่นชอบศิลปินดารา แต่เมื่อเขาออกมาในฝ่ายตรงข้าม อาจจะทำให้เกิดอาการชะงักขึ้น

ได้ว่า ทำไมดาราที่เราชอบ ถึงออกมาเคลื่อนไหวแบบนี้ เขาคิดอย่างไรถึงทำอย่างนั้น ซึ่งสมัยก่อน ในสังคมไทย บุคคลที่มีบทบาทนำในชุมชนต่างๆ อย่าง พระ หรือ ครู ก็มีฐานะคล้ายๆ กัน คือมีน้ำหนักในการชี้นำทิศทางของสังคม” ไชยันต์ กล่าว

ทางออกของเรื่องความรักใคร่ชอบพอในผลงานของศิลปิน กับความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ตรงกันข้ามนั้น ไชยันต์ เสนอแนะง่ายๆ ว่า เรื่องแบบนี้ต้องแยกแยะผลงานออกจากตัวตนของศิลปินคนนั้นๆ ว่าไม่เกี่ยวข้องกัน พร้อมๆ กับยกประสบการณ์ของตนเองมาเล่าให้ฟังว่า

“ผมชื่นชอบบทเพลงของ อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง นะ โดยเฉพาะเพลง 'ทัดทาน' ทุกวันนี้ ก็ยังชื่นชอบเพลงนี้อยู่ แต่ผมไม่ชอบพฤติกรรมและความเคลื่อนไหวทางการเมืองของอริสมันต์ เรื่องแบบนี้คงต้องแยกแยะว่า มันไม่เกี่ยวกัน” นักวิชาการด้านการปกครอง สรุปในที่สุด.