PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มุมมองสว.สมชาย กรณีคดี"อถิสิทธิ์-สุเทพ"สลายการชุมนุม

Cr:สมชาย แสวงการ
ไม่เเปลกใจที่มติปปช7:0ชี้ อภิสิทธิ์ สุเทพ พลเอกอนุพงษ์ไม่ผิดในการสลายการชุมนุมปี53. เพราะความจริงคือความจริงที่ว่ามีกองกำลังชายชุดดำใช้อาวุธสงคราม เอ็ม16 อาร์ก้า เอ็ม79 และระเบิดนานาชนิดสังหารทหารตำรวจเเละประชาชน. เเต่อยากบอกให้เเกนนำจตุพรเเละหมอเหวงอย่าบิดครับ. เพราะข้อเท็จจริงที่คณะกมธตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ปี53 ของกมธสิทธิมนุษยชน วุฒิสภา. ตรวจสอบมานั้น ไม่ใช่อย่างที่หมอเหวงกล่าวอ้าง
1)คนตายคนเเรกไม่ใช่เสธเเดง คนตายเป็นทหารชื่อ พอ ร่มเกล้า ธุวธรรม อนุพงษ์. หอมมาลี อนุพงษ์ เมืองอำพัน สทภูริวัตน์ ประพันธ์ นาย ฮิโรยูกิ มูราโมโต้ นายวสันต์ ภู่ทอง ฯลฯ รวมทั้งสิ้น26คน. เป็นทหาร5 พลเรือน20 อีก1 เสียชีวิตด้วยโรคประจำตัวระหว่างชุมนุม.
ข้อเท็จจริงยืนยันการใช้กองกำลังชายชุดดำพร้อมอาวุธสงครามโจมตีทหารเเละประชาชนที่ถนนตะนาว ถนนดินสอเเละอีกหลายๆจุดรอบถนนราชดำเนิน. หลังที่พอร่มเกล้าเสียชีวิต ทหารทั้งหมดถอยร่นไปติดริมคลองตรงข้ามวัดบวรนิเวศน์หมดเเล้ว อย่าว่าเเต่ออกมายิงใส่ผู้ชุมนุมเลย. จะออกไปโรงพยายบาลยังถูกไล่ตี หลายคนที่บาดเจ็บถูกต้องปลอมเป็นชาวบ้าน หลายคนถูกขอร้องให้ถอดเครื่องเเบบใส่เเต่กางเกงในออกมาในรถหน่วยกู้ภัยที่มาช่วย กว่าจะถึงโรงพยาบาลพระมงกุฎ 23:00-01:00. หลังเวลาเกิดเหตุกว่า4-5ชั่วโมง. บางคนสียชีวิตเพราะเสียเลือดมาก. บางคนทุพลภาพเพราะได้รับการรักษาล่าช้า
2)ในการชุมนุมลุมพินีราชประสงค์ ผมเข้าไป2ครั้ง ด้านราชปรารภเเละด้านสวนลุม ยืนยันว่ามีอาวุธ มีการสะสมเเละใช้เอ็ม79ยิงใส่ประชาชนทหารที่ย่านถนนสีลม สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสีลม สนลุมพินีเเละบ่อนไก่จากมุมต่างๆในสวนลุมพินี จากคำสารภาพของสุรัยหรือหรั่ง เทวารัตน์อดีตคนขับรถของเสธเเดง. ยอมรับว่าพวกเค้าเอ็ม79กว่า200นัดจากที่สวนลุมเเละถนนราชปรารถ รวมทั้งสำนักข่าวบีบีซีเคยถ่ายภาพชายชุดดำใช้เอ็ม16ยิงออกจากสวนลุมในเช้าวันที่19พ.ค. เเละนักข่าวตปทบางสำนักเคยสัมภาษณ์ชายชุดดำอีกกลุ่มที่อยู่ในเเถวถนราชดำริถึงวิธีการการใช้ออาวุธซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ด้วยการออกไปซุ่มยิงอาวุธสงครามเอ็ม16อาร์ก้าเเละเอ็ม79 ตลอดเวลาที่มีการชุมนุม
3)หลังเเกนนำยอมจำนนมอบตัว เพราะกองกำลังชุดดำได้หลบหนีออกไปเเละลำเลียงอาวุธทางเรือไปหมดเพราะถูกกระชับวงล้อม มีคนบางส่วนได้ยุยงให้เกิดการเผา เซนทรัลเวิลด์ บิ้กซี ของกลุ่มจิราธิวัฒน์ เผาโรงหนังสยาม สยามสเเควร์ ห้างเซนเตอร์พอยท์. เเต่ไม่เผาโรงเเรมเอราวัน ของพงษ์เทพ. ซึ่งอยู่ใกล้กัน
วันอังคาร ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ กรณีคำร้องขอให้ถอดถอนและคำกล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กับพวก ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สั่งใช้กำลังทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในวันที่ 10 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
นายสรรเสริญกล่าวว่า เรื่องนี้จากการไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริงว่าขณะเกิดเหตุที่มีการสั่งใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธปืนติดตัว เข้าขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ระหว่างวันที่ 10 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บนั้น อยู่ในช่วงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลว่าการชุมนุมของกลุ่ม นปช. มิใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ และมีบุคคลที่มีอาวุธปืนปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. จึงมีเหตุจำเป็นที่ ศอฉ.ต้องใช้มาตรการขอพื้นที่คืน เพื่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง โดยมีคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำอาวุธติดตัว หากมีความจำเป็นสามารถนำมาใช้เพื่อระงับยับยั้งได้ไปตามสถานการณ์ หรือเหตุการณ์เฉพาะหน้า หรือป้องกันตนเองได้ อันเป็นไปตามหลักสากล ตามนัยคำพิพากษาศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ 1433/2553
นายสรรเสริญกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม แม้คำสั่งที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำอาวุธติดตัวเพื่อป้องกันตนเองได้จะเป็นไปตามหลักสากลก็ตาม แต่ก็เป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการใช้อาวุธปืนตามแนวทางดังกล่าวข้างต้นตามความจำเป็น และพอสมควรแก่เหตุ อันเป็นภาระที่หนักและยากอย่างยิ่งในการปฏิบัติ แต่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบดังกล่าวได้ หากภายหลังสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้อาวุธปืนโดยไม่สุจริต เลือกปฏิบัติ และเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีจำเป็น จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ อันเป็นความรับผิดเฉพาะตัว เช่นเดียวกับนายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ จะต้องรับผิดในกรณีที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า รู้ว่าเจ้าหน้าที่ที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของตนได้ใช้หรืออยู่ระหว่างใช้กำลังบังคับและอาวุธปืนโดย ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วไม่ดำเนินการยับยั้ง ป้องกัน และรายงานเหตุดังกล่าว
ทั้งนี้ คดีการเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชาชนในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช.เมื่อปี 2553 ในเหตุการณ์เดียวกันนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้รับดำเนินการเป็นคดีพิเศษด้วย จึงมีมติให้ส่งเรื่องการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ทหารที่เป็นผู้กระทำให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว รวมถึงนายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ ซึ่งมิใช่บุคคลตามมาตรา 66 ให้ดีเอสไอดำเนินการต่อไป ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 89/2
เลขาธิการ ป.ป.ช.กล่าวว่า สำหรับประเด็นการกล่าวหานายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และ พล.อ.อนุพงษ์ กับพวก กรณีละเว้นไม่สั่งระงับยับยั้ง ทบทวนวิธีการ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้กำลังทหารนั้น จากการไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริงว่า ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์การขอคืนพื้นที่ชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บแล้ว ศอฉ.ได้ทบทวนปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยไม่ใช้กำลังเจ้าหน้าที่เข้าผลักดันผู้ชุมนุมอีกต่อไป แต่ใช้มาตรการตั้งด่านตรวจ หรือจุดสกัดปิดล้อมวงนอกไว้โดยรอบ เพื่อให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมไปเอง โดยการปฏิบัติในวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 เป็นการตั้งด่านอยู่กับที่ทุกแห่ง แต่ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เจ้าหน้าที่ได้เคลื่อนกำลังเข้าไปควบคุมพื้นที่บริเวณสวนลุมพินี โดยไม่ได้มีการผลักดันต่อ ผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์โดยตรง
"แต่เป็นการกดดันต่อกองกำลังติดอาวุธที่ยึดสวนลุมพินีอยู่ ซึ่งการปฏิบัติในการกระชับพื้นที่สวนลุมพินี ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยประกาศให้ผู้ชุมนุมออกไปจากพื้นที่ก่อน, หลังจากประกาศแล้วเจ้าหน้าที่จึงเข้าไป" เลขาธิการ ป.ป.ช.กล่าว และระบุว่า ดังนั้นข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวน ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามกับพวกได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้มีการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเล็งเห็นผลแต่อย่างใด คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไปเช่นกัน
รายงานข่าวจากสำนักงาน ป.ป.ช.แจ้งว่า สำหรับคดีดังกล่าวมีคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวน โดยมอบให้นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. เป็นผู้รับผิดชอบสำนวนคดี ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.ที่มีการลงมตินั้น มีคณะกรรมการ ป.ป.ช.อยู่ครบทั้ง 7 คน ประกอบด้วยนายวิชา, นายประสาท พงษ์ศิวาภัย, นายภักดี โพธิศิริ, นายปรีชา เลิศกมลมาศ, พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง, นายณรงค์ รัฐอมฤต และ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ โดยได้ลงมติคดีดังกล่าวด้วยเสียงเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 เสียง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า จากการไต่สวนถือว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 รายกับพวก ได้ทำตามหน้าที่โดยมีมาตรการจากเบาไปหาหนักแล้ว ส่วนเรื่องที่มีมติส่งไปให้ดีเอสไอสอบสวนต่อนั้นคือ กรณีที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากในที่เกิดเหตุเพื่อให้ดีเอสไอหาสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดกรณีที่ทำให้มีการตายเกิดขึ้น หรือการฆ่าคนตายที่เกิดขึ้นจากผู้ที่ยิง ซึ่งถือเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับผู้สั่งการแต่อย่างใด
ทางด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. กล่าวว่า คดีนี้ดีเอสไอส่งเรื่องให้อัยการ แล้วอัยการส่งเรื่องไต่สวนสำนวนชันสูตรพลิกศพในศาลว่าผู้ตายเป็นใคร และใครเป็นคนร้ายที่ทำให้ตาย จึงดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ฐานฆ่าคนตายโดยเร่งเห็นผล ต่อมานายสุเทพและนายอภิสิทธิ์ก็ฟ้องว่าไม่ใช่อำนาจของศาลอาญาในการพิจารณาคดี แต่เป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็จึงจำหน่ายเรื่องออกจากศาลอาญา แล้วคดีนี้ที่อยู่ศาลอาญาขณะนั้น จึงเกิดความเห็นแย้งคดีฆ่าคนตายจนกลายเป็นคดีสุญญากาศว่าคดีดังกล่าวเป็นอำนาจของศาลอาญาในการพิจารณาคดีหรือไม่
นายจตุพรกล่าวต่อว่า อัยการและญาติผู้เสียชีวิตในช่วงชุมนุมปี 53 จึงยื่นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ว่าคดีนี้เป็นอำนาจของศาลอาญาพิจารณา การที่จะไปให้ศาลฎีกาพิจารณานั้น ก็ต้องผ่าน ป.ป.ช.ก่อน ซึ่งทุกคนก็คิดอยู่แล้วผลลัพธ์สุดท้ายจะเป็นยังไง ดังนั้นมันไม่ควรมาให้ ป.ป.ช.พิจารณาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว และทางญาติผู้เสียชีวิตกำลังรอการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีดังกล่าวเป็นอำนาจของศาลอาญา คดีก็จะเดินหน้าต่อไป ถ้าวินิจฉัยเห็นด้วยกับศาลชั้นต้น อัยการและญาติผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บก็ยังสามารถยื่นฎีกาได้ต่อไปเรื่องเขตอำนาจศาล ฉะนั้นมันไม่ควรส่งมาให้ ป.ป.ช.ทำคดี เพราะ ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีฆ่าและพยายามฆ่า และตนไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไร
นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับมติ ป.ป.ช. เพราะ ป.ป.ช.อ้างคำพิพากษาศาลแพ่ง 433/2553 เท่าที่ตนจำได้ ป.ป.ช.อ้างว่ามีกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งไม่ตรงกับความจริง และอ้างว่าหลังจากเหตุการณ์ 10 เมษยาน 53 ไปแล้วในเหตุการณ์พฤษภา ไม่มีการใช้กองกำลังนอกจากการใช้กองกำลังทหารไปผลักดัน แต่มีการตั้งด่านสกัด ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ตรงกับความจริง เพราะว่ามีคนตายคนแรกคือ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) ที่ถูกยิงที่สมอง ต่อมาที่ราชปรารภก็หลายศพ ซึ่งศาลก็พิพากษาไปแล้วว่าตายเพราะกระสุนของทหาร
"มติของ ป.ป.ช.ไม่ตรงกับความจริงโดยสิ้นเชิง และกองกำลังติดอาวุธในสวนลุมพินี อันนี้ ป.ป.ช.ก็พูดไปเองไม่มีหลักฐานปรากฏว่ามีจริง ดังนั้นผมจึงรับไม่ได้กับมติ ป.ป.ช. ทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่ามติ ป.ป.ช.เป็นการช่วยเหลือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯและพรรคพวก ผมอยากเรียน ป.ป.ช.ว่า ที่ใดไม่มีความยุติธรรม ที่นั้นไม่มีการปรองดองไม่มีความสงบ" นพ.เหวงระบุ.

ไม่มีความคิดเห็น: