PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัมภาษณ์พิเศษ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล : "ประชาธิปไตยไม่มีคำว่า ′สมบูรณ์′"

ที่มาเวปไทยพีบีเอส
 วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 20:00:00 น


ขณะที่สังคมไทยกำลังเดินตามจังหวะปฏิรูปประเทศที่กำหนดโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 
(คสช.) ในอีกซีกโลกหนึ่ง "ศดรธงชัยวินิจจะกูล.." อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน - แมดิสันประเทศสหรัฐอเมริกาให้สัมภาษณ์พิเศษ "หทัยรัตน์พหลทัพ" ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสว่าด้วยประชาธิปไตย รัฐประหาร และการตื่นตัวทางการเมืองของมวลชน

ถาม: อาจารย์เคยเขียนบทความชื่อ "วิธีการผิด ๆ ก่อความเสียหายหนักกว่า" ทำไมตอนนั้นถึงเขียนเรื่องนี้ ประเทศไทยมีวิถีของไทยเองไม่จำต้องเดินตามฝรั่งก็ได้และการรัฐประหารครั้งนี้อาจจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย

ผมอ่านบทความของคุณเนาวรัตน์พงษ์ไพบูลย์ศิลปินแห่งชาติเขาบอกว่า "ประชาธิปไตยคือการปกครองที่ชอบธรรม ขอให้ดูเนื้อหาไม่ใช่รูปแบบ " ความจริงประชาธิปไตยมีหลายรูปแบบในยุโรปกับอเมริกาก็ไม่เหมือนกันญี่ปุ่นอิน​​เดียก็ไม่เหมือนกันแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ช่วง 2-3 ปีหลังผมพยายามอธิบายว่า และความซับซ้อนของสังคมไทยมันเกิดทีหลังสังคมอื่นหลายแห่ง

เคยตั้งคำถามไหมว่าทำไมฝรั่งทางยุโรปถึงพัฒนามาก่อนไม่ใช่ว่าฝรั่งวิเศษ แต่เขาปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อน หากมองย้อนกลับไปไกล ๆ เอเชียก้าวหน้ากว่ามาก มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันยุโรปก็เกิดความคิดนั้นก่อน หมายความว่าในสังคมที่คนเห็นว่าอะไรดีหรือไม่ดีต่างกันมากคนเห็นว่าอะไรเป็นผลประโยชน์ ให้คนมาจัดสรรถกเถียงเจรจาต่อรองทางอำนาจตั้งแต่คนมีอำนาจคนชั้นสูงรวยจนเข้ามาเจรจาต่อสู้อย่างสันติอันนี้ต่างหากที่เป็นเนื้อหาไม่ใช่รูปแบบไม่ใช่แค่สมบัติของฝรั่ง แต่เป็นพัฒนาการของสังคมมนุษย์ถ้าเข้าใจเนื้อหาตรงนี้ ผมเห็นด้วยว่ารูปแบบต่างกันได้ การปฏิเสธสิทธิอำนาจของคนส่วนใหญ่จะเรียกว่าประชาธิปไตยได้อย่างไร

ถาม: การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ดูเหมือนว่า คนจำนวนหนึ่งก็ออกมาขานรับการรัฐประหารมาก

หากย้อนกลับไปปี 2549 คนกรุงเทพฯและคนในต่างจังหวัดจำนวนหนึ่งเห็นด้วยกับการรัฐประหารก็ใช่ แต่คนก็ค้านมหาศาล เพราะเขาไม่เห็นด้วยเขาอาจจะถูกปิดปากไม่ออกมาสู้ไม่ออกมาค้านการรัฐประหารทันที แต่พวกเขาก็ไม่เห็นด้วย แต่เขาถูกปิดปากเท่ากับยิ่งสะสมความอยุติธรรมจึงพูดไม่ได้ว่า

ถาม: กระบวนการต่อต้านรัฐประหารปี 2549 ไม่ถือว่ารุนแรง

ไม่ใช่ว่าพอใจหรือไม่พอใจเท่านั้นผมตอบไม่ได้ แต่ในแง่ที่ว่า การรัฐประหารปี 2549 จะบอกว่าหลายคนชอบก็ได้ แต่การจะบอกว่าพวกเขายังฉลาดไม่พอจึงไม่ออกมาต่อต้านก็คงไม่ได้ผมว่าเขาต้องการเรียนรู้หลายคนนึกไม่ถึงว่าปี 2549 การรัฐประหารจะเกิดขึ้น อีกหลังจากเว้นว่างไปตั้งนาน

ถาม: เท่ากับว่าสังคมไทยไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย 2557 ไม่ถึง 10 ปี

ใช่ไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยคำกล่าวที่บอกว่า "อย่าให้การรัฐประหารเสียของ" เป็นคำกล่าวที่แย่ที่สุดอันนี้เป็นความเชื่อของชนชั้นนำนึกไม่ถึงว่าคนมีการศึกษาจะคิดแบบนี้มันสะท้อนว่าระบบ การศึกษาไทยล้มเหลวสิ้นหวัง สิ่งที่คนเหล่านี้ต้องการคือ ตื้นเขินถ้าเช่นนั้นเลิกพูดเถอะว่าต้องการสังคมแห่งความรู้ป่วยการ

ถาม: ตอนนี้มองได้ว่า กระบวนการของประชาชนโตขึ้นมากหรือเปล่า

ใช่ แต่ต้องให้เวลาเขาเรียนรู้เขาฉลาดในบางเรื่อง แต่ก็ไม่ฉลาดในบางเรื่องทุกคนเป็นอย่างนั้นคนอเมริกันก็เป็นอย่างนั้นคนมีการศึกษาก็เป็นอย่างนั้น ประชาธิปไตยไม่มีคำว่า "สมบูรณ์" 

ถาม: แล้วมีการรัฐประหาร

มีหลายประเทศ การใช้ข้ออ้างว่าเป็นเพราะความไม่พร้อมของประชาชนรวมทั้งใช้ข้ออ้างสารพัดเช่นนโยบายที่ไม่ดี ทั้งอังกฤษอเมริกาเยอรมนีก็มีนโยบายที่ดีและไม่ดีปะปนกันไปเราก็สู้กันไป เป็นหลักประกันว่าความเสียหายจะไม่หนักหน่วงหรือที่บอกว่า ประเทศไทยจะพินาศอันนี้ผมว่าไม่จริงเพราะสุดท้ายประชาธิปไตย แล้วก็แก้กลับให้ลงรูปลงรอยก็เท่านั้น

ผมไม่ได้บอกว่าประชาธิปไตยไม่เกิดความเสียหายมันเกิด ระบอบอื่นต่างหากที่ไม่ค่อยปรับตัวอาจจะดูเหมือนถูกในระยะสั้น ๆ แต่สุดท้ายทุกคนมีผลประโยชน์ โดยที่ไม่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงทั้งที่ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงไม่สามารถท้วงติงได้อันนั้นต่างหากที่เสียหายหนัก

ถาม: บทเรียนประเทศไหนที่หลังการรัฐประหารแล้ว ประชาชนสามารถขับเคลื่อนประชาธิปไตยได้อย่างเต็มที่

และพวกเขาก็สู้จนผ่านภาวะนั้น ที่ผู้นำที่เป็นเผด็จการ อย่างอเมริกามีรัฐธรรมนูญมานาน ก็เปล่า ทาสก็ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งพอเลิกทาสแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องใช้เวลาปรับด้วยกันทั้งนั้น

สิ่งสำคัญอย่าไปทิ้งกระบวนการอย่าคิดว่ามีผู้รู้ดีเป็นคนดีกว่ามนุษย์ปกติเป็นคุณพ่อรู้ดีเพราะสังคมไม่ใช่สังคมเล็ก ๆ ที่เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อีกแล้วอะไรดีอะไรชอบธรรมเถียงกันได้เห็นต่างกันได้

ถาม: ถ้าประชาธิปไตยกลับมาการตื่นตัวทางการเมืองของชาวบ้านจะกลับมาอีกหรือไม่

น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่ขณะนี้ปัจจัยที่เลวร้าย และได้ทำลายรากฐานที่ดีหลายอย่างเช่นสื่อมวลชนที่เห็นได้ชัดว่าคุณภาพตกต่ำลงอย่างไม่น่าเชื่อกระบวนการยุติธรรมหมดสิ้นแล้วคนไม่เชื่อถือแล้ว แต่ก็ต้องทนรวมทั้งระบบการศึกษาครูอาจารย์ทั้งหลายละทิ้งจรรยาบรรณละทิ้งการถกเถียงเพื่อหาความรู้ ไป

คุณต้องปล่อยให้ประชาชนสร้างสรรค์ระบอบเหล่านั้นขึ้นมาใหม่ การเลือกตั้งและประชาธิปไตยไม่ใช่การลอกฝรั่ง ประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่คนในสังคมที่ซับซ้อน มีผลประโยชน์มีความเห็นต่างกันมีโอกาสเข้ามาเจรจาต่อสู้แชร์อำนาจกันอันนี้ไม่ใช่เรื่องฝรั่งหรือไทยมันเป็นเรื่องสากลมนุษย์ทุกสังคมเป็นแบบนี้ทั้งนั้น

ถาม: เมื่อจัดการความขัดแย้งด้วยการกดความขัดแย้งให้อยู่ใต้พรม เมื่อแรงกดทับมันอิ่มตัวจะเป็นอย่างไร

ผมไม่รู้ไม่อยากจะคิด เป็นการทำให้สังคมไทยจมลงไปอีกอาจจะเป็นการฝังระเบิดผมไม่รู้ว่าจะระเบิดหรือเปล่า

ถาม: (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แล้ว

ผมไม่คิดว่า สิ่งที่พวกเขาจะผลิตขึ้นมาผมไม่อยากจะวิเคราะห์เลยอาจจะมีสิ่งที่ดีขึ้นมาบ้าง ผมว่าไม่น่าเป็นไปได้เพราะสื่อมวลชนกระบวนการยุติธรรมและระบบการศึกษามันตกต่ำถูกทำลายลงไปแล้ว

ถาม: พอจะมีความหวังบ้างหรือไม่ว่าหลังมีการเลือกตั้งแล้ว คนในสังคมไทยจะหันมาพัฒนาให้สังคมกลับมาเหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม

ต้องดูว่าหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรถ้ากลับไปเหมือนกับยุคของพลเอกเปรมติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีประมาณปี 2523 ก็แปลว่าประเทศไทยเสียเวลาไปประมาณ 30 กว่าปีซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เรา "สูญ" สนิทเลยอาจจะ มีบางอย่างดีขึ้นเช่นมวลชนตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น แต่อย่าลืมว่าสื่อมวลชนแย่ลงมหาศาล กระบวนการศึกษาก็แย่ลงมากกว่าปี 2523 แต่เราก็ต้องมาสร้างกันใหม่

ถาม: อาจารย์บอกว่าอย่างหนึ่งที่ได้มาคือการที่ประชาชนตื่นตัวทางการเมืองการตื่นตัวนั้น จะสามารถปกป้องประชาธิปไตยไว้ได้หรือไม่

ความตื่นตัวทางการเมืองมีแน่ แต่การจะบอกว่า ผมไม่รู้ คงไม่มีใครกล้าพูดเพราะตายแล้วอาจจะไม่ได้อะไรขึ้นมาเราอาจจะย้อนไป 30 ปีหรืออาจจะอยู่ในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธ นะรัชต์หรือเปล่าผมไม่แน่ใจหรืออาจจะไม่ย้อนกลับไปอัน นี้ก็ต้องประคับประคองกันไปสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปีหลัง ๆ

ถาม: ฟังดูเหมือนไร้ความหวังหรือเปล่า

ถ้าบอกว่าเป็นการไร้ความหวังในแง่ที่ว่าสิ่งนี้ไม่ควรเกิดก็คงใช่ผมไม่ได้บอกว่าจะต้องมีรัฐบาลที่ดีเลิศประเสริฐ มันใช้เวลากว่าจะสร้างขึ้นมายกตัวอย่างที่เห็นชัด ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นสีเหลืองหรือสีแดง

หลังจากการรัฐประหารปี 2549 หลังจากสู้กันมา 30 ปีแล้วยังมีแนวคิดจะยุบอบต อบจ อีก และในสังคมไทยมากแค่ไหนก็ต้องสู้กันไปสิ่งเหล่านี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นเลย

ถาม: สังคมไทยต้องเรียนรู้อย่างไรบ้าง

สังคมไทยไม่เรียนรู้อะไรเลยโดยเฉพาะอำนาจของชนชั้นนำการยึดอำนาจ 2 ครั้งหลัง พวกเขาต้องการระบอบอย่างนั้นไม่ใช่ว่าพวกเขาเรียนรู้หรือไม่เรียนรู้พวกเขาเห็นว่าสิ่งที่ดีคือให้เขามีอำนาจเหนือนักการเมือง

นักการเมืองมี 2 ด้านไม่ได้มีด้านที่เลวทั้งหมดไม่ต่างจากคนอื่น เขาต้องการมีส่วนแบ่งทางอำนาจ เขามีทัศนะของตัวเอง 

ไม่มีความคิดเห็น: