PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

ศาลฎีกาจำคุก 2 ปี คนขายหนังสือต้องห้าม “กงจักรปีศาจ”

ศาลฎีกาจำคุก 2 ปี คนขายหนังสือต้องห้าม “กงจักรปีศาจ”
ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาศาลฎีกาคนขายหนังสือเร่วัย 67 ปี ในความผิดฐานหมิ่นสถาบันกษัตริย์ เนื่องจากขายหนังสือกงจักรปีศาจซึ่งเป็นหนังสือต้องห้ามและมีเนื้อหาหมิ่นพระมหากษัตริย์ โดยศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี และลดโทษเหลือ 2 ปี เนื่องจากจำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อคดี
จำเลยรายนี้ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลลุมพินีจับกุมเมื่อวันที่ วันที่ 2 พ.ค.2549 เนื่องจากไปตั้งแผงขายหนังสือบริเวณสวนลุมพินี ซึ่งมีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) โดยตำรวจได้ทำการยึดหนังสือกงจักรปีศาจและวารสารฟ้าเดียวกัน ฉบับสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย (ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2548) หรือที่เรียกกันว่า ปกโค้ก ไปอย่างละ 1 เล่ม ในชั้นสอบสวนเขาให้การปฏิเสธและได้รับการประกันตัวโดยวางหลักทรัพย์เป็นเงิน 40,000 บาท ศาลชั้นต้นตัดสินว่าจำเลยไม่มีเจตนาในการกระทำผิด จากนั้นศาลอุทธรณ์พิพากษากลับลงโทษจำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี แต่ลดโทษให้เนื่องจากจำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี จึงลดโทษเหลือ 2 ปี และวันนี้ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ทนายความจำเลยเผยว่า ศาลฎีกาลงโทษสามปีเป็นโทษขั้นต่ำของมาตรา 112 และศาลระบุว่าลงโทษต่ำสุดแล้ว อย่างไรก็ตามศาลตัดสินให้จำเลยรับโทษโดยไม่รอลงอาญา โดยนายยิ่งชีพระบุว่า ทั้งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเชื่อว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดเพราะจำเลยขายหนังสือเร่เป็นอาชีพ และขณะถูกจับกุมนั้น พบว่าจำเลยขายวารสารฟ้าเดียวกันด้วย ซึ่งฟ้าเดียวกันก็เคยถูกสั่งเป็นหนังสือต้องห้าม อย่างไรก็ตาม ในการไต่สวนไม่มีการหยิบเนื้อหาของวารสารฟ้าเดียวกันมาพิจารณาแต่อย่างใด
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ซึ่งลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศขณะนี้เคยเขียนถึงหนังสือ “กงจักรปีศาจ” ไว้ในบล็อกเก็บผลงานบทความของตนเองว่าเป็นหนังสือที่มีสถานะเป็น “ตำนาน” ในหมู่ผู้สนใจการเมืองเนื่องจากกล่าวถึงกรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และกลายเป็นหนังสือ “ต้องห้าม” ผิดกฎหมาย ไม่สามารถมีไว้ในครอบครองได้ แต่มีการเผยแพร่ออกมาเป็นภาษาไทยในปี 2517 โดยหน้าปกระบุผู้เขียน Rayne Kruger และแปลโดย ร.อ.ชลิต ชัยสิทธิเวช ร.น.

ไม่มีความคิดเห็น: