PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รธน.นายกฯคนนอก เพิ่มอำนาจ สว.

กมธ.ยกร่างฯ เคาะนายกฯ มาจากคนนอกได้ พร้อมเพิ่มอำนาจ ส.ว.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  
25 ธันวาคม 2557 13:23 น.

กมธ.ยกร่าง รธน.สรุปนายกรัฐมนตรีมาจากบุคคลภายนอกได้โดยไม่ต้องเป็น ส.ส. หวังแก้ปัญหายามเกิดวิกฤตการเมือง ส่วน ส.ว.ให้มี 200 คน มาจาก 5 ช่องทาง ทั้งอดีตนายกฯ อดีตประธานรัฐสภา อดีตปลัดกระทรวง อดีตผู้นำเหล่าทัพ ประธานองค์กรวิชาชีพ รวมถึงภาคประชาชน โดยให้เลือกตั้งทางอ้อม พร้อมเพิ่มอำนาจเสนอร่างกฎหมายได้ ตรวจสอบประวัติผู้จะมาดำรงตำแหน่งใน ครม. ขณะเดียวกันยังให้รวมถอดถอนนายกฯ, รมต., ส.ส., ส.ว.ด้วย    
     
       นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้ข้อสรุปที่มานายกรัฐมนตรีจะมีที่มาเหมือนเดิมกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 172 คือมีที่มาจากการเสนอชื่อโดยสภาผู้แทนราษฎร และให้ประธานสภาฯ เป็นผู้นำความกราบขึ้นบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง แต่จะไม่บังคับให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.เท่านั้น เพื่อเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีมาจากบุคคลภายนอกเมื่อเกิดเหตุวิกฤตทางการเมืองเหมือนที่ผ่านมา
     
       อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.เท่านั้น โดยธรรมชาติ และตรรกะทั่วไป เมื่อบัญญัติไว้ว่าให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงมติเลือกนายกฯ และให้ประธานสภาฯ เป็นผู้นำความกราบขึ้นบังคมทูลฯ โดยทั่วไปนายกฯ น่าจะมาจาก ส.ส.
     
       นายคำนูณกล่าวว่า สำหรับสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กำหนดให้มีจำนวนไม่เกิน 200 คน ซึ่งที่มาของ ส.ว.จะยึดหลักความหลากของกลุ่มในสังคไทย ไม่ใช่สะท้อนถึงอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร โดยเบื้องต้นกำหนดหลักการให้ ส.ว.มีที่มาจาก 5 ช่องทาง ประกอบด้วย 1. มาจากการอดีตผู้นำในอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อาทิ นายกรัฐมนตรี, ประธานรัฐสภา เป็นต้น ที่จะต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง 2. อดีตข้าราชการระดับสูง อาทิ อดีตปลัดกระทรวง, อดีตผู้นำเหล่าทัพ 3. ประธานองค์กรวิชาชีพหรือผู้แทนองค์กรวิชาชีพที่มีกฎหมายรองรับ เช่น ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, แพทยสภา 4. กลุ่มภาคประชาชน เช่น สหกรณ์การเกษตร, สหภาพแรงงาน, องค์กรภาคประชาชน โดยทั้ง 4 ช่องทางนี้จะมาจากกระบวนการสรรหาตามสัดส่วนที่จะกำหนดอีกครั้ง และ 5. ให้มีการเลือกตั้งทางอ้อม ผ่านการเลือกสรรคจากสภาวิชาชีพที่หลากหลาย จากนั้นให้นำบุคคลที่ได้รับการสรรหานั้นไปให้ประชาชนลงคะแนนรับรอง ซึ่งวิธีการเลือกตั้งจะมีการกำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
     
       นอกจากนี้ กมธ.ยกร่างฯ ยังได้กำหนดให้เพิ่มอำนาจ ส.ว.ด้วย ได้แก่ (1. สามารถเสนอร่างกฎหมายได้ โดยเมื่อร่างกฎหมายผ่านชั้นวุฒิสภาแล้วให้ส่งไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณา ประเด็นดังกล่าวทาง กมธ.ยกร่างฯได้พิจารณาถึงประเด็นการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ (2. ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี ก่อนจะนำความกราบขึ้นบังคมทูล โดยมีข้อเสนอให้สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ และสมัชชาจริยธรรม ได้ตรวจสอบจริยธรรมของ ส.ส. รัฐมนตรี ข้าราชการระดับสูง, องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หากพบว่ามีความผิดจริยธรรม สามารถเข้าสู่กระบวนการถอดถอนได้
     
       (3. วุฒิสภาสามารถลงมติร่วมกับ ส.ส.ในกรณีการถอดถอนนายกฯ รัฐมนตรี ส.ส. , ส.ว. และข้าราชการระดับสูง โดยให้ใช้เกณฑ์คะแนนเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้ง 2 สภา ขณะที่อำนาจและหน้าที่ของ ส.ว.ที่มีอยู่เดิม อาทิ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง, การอภิปรายทั่วไป โดยไม่ลงมติ, การตั้งกระทู้ถาม ยังคงไว้เช่นเดิม
     
       “การให้ ส.ว.ตรวจสอบคุณสมบัติบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากนายกฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนั้น เบื้องต้นจะกำหนดให้มีเวลาตรวจสอบประมาณ 2 สัปดาห์ โดยประเด็นนี้
จะทำให้เกิดความตระหนักก่อนที่นายกฯ จะเสนอชื่อบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ขณะที่วาระการดำรงตำแหน่งของ ส.ว.ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่มีการหารือกันว่า ส.ว.ไม่ควรอยู่ยาว และมีวาระเพียง
3 ปีเท่านั้น โดยประเด็นดังกล่าวจะมีการหารือกันอีกครั้ง”
///////////////
ระบอบอำนาจร่วมของชนชั้นนำ รัฐราชการ ทหาร และคนชั้นกลางเก่า

เขียนลงข่าวสดพรุ่งนี้ แต่สรุปสั้นๆ คือใครเป็นนายกฯ ต้องมี สว.หนุน เพราะไม่งั้น สว.ถอดถอนได้ สกัดกั้นการแต่งรัฐมนตรีได้ ฯลฯ

สว.มีที่มาอย่างไร 200 คนจาก 5 ส่วน อดีตผู้นำ,ข้าราชการระดับสูง, องค์กรวิชาชีพ+ธุรกิจ, ประชาสังคม และยังมีเลือกตั้งสาขาอาชีพ

แบบนี้ใครเป็น สว.ก็คือตัวแทนชนชั้นนำ รัฐราชการ ทหาร และตัวแทนคนชั้นกลางพันธมิตรนกหวีด
ระบอบนี้ให้ ส.ส.จากเลือกตั้งเลือกนายกฯ (อำนาจปวงชน) โดยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจากเลือกตั้ง นายกฯ อาจเป็น ส.ส.ก็ได้ แต่นายกฯ จะทำงานได้ต้องเป็นคนที่ สว.จากชนชั้นบนให้ฉันทานุมัติ
เป็นการแก้ไขจากรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ให้อำนาจเฉพาะชนชั้นนำ รัฐราชการ ทหาร ศาล คราวนี้เพิ่มอำนาจคนชั้นกลางเก่า ในรูปของสถาบันวิชาการ สถาบันราชการ องค์กรวิชาชีพ ภาคประชาสังคม 

มาช่วยกดหัวคนชนบท จน เครียด กินเหล้า ไร้การศึกษา โดยดัดแปลงจากการเมืองใหม่ 70-30 ของพันธมิตรและสภาประชาชนของนกหวีดมาอย่างแนบเนียน
ระบอบ "เห็นคนไม่เท่ากัน" ที่มีการ "กระจายอำนาจ" ให้คนชั้นกลางเก่ามีส่วนร่วมกดขี่

-อธึกกิต-
//////////////////////
วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8415 ข่าวสดรายวัน


นายกฯคนนอก

คอลัมน์ ชกไม่มีมุม
วงค์ ตาวัน


กลายเป็นบุคคลที่มีการพูดถึงมากที่สุดในระยะนี้คือพล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2535 และถูกต่อต้านในฐานะนายกฯที่มาจากคนนอก มีลักษณะสืบทอดอำนาจจากคณะปฏิวัติรสช.

มีการย้อนประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงนั้นขึ้นมาทบทวน

เพราะวันนี้เรามีรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ชัดให้ นายกฯมาจากการเลือกตั้ง แต่กำลังหันไปเอานายกฯจากคนนอกมาคั่นกลาง อ้างว่าเพื่อแก้ไขวิกฤต จนผู้คนจำนวนไม่น้อยสงสัยว่า แล้วเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ที่ประชาชนยอมพลีไปนั้น เพื่ออะไร

อีกทั้งผลพวงจากการต่อสู้ในปี 35 ทำให้ได้รัฐธรรมนูญที่กำหนดว่า นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น มิใช่หรือ!?

ย้อนไปก่อนหน้าพฤษภาทมิฬ 35 นั้น รัฐธรรมนูญของเราเปิดทางให้คนนอกมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาโดยตลอด

พรรคการเมืองเดินหาเสียงกันแทบตาย

พอเลือกเสร็จจับขั้วกันเป็นเสียงข้างมากเพื่อจัดตั้งรัฐบาล

แต่ต้องไปเชิญคนนอกมาเป็นนายกฯแทบทุกที

เพราะมีปืนจี้หลังพรรคการเมืองอยู่!?!

สำหรับเหตุการณ์ในยุคพล.อ.สุจินดานั้น เกี่ยวเนื่องมาจากการปฏิวัติของรสช.ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยโหมประโคมการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมโหฬารปูทางล่วงหน้า จนสังคมลุ่มหลงโน้มเอียง ยอมรับให้ทหารเข้ามายึดอำนาจ เพื่อล้มรัฐบาลโคตรโกงได้

ยึดอำนาจในปี 2534 แล้วเปิดให้มีเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม 2535

ผลการเลือกตั้งมีพรรคสามัคคีธรรมเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับอีก 4 พรรค เลือกเสร็จก็ประสบปัญหาหัวหน้าพรรคเป็นนายกฯไม่ได้ จึงต้องไปเชิญบิ๊กสุมาเป็น นั่นจึงนำมาสู่การต่อต้าน มีการชุมนุมประท้วง และปราบปรามกันด้วยกระสุนจริง จนประชาชนเสียชีวิตไปราว 50 ศพ และรัฐบาลสุจินดาต้องยอมลาออก

อย่างที่บอกเอาไว้ว่าผลพวงจากการเสียเลือดเนื้อและชีวิตของประชาชน

ทำให้รัฐธรรมนูญต่อมาต้องกำหนดให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

เพราะเป็นหลักประกันของประชาธิปไตยที่ดีที่สุด

เสียงของประชาชนที่เดินเข้าคูหาเลือกตั้ง จะได้ศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง

เลือกส.ส.เลือกพรรคและได้นายกฯด้วย

วันนี้มีการหยิบยกเหตุการณ์ยุคสุจินดามาเตือนใจ

จะย้อนกลับไปหานายกฯคนนอกอีกหรือ และการโหมปมทุจริตคอร์รัปชั่น ถ้าเพื่อหวังทำลายการเมืองระบบรัฐสภา สมควรแล้วหรือ!

หน้า 2
//////////////////////////////////////
จริงหรือ ? นายกฯคนนอกต่อจาก"บิ๊กตู่" คือ "บิ๊กป้อม" ไปฟังคำตอบกันชัดๆ

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 20:35:53 น.

บิ๊กป้อม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เคยมีชื่อว่าจะเป็นนายกฯคนกลาง ในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์เจอทางตันถูก กปปส.  ชัตดาวน์กรุงเทพ ขับไล่จากเก้าอี้นายกฯ

แต่สูตรบิ๊กป้อม เป็นนายกฯ ไม่เกิดขึ้นจริง เพราะ บิ๊กตู่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 22 พ.ค. 2557


ชื่อของ บิ๊กป้อม มาอยู่ในครม.บิ๊กตู่ โดยสวมหมวก 4  ใบคือ หนึ่ง รองคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  สอง รองนายกรัฐมนตรี สามคือ รมว.กลาโหม  และ สี่ คือ พี่ใหญ่ในคสช.


ล่าสุด มีกระแสข่าวสะพัดว่า บิกป้อม จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นการสืบทอดอำนาจต่อจาก บิ๊กตู่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา


วันนี้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางตรวจเยี่ยม กองบัญชาการกองทัพไทยอย่างเป็นทางการ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยมี พล

เอก วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ให้การต้อนรับ โดย พลเอก ประวิตร ได้ตรวจแถวกองทหารเกียรติยศผสมสามเหล่าทัพ


หลังจากนั้นได้เข้ารับฟังการบรรยายสรุป พร้อมทั้งมอบนโยบายการปฏิบัติงานของรัฐบาลที่มีความเร่งด่วน อาทิ การพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มความสามารถ การเร่ง

นำสันติสุขกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การสนับสนุนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศ และการสร้างความปรองดองสมานฉันท์

ของคนในชาติ


จากนั้นได้เปิดโอกาสให้ นักข่าว สัมภาษณ์


นักข่าวถาม เรื่อง บิ๊กป้อม จะเป็นนายกฯ คนนอก จริงหรือ ?
/////////////////////
ย้อนรอย รธน.นายกฯคนนอกเพิ่มอำนาจสว.บานปลาย พ.ค.ทมิฬ

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 พลเอกชาติชาย และพลเอกอาทิตย์ มีกำหนดการเดินทางด้วยเครื่องบินเพื่อไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เชียงใหม่ แต่ก็กลายเป็นกับดักตกอับที่สนามบินกองทัพอากาศ โดยเป็นการปฏิวัติของคณะปฏิวัติที่เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยมี พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะ รสช. พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก เป็นรองหัวหน้าคณะฯ พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ, พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นรองหัวหน้าคณะฯ และมี พลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเลขานุการ

เหตุผลของการปฏิวัติมี 5 ข้อ คือ

มีการทุจริตคอรัปชันในบรรดารัฐมนตรีร่วมรัฐบาลอย่างกว้างขวาง
ข้าราชการการเมืองรังแกข้าราชการประจำ
รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา
มีการพยายามทำลายสถาบันทหาร
บิดเบือนคดีวันลอบสังหารซึ่งมีจุดมุ่งหมายล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์

          รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยาชุน เป็นนายกรัฐมนตรี และได้มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ผู้มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ โดยมีอดีตรัฐมนตรีถูกประกาศชื่อเป็นผู้อยู่ในข่ายสงสัย ในขณะเดียวกันก็มีการเคลื่อนไหว ในการตั้งพรรคการเมืองโดยสมาชิกบางคนของ รสช.

          ที่เห็นเด่นชัด คือ พรรคสามัคคีธรรม และยังมีความพยายามที่จะเข้าคุมพรรคการเมืองที่มีอยู่โดยส่งคนสนิทเข้าคุมตำแหน่งบริหารพรรค เช่นกรณีของพรรคชาติไทยและพรรคกิจสังคม เป็นต้น

          แต่ที่เป็นประเด็นสำคัญคือ ความอิสระของรัฐบาลอานันท์ ปันยาชุน ซึ่งไม่ยอมอยู่ใต้อาณัติทหารและบริหารบ้านเมืองด้วยความสะอาด บริสุทธิ์ ตามหลักวิชาการ จนเกิดความรู้สึกว่ามีความขัดแย้งกันขึ้นระหว่าง รสช. และรัฐบาล นอกจากเหนือจากนั้นประเด็นการแปรญัตติรัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างโดยคณะกรรมการ ชุดแรก 20 คน โดยคณะกรรมการสามัญ 25 คน ได้นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างหนัก โดยเฉพาะบทเฉพาะกาลที่เปิดทางให้ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งข้าราชการเมืองได้ อำนาจของวุฒิสมาชิก การแก้ไขรัฐธรรมนูญและตัวนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ตำแหน่งประธานรัฐสภา เขตการเลือกตั้ง คณะกรรมการรัฐธรรมนูญ และผู้ตรวจการรัฐสภา

          การประท้วงรัฐธรรมนูญที่ขาดความเป็นประชาธิปไตยได้นำไปสู่ความตึงเครียดทางการเมือง จนต้องมีการห้ามทัพกัน เหตุการณ์สำคัญคือ พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตนและพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล จะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ ผลสุดท้ายรัฐธรรมนูญก็ผ่านสภาทั้งสามวาระโดยมีข้อขัดแย้งที่จะนำไปสู่ปัญหาในอนาคต คือ

1.ตัวนายกรัฐมนตรีจะมาจาก ส.ส. หรือคนนอก ในรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุไว้
2 อำนาจวุฒิสภาซึ่งมีอำนาจในการร่วมอภิปรายและลงมติในการไม่ไว้วางใจรัฐบาล และพระราชกำหนด
3. ประธานรัฐสภามาจากประธานวุฒิสภาตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปี 2521 ได้มีการแก้ไขให้ประชาชนรัฐสภามาจากประธานสภาผู้แทนราษฎร์
4.เขตการเลือกตั้งได้เปลี่ยนเป็นเขตละ 3 คน เหมือนรัฐธรรมนูญปี 2521

           แต่ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ คุณสมบัติของตัวนายกรัฐมนตรีและอำนาจวุฒิสมาชิก นอกจากนั้นยังมีประเด็นปัญหาที่หลงลืมคือ ในบทเฉพาะกาลให้ประธาน รสช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แทนที่จะเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร์ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

          การเลือกตั้งในวันที่ ๒๒ มี.ค. ๒๕๓๕ จึงเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดครั้งหนึ่งในประเทศไทย พรรคการเมืองแต่ละพรรคใช้เงิน “ซื้อเสียง” อย่างเปิดเผยและเป็นจำนวนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะพรรคใหม่ที่ตั้งขึ้นมา รายงานลับของหน่วยงานผู้ดุแลการเลือกตั้งหน่วยหนึ่งระบุว่า “ทานตะวัน” หมดเงินไปไม่น้อยกว่า ๑,๖๐๐ ล้านบาท ในขณะที่ “ดอกบัว”หมดไปประมาณ ๙๐๐ ล้านบาท  เป็นคำตอบที่ชัดเจนที่สุดว่าโครงการ”สี่ทหารเสือ” ประสบผลสำเร็จเพียงใด

          ผลการเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่ได้จำนวนผู้แทนมากเป็นอันดับ ๑ คือพรรคสามัคคีธรรม  (๗๙ คน ) ตามด้วยชาติไทย (๗๔) ความหวังใหม่ (๗๒) ประชาธิปัตย์ (๔๔)พลังธรรม (๔๑) กิจสังคม

(๓๑) ประชากรไทย (๗) เอกภาพ ( ๖ ) ราษฎร ( ๔ ) ปวงชนชาวไทย ผ ๑ ) และพรรคมวลชน ( ๑ )  การดำเนินการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเป็นไปอย่างรวดเร็ว นายณรงค์ วงศ์วรรณ ในฐานะหัวหน้าพรรคสามัคคีที่ได้เสียงมากที่สุดได้รับการเสนอชื่อพรรคสามมีคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร รวมจำนวนเสียงสนับสนุน ๑๙๕ เสียง ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๙ ของประเทศไทย แต่ยังไม่ทันที่ พล.อ. สุนทรจะได้ทูลเกล้าฯ ชื่อนายรณรงค์ ก็มีการยืนยันจากนางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาว่า นายณรงค์เป็นผู้หนึ่งที่ “ต้องห้าม” ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯได้ เพราะมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด  ชื่อของ พลงอ. สุจินดาจึงขึ้นมาแทนที่ในเวลาอันรวดเร็ว

          ในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๕ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ซึ้งลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายกรับมนตรีคนที่ ๑๙
ของประเทศไทยนับจากนั้น ความขัดแย้งและความยุ่งยากก็ก่อตัวขึ้น จนนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงในเวลาต่อมา

ไม่มีความคิดเห็น: