PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

พิศดู ม.44

(26/3/58)นายกบอกไม่แน่ใจครม.จะถกใช้ม.44ยันจะทำดีสุดเพื่อทุกฝ่ายสบายใจ
////////////////////////

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ได้รับการโปรดเกล้าฯ แล้วเมื่อวันที่ 22 ก.ค.57ที่ผ่านมา ถือว่าโรดแม็ปจัดระเบียบประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าสู่ระยะที่ 2 อย่างเต็มตัว กลไกการบริหารประเทศจะเดินหน้าได้ทุกองคาพยพ

รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีทั้งสิ้น 48 มาตรา โครงสร้างหลักในฝ่ายบริหารยังคงสภาพ คสช.อยู่ควบคู่กับคณะรัฐมนตรี ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติ มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

สนช.มีจำนวนสมาชิกไม่เกิน 220 คน สปช.มีไม่เกิน 250 คน คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวน 36 คน เป็นสูตรสำเร็จอยู่แล้วที่คณะรัฐประหารต้องสรรหาคนของตัวเองเข้ามาอยู่ในส่วนนี้ ทหารกับข้าราชการจะมากันพรึ่บ ตรงนี้ไม่ว่ากัน แต่ถึงจะเด็กเส้นก็ขอให้เป็นเด็กเส้นเกรดเอได้มั้ยครับ ช่วยหยิบเอาที่มีความรู้ความสามารถมากที่สุดแล้วกัน

สำหรับนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ถึงนาทีนี้ถ้าไม่มีเหตุสุดวิสัยจริงๆ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. คงควบตำแหน่งนายกฯด้วย รับผิดชอบเต็มๆคนเดียวก็ดีอย่าง ทำดีหรือทำเสียจะได้ไม่ต้องไปโทษคนอื่น

ส่วนประเด็นการนิรโทษกรรม รัฐธรรมนูญชั่วคราวบัญญัติไว้ในมาตรา 48 ให้ คสช.พ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงจากการกระทำทั้งหลายในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดินตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2557 เป็นอีกหนึ่งสูตรสำเร็จที่ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวหลังรัฐประหาร

สำรวจดูแล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้แทบไม่มีอะไรหวือหวาน่าตื่นเต้น ยกเว้นเพียง มาตรา 44 ที่ซ่อนคมไว้อย่างมีนัยสำคัญ

มาตราดังกล่าวบัญญัติว่า “ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทําการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่ง หรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้ และเป็นที่สุด...”

ตั้งแต่ คสช.ยึดอำนาจการปกครอง ได้ออกประกาศและคำสั่งกว่าสองร้อยฉบับ แต่ไม่เคยมีฉบับใดที่ระบุให้เป็นที่สุด และไม่เคยก้าวล่วงไปถึงฝ่ายตุลาการ อีกทั้งกฎหมายเกือบทุกฉบับยังมีสภาพบังคับใช้ มีแค่รัฐธรรมนูญ 2550 และกฎหมายบางฉบับเท่านั้นที่ถูกฉีกทิ้ง จึงมีบางกรณีที่ประชาชนและผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องได้

เช่นกรณีที่มีการยื่นเรื่องให้ สตง.ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของ คสช. หรือกรณีการย้ายข้าราชการโดยไม่คำนึงถึงหลักคุณธรรมซึ่งผมเคยเขียนสะกิดเตือนไปแล้ว หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดี องค์กรชี้ขาดย่อมต้องวินิจฉัยตามกฎหมายที่มีอยู่

แต่เมื่อมีมาตรา 44 ไม่เพียงเป็นเกราะชั้นดีช่วยปิดจุดอ่อนป้องกัน คสช. ไม่ให้ถูกฟ้อง ทั้งยังยกอำนาจ คสช. อยู่เหนือตุลาการ ถ้าถอดรหัสไม่ผิด นี่คือการเปิดช่องทางไปสู่การจัดระเบียบกระบวนการยุติธรรม.

ไม่มีความคิดเห็น: