PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แผนวุฒิสภา?

แผน ส.ว.เถื่อนหลุด!!!
รายงานข่าวจากรัฐสภา แจ้งถึงแนวทางปฏิบัติของวุฒิสภาต่อการหาทางออกจากวิกฤตการเมืองภายในประเทศ ทั้งนี้ได้มีการเสนอแนวทางปฏิบัติไว้ จำนวน 8 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1. ตามที่คณะรัฐบุคคลได้เสนอแนวทางออกของประเทศไปยังผู้บัญชาการเหล่าทัพต่าง ให้
1.ผู้บัญชาการเหล่าทัพควรปรึกษาหารือแนวทางออกของประเทศ
2.ผู้บัญชาการเหล่าทัพควรจะปรึกษาหารือกับปลัดกระทรวงทุกกระทรวง, เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ, ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติและเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
ขั้นตอนที่ 2 วุฒิสภา ควรดำเนินการ
1. ให้ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาจำนวน 12 คณะ ประชุมหารือกันว่านายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการรองนายกฯ ทำหน้าที่รักษาการนายกฯ ได้หรือไม่ และมีสิทธิ์ทูลเกล้าฯ หรือไม่,
2.ให้นำประเด็นการปฏิบัติหน้าที่ของนายนิวัฒน์ธำรงไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ และ
3.ถ้าหากมีการวินิจฉัยและมีความเห็นว่านายนิวัฒน์ธำรงไม่มีอำนาจ ให้อำนาจนั้นตกมาอยู่ที่ประธานวุฒิสภาทันที
ขั้นตอนที่ 3 ให้เลขาธิการวุฒิสภาเสนอทูลเกล้าฯ ชื่อของนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เป็นประธานวุฒิสภา เมื่อมีพระรบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานวุฒิสภาแล้ว ประธานวุฒิสภาจะมีอำนาจในการเชิญทุกฝ่ายหาทางออกให้กับประเทศ คือ สนับสนุนให้วุฒิสภาในการดำเนินการร่างอนุผนวก 3 บทเฉพาะกาลประกอบรัฐธรรมนูญ,
ขั้นตอนที่ 4. ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่รักษาการประธานรัฐสภานำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูฯ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) อนุผนวก 3 บทเฉพาะกาล เข้าสู่การประชุมสภา โดยให้สมาชิกวุฒิสภาทุกคนเป็นกรรมาธิการเต็มสภา,
ขั้นตอนที่ 5 ให้สำนักงานวุฒิสภาหรือรัฐสภา นำอนุผนวก 3 บทเฉพาะกาลทูลเกล้าฯ และประธานวุฒิสภาในฐานะรักษาการแทนประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในฐานะประธานรัฐสภา,
ขั้นตอนที่ 6 ประธานรัฐสภาเปิดสภาเสนอแต่งตั้งนายกฯ และนำชื่อทูลเกล้าฯ ถวาย,
ขั้นตอนที่ 7. นายกรับการแต่งตั้งและรีบเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรี ทูลเกล้าฯ ถวายทำการแต่งตั้ง
ขั้นตอนที่ 8. ให้ดำเนินการโดย
1.นายกฯ นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเสร็จแล้ว
2.เปิดประชุม ครม.
3. คำสั่งมอบอำนาจและหน้าที่ของแต่ละคน ทั้งนี้ในขั้นตอนที่ 6,7,8 ต้องดำเนินการภายใน 2-3 วัน เพื่อให้ ครม.ปฏิบัติงานได้ทันที
สำหรับร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) ที่ได้มีการเสนอมานั้น มีสาระ คือ เพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งการปกครองเฉพาะกิจเป็นระยะเวลา 18 เดือน หรือจนกว่าประเทศจะพ้นวิกฤติ แล้วจึงจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ตามที่กฎหมายหลังการปฏิรูปได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ จะมีการตรากฎหมายเพื่อการปฏิรูปประชาธิปไตย อาทิ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ให้ พรรคการเมืองเข้ามาครอบงำสมาชิกสภา สำหรับการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องเป็นการเสนอชื่อของที่ประชุมสาขาพรรค นอกจากนั้น จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อประชาธิปไตย เพื่อพัฒนาร่างกฎหมายที่จำเป็นต่อการปฏิรูปบ้านเมือง
สำหรับเหตุผลที่จำเป็นต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อแก้ไขปัญหาจากอดีตถึงปัจุบันที่มีการ ใช้สิทธิเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ แสวงหาอำนาจโดยผิดครรลองของระบอบประชาธิปไตย จนเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้ง เป็นวิกฤติทางการเมืองมาอย่างยืดเยื้อ

ไม่มีความคิดเห็น: