PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว12พ.ย.57

ถอดถอนยิ่งลักษณ์

"ยิ่งลักษณ์" มั่นใจ ไม่โกงข้าวเชิงนโยบาย มอบทนายความแจงขอเลื่อนประชุม ยัน ไม่มีเจตนาประวิงเวลา

นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผย สำนักข่าว INN ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยืนหยัดที่จะต่อสู้คดี และมั่นใจว่า โครงการจำนำข้าวไม่ใช่การทุจริตเชิง
นโยบายแน่นอน พร้อมให้กำลังใจทนายความ เสนอข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนมากที่สุด

ซึ่งในวันนี้ ทีมทนายความ ที่ประกอบด้วยตน นายสมหมาย กู้ทรัพย์ และ นายเอนก คำชุ่ม จะเข้าร่วมการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรื่องการขอเลื่อนประชุมถอดถอนคดีจำนำข้าว และพร้อมชี้แจงในคำร้องขอ โดยยืนยันว่า ไม่มีเจตนาประวิงเวลา เป็นเพียงการปกป้องสิทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา

ทั้งนี้ หากวันนี้ ที่ประชุมมีมติไม่เลื่อนการประชุม จะถือเป็นการเสียสิทธิ์ตามข้อบังคับของผู้ถูกกล่าวหาในการขอเพิ่มเติมพยานหลักฐาน โดยขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้รับสำเนารายงานแล้ว อย่างไรก็ตาม ทีมทนายความ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย หลังมีการยื่นหนังสื่อต่อ สนช. เพื่อให้ถอดวาระการประชุมดังกล่าวออกไป
------------
สนช. ทยอยเข้าประชุม ก่อนเปิดโอกาสทนายยิ่งลักษณ์ แจงขอเลื่อนถกถอดถอน ขณะกลุ่มคนรักสัตว์ ขอพิจารณา กม.คุ้มครองสัตว์

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เริ่มทยอยเดินทางเข้าเตรียมตัวประชุม สนช. ที่จะมีขึ้นในเวลา 09.30 น. โดยจะมีการประชุมพิจารณาร่างกฎหมายทั่วไป และเรื่องที่
ค้างอยู่ พร้อมเปิดให้ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงเหตุผล รวมถึงขอมติจากที่ประชุมให้รับรองมติ ขอเลื่อนวาระการพิจารณาสำนวนถอดถอนออกไป

ขณะที่ กลุ่มคนรักสัตว์ นําโดย เก๋ ชลลดา เมฆราตรี ประธานมูลนิธิเดอะวอยซ์ เสียงจากเรา พร้อมเพื่อนดาราที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ ตอง ภัครมัย, โย ยศวดี ฯลฯ ได้ทํากิจกรรมที่รัฐสภา เพื่อวิงวอน

ให้ สนช. พิจารณากฎหมายร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ 20 ข้อ ห้ามทารุณกรรมสัตว์ จากภาคประชาชน เพื่อทําให้กฎหมายมีความสมบูรณ์ ครอบคลุม และชัดเจนมากขึ้น
-------------
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาวาระเลื่อนถอดถอด ยิ่งลักษณ์ พร้อมเชิญทีมทนาย เข้าชี้แจงเหตุผลต่อที่ประชุม

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ล่าสุด เข้าสู่การพิจารณาเลื่อนวาระถอดถอนนัดแรกของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ออกไปก่อน เนื่องจากทีมทนายความ นางสาวยิ่งลัษณ์ ได้ยื่นหนังสือขอเลื่อนการพิจารณา เพราะยังไม่ได้รับสำนวน ป.ป.ช. ของ สนช. และช่วงที่ส่งเอกสารมา นางสาวยิ่งลักษณ์ เดินทางไปต่างประเทศ ทั้งนี้ ที่ประชุมเปิดโอกาสให้ทีมทนายความ นางสาวยิ่งลักษณ์ คือ นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง นายสมหมาย พุ่มทรัพย์ และ นายเอนก คำชุ่ม เข้าร่วมชี้แจงเหตุผลของการขอเลื่อนพิจารณานัดแรกด้วย จากนั้น จะเปิดโอกาสสมาชิก สนช. ได้ซักถามประเด็นข้อสงสัย
----------------
สนช. มีมติ 167 ต่อ 16 เสียง เลื่อนการประชุมถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" คดีจำนำข้าว เป็นวันที่ 28 พ.ย. นี้ 

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่าสุด มีมติ 167:16 เสียง ให้เลื่อนพิจารณาวาระถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง กรณีทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ออกไป 15 วัน เป็นวันที่ 28 พฤศจิกายน นี้ โดยก่อนหน้านี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เปิดโอกาสให้ทีมทนายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นำโดย นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง นายสมหมาย พุ่มทรัพย์ และ นายเอนก คำชุ่ม เข้าชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องขอให้มีการเลื่อนการพิจารณาถอดถอน

ทั้งนี้ นายนรวิชญ์ ชี้แจงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางไปต่างประเทศ และไม่ทราบว่าจะมีการบรรจุวาระการพิจารณาถอดถอน จนกระทั้งเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เดินทางกลับและได้รับเอกสารในวันที่ 7 พฤศจิกายน ทำให้เวลาในการดำเนินการไม่เพียงพอ อีกทั้งเมื่อทีมทนายได้ตรวจเอกสารจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบว่ามีมากกว่า 3,870 หน้า จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษา
//////////////////
กมธ.ยกร่างรธน.

"บวรศักดิ์" เผย "อภิสิทธิ์" ร่วมแสดงความเห็นยกร่างรัฐธรรมนูญ 24 พ.ย. หวังทุกคนร่วม ด้าน "หลวงปู่" มา 13 พ.ย.

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงความคืบหน้า ในการส่งหนังสือเชิญพรรคการเมืองและคู่ขัดแย้ง เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นถึงแนวทางในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เบื้องต้น ได้ดำเนินการปรับแก้สาระสำคัญของหนังสือ และพร้อมที่จะจัดส่งไปยังกลุ่มต่าง ๆ ในวันนี้ ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ประสานเข้ามาว่า ยินดีที่จะเข้าร่วมแต่ขอจะเลื่อนไปเป็นวันที่ 24 พ.ย. เนื่องจากติดภารกิจไปต่างประเทศ นอกจากนี้ พระพุทธะอิสระ ได้แจ้งความประสงค์ว่าจะเดินทางเข้ามาพบตนเอง และ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ในวันพรุ่งนี้ เวลาประมาณ 12.00 น.

ส่วนกระแสข่าวที่พรรคเพื่อไทย จะไม่เข้าร่วมในการแสดงความคิดเห็นนั้น หากไม่เข้าก็ไม่สามารถบังคับได้ แต่อยากให้เข้าร่วมและนำความเห็นประกอบการพิจารณา และหากเข้าร่วมจะถือเป็นบุญคุณต่อการยกร่างรัฐธรรมนูญ และเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดี
-----------------
"อภิสิทธิ์" พร้อมร่วมถก กมธ.ยกร่าง รธน. หนุนประชามติ มอง เป็นทางออกดีที่สุด ขอ คสช. ให้พรรคการเมืองประชุมได้

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงกรณีที่กรรมมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเชิญพรรคการเมืองและคู่ขัดแย้งเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นถึงแนวทางในการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันว่า จะเข้าไปร่วมให้ข้อมูลด้วยตนเองในวันที่ 24 พ.ย. นี้ ส่วนตัวแทนจากพรรคอีก 4 คนนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดรายชื่อ

สำหรับกระแสข่าวที่มีบางพรรคการเมือง จะไม่เข้าร่วมนั้น สำหรับตนเองมองว่าการเข้าไปให้ข้อมูลในครั้งนี้ ไม่ได้คาดหวังว่า คณะกรรมาธิการ จะนำข้อเสนอไปใช้ทั้งหมด แต่เมื่อมีคำเชิญมาก็พร้อมจะให้ข้อมูล

ทั้งนี้ นายอภิสิทธ์ ยังยืนยันว่า อยากให้มีการทำประชามติเพราะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพื่อสร้างความชอบธรรมภายหลังจากยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นนอกจากนี้ นายอภิสิทธ์ ยังขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่อนปรนข้อจำกัดในการให้พรรคการเมืองสามารถประชุมได้ ซึ่งหาก คสช. เกรงว่าจะกระทบต่อความปรองดอง ก็อาจจะกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจน โดยการให้แต่ละพรรคการเมืองระมัดระวังการแสดงความคิดเห็นด้วย
-------------
"อภิสิทธิ์" ระบุ การใช้อำนาจโดยมิชอบ เป็นต้นตอปัญหา นำสู่ความขัดแย้ง ห่วง ถูกมองไม่เป็นประชาธิปไตย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงความคิดเห็นในการยกร่างรัฐธรรมนูญ อยากให้คณะกรรมมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กลับไปดูต้นตอที่แท้จริงของปัญหา คือการใช้อำนาจโดยมิชอบและนำไปสู่ความขัดแย้ง

ส่วนความเป็นไปได้ที่หากรัฐธรรมนูญนี้จะไม่ได้รับการยอมรับ คือ รัฐธรรมนูญถูกมองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะจะถูกกดดันจากทั้งในและต่างประเทศ
------------
"คำนูณ" เผย กมธ.ยกร่าง รธน. เสนอแบ่งโครงสร้าง 4 ภาค หาข้อสรุปวันนี้ เร่งลดเหลื่อมล้ำ ศก. - สังคม

นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า การหารือเบื้องต้นของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ข้อเสนอให้แบ่งโครงสร้างร่างรัฐธรรมนูญออกเป็น 4 ภาค โดยกำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มีความยากมาก-น้อยแตกต่างกัน อาทิ ภาคที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์และประชาชน และภาคที่

ว่าด้วยศาลและนิติธรรม รวมทั้งกระบวนการยุติธรรม ให้แก้ไขเพิ่มเติมได้ยากที่สุด ต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของรัฐสภา โดยจะได้ข้อสรุปในวันนี้ เพื่อที่จะได้ลงลึกในแนวทางของแต่ละภาคต่อไป

ขณะที่การอภิปรายทั่วไปของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คนละ 10 นาที เมื่อคืนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ตรงกันว่า ร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องกำหนดมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรอันเป็นรากฐานที่แท้ของวิกฤติ และต้องสร้างดุลอำนาจระหว่างพลังต่าง ๆ ในสังคมไทยให้กลับคืนมาบนพื้นฐานของสังคมพหุนิยม
----------
เครือข่ายยุวทัศน์ฯ ยื่นข้อเสนอร่าง รธน. ขอมีส่วนร่วม ขณะ "บวรศักดิ์" จ่อชงตั้งอนุ กมธ.เด็กและเยาวชน

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด กลุ่มเครือข่ายยุวทัศน์กรุงเทพมหานคร เข้ายื่นข้อเสนอในการร่างรัฐธรรมนูญ ต่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้เด็กและเยาวชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็น และการปฏิรูปการศึกษา และเห็นควรให้จัดตั้งสภาที่ปรึกษาการศึกษาและสังคม เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี และพิจารณานโยบายที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ของฝ่ายบริหาร นอกจากนี้ ยังเสนอให้ลดอายุขั้นของผู้แทนราษฎร จาก 25 ปี เป็น 18 ปี

ทั้งนี้ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่เยาวชนต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดชีวิตของประเทศ ซึ่งตนจะไปนำเสนอต่อกรรมาธิการยกร่าง เพื่อพิจารณาตั้งอนุกรรมาธิการอีกชุด สำหรับเด็กและเยาวชน
------------
วิป สปช. ประชุมนัดแรกแล้ว เพื่อเลือกตำแหน่งสำคัญ ขณะเตรียมตั้ง 5 กรรมาธิการคนนอก พร้อมกำหนดรูปแบบภารกิจ

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด คณะกรรมาธิการประสานงานกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ วิป สปช. ประชุมนัดแรก เพื่อเลือกประธาน รองประธาน และตำแหน่งอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดตั้งคณะ

กรรมาธิการจากคนนอกอีก 5 คณะ ได้แก่ คณะกรรมาธิการติดตามให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ, คณะกรรมาธิการจัดทำวิสัยทัศน์ รูปแบบของอนาคตประเทศไทย, คณะกรรมาธิการรับฟัง

ความคิดเห็นและการมีความส่วนรวมของประชาชน, คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีความส่วนรวมของประชาชนประจำจังหวัด และ คณะกรรมาธิการการสื่อสารและประชาสัมพันธ์

ซึ่งเป็นหน้าที่ของวิป สปช. ที่กำหนดรูปแบบภารกิจและที่มา เพื่อสรรหาผู้เหมาะสมเป็นสมาชิกในกรรมาธิการ

ทั้งนี้ มีผู้เสนอชื่อให้ให้ดำเนินการแล้ว หากดำเนินการไม่ทันสัปดาห์นี้ ก็ส่งให้ที่ประชุม สปช. เห็นชอบในวันจันทร์ที่ 17 พ.ย. นี้
-----------------
วิป สปช. หารือจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 5 คณะ รับฟังความคิดเห็นและการมีความส่วนรวมของประชาชน 

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุดที่อาคารรัฐสภา 2 มีการประชุมคณะกรรมาธิการประสานงานกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) ภายหลังจากที่ประชุมใหญ่มติรับรองการจัดตั้งวิป สปช. โดยมี นาย

เทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธาน ซึ่งการประชุมวันนี้จะมีวาระการจัดสรรตำแหน่งภายในกรรมาธิการและอาจรวมไปถึงการหารือเรื่องที่มาและแนวทางเพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจากคน

นอกอีก 5 คณะ ได้แก่ คณะกรรมาธิการติดตามให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการจัดทำวิสัยทัศน์ รูปแบบของอนาคตประเทศไทย คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการ

มีความส่วนรวมของประชาชน คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีความส่วนรวมของประชาชน ประจำจังหวัด และ คณะกรรมาธิการการสื่อสารและประชาสัมพันธ์

นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงกรอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญว่าจะจัดทำและศึกษาอย่างไร เพื่อรวบรวมส่งต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ภายในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ ตามกรอบเวลา 60 วัน

ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
----------------
อธิการบดีนิด้า เข้าพบประธาน สปช. เสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศ นิด้าโมเดล 15 ด้าน อย่างเป็นรูปธรรม ยัน สามารถแก้ปัญหาในระยะยาวได้

รศ.ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และคณะ จำนวน 20 คน เข้าพบ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อเสนอแนวทางการปฏิรูป

ประเทศ นิด้าโมเดล (NIDA MODEL) ปฏิรูปประเทศไทย 15 ด้าน ที่นักวิชาการของสถาบันได้หาข้อมูลและปัญหาประเทศที่ควรแก้ไขปรับปรุง โดยมีวัตถุประสงค์ในการเสนอแนวทางการปฏิรูป

ประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถแก้ปัญหาระยะยาว ตลอดจนป้องกันการเกิดปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต

ทั้งนี้ จึงได้มีการเสนอแนวทางในการปฏิรูปประเทศ 15 ด้าน อาทิ ด้านการปฏิรูปการเมือง ด้านการปฏิรูปการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารประเทศ ด้าน

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ด้านการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการปฏิรูปการศึกษา และด้านการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม
---------------
สถาบันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น มธ. ยื่นหนังสือถึง สปช. เสนอ 9 แนวทางปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น เน้นปฏิรูปกรอบการยุติธรรม

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในนามสถาบันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ  ได้เดินทางมายื่นหนังสือเสนอแนวคิด ว่าด้วยการปฏิรูป

การป้องกัน และแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยมีข้อเสนอ 9 ข้อ ในการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น คือ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปราม

การทุจริตคอร์รัปชั่นมากยิ่งขึ้น ปฏิรูปหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ให้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ปฏิรูปกระบวนการเลือกตั้งให้ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชั่น

ไม่ให้ผู้ทุจริตได้รับการเลือกตั้ง ปฏิรูปให้มีการตรวจสอบทรัพย์สิน รวมถึงภาษีอากรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง ปฏิรูปข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานรัฐ ให้กรมบัญชี

กลางมีหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตให้เข้มงวด

พร้อมการผลักดันให้ประเทศเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการติดสินบน ยกเลิกรางวัลนำจับ และสินบนนำจับเฉพาะกรณี
-----------------
ที่ประชุมวิป สปช. เลือก "เทียนฉาย" ปธ. "ทัศนา" รอง ปธ. "อลงกรณ์" เลขาฯ "วันชัย" โฆษก

ความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) นัดแรก ได้มีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมทำหน้าที่ต่าง ๆ ในคณะกรรมาธิการฯ โดยที่ประชุมมีมติ

เลือกตำแหน่งได้แก่ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 1 นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ พลโท

ฐิติวัจน์ กำลังเอก ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการฯ นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการฯ นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการฯ
-----------------------
มติ กมธ.ยกร่าง แบ่งกรอบ ร่าง รธน. 4 ภาค จัดตั้งอนุกรรมาธิการ 10 คณะ คาดแล้วเสร็จภายใน 17 เม.ย. 58

พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ที่ประชุมมีมติ โดยแบ่งกรอบในการร่างรัฐธรรมนูญเป็น 4 ภาค

ประกอบด้วย ภาคสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชน ภาคผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง ภาคนิติธรรม ศาล การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และภาคการปฏิปและการสร้างความปรองดอง

นอกจากนี้ ยังจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการจำนวน 10 คณะ ซึ่งจะมีความสมบูรณ์ ในวันพรุ่งนี้ นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้จัดตั้งอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อปฏิรูปประเทศไทยและจัดทำรัฐ

ธรรมนูญเพื่ออนาคตที่ดีกว่า เพิ่มอีก 1 คณะ

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะเดินหน้ายกร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นระบบตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคมนี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 17 เมษายน 2558
------------------------
กมธ.ยกร่าง รธน. ปรับเปลี่ยนกำหนดการเชิญตัวแทนกลุ่มการเมืองเข้าให้ข้อเสนอแนะ พท.17 พ.ย., ปชป. 24 พ.ย. ขณะ กปปส. - พันธมิตร วันสุดท้าย

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการส่งหนังสือเชิญตัวแทนพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองว่า มีการปรับเปลี่ยนกำหนดการเชิญตัวแทนกลุ่มการเมือง

เข้าให้ข้อเสนอแนะกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยในวันที่ 17 พ.ย. เป็นพรรคเพื่อไทย วันที่18 พ.ย. พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา วันที่ 19 พ.ย. พรรคชาติพัฒนา และ พลังชล

วันที่ 20 พ.ย. พรรคมาตุภูมิ และ รักประเทศไทย วันที่ 21 พ.ย. เป็นกลุ่ม นปช. วันที่ 24 พ.ย. พรรคประชาธิปัตย์ และวันที่ 25 พ.ย. กลุ่มกปปส. และ พันธมิตร

ทั้งนี้ พล.อ.เลิศรัตน์ ยืนยันว่า ประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่กระทบต่อการส่งตัวแทนพรรคการเมืองเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อกรรมาธิการยกร่างฯ ตามที่มีการกล่าวอ้างอย่าง

แน่นอน
///////////
ครม.

"พล.อ.ประวิตร" ปัดให้สัมภาษณ์หลังประชุม ครม. เสร็จสิ้น บอก ไม่ใช่นายกฯ โยนถาม ป.ป.ช. คดี ปรส. 

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด บรรดารัฐมนตรีต่างทยอยเดินทางกลับภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งที่ 9/2557 เสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก

รัฐมนตรี ในฐานะรักษาการนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุม ครม. ว่า ตนไม่ใช่นายกรัฐมนตรี  จึงต้องให้นายกรัฐมนตรี เป็นคนให้สัมภาษณ์

ขณะเดียวกัน เมื่อถามถึงคดีองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการล่าช้า จะมีการรื้อฟื้นคดีหรือไม่

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ให้ไปถามกับ ป.ป.ช. เอง
-------------------
"วิษณุ" แจง ครม. ยังไม่หารือภาษีมรดก รอความเห็นทุกกระทรวง แนะ กมธ.ยกร่างฯ กำหนดกรอบให้ชัด คุยพรรคการเมือง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่การประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ยังไม่มีการพิจารณาเรื่องภาษีมรดกว่า เนื่องจากต้องรอการแสดงความเห็นของกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อน

ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ในสัปดาห์หน้า

นอกจากนี้ นายวิษณุ กล่าวถึงกรณีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะมีการเชิญพรรคการเมืองรวมถึงกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่าง ๆ มารับฟังความคิดเห็นในช่วงสัปดาห์หน้าว่า คณะ

กรรมาธิการรับฟังความเห็นควรกำหนดกรอบการพูดคุยว่าในแต่ละครั้งจะพูดคุยกันเรื่องใด เพื่อให้การหารือร่วมกันกับพรรคการเมืองเป็นไปอย่างราบรื่น

ส่วนการจัดตั้งคณะทำงานด้านการปฏิรูปในส่วนของรัฐบาลจำนวน 300 คนนั้น จะมีการแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ด้านละ100 คน คือ 1.ด้านการเมือง 2.เศรษฐกิจและพลังงาน 3.สังคมและสื่อมวลชน

ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนธันวาคม
---------------------
รักษาการนายกฯ ห่วงมาตรการกระตุ้น ศก. ฝากทุกหน่วยงานดำเนินการอย่างรวดเร็ว รอบคอบ และรัดกุม สั่งเร่งช่วย ปชช. น้ำท่วม

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ฝากข้อห่วงใยในที่ประชุมคณะ

รัฐมนตรี 4 เรื่อง คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลออกมา เช่น การจ่ายเงินชาวนาและเกษตรกรที่ได้น้อย ทำให้มาตรการไม่เห็นผลชัดเจน จึงฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างรวด

เร็วรอบคอบและรัดกุม ผู้เกี่ยวข้องต้องประสานงานกันอย่างใกล้ชิด ส่วนประชาชนที่ประสบอุทกภัย ได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือแล้ว ขณะเดียวกันขอให้หน่วยงานที่เข้าช่วยเหลือ
ช่วยจนถึงขั้นฟื้นฟูเพื่อส่งผลให้มีการฟื้นตัวและให้สภาพจิตใจของประชาชนดีขึ้น

ทั้งนี้ ขอเป็นกำลังใจทุกหน่วยงานในการจัดระเบียบสังคม เช่น การปราบปรามผู้มีอิทธิพล การพนัน การลักลอบเข้าเมือง พร้อมฝากทุกกระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ อย่ามีส่วนเกี่ยวข้อง และ

รณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันแจ้งเบาะแส ส่วนปัญหาภัยแล้งขอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประสานงานอย่างใกล้ชิดเพื่อรองรับปัญหาและวางแผนการรับมืออย่างรัดกุม ขณะเดียวกัน ต้องสร้างความรู้ใน

การรับมือภัยแล้งให้กับประชาชนด้วย
----------------
นายกฯ พร้อมภริยา ร่วมพิธีเปิดประชุมอาเซียนอย่างเป็นทางการ ผู้นำพม่า แนะนำ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะผู้นำใหม่ เข้าร่วมเป็นครั้งแรก


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 25 ที่กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ โดยมี นายเต็ง เส่ง

ประธานาธิบดีเมียนมาร์ รอให้การต้อนรับผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่เดินทางมาถึงศูนย์การประชุม ก่อนที่ผู้นำทั้งหมดจะเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างเป็นทางการ

จากนั้นประธานาธิบดีเมียนมาร์ ในฐานะประธานอาเซียน ได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุม เริ่มจากแนะนำ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำใหม่ที่เพิ่งเข้าร่วมการประชุมอา

เซียนเป็นครั้งแรก

ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ได้กล่าวถึงการประชุมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นว่า เป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความพยายามของอาเซียน เพื่อย้ำถึงเจตนารมณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งอาเซียน

จะเสริมสร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนโรดแมปประชาคมอาเซียน

ทั้งนี้ อาเซียนจะเดินหน้ากำหนดวิสัยทัศน์ภายหลังปี 2558 หลังจากเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปีหน้า โดยหัวข้อหลักของการประชุมในปีนี้ คือ การก้าวไปข้างหน้าสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว

และประชาคมที่สงบสุขและเจริญรุ่งเรือง โดยย้ำถึงความร่วมมือในระดับต่อไปใน 4 ด้าน ความร่วมมือในการส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกัน, ส่งเสริมให้อาเซียนมีบทบาทและเป็นกลไกสำคัญในระดับ

ภูมิภาคและเวทีโลก, ความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดความยากจน และส่งเสริมให้อาเซียนปรับตัวเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน เพื่อให้อาเซียนสามารถการเผชิญหน้าต่อ

ความท้าทายของโลก
----------------------
นายกฯ หารือทวิภาคีผู้นำอินเดีย เชิญระชุมสุดยอด ACD ยกย่องผลงานในการบริหารรัฐคุชราด ประสบความสำเร็จ มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับ นายนเรนทระ ทาโมทรทาส โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 ณ กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสห

ภาพเมียนมาร์ หลังเสร็จสิ้นการหารือ ร.อ.น.พ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการหารือ ว่า นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีที่ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีอินเดีย โดยได้ชื่นชนผล

งานในการบริหารรัฐคุชราด ประสบความสำเร็จ มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นตัวอย่างความสำเร็จแก่รัฐอื่น ๆ และนโยบายของนายกรัฐมนตรีอินเดีย ที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ การกินดีอยู่ดีของ

ประชาชนทุกภาคส่วน ตรงกับแนวนโยบายในการพัฒนาประเทศของรัฐบาลไทย

ทั้งนี้ ขอเชิญนายกรัฐมนตรีอินเดียเข้าร่วมการประชุมสุดยอด ACD ไทยจะเป็นจ้าภาพจัดการประชุมในช่วงไตรมาสที่ 4 ในปี 2558  ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีอินเดียกล่าวชื่นชมความสัมพันธ์

ระหว่างไทยและอินเดีย พร้อมกล่าวถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พร้อมชื่นชมสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอินเดีย เป็นส่วนสำคัญช่วยสนับสนุนความร่วมมือระหว่างไทยและอินเดียมาโดยตลอด

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีอินเดียยังกล่าวขอบคุณรัฐบาลไทยในความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าว เพื่อร่วมมือกันในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย รวมทั้งการกระทำผิดกฏหมาย

ซึ่งถือว่าเป็นภัยอันตรายต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งไทยและอินเดียต่างให้ความสำคัญในการต่อต้านการก่อการร้ายและภัยต่อความมั่นคงต่าง ๆ
--------------------------
นายกฯ ขอบคุณชาติอาเซียน เข้าใจสถานการณ์ในไทย ให้ความสำคัญขับเคลื่อน เสนอ 4 มาตรการเร่งด่วนเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 25 ณ กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ โดยได้กล่าวขอบคุณประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าใจต่อสถานการณ์

การเมืองในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา และยืนยันว่ายังคงให้ความสำคัญต่ออาเซียนและจะยึดมั่นต่อพันธกรณีต่าง ๆ ในการสร้างประชาคมอาเซียนในภูมิภาค เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกันใน
ภูมิภาค

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ในปี 2558 อาเซียนควรให้ความสำคัญกับประเด็นเร่งด่วนที่ควรดำเนินการให้เกิดผล 4 ประการ คือ ส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อนำไปสู่ความร่วม

มือทางเศรษฐกิจ ซึ่งไทยให้ความสำคัญและสนันสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในภูมิภาค เพื่อกระจายความเจริญ ลดช่องว่างการพัฒนา เพิ่มการจ้างงาน ขณะเดียวกันอาเซียน
ต้องมีความพร้อมในการรับมือกับปัญหาข้ามชาติมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการค้ามนุษย์และอาชญากรรมข้ามชาติ พร้อมระบุว่า อาเซียนควรเร่งการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค

ให้แล้วเสร็จในปี 2558 ตามที่ได้เคยประกาศไว้ เพื่อช่วยขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนของประเทศในภูมิภาค

นอกจากนี้ ยังเห็นว่า อาเซียนต้องร่วมกันรับมือกับภัยพิบัติ เพื่อไม่ให้กระทบต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค
-------------------------
นายกฯ ประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย หวังเพิ่มมูลค่าการค้าเป็น 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2558

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 12 ซึ่งเป็นการประชุมระดับผู้นำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือ กำหนด

ทิศทางในอนาคต และสนับสนุนบทบาทของอินเดียในภูมิภาค โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดียที่ยืนหยัดมาเป็นเวลานานกว่า 2 ทศวรรษ และได้พัฒนาเป็นหุ้นส่วนทาง
ยุทธศาสตร์ และยินดีที่อินเดียคงความสำคัญต่อนโยบายมุ่งตะวันออกที่ช่วยเกื้อหนุนพัฒนาการนี้

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงประเด็นความร่วมมือที่เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ว่า การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจ ตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ทำให้ทั้งสองฝ่ายมี

โอกาสที่จะเพิ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน เพื่อให้ร่วมกันบรรลุเป้าหมายการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันเป็น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2558

ขณะเดียวกัน ควรขยายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับอินเดียในทุกมิติ เนื่องจากอินเดียใกล้ชิดอาเซียนทางทั้งทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ควรการ

จัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย และ RCEP เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองฝ่าย โดยไทยสนับสนุนการเร่งรัดการสร้างถนนสามฝ่ายไทย-เมียนมาร์-อินเดียให้แล้วเสร็จ เพื่อให้อาเซียน
และอินเดียสามารถใช้ประโยชน์จากเส้นทางนี้โดยเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งต้องส่งเสริมโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่าง

ประชาชนทั้งสอง

ไม่มีความคิดเห็น: