PR
วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558
ครม. “ประยุทธ์” ตั้งรับอียูตัดจีเอสพี 6,200 รายการ สูญ 3 หมื่นล้าน
มติครม.วันอังคารที่ 6 มกราคม 2558ครม. “ประยุทธ์” ตั้งรับอียูตัดจีเอสพี 6,200 รายการ สูญ 3 หมื่นล้าน สั่งออกกฎคุมราคาสินค้าพุ่งสวนทางราคาน้ำมัน อนุมัติกฎหมาย 8 ฉบับตั้งกระทรวงดิจิทัลอิโคโนมี แก้ กม. ล้างท่อคอนโดค้างค่าส่วนกลาง 14,287 ยูนิต นักท่องเที่ยวเข้าไทยปีใหม่ 9 วัน 9.4 แสนคน
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 มีการอนุมัติและรับทราบแผนงาน โครงการ และงบประมาณที่สำคัญ ตามที่ ร.อ. ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสักนายกรัฐมนตรี แถลงร่วมกับ พล.ต. สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีรายละเอียดดังนี้
ตั้งรับอียูตัดจีเอสพี 6,200 รายการ สูญ 3 หมื่นล้าน
พล.ต. สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวกับคณะรัฐมนตรีว่า กรณีที่ประเทศไทยถูกตัดสิทธิพิเศษจีเอสพีไม่อยากให้ทุกฝ่ายมองว่าเป็นเรื่องของความสูญเสีย เพราะการถูกตัดสิทธิพิเศษนี้สืบเนื่องมาจากประเทศไทยภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น สามารถขยับขึ้นมาเป็นประเทศรายได้ระดับปานกลาง ทางออกของประเทศไทยก็คือต้องเปลี่ยนการแข่งขันจากสินค้าที่มีต้นทุนราคาถูกมาเป็นการแข่งขันในเรื่องคุณภาพสินค้าแทน ซึ่งเรื่องนี้ยังเกี่ยวกับการพัฒนาการวิจัยและพัฒนาซึ่งได้มอบหมายให้นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ไปตั้งคณะทำงานในการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการเพิ่มจำนวนนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยเพื่อเพิ่มการสร้างนวัตกรรมใหม่ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
ขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ร่วมชี้แจงด้วยว่า การถูกตัดสิทธิพิเศษจีเอสพีของไทยจะไม่ส่งผลกระทบมากนักเนื่องจากมีสินค้าที่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก และภาคเอกชนที่มีการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศมีการเตรียมความพร้อมรองรับไว้แล้ว
ร.อ. ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.อ. ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รายงานเรื่องการถูกตัดสิทธิ์จีเอสพีและแนวทางการดำเนินการของกรมการต่างประเทศให้ที่ประชุม ครม. รับทราบ โดยสาระสำคัญระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2558 จากการที่ไทยถูกจัดอันดับอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง (upper middle Income countries) คือประชากรมีรายได้ต่อหัว 3,946–12,195 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันตามการจัดอันดับของธนาคารโลก ส่งผลให้ไทยถูกระงับสิทธิพิเศษจีเอสพีใน EU
ทุกรายการเป็นจำนวนสินค้ากว่า 6,200 รายการ ทั้งนี้ ในการตัดสิทธิในครั้งนี้มีประเทศที่ถูกตัดสิทธิ์พร้อมกับประเทศไทย ได้แก่ จีน เอกวาดอร์ และมัลดีฟส์
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศประเมินว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยคิดเป็นวงเงินประมาณปีละ 3 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 4% ของมูลค่าสินค้าที่ไทยส่งไปยัง EU หรือคิดเป็น
ผลกระทบ 0.4% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศไทยในแต่ละปี โดยมีสินค้าที่ได้รับผลกระทบสูงคืออาหารทะเลแช่แข็ง เช่น กุ้ง ปลาหมึก รถจักรยานยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ผลกระทบถือว่าอยู่
ในวงจำกัดเนื่องจากประเทศคู่แข่งของไทยในภูมิภาคถูกตัดสิทธิประโยชน์ทางจีเอสพีเช่นกัน ขณะที่สินค้าที่ไทยจะเสียภาษีเพิ่มขึ้นยังอยู่ในระดับต่ำ และประเทศในกลุ่ม EU ยังคงต้องนำสินค้า
หลายรายการเข้าจากประเทศไทยเป็นหลัก ประกอบกับเอกชนของไทยมีการปรับตัวรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศและกรมการค้าต่างประเทศได้ทำงานร่วมกันในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ลดการพึ่งพาสิทธิประโยชน์จีเอสพีลงและเพิ่มทางเลือกในการดำเนิน
การธุรกิจ ได้แก่ 1. แนะให้เร่งหาตลาดใหม่ให้กับสินค้าไทย โดยเฉพาะตลาดที่มีศักยภาพจากการที่ไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลง FTA และมีแนวโน้มการเติบโตทาง
เศรษฐกิจที่ดี เช่น จีน เกาหลีใต้ อาเซียน กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกา
2. แนะนำให้ผู้ประกอบการไทยผันตัวเองเป็นนายหน้า (trader) โดยนำสินค้าจากประเทศที่ยังได้รับสิทธิจีเอสพี เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (หรือเรียกรวมว่า CLMV) ส่งออกไปยังสหภาพ
ยุโรป หรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศในกลุ่ม CLMV เป็นต้น และ 3. การเร่งรัดเจรจาความตกลง FTA กับสหภาพยุโรปให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เนื่องจากเป็นแนวทางที่จะทดแทนจีเอสพีได้อย่างยั่งยืน
สั่งพาณิชย์-มหาดไทย ออกกฎคุมราคาสินค้าแพง
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ ได้สั่งการในที่ประชุม ครม. ถึงข้อร้องเรียนจากประชาชนเรื่องราคาสินค้าอุปโภค บริโภค บางรายการมีราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น ให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทยไปร่วมกันพิจารณาออกกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนในการควบคุมราคาสินค้า ซึ่งโดยหลักการให้ยึดจากราคาน้ำมันที่ลดลงเป็นหลัก ให้เทียบเป็นสัดส่วนว่าสินค้าดังกล่าวเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันอย่างไร เมื่อราคาน้ำมันลดลง ราคาสินค้าควรจะต้องลดลงเท่าใด
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้สอบถามถึงตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ว่ามีเป้าหมายอยู่ที่เท่าใด ซึ่ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายตัวได้ 4% ซึ่งน่าจะมีความเป็นไปได้ หลังจากที่ไตรมาส 1 ปี 2557 จีดีพีหดตัว -0.5% ไตรมาส2 ขยายตัวได้ 0.4% และไตรมาส 3 ขยายตัว 0.6% ขณะที่ไตรมาส 4 สถานการณ์ปรับตัวดีขึ้น และคาดว่าทั้งปี 2557 จีดีพีจะขยายตัวได้ประมาณ 1% โดยนายกรัฐมนตรีได้ขอให้ทุกส่วนช่วยกันขยันทำงาน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
อนุมัติกฏหมาย 8 ฉบับ ตั้งกระทรวงดิจิทัลอีโคโนมี
ครม. อนุมัติหลักการร่างกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งหมด 8 ฉบับ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศหรือไอซีทีได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งร่างกฎหมายทั้งหมด 8 ฉบับนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน นั่นคือ ส่วนที่เป็นการปรับปรุงกฎหมายฉบับเก่า และส่วนที่เป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นมาใหม่
ในส่วนกฎหมายที่ต้องแก้ไขปรับปรุงมี 4 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการใช้การติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศขององค์กรสหประชาชาติ (United Nations Convention on The Use of Electronic Communications in International Contracts) เพื่อลดอุปสรรคจากความแตกต่างของกฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งมีการทำธุรกรรมที่มีการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) อันจะเป็นประโยชน์ต่อการค้ามากขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลด้วย
ฉบับที่ 2 ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จะมีการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย ครอบคลุมความผิดที่เกิดจากคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยเพิ่มฐานความผิดเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น เช่น การเผยแพร่ภาพอนาจารเด็ก การโจรกรรมข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูลที่ส่งผลต่อความมั่นคง รวมถึงมีการประสานงานความผิดด้านอื่นอย่างการค้ายาเสพติดหรือการพนันออนไลน์ด้วย พร้อมให้เจ้าหน้าที่ได้ฝึกอบรมและเพิ่มมาตรการที่ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามผู้กระทำความผิดได้เพิ่มมากขึ้นโดยเชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติเป็นหน่วยงานกลาง
ฉบับที่ 3 ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม จะมีการกำหนดให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช. เหลือเพียง 1 ชุด ซึ่งต้องทำตามนโยบายของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ กสทช. มีหน้าที่จัดทำแผนแม่บทในการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และแผนกำกับการใช้ความถี่วิทยุให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตามที่คณะกรรมการดิจิทัลฯ กำหนด ส่วนการกำหนดนโยบายภาพใหญ่ด้านบริหารคลื่นจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 4 ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะมีการปรับปรุงเพิ่มอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นองค์การมหาชน ให้
สามารถเข้าถือหุ้นกับองค์กรเอกชนอื่น เพื่อทำงานร่วมกับเอกชนก่อนได้ระหว่างรอพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนกฎหมายที่มีการร่างขึ้นใหม่มีอีก 4 ฉบับด้วยกัน ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบ
ต่อความมั่นคง พร้อมตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อกำหนดแผนแม่บท แนวทาง และมาตรการเพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจกระทบต่อเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจและความมั่นคง โดยมีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง (Center of Command) ในการดำเนินงานกับหน่วยงาน
อื่นๆ แต่ในช่วงปีแรกให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่ไปพลางๆ ก่อน
ฉบับที่ 2 ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการและพระราชบัญญัติข้อมูลเครดิต โดยมีการ
ตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีการกำหนดการใช้หรือการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้รั่วหลุดออกไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง และมีบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืน ทั้งยังมีการกำหนด
ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแห่งชาติ โดยให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นองค์กรสนับสนุน
ฉบับที่ 3 ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มีการตั้งคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการลงทุน การผลิต และการให้บริการได้มาตรฐานสากล รวมถึง
การตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ประเภทองค์การมหาชน โดยมีเลขาธิการสำนักงานขึ้นตรงต่อคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมและ
พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อุตสาหกรรมเนื้อหา (digital content) ให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยในวาระเริ่มแรกให้ประธานกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริม
อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติทำหน้าที่เลขาธิการไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
และฉบับที่ 4 ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาดิจิทัลฯ เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการอุดหนุน กู้ยืม ให้ความช่วยเหลือ และจัดสรรให้หน่วยงานของรัฐ เอกชน และ
ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลและสังคม โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติโครงการต่างๆ ซึ่งมีกองทุนการวิจัย ลงทุน
พัฒนา โดยมีเงินจากรัฐบาล เงินตามกฎหมาย กสทช. รวมถึงมีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลด้วย
นอกจากร่างกฎหมาย 8 ฉบับข้างต้นแล้ว มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องผ่านมติคณะรัฐมนตรีไปแล้ว 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีการตั้งคณะกร
รมการดิจิทัลขึ้นมาเพื่อกำหนดนโยบาย พร้อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก 5 ด้าน เพื่อติดตามและประเมินผล และร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยมีการตั้งกระทรวงดิจิทัลอิโค
โนมี ตั้งสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งทำหน้าเป็นฝ่ายเลขาฯ ของคณะกรรมการดิจิทัล
ที่มาภาพ : http://www.thaigov.go.th/th/media-centre/060115_tro/060115tro-53047.html
ที่มาภาพ : http://www.thaigov.go.th/th/media-centre/060115_tro/060115tro-53047.html
แก้กฎหมายแพ่ง-ล้างท่อคอนโดค้างค่าส่วนกลาง 14,287 ยูนิต
พล.ต. สรรเสริญกล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม. อนุมัติในหลักการ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนของการบังคับคดี โดยมีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ผู้
ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เจ้าของเดิมค้างชำระ ก่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เนื่องจากเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของห้องชุดเดิม โดย
นิติบุคคลอาคารชุดสามารถใช้สิทธิ์ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์เหนือห้องชุดเพื่อขอรับการชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดได้
ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีทรัพย์สินประเภทห้องชุด อาคารชุด หรือคอนโดมิเนียม ที่ผู้ซื้อไม่มีกำลังจ่ายเงิน ค้างค่างวด และค่าบริการส่วนกลาง สุดท้ายต้องถูกฟ้องร้อง บังคับคดี โดยจากการสำรวจพบว่า มี
ทรัพย์สินประเภทห้องชุดที่ยังคงค้างดำเนินการอยู่ในชั้นบังคับคดี ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้จำนวน 14,287 รายการ คิดเป็น 8.4% ของทรัพย์ที่ยึดไว้ทั้งหมด มีราคาประเมินรวม 62,172 ล้านบาท
คิดเป็น 26.33 ของราคาประเมินทั้งหมด ซึ่งห้องชุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้มักไม่เป็นที่สนใจของตลาดเท่าที่ควร เพราะผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบในค่าภาระส่วนกลางค้างชำระ
ส่วนห้องชุดที่เคาะขายทอดตลาดไปแล้ว มักมีปัญหาในขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์ เพราะผู้ซื้อไม่สามารถนำใบปลอดหนี้จากนิติบุคคลอาคารชุดไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่สำนักงาน
ที่ดินได้ เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น ไม่มีนิติบุคคลอาคารชุดที่จะออกใบปลอดหนี้ไห้ได้ หรือหนี้ค่าภาระส่วนกลางค้างชำระมีจำนวนสูงเกินควร ซึ่งผู้ซื้ออาจจะไม่ทราบว่ามีค่าส่วนกลางที่
ค้างชำระ เมื่อลดปัญหาเหล่านี้ไปได้ การซื้อขายห้องชุดจะดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น จะช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจากการซื้อขายห้องชุดได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ครม. ยังอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนของการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยสาระสำคัญของร่างพระราช
บัญญัตินี้ ได้กำหนดประเภทของทรัพย์ที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันเป็นการบังคับคดีอสังหาริมทรัพย์และสังหาริม
ทรัพย์มีรูปร่างเท่านั้น เช่น บ้าน ที่ดิน เงิน ทอง ยังไม่ครอบคลุมถึงสังหาริมทรัพย์ไม่มีรูปร่างซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น หุ้น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สัญญาซื้อขายทองล่วงหน้า เพื่อให้เจ้าหนี้
ตามคำพิพากษาสามารถได้รับชำระหนี้อย่างเต็มสิทธิจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับในคำพิพากษาของศาล
ขณะเดียวกัน ยังกำหนดการใช้สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี โดยแยกประเภทของผู้มีส่วนได้เสียอย่างชัดเจน ได้แก่ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์
เจ้าหนี้บุริมสิทธิหรือบุคคลที่มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับทรัพย์ที่ถูกบังคับคดี รวมทั้งกำหนดให้อำนาจการบังคับคดีและความรับผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบ
ความชอบด้วยกฎหมายและดุลพินิจโดยศาลยุติธรรมเท่านั้น ไม่อาจถูกฟ้องให้ต้องรับผิดต่อศาลปกครองได้ และลดขั้นตอนให้ระยะเวลาในการบังคับคดีมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น การขายทอด
ตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากศาลก่อน โดยขั้นตอนการดำเนินการเฉลี่ยปกติจะใช้เวลา 1-1.5 ปี หรือกว่า 450 วัน ทั้งนี้ ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับจะให้ส่งสำนัก
งานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือวิปพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
เปลี่ยนใช้เงินเฟ้อทั่วไปแทนเงินเฟ้อพื้นฐานกำหนดนโยบายการเงิน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงินปี 2558 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ หลังจากเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2557 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้แทนคณะกรรมการ
นโยบายการเงิน (กนง.) ได้ประชุมหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังและได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกัน ในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2558 โดยข้อตกลงมีสาระสำคัญดังนี้
คือ เป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2558 ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2558 อัตรา 2.5% สามารถเบี่ยงเบนไปจากค่ากลางนี้ได้ บวกลบ 1.5% หลังจากที่ในปี 2552-2557 ที่ผ่านมา กำหนด
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่าง 0.5-3.0%
สำหรับการใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็นดัชนีเป้าหมายแทนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะช่วยสะท้อนค่าครองชีพของประชาชนได้ดีขึ้น และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็นดัชนีที่ครัวเรือนและธุรกิจใช้อ้างอิงใน
ชีวิตประจำวัน จึงเอื้อต่อการสื่อสาร ง่ายต่อความเข้าใจ และสามารถยึดเหนี่ยวการคาดการณ์เงินเฟ้อได้ดีกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่ไม่ได้นำราคาเชื้อเพลิงและอาหารมาคำนวณด้วย ขณะเดียวกัน
การกำหนดระยะเวลาของเป้าหมายให้ยาวขึ้นจากรายไตรมาสเป็นรายปีจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของนโยบายการเงินในการรองรับปัจจัยที่ไม่คาดฝันต่างๆ ง่ายต่อการสื่อสารและสอดคล้องกับระยะ
เวลาที่ใช้ในการส่งผ่านนโยบายการเงินซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4-8 ไตรมาส รวมถึงการทบทวนเป้าหมายนโยบายการเงินที่ทำเป็นประจำทุกปีด้วย
นักท่องเที่ยวเข้าไทยปีใหม่ 9 วัน 9.4 แสนคน
ร.อ. ยงยุทธ กล่าวว่า นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ได้รายงานที่ประชุม ครม. ให้รับทราบตัวเลขนักท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่รวม 9 วัน นับจากวันที่ 27 ธ.ค. 2557 – 4 ม.ค.
2558 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวไทย 947,038 คน เพิ่มขึ้น 7.2% หรือเฉลี่ยวันละ 105,226 คน เพิ่มขึ้น 7.2% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2557 มีต่างชาติเดินทางเข้าไทย 883,412 คน เฉลี่ย
วันละ 98,157 คน ขณะที่คนไทยเดินทางออกนอกประเทศ 471,435 คน ลดลง 3.04% หรือเฉลี่ยวันละ 52,382 คน เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2557 มีคนไทยไปต่างประเทศ 486,225 คน หรือ
วันละ 54,025 คน
ขณะเดียวกัน ได้รายงานสถานการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยตลอดทั้งปี 2557 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั้งหมด 24.7 ล้านคน ลดลง 6.6% จากปี 2556 และก่อให้เกิดรายได้ 1.13 ล้าน
ล้านบาท ลดลง 5.8% โดยเหตุผลสำคัญของการหดตัวเป็นผลจากสถานการณ์การเมืองภายในประเทศครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ทำให้ลดลง 10% อย่างไรก็ตาม พบว่ารายได้ต่อทริปของนักท่องเที่ยว 46,541
บาท เพิ่มขึ้น 2.35% สะท้อนว่ายังคงมีคุณภาพไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา ส่วนคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศในปี 2557 มี 6.61 ล้านคน ขยายตัว 10.8% ก่อให้เกิดจ่ายด้านการท่องเที่ยว 117,000
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.2% จากปีที่ผ่านมา โดยมีค่าใช้จ่ายต่อทริป 25,947 บาท
ด้านสถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศ ตลอดปี 2557 มีคนไทยเดินทางท่องเที่ยว 136 ล้านคน/ครั้ง ก่อให้เกิดรายได้ 680,000 ล้านบาท ขยายตัว 3% จากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อรวมรายได้จากการท่อง
เที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและคนไทยเที่ยวในประเทศ ทำให้มีรายได้รวม 1.81 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 2 ล้านล้านบาท
ส่วนแนวโน้มปี 2558 กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬายังคงมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายรายได้ 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เกิดการจ้างงานและกระจายรายได้สู่ภูมิภาค
จึงวางเป้าหมายให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ 29 ล้านคน สร้างรายได้ 1.40 ล้านบาท และคนไทยเที่ยวในประเทศ 139 ล้านคน/ครั้ง เกิดรายได้หมุนเวียน 800,000 ล้านบาท
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น