PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว18ธ.ค.57

Jab18Dec14

สนช.มรดก

พรเพชร นัดสมาชิกประชุม 10.00 น. เพื่อพิจารณาวาระเร่งด่วน 12 เรื่อง พร้อมจับตา พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นัดสมาชิกประชุมในเวลา 10.00 น. โดยมีวาระเร่งด่วนให้พิจารณา 12 เรื่อง แบ่งเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีเสนอ 5 เรื่อง และเรื่องที่

คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ 7 เรื่อง อาทิ ร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. ....  เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญ ได้เลื่อนการพิจารณามาตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 2557 เพื่อให้สมาชิกได้ศึกษา

รายละเอียดอย่างถี่ถ้วน ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระ

ราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ ..) ร่างพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. ....

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่ค้างพิจารณา คือ รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปีงบประมาณ 2556 และรายงานประจำปี 2556 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
--------------------
สมาชิก สนช. ทยอยเตรียมตัวประชุมแล้ว ขณะรายงานข้อเสนอ สปช. และ สนช. นัดส่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพรุ่งนี้

บรรยากาศก่อนการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ล่าสุด สมาชิก สนช. ทยอยเดินทางเตรียมตัวประชุมที่จะเริ่มขึ้นในเวลา 10.00 น. แล้ว โดยพิจารณาวาระเร่งด่วน 12 เรื่อง ขณะเดียวกัน

ก่อนประชุมมีสมาชิกบางส่วนต้องประชุมกรรมาธิการชุดต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรมและการแรงงาน คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติความรับ
ผิดทางแพ่งเพื่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน คณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน คณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน

และการคลัง

อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา 18 คณะ ที่มีมติเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วเมื่อวานนี้ รวมถึงรายงานข้อเสนอแนะประกอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ

ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะนำส่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในวันพรุ่งนี้ 19 ธันวาคม 2557
------------------
มาสเตอร์โพล แกนนำชุมชน ร้อยละ 38.5 ระบุเป็นเรื่องของรายได้ คนรวยกับคนจนที่ไม่เท่าเทียมกัน รองลงมาการเข้าถึงสาธารณูปโภค

"มาสเตอร์โพล" ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ ความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อความเท่าเทียมกันในสังคมไทย จากกรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชน จำนวน 629

ชุมชน ในระหว่างวันที่ 11-17 ธ.ค. ที่ผ่านมาพบว่าความไม่เท่าเทียมกันที่มีอยู่ในสังคมปัจจุบัน ร้อยละ 38.5 ระบุเป็นเรื่องของรายได้ คนรวยกับคนจนที่ไม่เท่าเทียมกัน ร้อยละ 21.2 การเข้าถึง

สาธารณูปโภค ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ร้อยละ 20.4 ระบุการประกอบอาชีพ ที่ดินทำกินที่ไม่เท่าเทียมกัน ร้อยละ 18.5 การศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน และ ร้อยละ 17.8

ระบุกระบวนการยุติธรรม การได้รับความเป็นธรรมที่ไม่เท่าเทียมกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในสังคมต่อกันของชาวบ้านในการใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้าน ชุมชนในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 6.2 มีการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมกันมาก

ที่สุด ร้อยละ 54.4 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 36.4 ระบุปานกลาง
-------------------
สนช. เริ่มประชุมแล้ว เตรียมพิจารณาวาระเร่งด่วน 12 เรื่อง จับตาร่าง พ.ร.บ.ภาษีมรดก

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ล่าสุด ประธานการประชุมกดสัญญาณเรียกสมาชิกเข้าห้องประชุมแล้ว เตรียมพิจารณาวาระเร่งด่วน 12 เรื่อง โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติ

ภาษีการรับมรดก พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ที่กำหนดให้บุคคลผู้เสียภาษีจะต้องมีสัญชาติไทย หรือหากไม่ใช่สัญชาติไทย ต้องมีภูมิลำเนาในประเทศไทย หรือได้รับมรดกที่
เป็นทรัพย์สินในไทย

ทั้งนี้ การรับมรดกที่ต้องเสียภาษี จะต้องมีมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท โดยต้องเสียภาษี ร้อยละ 10 เฉพาะส่วนที่เกินกว่า 50 ล้านบาท และหากรับมรดกเพื่อกิจการศาสนา การศึกษา และสาธารณ

ประโยชน์ ไม่ต้องเสียภาษี แต่หากไม่ยื่นเสียภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมี สมาชิก สนช. ให้ความสนใจ โดยบางส่วนเห็นว่าควรยกเว้นการเสียภาษีสำหรับเกษตรกรที่รับมรดกที่ดินเพื่อใช้ในการเกษตรกรรม ซึ่งที่ประชุมจะพิจารณาอย่างรอบคอบ

เพื่อไม่เกิดปัญหาโต้แย้งในภายหลัง
--------------
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณากฎหมายภาษีการรับมรดกแล้ว ขณะรัฐมนตรีคลัง เข้าชี้แจงหลักการและเหตุผล

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ทำหน้าที่ประธานการประชุม ล่าสุดเข้าสู่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พศ. .... และร่างพระราช

บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แล้ว โดย นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวชี้แจงหลักการและเหตุผลว่า การถ่ายโอนทรัพย์สินทางมรดกใน
ปัจจุบันได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี ไม่ว่าทรัพย์สินจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เพราะปัจจุบันเกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม จึงเห็นควรจัดเก็บภาษีตามสมควรจากการรับมรดกที่มีมูลค่า

จำนวนมาก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศและยกระดับการใช้ชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ทั้งนี้ เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ จะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 20-21% และจะพยายามอุดรูรั่วต่าง ๆ ที่

ประเทศพัฒนาแล้วนำเงินไปพัฒนาประเทศ จึงขอให้คนที่หารายได้จำนวนมากเสียสละเพื่อประเทศ
-----------------------
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติรับหลักการวาระแรก พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พร้อมตั้งกรรมาธิการศึกษา 25 คน
แปรญัตติใน 7 วัน

ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ใช้เวลาการพิจารณากว่า 4 ชั่วโมง ของร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก
และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เนื่องจากเนื้อหากฎหมาย 2 ฉบับนี้มีความ
สอดคล้องกัน จากนั้น ที่ประชุมมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก วาระแรก ด้วยคะแนน 160:16
งดออกเสียง 10 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 25 คน กำหนดกรอบการทำงาน 90 วัน และแปรญัตติภาย
ใน 15 วัน และมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร วาระแรก ด้วยคะแนน 172:8 งด
ออกเสียง 7 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 25 คน ซึ่งเป็นชุดเดียวกับร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก
ในกรอบการทำงาน 90 วัน แปรญัตติภายใน 15 วัน
---------------
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหลักการ พ.ร.บ.หอพัก พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 17 คน กรอบทำงาน 30 วัน

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ล่าสุด ที่ประชุม สนช. มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหอพัก
ด้วยคะแนน 171 ต่อ 1 งดออกเสียง 5 พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาจำนวน 17 คน กรอบการทำงาน 30 วัน
แปรญัตติภายใน 7 วัน

โดยมีหลักการและเหตุผล เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยหอพักที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2507 ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน
จึงต้องกำหนดแนวทางกำดับดูแลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนที่อยู่ระหว่างการศึกษา
พร้อมกำหนดให้หอพักมี 2 ประเภท คือ หอพักชายและหอพักหญิง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้พักชายและผู้พักหญิงปะปนกัน
ซึ่งไม่ได้ตัดสิทธิ์ผู้ประกอบกิจการหอพักที่จะสร้างหอพักชายและหอพักหญิงอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ต้องแยกอาคาร
และใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักออกจากกัน
----------------
สนช.รับหลักการพ.ร.บ.หอพักวาระแรก กำหนดให้มี 2 ประเภทแยกชายและหญิง ป้องกันไม่ให้ปะปนกัน

ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหอพัก ด้วยคะแนน 171 ต่อ 1 งดออกเสียง 5 พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาจำนวน 17 คน กรอบการทำงาน

30 วัน แปรญัตติภายใน 7 วัน

โดยหลักการและเหตุผล เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยหอพักที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2507 ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน จึงต้องกำหนดแนวทางกำดับดูแลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพ

ของเด็กและเยาวชนที่อยู่ระหว่างการศึกษา พร้อมกำหนดให้หอพักมี 2 ประเภท คือ หอพักชายและหอพักหญิง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้พักชายและผู้พักหญิงปะปนกัน ซึ่งไม่ได้ตัดสิทธิ์ผู้ประกอบกิจการ

หอพักที่จะสร้างหอพักชายและหอพักหญิงอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ต้องแยกอาคารและใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักออกจากกัน

ขณะที่นายตวง อันทะไชย สมาชิก สนช.เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เพราะเป็นกฎหมายที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้ผู้ปกครองคลายความกังวลมากขึ้น ซึ่งเจตนารมณ์ของ

กฎหมาย ต้องการคุ้มครองสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของเยาวชนให้สะดวก ปลอดภัย และเก็บค่าเช่าที่เหมาะสม พร้อมยอมรับว่า ไม่ห่วงหอพักของรัฐ เพราะมีมาตรการที่เข้มงวด แต่ห่วงหอพัก

เอกชนที่ไม่จดทะเบียน เพราะอาจกลายเป็นแหล่งมั่วสุมแห่งใหม่ได้

ดังนั้น จึงเสนอให้การจดทะเบียนหอพักเป็นไปได้ยาก แต่ยกเลิกหอพักที่จดทะเบียนได้ง่าย เพื่อควบคุมให้หอพักได้ประกอบกิจการอย่างมีมาตรฐาน ปลอดภัย คุ้มครองเด็กที่เป็นนิสิตนักศึกษา พร้อม

เห็นด้วยให้แยกหอพักหญิงและชาย

นอกจากนี้ ยังมีสมาชิก สนช.ที่ต้องการให้กฎหมายระบุชัดว่า หอพักสถานศึกษา จะครอบคลุมถึงหอพักที่สถานศึกษาบริหารจัดการเอง และเอกชนเป็นผู้ลงทุนและบริหารจัดการหรือไม่ อีกทั้ง ยัง

ต้องการให้กำหนดเกี่ยวกับจำนวนที่จอดรถ ให้สอดคล้องกับจำนวนห้องพักด้วย

////////////////
สปช.

สปช. เดินหน้าปฏิรูป นัดประชุมทุกวันจันทร์ พิจารณาข้อเสนอเร่งด่วน ส่งคณะรัฐมนตรีดำเนินการพร้อมติดตามการเขียน รธน. ของ กมธ.ยกร่างฯ

นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการกิจการ สปช. (วิป สปช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า หลังจากมีการเสนอแนวคิด ความเห็นต่อ กมธ.

ยกร่างรัฐธรรมนูญไปแล้ว 3 วัน ซึ่งภาพรวมก็เรียบร้อยดี หลังจากนี้ก็จะต้องติดตามดูว่า กมธ.ยกร่างฯ จะนำแนวคิด ข้อเสนอไปเขียนรัฐธรรมนูญออกมาอย่างไร เพื่อให้มีความครอบคลุมการแก้

ปัญหาที่สะสมมานานนับ 10 ปี โดยเฉพาะเรื่องของความแตกแยกในสังคม การเมืองอ่อนแอ ระบบราชการทุจริตคอร์รัปชั่น และพลังงานเป็นต้น  

นอกจากนี้ สปช. จะต้องเดินหน้าในการปฏิรูปประเทศ ซึ่งได้มีการแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ปฏิรูปเร่งด่วน ปฏิรูปใน 1 ปี และ ปฏิรูปแบบยั่งยืน ซึ่ง สปช. จะมีการประชุมในทุกวันจันทร์ ตั้งแต่วันที่

22 ธ.ค. นี้ เป็นต้นไป เพื่อพิจารณาข้อเสนอเร่งด่วนสำหรับการปฏิรูปเพื่อเสนอให้กับคณะรัฐมนตรีต่อไป
-------------------
ประธานคณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน ชี้ ข้อเสนอแนะ 3 ประเด็นควรถูกบรรจุให้อยู่ใน รธน.

นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ได้เสนอแนะข้อมูลที่ได้ศึกษามา ผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติไปยังกรรมาธิการยกร่างรัฐ

ธรรมนูญถึงประเด็นที่น่าสนใจเเละควรถูกบรรจุให้อยู่ในรัฐธรรมนูญ โดยมีเรื่องสำคัญ ๆ คือ 1.จริยธรรมเเละธรรมมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแก้ปัญหาที่ผ่านมา อันเป็นหัวใจเเละ

ส่วนสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน 2.ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคเเละส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองส่วน

ท้องถิ่น โดยเห็นว่าควรปฏิรูปเพื่อให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องให้เกิดผลกับประชาชน เเละให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการแก้ปัญหาเเละการเข้าถึงบริการของประชาชน ต้องไม่มีความ

เหลื่อมล้ำเเละมีความเท่าเทียมมากขึ้น พร้อมให้ความมั่นใจว่าประเด็นของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะไม่ได้รับผลกระทบจากการอภิปรายวานนี้ เพราะไม่มีวาระในประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่อยากให้ตื่น

ตระหนกกับข่าวลือเรื่องการยุบกำนันผู้ใหญ่บ้านเพราะข่าวลือดังกล่าวไม่มีมูลความจริงเเละหากมีจริง จะเป็นเพียงการเเก้กฎหมายหรือกฎกระทรวง เพื่อให้มีความคล่องตัวเเละมีประสิทธิภาพใน

การบริหารงานส่วนภูมิภาคเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น 3.การปฏิรูประบบงบประมาณเเละการคลัง ซึ่งตนคิดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเรื่องความมั่นคงของทั้งทางเศรษฐกิจเเละทางทหาร

ทั้งนี้ นอกจากประเด็นดังกล่าว ยังมีเรื่องของการจำกัดอำนาจบทบาทการขยายตัวของภาครัฐ ที่ต้องรอวาระในการอภิปรายในวาระต่อไป
-------------------
กมธ.ยกร่าง รธน. ประชุมรับฟังแนวทางการยกร่าง รธน.ของคณะอนุกรรมาธิการยกร่างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม โดย นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะ

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า วันนี้จะมีการประชุมเพื่อรับฟังแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญของคณะอนุกรรมาธิการยกร่างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ที่มี นางกาญจนรัตน์
ลีวิโรจน์ เป็นประธาน ว่า หลังจากที่รับฟังข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. มาแล้ว จะสามารถนำมาใส่เป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้อย่างไร เพราะข้อเสนอที่รับฟังมีจำนวนมาก

แต่รัฐธรรมนูญจะเขียนสั้น ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยฝ่ายกฤษฎีกา ทำหน้าที่เสมือนฝ่ายเทคนิคในการยกร่างรัฐธรรมนูญ
------------------
ไพบูลย์ ระบุประชุม สปช. บรรยากาศดี-ย้ำไม่เร่งรัดประมวลผล ยกร่างรายมาตราอย่างรอบคอบ

นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เเละคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า การประชุมสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในสามวันนั้นมีบรรยากาศที่ดี

เเละมีความหลากหลายมากพอสมควรในของเเต่ละกรรมาธิการ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อกรรมาธิการยกร่างอย่างยิ่ง

สำหรับปัญหาที่มีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติร้องเรียนเรื่องของเวลาในการอภิปรายไม่เพียงพอนั้น ไม่หนักใจ เพราะจะมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมและให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติส่ง

ความคิดเห็นมายังกรรมาธิการวิสามัญติดตามการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ตลอดเวลา และยินดีเพิ่มเติมประเด็นในการยกร่าง หากมีประเด็นสำคัญเพิ่มเติม

ทั้งนี้ มีการประชุมกรรมาธิการยกร่างฯ ในเบื้องต้น กรรมาธิการจะไม่เร่งรัดประมวลผลส่วนการร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้น จะร่างทีละมาตราไปก่อน เพราะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบละเอียดถี่

ถ้วน ให้มีการครอบคลุมมากที่สุด เเละรอการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทุกฝ่ายร่วมพิจารณา ซึ่งตนเชื่อว่าจะร่างได้ตามกำหนดเวลา
---------------------
กมธ.ยกร่าง รธน. ยังไม่สรุปเลือกนายกฯ โดยตรงหรือไม่ ยินดีฟังทุกความเห็น พร้อมเผย นปช. เข้าเสนอความเห็นพรุ่งนี้

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงถึงการประชุมของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ โดยได้มีการรายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูป พิจารณา

ความเห็นข้อเสนอแนะของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พรรคการเมือง และกลุ่มต่าง ๆ โดยแบ่งประเด็นทั้งหมดเป็น 4 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่จะบัญญัติไว้ในรัฐธรรทนูญ กลุ่มที่จะใส่ไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กลุ่มที่จะเสนอแนวทางการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีและกลุ่มที่ยังไม่มีข้อยุติ

นอกจากนี้ นายคำนูณ ยังกล่าวถึงการรับฟังประเด็นเลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรงจากคณะอนุกรรมมาธิการปฏิรูปการเมืองว่า คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ยังไม่ปิดตายข้อเสนอใน

ประเด็นนี้ ตั้งข้อสังเกตถึงข้อดีและข้อเสียนี้ คณะกรรมาธิการยกร่างยังคงไม่ตัดสินใจในวันนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจกับเกี่ยวข้อเสนอดังกล่าวแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ (19 ธ.ค.) นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ แนวร่วมประธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะเดินทางเข้ามาเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างในฐานะส่วนตัวอีกด้วย
------------
บวรศักดิ์ ยัน ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง-ย้ำไม่มีพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งหากจะใช้ระบบนี้ก็ต้องถามความเห็นของคนในสังคม

ก่อน และต้องออกแบบคำถามให้ครอบคลุมทุกประเด็น ทุกกลุ่มคนในสังคมเพื่อให้ได้ความชัดเจนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ต้องถามความเห็นของกรรมาธิการยกร่างคนอื่น ๆ ว่าเห็นด้วยกับแนว
ทางนี้หรือไม่

นายบวรศักดิ์ ยังย้ำด้วยว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่มีพิมพ์เขียวแนวทางการยกร่างไว้ก่อน ตามที่สมาชิกสภาปฏิรูปบางส่วนอภิปรายไว้ และในวันนี้ได้เชิญสมาชิก สปช. ที่ยังมีข้อสงสัยเข้า

ร่วมรับฟังการประชุมของกรรมาธิการ แต่ก็ไม่มีใครเข้าฟัง

ทั้งนี้ ตนและ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ไม่ได้ขัดเเย้งกัน เป็นเพียงความเห็นต่าง ซึ่งข้อเสนออื่น ๆ ของกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองก็จะนำเอามาพิจารณาไปพร้อม

กัน
////////////////
นายกฯ

พล.อ.ประยุทธ์ เตรียมต้อนรับ นายกฯ จีน พร้อมเป็นสักขีพยานลงนามความร่วมมือโรงสร้างคมนาคมวันพรุ่งนี้

เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล (http://www.thaigov.go.th) รายงาน ในวันที่ 19 ธ.ค. นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดให้การต้อนรับ นายหลี่ เค่อเฉียง (Mr. Li Keqiang) นายกรัฐมนตรี

แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อร่วมหารือข้อราชการ และเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลง ความร่วมมือ 2 ฉบับ ประกอบด้วยความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟใน

กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558 - 2565 และความร่วมมือว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าสินค้าเกษตร ระหว่างราชอาณาจักรไทยและ

สาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรี จะเป็นเจ้าภาพเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำที่เข้าร่วมการการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศ ครั้งที่ 5 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ

ทั้งนี้ การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและจีน ทั้ง 2 ฉบับ เป็นผลสืบเนื่องจากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้มีการพบปะหารือกับ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ใน

เวทีการประชุมระหว่างประเทศมาโดยตลอด โดยย้ำให้จีนเห็นถึงความสำคัญของไทยและพร้อมที่จะขยายความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
 --------------
นายกฯ เดินทางเข้าทำเนียบแล้ว ไร้วาระงาน, ประชุมอย่างเป็นทางการ - รองฯ ยงยุทธ ปธ.เผาทำลายยาเสพติด

บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาลในช่วงเช้าวันนี้ ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เดินทางเข้ามาที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว โดยคาดว่า

เป็นการปฏิบัติงานตามปกติ เนื่องจากวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่มีวาระงานหรือการประชุมอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

ส่วนวาระงานของรองนายกรัฐมนตรีอื่นที่น่าสนใจนั้น ในเวลาประมาณ 10.15 น. นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานพิธีเผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลาง ครั้งที่ 44 ที่ ศูนย์

บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และในเวลา 14.00 น. นายยงยุทธ จะเป็นประธานแถลงข่าวการมอบของขวัญปีใหม่ของกระทรวงวิทยา
ศาสตร์และเทคโนโลยี และเยี่ยมชมนิทรรศการ โครงการคืนความสุขให้ประชาชน ที่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
------------------
นายกฯ ประชุม สมช. คาดวางมาตรการด้านความมั่นคง-รักษาความปลอดภัยเข้ม

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาลล่าสุดในช่วงนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เดินทางมาที่อาคารสำนักงานสภาความมั่นคง

แห่งชาติ หรือ สมช. เพื่อเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการของสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีบรรดาผู้บริหารระดับสูงของฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง อาทิ พล.อ.อนุพงษ์
เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เสนาธิการทหารบก

เป็นต้น ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่จากเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเข้มงวดเช่นเคย

อย่างไรก็ตาม สำหรับการประชุมในครั้งนี้คาดว่าจะเป็นการประชุมในเรื่องของความมั่นคงด้านต่าง ๆ
-----------------------
นายกฯ พร้อมดูแลความปลอดภัย ปชช. ช่วงปีใหม่ มั่นใจไร้ก่อการร้าย พร้อมให้ความเป็นธรรมคนผิด ที่หลบหนีอยู่ต่างประเทศ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวว่า สำหรับการรักษาความปลอดภัยในช่วงปีใหม่นี้ ทางรัฐบาลพร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มีมาตรการดูแลประชาชนอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะมาตรการด้านการป้องกันอุบัติเหตุ ซึ่งจะมีจุดพักรถต่าง ๆ คอยบริการประชาชนและเชื่อว่าไม่มีเหตุก่อการร้ายในประเทศไทยในช่วงดังกล่าว และ

ขอให้ใครก็ตามอย่าคิดสร้างความวุ่นวายและจะมีการดำเนินคดีอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงผู้กระทำความผิดที่หลบหนีอยู่ในต่างประเทศว่า ได้มีการชี้แจงและขอความร่วมมือ

ให้ส่งตัวมาโดยตลอด แต่ยอมรับว่าบางเรื่องยังมีมุมมองที่แตกต่างกันในข้อกฎหมาย ซึ่งต้องให้ความเคารพในกระบวนการของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ ขอสื่อมวลชนอย่าไปขยายความขัดแย้ง โดยเฉพาะ

เรื่ององค์กรเสรีไทยของ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมยอมว่า พร้อมให้ความเป็นธรรมกับผู้กระทำความผิดที่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศ อย่างไรก็ตาม ขอฝากว่าทุก

คนสามารถมีความคิดเห็นต่างแต่ต้องอยู่ร่วมกันให้ได้
-------------------
"อนุสิษฐ์" เผย นายกฯ ย้ำ สมช. ทำแผนเชื่อมโยงงานด้านความมั่นคง พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม พร้อมจับตาความเคลื่อนไหว ขั้วอำนาจในโลก

นายอนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เปิดเผยภายหลังการประชุม สมช. ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2558-2564 ซึ่งนายก

รัฐมนตรี ได้เน้นย้ำให้ สมช. จัดทำแผนที่สามารถเชื่อมโยงการดูแลงานด้านความมั่นคง การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม เนื่องจากที่ผ่านมางานด้านความมั่นคงจะตามหลังงานด้านอื่น ๆ

ขณะเดียวกันจะต้องจับตาดูการเคลื่อนไหวของขั้วอำนาจในโลก ที่ขยายอิทธิพลไปในแต่ละภูมิภาค ส่งผลให้ประเทศไทยต้องปรับบทบาทความร่วมมือต่าง ๆ ให้มีความสมดุลมากขึ้น ส่วนในระดับ

ภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยจะต้องพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศกลุ่มอาเซียน เพื่อให้มีอำนาจต่อรองกับนานาประเทศ พร้อมกันนี้ต้องวางมาตรการในการดูแลการหลบหนีเข้า

เมือง โรคอุบัติใหม่ และภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการเปิดประเทศในปีหน้าจะมีคนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศจำนวนมาก ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือ ความปรองดองของคนในชาติ ปัญหา 3

จังหวัดแดนภาคใต้ และสถาบันหลักของชาติ ซึ่งเป็นแก่นหลักด้านความมั่นคงที่จะต้องเฝ้าระวัง

ทั้งนี้ ในช่วงปีใหม่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ได้เน้นย้ำให้จัดหามาตรการดูแลความปลอดภัย โดยจะมีการตั้งศูนย์บูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงานไว้ที่

กระทรวงกลาโหม ซึ่งถือเป็นมาตรการตามปกติ ส่วนการข่าวด้านความมั่นคงขณะนี้ยังไม่พบความผิดปกติ ส่วนในเรื่องของการประกาศใช้กฎอัยการศึก เห็นว่า ไม่ได้ส่งผลกระทบกับประชาชนทั่ว

ไป
--------------
นายกรัฐมนตรีไม่ตกใจกิ่งไม้ใหญ่หล่นใส่ขบวนรถ-ยอมรับปี 2558 ห่วงความมั่นคงทุกด้าน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ยืนยันว่า ไม่รู้สึกตกใจ
กับเหตุการณ์ที่มีกิ่งไม้ขนาดใหญ่หล่นใส่ขบวนรถ ทำให้ทีมรักษาความปลอดภัยบาดเจ็บ 2 นาย ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจ
ที่ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ เมื่อวานที่ผ่าน เนื่องจากไม่ใช่คนขวัญอ่อน และไม่ได้ทำบุญแต่จะใช้การทำความดี

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ไม่มีอะไรทำลายสมาธิในการบริหารประเทศของตนเอง โดยจะขับเคลื่อนเดินหน้า
ประเทศในเชิงรุก

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าในปี 2558 มีความเป็นห่วงในเรื่องของความมั่นคงทุกด้าน โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งมี
ปัจจัยทั้งต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน และในประเทศ โดยต้องมีการปรับตัว ซึ่งกังวลว่ารายได้ของประเทศจะลดลง
เนื่องจากรายได้ของประเทศส่วนใหญ่มาจากการส่งออกกว่า 70%
-------------
ประวิตร ตรวจกระทรวงทรัพฯ กำชับนำพระราชดำรัส - ย้ำทำงานสุจริตโปร่งใสตรวจสอบได้

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ตรวจเยี่ยมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมอบนโยบาย โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตรฯ ได้มอบนโยบายการทำงานโดยขอให้น้อมนำแนวพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน เน้นย้ำการทำงานโดยยึดความสุจริต โปร่งใส และสามารถ
ตรวจสอบได้จากภาคประชาชน พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้และความเข้าใจกับภาคประชาชนควบคู่กันไป
โดยยึดการทำงานเชิงป้องกันนำการปราบปราม บูรณาการแผนงาน โครงการ และงบประมาณกับส่วนราชการต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความ
ทับซ้อนตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี เน้นย้ำการบังคับใช้กฎหมายและการสร้างความเข้าใจในการแก้ปัญหาในเรื่องสำคัญ ๆ อาทิ
การป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การลักลอบค้าสัตว์ป่า
//////////////
ทุจริต

แก้วสรร ยื่นหนังสือพร้อม 10,836 รายชื่อ ถึงนายกฯ - เร่งนำคนทำผิดจำนำข้าวดำเนินคดี

นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาครัฐ หรือ คตส. เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่าน พล.อ.สกล ชื่น

ตระกูล ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์บริการประชาชน เพื่อให้รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เร่งนำตัวบุคคลในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่
กระทำความผิดในโครงการรับจำนำข้าวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย เนื่องจากทำความเสียหายให้กับประเทศ

ซึ่งจากการศึกษาข้อกฎหมาย พบว่า หลักฐานต่าง ๆ เพียงพอที่จะเอาผิดกับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานต่อสังคม

พร้อมกันนี้ นายแก้วสรร ได้นำรายชื่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่เห็นด้วยต่อการเอาผิดรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ จำนวน 10,836 รายชื่อ และความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการรับจำนำข้าวกว่า 4,000

ความเห็น มอบให้กับนายกรัฐมนตรีด้วย

ด้านที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะนำข้อร้องเรียนของกลุ่มเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า นายกรัฐมนตรีพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากความเดือดร้อนของประชาชนในทุก ๆ ด้าน เพื่อนำไปสู่

การแก้ไข
---------------

ไม่มีความคิดเห็น: