PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

นายกฯให้คุย Marapatani ต่อ แม้ต้องคุยถึงชาติหน้า...


นายกฯให้คุย Marapatani ต่อ แม้ต้องคุยถึงชาติหน้า....
นายกฯ ถก สมช. ยังไม่รับ 3 ข้อเสนอ MaraPatani ยันไม่ต้องยกเป็นวาระแห่งชาติ เพราะหลักการพูดคุยเป็น 1ใน9ยุทธศาสตร์อยู่แล้ว ไม่ยกระดับ ชื่อกลุ่ม จะชื่ออะไรไม่สำคัญ ขอแค่เป็นเอกภาพมาคุยกับเรา แนะคณะพูดคุยให้ไปคุยต่อ แม้ต้องคุยถึงชาติหน้าก็ตาม ยันจากนี้ต้องเป็นการพิสูจน์ ความไว้วางใจ ขอMaraPatani อย่าใช้ความรุนแรงกดดัน ขอแค่เป็นเอกภาพ จะชื่ออะไรไม่สำคัญ เรา ไปหาโจทย์ให้เจอ ยันเขตนารมณ์รัฐบาลไทยจริงใจในการพูดคุย แก้ปัญหา เชื่อMarapatani ก็มีเจตนาเดียวกัน ส่วนอะไรที่เป็นปัญหา ก็อย่าเพิ่งคุย อย่าเพิ่งให้ข่าว คุยกันให้จบก่อน แล้วค่อยคุยกับสื่อพร้อมกัน...หนุน ทำSafety zoneพิสูจน์ใช่ตัวจริงมั้ย พร้อมคุยอีกทุกกลุ่ม เพราะอาจมีศักยภาพหลายกลุ่ม เท่าเทียมกัน ผมถือว่าเป็นการต่อสู้กันทางความคิด ไม่ใช่สู้ด้วยกำลัง ส่วนมาเลเซียก็เต็มที่กับเรา ประเทศมุสลิม ก็ให้กำลังใจเรา ไม่ต้องมีข้อเรียกร้อง แต่เราจะทำความเข้าใจกันใหม่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 3 /2558 ร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เวลาประชุมกว่า 1ชม.30 นาที
พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการพูดคุยในครั้งที่ผ่านมาของคณะพูดคุยฝ่ายไทยและฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบ โดยมีการทบทวนหลักการและเหตุผลในการพูดคุย
"การพูดคุยนั้นถือเป็น ลวาระแห่งชาติ"อยู่แล้ว เพราะเป็น 1 ใน 9 ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาใต้ ของรัฐบาล ดังนั้นเมื่อการพูดคุยถือเป็นวาระแห่งชาติ จึงไม่จำเป็นต้องตั้งเป็นวาระแห่งชาติตามที่กลุ่มนั้นมีการเรียกร้อง
แต่ต้องมีการทำความเข้าใจกับตัวแทนฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบด้วย
ส่วนอีกข้อเรียกร้องของMarapatani ที่ต้องการให้เรารับรองชื่อกลุ่มนั้น จะต้องมีการพิสูจน์ความไว้วางใจกันให้ได้ก่อน เวลานี้ยังไม่จำเป็นที่ไทยจะต้องยกชื่อใครขึ้นมา เพราะต้องมองเจตนาของแต่ละฝ่าย รัฐบาลไทยมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาอย่างมาก ซึ่งหากอีกฝ่ายมีเจตนาแบบเดียวกันก็เป็นเรื่องดี
นายกฯ กล่าวว่า สิ่งที่ยังเป็นปัญหาพูดคุยกันไม่ได้ ก็ยังเพิ่งคุย และไม่ควรที่จะสานต่อ แม้กระทั่งการให้ข่าว ผมอยากให้มีพูดคุยก่อน จากนั้นเมื่อได้ข้อตกลงจึงค่อยชี้แจงพร้อมกัน
แต่เราไม่สามารถสั่งอย่างนั้นได้ แต่วันนี้ได้สั่งการว่าในเรื่องของหลักการและเหตุผลจะต้องพูดคุยกันต่อไป ไม่ว่าผลตอบรับจะสำเร็จช้าหรือเร็ว แต่คือการแก้ปัญหาในเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งต้องทำเพราะเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก
"การพูดคุยใช่ว่าจะสัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว เนื่องจากว่ามีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มทีมีศักยภาพมากและมีศักยภาพน้อย ซึ่งบางเรื่องยังไม่เป็นที่ยอมรับกันภายในกลุ่มของตนเอง ดังนั้นพวกเขาจึงต้องไปสร้างการยอมรับภายในกลุ่มให้ได้เสียก่อน
ส่วนกลุ่มที่ยังไม่ร่วมพูดคุยต้องค่อยๆพูดคุยกันไป เพราะถ้าทั้งหมดเข้ามาพูดคุยจะไม่มีกลุ่มใดเพิ่มศักยภาพของตนเองขึ้นมา
วันนี้หลายกลุ่มได้พยายามยกระดับของตนเองให้มีความเท่าเทียมกัน
"ผมอยากเรียกเรื่องดังกล่าวนี้ ว่าเป็น "การต่อสู้ทางความคิด" ซึ่งมีกำลังในการเสริมให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ต้องหลีกเลี่ยงคำพูด ที่สุ่มเสี่ยงระหว่างกัน จึงต้องมีผู้อำนวยความสะดวกคือประเทศมาเลเซีย นั่นแสดงให้เห็นว่าการพูดคุยในรัฐบาลนี้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ขณะเดียวกันหลายประเทศต่างให้ความร่วมมือกับรัฐบาล และประเทศมุสลิมก็ระบุว่าเห็นใจรัฐบาลมีความพึงพอใจในการแก้ไขปัญหา อาเซียนเองก็สนับสนุนแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี
อย่างไรก็ตาม 3 ข้อเรียกร้องของMarapatani นั้น ผมได้ให้คำตอบกลับไปโดยต้องทำความเข้าใจกันใหม่ แต่หากยังไม่เข้าใจกันก็ไม่เป็นไร ต้องพูดเรื่องอื่นๆที่สามารถทำได้ไปก่อน
โดยระยะแรก เป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ สร้างเอกภาพของแต่ละฝ่าย ฝ่ายเขามีเอกภาพหรือยีง
สาวนของเรา ยืนยันว่ารัฐบาลเป็นเอกภาพอยู่แล้ว เพราะผมเป็นนายกฯดูแลทั้ง กอ.รมน., ศอ.บต. จึงถามว่าอีกฝ่ายเป็นเอกภาพแล้วหรือยัง หากยังไม่เป็นต้องไปสร้าง
"แล้วอย่ามาใช้ความรุนแรงกดดันเรา " นายกฯ กล่าว
ส่วนระยะที่สอง เมื่อเกิดความเชื่อใจกันแล้วก็ต้องหาโจทย์ของแต่ละกลุ่มให้เจอ เช่น การลดความรุนแรง กฎหมายกระบวนการยุติธรรม การพัฒนา ศูนย์วัฒนธรรมของชาวมุสลิม ที่อยากให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
เมื่อถามว่า 3ประเด็นที่กลุ่มMarapatani เสนอมานั้น รัฐบาลไม่รับใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ยัง “และอย่ามากดดันผมให้รับ”
จากนั้นนายกฯย้อนถามสื่อว่า “ท่านรับกับเขาหรือไม่ ถ้ารับแล้วเกิดเหตุการณ์ขึ้น ท่านรับผิดชอบได้ไหม เข้าใจผมตรงนี้บ้างสิ นี่เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย จะพูดอะไรตัดสินใจอะไร เสนอข่าวอะไร ระวังด้วย เพราะเป็นเรื่องที่ล่อแหลมละเอียดอ่อน ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการสร้างวามเข้าใจ ถ้าไม่ได้อย่างนี้จะไปอย่างไร เขาเรียกว่าต่อรอง”
เมื่อถามว่า จะสนับสนุนแนวทางการพิสูจน์ตนเองของMarapatani ด้วยการจัดsafety zone พื้นที่ปลอดภัยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ผมเป็นคนกำหนดไปเอง ซึ่งได้สั่งการและตีกรอบ เมื่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เสนอแนวทางต่างๆเข้ามาผมเอามาดูแล้วสั่งการ ผมเป็นนายกฯต้องรู้ทุกเรื่อง หากไม่อนุมัติแล้วจะดำเนินการได้อย่างไร
เมื่อถามว่า ประเมินว่าการเจรจาที่ผ่านมาของผู้ก่อเหตุเป็นความต้องการลดความรุนแรงจริงๆ หรือเพื่อการต่อรอง นายกฯ กล่าวว่า อย่างเพิ่งแสดงความเห็นว่าใช่หรือไม่ใช่ เพราะอย่างน้อยเขาได้แสดงเจตนารมณ์เขามาพูดคุย ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นมาระดับหนึ่ง ต่อไปอยู่ที่ขั้นตอนของการสร้างความเข้าใจเอาปัญหามาเจอกัน ซึ่งขั้นตอนต่างๆต้องไม่ผลีผลาม จะตบปากรับคำกันเลยคงไม่ได้ อีกฝ่ายก็รับคำเราเลยไม่ได้ เราเองก็รับปากเขาเลยยิ่งไม่ได้
แต่อะไรที่รับได้เราจะรับ เช่น เรื่องที่จะเกิดความสงบปลอดภัย แต่อย่ามากดดันกันเอง ซึ่งผมไม่ได้กดดันอีกฝ่าย ผมทำเพื่อประชาชน ถามว่าฝั่งโน้นทำเพื่อประชาชนหรือไม่ ในการพูดคุยตนได้กำหนดประเด็นไปแล้ว
เมื่อถามว่า จะสานต่อการพูดคุยต่อไปใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวด้วยน้ำเสียงดุดันว่า มีสิ
" ถึงชาติหน้าโน้นถ้ายังไม่จบ ก็จะคุยกันถึงชาติหน้า "
“ถ้าผมทำงานกับคนของผมก็คงจบกันแค่นี้ แต่นี่เขาไม่ใช่คนของผม เขาเป็นฝ่ายตรงข้ามมีการใช้อาวุธ และความรุนแรง ผมจะไปกำหนดอะไรเขาได้ เว้นแต่เขาจะมาด้วยใจ
แต่ผมก็มีกรอบมาตรการที่เตรียมไว้ให้ เช่น กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม เตรียมไว้หมดแล้ว มีเครื่องมือและหลักการไว้แล้ว ก็อยู่ที่กระบวนการและการแสดงความจริงใจต่อกัน หากจริงใจก็จบต้องไม่สร้างปัญหาใหม่ แก้ไขปัญหาเก่า แต่วันนี้ที่ไม่จบเพราะสร้างปัญหาใหม่ทุกวันๆ ก็ไม่จบสักเรื่อง กี่ชาติก็ไม่จบ ทุกเรื่องเลย” นายกฯกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น: